:::     :::

เริ่มนับหนึ่งและ 4-3-3 ที่เป็นไปได้

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
หลังปิดตลาดพร้อมกับช่วงโปรแกรมทีมชาติเสร็จสิ้น อาร์เซน่อล กลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้งและสามารถเก็บชัยชนะนัดแรกในฤดูกาลได้สำเร็จ

ชัยชนะเหนือ นอริช ซิตี้ 1-0 อาจไม่ใช่สกอร์ที่สะใจแฟนบอลมากนัก แต่เป็นชัยชนะที่ทีมต้องการ ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่านี้

ผลงาน 3 นัดแรกก่อนเบรกทีมชาติน่าผิดหวังอย่างที่สุดกับการแพ้รวดและยิงประตูไม่ได้เลย ทำให้จมบ๊วยของตารางอยู่สองสัปดาห์เต็ม

การเก็บชัยชนะนัดแรกนี้ได้จึงเป็นการเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ได้เริ่มนับหนึ่งกับชัยชนะนัดแรก นับหนึ่งกับประตูแรก และนับหนึ่งกับแนวทางการเล่นที่ มิเกล อาร์เตต้า ต้องการ

อาร์เซน่อล หาโอกาสลุ้นยิงประตูได้ถึง 30 ครั้ง มากที่สุดในยุคของ มิเกล อาร์เตต้า และเป็นตัวเลขที่ต่างกันราวฟ้ากับเหวจากนัดพ่ายต่อ แมนฯ ซิตี้ 0-5 ที่ตลอด 90 นาทีมีโอกาสง้างยิงเพียงครั้งเดียว

ใน 30 ครั้งที่ได้โอกาสยิง เกิดขึ้นในครึ่งหลัง 20 ครั้ง และได้ประตูที่ต้องการก่อนจบเกม 25 นาที

นอกจากสถานการณ์ที่ นอริช เสียประตูก่อนทำให้ต้องพยายามเอาคืนและทำให้เกมเปิดมากขึ้นแล้ว การปรับระบบการเล่นในช่วงครึ่งชั่วโมงสุดท้ายก็อีกจุดสำคัญของเกมด้วย

อาร์เตต้า เริ่มต้นด้วยระบบ 4-2-3-1 ที่ใช้งานบ่อยในช่วงหลัง และเปลี่ยนตัวจริงถึง 7 ตำแหน่งจากเกมแพ้เรือใบ

แต่นาที 62 เขาส่ง โธมัส ปาร์เตย์ และ เอมิล สมิธ โรว์ ลงมาเล่นแดนกลางพร้อมกับปรับเป็นระบบ 4-3-3

ปาร์เตย์ ลงมาแทน อัลเบิร์ต แซมบี้ โลคองก้า ขณะเดียวกันก็ เอนส์ลีย์ เมทแลนด์-ไนล์ส ที่เล่นตรงกลางในตอนแรก ถูกขยับไปเล่นแบ็กขวาแทน ทาเคฮิโระ โทมิยาสึ ที่ถูกถอดออกเช่นกัน

3 กองกลางในระบบใหม่จึงเป็น ปาร์เตย์ อยู่ตรงกลาง ขนาบข้าบด้วย สมิธ โรว์ และ โอเดการ์ด ส่วน 3 ตัวรุกข้างบนยังเหมือนเดิม ปิแอร์-เอเมอริค โอบาเมย็อง, บูคาโย่ ซาก้า และ นิโกล่าส์ เปเป้

อาร์เตต้า เคยบอกมานานแล้วว่าต้องการเล่นระบบนี้ในการทำทีม อาร์เซน่อล ซึ่งเป็นระบบที่เขาคิดว่าเหมาะกับทีมและคุ้นเคยจากการร่วมงานกับ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า ที่ แมนฯ ซิตี้ 


ทาเคฮิโระ โทมิยาสึ สอบผ่านกับการเล่นนัดแรก

ในเดือนธันวาคมปีที่แล้วที่ผ่านการคุม อาร์เซน่อล ได้หนึ่งปีเต็ม อาร์เตต้า กล่าวว่า "เราต้องการปรับไปเล่นระบบ 4-3-3 แต่การจะเล่นแบบนั้นได้ คุณจำเป็นต้องมีนักเตะที่มีศักยภาพแบบที่ต้องการในทุกตำแหน่ง แต่ตอนนี้เรามีเพียง 5-6 ตำแหน่งเท่านั้น เราไม่มีทุกตำแหน่ง"

ปาร์เตย์ ที่ลงมาครึ่งชั่วโมงสุดท้ายกลายเป็นหัวใจสำคัญในการเปิดบอลจากแดนกลาง ในบางจังหวะการเล่นเหมือนเป็น 4-1-4-1 เพราะ สมิธ โรว์ กับ โอเดการ์ด ยืนสูงกว่า ขณะที่ด้านข้างก็เป็น ซาก้า กับ เปเป้ 

อาร์เซน่อล มีตัวเลือกในเกมรุกมากขึ้นและสร้างโอกาสได้มากว่าเดิม แต่จังหวะจบที่ไม่เฉียบขาด รวมถึงการเซฟประตูอันยอดเยี่ยมในหลายครั้งของ ทิม ครูล ทำให้สกอร์ไม่ขาดลอยอย่างที่ควรจะเป็น 

ในเกมกับ แมนฯ ซิตี้ ที่แม้จะเล่นระบบหลังห้าคน แต่กองกลางที่ต้องทำหน้าที่เกมรับมีเพียงคนเดียวคือ กรานิต ชาคา และหลังจากที่เสียประตูเร็ว อีกทั้ง ชาคา ก็ได้ใบแดงตั้งแต่ครึ่งแรก แผนที่วางเอาไว้จึงพังหมด

ส่วนเกมล่าสุดที่ปรับเป็น 4-3-3 ตรงกลางก็มี ปาร์เตย์ ที่เหมือนตัวรับเพียงคนเดียว แต่ความ "เสี่ยง" น้อยกว่าเกมกับซิตี้ เพราะเป็นการเล่นในบ้านและเจอน้องใหม่นอริชที่สถานการณ์ก่อนเกมแย่แพ้พอกันจากการแพ้รวด 3 นัด

ปาร์เตย์ จึงไม่ได้ถูกทดสอบเกมรับมากนัก และได้คุมจังหวะเกมรุกเต็มตัว รูปเกมของ อาร์เซน่อล ช่วงนี้จึงลื่นไหลและสร้างโอกาสได้ต่อเนื่อง 

ย้อนไปในซัมเมอร์ 2020 ตอนที่ขอรับการสนับสนุนจากสโมสรในการทุ่มซื้อ โธมัส ปาร์เตย์ มาร่วมทีม อาร์เตต้า และ เอดู ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค เสนอแนวคิดกับฝ่ายบริหารว่าอดีตแข้ง แอตเลติโก มาดริด เป็นนักเตะที่เข้ากับระบบ 4-3-3 ที่ต้องการปรับให้ทีมเล่น

หลังผ่านซัมเมอร์ที่กลายเป็นทีมใช้งานมากสุดของพรีเมียร์ลีก ดูเหมือนว่า อาร์เตต้า จะเริ่มมั่นใจมากขึ้นว่าสามารถเล่นระบบนี้ได้

5 จาก 6 แข้งใหม่ที่ดึงมาร่วมทีมในซัมเมอร์ล่าสุด ได้ลงตัวจริงกันถ้วนหน้าซึ่งรวมถึง อารอน แรมส์เดล ที่ประเดิมเฝ้าเสาในลีก และ ทาเคฮิโระ โทมิยาสึ กองหลังคนใหม่ชาวญี่ปุ่นที่เพิ่งร่วมซ้อมกับทีมได้เพียง 2 วัน 

การเลือก แรมส์เดล ลงแทน แบรนด์ เลโน่ ในตำแหน่งผู้รักษาประตู สะท้อนภาพชัดสุดในการเปลี่ยนแปลงทีมเพื่อลุ้นเก็บชัยชนะให้ได้หลังจากเสียไปถึง 9 ประตูใน 3 นัดแรก 


โธมัส ปาร์เตย์ ทำให้แดนกลางแน่นขึ้น 

ขณะเดียวกันก็เป็นการเริ่มสร้างแนวรับชุดใหม่ที่ประกอบด้วย ทาเคฮิโระ โทมิยาสึ, เบน ไวท์, กาเบรียล มากัลเญส และ คีแรน เทียร์นีย์

บรรดานักเตะใหม่ต่างทำผลงานได้น่าพอใจทีเดียวแม้อยู่ในช่วงเริ่มต้นกับทีม

แรมส์เดล ไม่มีอาการประหม่ากับการเล่นพรีเมียร์ลีกนัดแรกให้ อาร์เซน่อล จังหวะโยกเอวหลบการวิ่งเข้าเพรสซิ่งของ ตีมู ปุ๊กกี้ แสดงให้เห็นเลยว่ามั่นใจในตัวเองอย่างมาก 

ขณะที่ โทมิยาสึ ก็ตอบโจทย์ในตำแหน่งแบ็กขวาโดยเฉพาะลูกกลางอากาศที่ดวลชนะ 7 จาก 8 ครั้งที่ขึ้นโหม่ง มีความกระตือรือร้นในการเล่นและเติมรุกบ่อยครั้งจนเกือบมีสกอร์ในจังหวะวอลเลย์เฉียดคานไปนิดเดียว

ส่วน เบน ไวท์ ที่กลับมาจากการติดเชื้อโควิด-19 ก็ปักหลักได้อย่างมั่นคงในเกมรับ พยายามพาบอลขึ้นหน้าในทุกครั้งที่มีโอกาสและไม่ได้หลุดตำแหน่งในเกมรับของตัวเอง

ที่ยังทำผลงานน่าดีต่อเนื่องก็คือ แซมบี้ โลคองก้า แม้ต้องจับคู่กับ เมทแลนด์-ไนล์ส ก็ตาม 

มาร์ติน โอเดการ์ด อาจมีจุดเด่นที่เทคนิคและทักษะส่วนตัว แต่เกมกับ นอริช เขาแสดงให้เห็นอีกข้อดีคือความขยันในการวิ่งไล่บอลเพื่อคอยกดดัน นอริช ตั้งแต่กรอบเขตโทษ เป็นเกมที่ดาวเตะทีมชาตินอร์เวย์ทำงานหนักมากๆ

โอเดการ์ด และ สมิธ โรว์ ลงเล่นพร้อมกัน อาร์เซน่อล จึงมีตัวทำเกมตรงกลางที่ขยันทั้งคู่ ซึ่งประตูเดียวที่ทีมที่ได้ก็เป็น สมิธ โรว์ ที่แย่งบอลกลับมาครองก่อนทำทางต่อให้เพื่อนร่วมทีม

การกลับมาจากอาการบาดเจ็บของ ปาร์เตย์ และลงเล่นพร้อมกับ โอเดการ์ด  และ สมิธ โรว์ ทำให้ระบบ 4-3-3 ในฝันของ อาร์เตต้า เริ่มเป็นรูปเป็นร่างให้เห็น และต่อจากนี้น่าจะเป็นทางเลือกที่ถูกใช้งานมากขึ้น 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมาพร้อมกับผลการแข่งขันที่ต้องการ


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})