:::     :::

ล้วงลึก "10 ปรัชญา" การคุมทีมของคล็อปป์

วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2560 คอลัมน์ Zero to Hero โดย บังคุง
10,825
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ช่วงเวลานี้ แฟนบอลลิเวอร์พูล คงจะหงุดหงิดใจไม่น้อย เมื่อผลงานของทีมรักไม่เป็นไปตามใจหวัง สถิติล่าสุดบ่งบอกว่า 6 เกมหลังสุด (รวมทุกรายการ) พลพรรค "หงส์แดง" เอาชนะคู่แข่งได้เพียงเกมเดียวเท่านั้น

        นอกจากเกมรุกที่มีโอกาสมากมาย แต่ไม่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นสกอร์ได้ อีกหนึ่งเหตุผล ที่แฟนบอลลิเวอร์พูล พุ่งเป้าไปมากที่สุด นั่นคือหัวเรือใหญ่ของทีมอย่าง "เจอร์เก้น คล็อปป์" ที่กำลังโดนตั้งประเด็นสงสัย ... ทั้งในเรื่องของการซื้อตัวนักเตะ, การจัดทีม, การเปลี่ยนตัว และการแก้เกม

        อาจจะกล่าวได้ว่า คล็อปป ถือเป็นหนึ่งในกุนซือที่เต็มไปด้วยแนวความคิด และทัศนคติเป็นของตัวเอง จนบางครั้งมันยากที่จะเปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้ทุกคน หรือทุกฝ่ายเกิดความพึงพอใจ แน่นอนว่า บ่อยครั้งมันก็ได้ผลเกินคาด และจำนวนไม่น้อยก็ไม่ประสบความสำเร็จ

        ช่วงนี้เราไปดู "10 แนวความคิด" ในการคุมทีมของกุนซือสายเลือดเยอรมัน คนนี้กัน ดูกันหน่อยว่า เขาใส่ปรัชญาอะไรลงไปให้กับลูกทีมในสนาม รวมไปถึงนักเตะบนม้านั่งสำรอง และการบริหารงานด้านอื่นกับสโมสรที่เขากุมบังเหียน

การไล่บอล

        การไล่บอล ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สร้างชื่อเสียงให้คล็อปป์ เป็นอย่างมาก จนสร้างให้เขากลายเป็นผู้จัดการทีมที่โด่งดัง โดยเขามองว่า นี่เป็นอีกหนึ่งแนวทางการเล่นที่แสนสำคัญ และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบ ที่จะให้ทีมได้คว้าชัยชนะมาครอบครองนั่นเอง

        เขากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "สำหรับผมแล้ว ช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมที่สุด คือการแย่งบอลกลับมาทันที หรือหลังจากที่คุณเสียการครองบอลไป เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว จะทำให้คู่แข่งรีบมองหาจังหวะในการผ่านบอล นั่นทำให้เรามีโอกาสเข้าเสียบสกัด หรือแย่งบอลมาครอง นอกจากนี้ มันยังทำให้คู่ต่อสู้เสียเปรียบมากขึ้น"


การบีบพื้นที่

        การบีบพื้นที่ หรือการบังคับให้คู่แข่งมีพื้นที่ในการเล่นบอลน้อยลง ถือเป็นอีกหนึ่งแท็คติกที่คล็อปป์ เลือกมาใช้เป็นประจำ มันเป็นการบีบช่องว่างระหว่างทีมที่เก่งกว่า กับทีมที่อ่อนกว่าให้ลดน้อยลง นักเตะในทีมของเขาหลายคน จึงต้องสวมหัวใจสิงห์ และวิ่งสู้ฟัด จนกว่าจะสิ้นเสียงนกหวีดสุดท้าย

        เขากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "เรื่องของการเล่นแบบเพรสซิ่ง ผมได้รับแรงบันดาลใจมาจากอาร์ริโก้ ซาคคี่ (อดีตกุนซือของทีมชาติอิตาลี ชุดคว้ารองแชมป์ฟุุตบอลโลก 1994 และเอซี มิลาน ชุดคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ 2 สมัยติดต่อกัน) ผมดูแนวทางนี้ผ่านเทปวิดิโอมากกว่า 500 ครั้ง !!!  ผมพยายามศึกษาวิธีการเล่นเกมรับ และสิ่งที่ทำตอนที่ทีมยังไม่มีบอล"

        "ย้อนกลับไปสมัยก่อน ผมเคยมีแนวความคิดที่ว่า ทีมที่มีนักเตะที่เก่งกว่า จะเป็นผู้ชนะเสมอไป อย่างไรก็ตาม ผมได้เรียนรู้แล้วว่า เราสามารถเอาชนะทีมที่เหนือกว่าได้เหมือนกัน หากเราเล่นแบบบีบพื้นที่อย่างถูกวิธี การทำทีมของผม 10 เปอร์เซนต์ จะใส่แนวความคิดเหล่านี้ลงไปด้วย"

การเล่นแบบฟูลแบ็ค

        การทำทีมของคล็อปป์ เขาต้องการฟูลแบ็ค ที่สามารถเล่นทั้งเกมรุก และเกมรับไปพร้อมกันได้ด้วย ซึ่งตำแหน่งดังกล่าว จำเป็นต้องใช้นักเตะที่มีพลังงานที่สูงมาก และต้องปฏิบัติตามสิ่งที่ได้รับการมอบหมายจากผู้จัดการทีมอย่างเคร่งครัด และเต็มประสิทธิภาพ

        เขากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "กฏของการเล่นตำแหน่งฟูลแบ็ค นั่นคือนักเตะต้องยืนตำแหน่งเป็นทางเลือกให้กับเพื่อนร่วมทีม หรือสามารถผ่านบอลในจังหวะสำคัญแก่เพื่อนร่วมทีมได้ โดยการเล่นในลักษณะแบบนี้ คุณต้องการนักเตะที่ยอดเยี่ยมอยู่ในสนามด้วย"

        "นั่นเป็นเพราะว่า พื้นที่บริเวณริมเส้น ถือเป็นตำแหน่งที่ยอดเยี่ยม คุณต้องการลูกทีมที่มีความรวดเร็ว ตอนที่ผมเจอเจมส์ มิลเนอร์ ที่ต้องมาเล่นฟูลแบ็ค ผมบอกกับเขาว่า -นายต้องเอาบอลมาครองให้มากที่สุด เท่าที่จะสามารถทำได้ !!! นายจำเป็นต้องครองบอลให้มากกว่าที่เคยทำ-"


การเล่นให้สนุก

        การพยายามเก็บชัยชนะเพียงอย่างเดียว อาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับคล็อปป์ เขาพยายามปลุกปั้นให้ทีมของตัวเขาเอง กลายเป็นทีมที่เล่นฟุตบอลด้วยความสนุกสนาน และมีชีวิตชีวา เขามองว่าอย่างน้อย มันยังช่วยมอบรอยยิ้มให้กับแฟนบอลที่เข้ามาชมเกมในสนามอีกด้วย

        เขากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "ตลอดชีวิตของผม ผ่านการชมเกมฟุตบอลมามากมายเหลือเกิน มันมีบางเกมเหมือนกันที่น่าเบื่อ ทำให้ผมถึงกับหลับเลยล่ะ ผมคิดในหัวว่า ทำไมทีมฟุตบอลสองทีมต้องมาเผชิญหน้ากัน และทำให้แฟนบอลราว 2-8 หมื่นคน ต้องมาทนดูเกมที่สุดเซ็งด้วย ?"

การใส่อารมณ์ร่วม

        นอกจากเรื่องของการเล่นให้สนุก และเอาใจบรรดาแฟนบอลของตัวเองแล้ว หนึ่งสิ่งที่เจ้าตัวพยายามปลูกฝังลูกทีมเสมอ คือสิ่งที่เรียกว่า "อารมณ์ร่วม" เพราะมันเป็นแรงขับเคลื่อนชั้นดี ส่งผลให้ทีมมีแรงจูงใจในสนามตลอดเวลา พร้อมกับยกตัวอย่างของสโมสรบาร์เซโลน่า มาเปรียบเทียบ

        เขากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "การใส่แท็คติก ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม คุณไม่สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ด้วยปัจจัยนี้เพียงอย่างเดียว คุณจำเป็นต้องมีอารมณ์ร่วมในการแข่งขันด้วย เพราะฟุตบอลเป็นกีฬาที่ต้องการอารมณ์เหล่านี้ มันถือเป็นอิทธิพลสำคัญ"

        "ผมมักให้ลูกทีมดูการลงสนามของบาร์เซโลน่า อยู่บ่อยครั้ง แต่ไม่ใช่ดูเรื่องสไตล์การเล่นของพวกเขา แต่เป็นเรื่องของการแสดงออกต่างๆในสนาม ยกตัวอย่างตอนเฉลิมฉลองการทำประตูเป็นต้น เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา พวกเขาน่าจะกระหน่ำประตูที่ 5,768 ไปแล้ว (พูดเปรียบเปรย)"

        "อย่างไรก็ตาม นักเตะของบาร์เซโลน่า ยังคงแหกปากตะโกนดีใจแบบสุดขีดคลั่ง แบบว่า -ใช่แล้วโว้ย !!!- มันเหมือนกับว่า พวกเขาไม่เคยยิงประตูได้มาก่อนเลยในชีวิต นี่เป็นสิ่งที่ผมหลงรักในฟุตบอล มันเป็นความรู้สึกที่คุณควรมีติดตัวตลอดเวลา หรือจนกว่าจะตาย"


การครองบอล

        คล็อปป์ ใส่ใจรายละเอียดการครองบอล ตั้งแต่หน้าปากประตูตัวเอง บ่อยครั้งเราจะเห็นว่า ผู้รักษาประตูมักไม่เตะเปิดเกมโด่งแบบมั่วซั่ว แต่เลือกเปิดบอลเรียด ให้กับแนวรับที่ยืนรออยู่ใกล้ๆกรอบเขตโทษแทน นั่นเพราะเขามองว่า การเปิดโอกาสให้คู่แข่งครองบอลน้อยที่สุด ถือเป็นการป้องกันการเสียประตูอีกหนึ่งช่องทาง

        เขากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า เราไม่สามารถวิ่งไล่บอลได้ตลอดเวลาหรอก ดังนั้น การแก้ปัญหาก็คือการครองบอลให้ได้ 90 เปอร์เซนต์ต่อเกมที่เราลงเล่น !!! ตอนที่ผมคุมทีมไมนซ์ 05 ทีมเราไม่ได้ประสบความสำเร็จเพราะเราเล่นเกมรับดีกว่าใคร แต่เป็นเพราะเราเน้นระบบการครองบอลให้มาก ซึ่งเป็นความแตกต่างจากทีมอื่นในลีก"

การรับมือกับสื่อมวลชน

        การออกมาให้สัมภาษณ์ และรับมือกับความคาดหวังของสื่อมวลชน ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางการบริหารทีมที่คล็อปป์ ไม่เคยมองข้ามไป เพราะนี่คือปัจจัยที่ต่อยอดไปถึงผลงานในสนามของทีม เพราะบางครั้ง ข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ ก็ส่งผลกระทบต่อสมาธิของนักเตะไม่น้อย

        เขากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "สำหรับชีวิตการเป็นผู้จัดการทีม มันเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก กับการเตรียมความพร้อมในการเจอกับบรรดาสื่อมวลชน หรือการพูดในการแถลงข่าว ผมยอมรับว่า เรื่องราวดีๆอาจเกิดขึ้น หากคุณมีความฉลาด และสามารถตอบคำถามที่สมบูรณ์แบบออกไป"

        "อย่างไรก็ตาม ผมเป็นคนที่ไม่ค่อยสนใจหรอกว่า ทุกคนจะคิดยังไง ? เพราะว่าพวกนักข่าวมักปล่อยคำถาม เพื่อให้ได้รับคำตอบ ตามที่พวกเขาอยากจะได้ยินเท่านั้น ผมเลยมองว่า นักข่าวไม่ค่อยใส่ใจกับคำถามของพวกเขามากเท่าที่ควร"


การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

คล็อปป์ มองว่า ตลอดการเล่นฟุตบอลในหนึ่งเกม นักเตะ และตัวเขาต้องเผชิญกับปัญหามากมาย และปัญหาในบางอย่าง ก็อยู่เหนือการควบคุม ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดี จึงเป็นสิ่งที่อยู่ในปรัชญาการทำทีมของเขาเช่นเดียวกัน

เขากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "นับตั้งแต่นกหวีดเป่าเริ่มเกม และระหว่างที่เกมกำลังดำเนินไป มักจะมีบางอย่างเกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แน่นอนว่า บางสิ่งบางอย่างสำคัญกว่าฟุตบอล แต่ไม่ใช่สำหรับผม โดยเฉพาะในเกม 90 นาทีของการแข่งขัน !!!"

การค้นหาตัวเอง

        การจัดการทีมฟุตบอลหนึ่งทีม ถือเป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ การค้นหาจุดเด่นของตัวเอง เป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าคล็อปป์ ก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เลือกเดินตามเส้นทางสายนี้ โดยเขาเชื่อว่า คนเราไม่ได้เก่งไปหมดทุกเรื่อง ดังนั้นอย่าจมปลักกับความผิดพลาดในอดีต และสร้างแนวทางใหม่ของตัวเองให้ได้

เขากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "ผมรักหน้าที่การคุมทีมมาก เนื่องจากสมัยที่ผมยังเป็นนักเตะ ผมเป็นคนที่ไม่ได้มีฝีเท้าที่โดดเด่นมากเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ผมกลายเป็นผู้จัดการทีม และได้คุมนักเตะระดับโลกมากมาย มันเป็นเรื่องที่สุดยอดมาก"


การมีคู่หูที่ดี

        การคุมทีมให้ประสบความสำเร็จ ตามที่วางเป้าหมายเอาไว้ คล็อปป์ จะทำมันด้วยตัวคนเดียวไม่ได้ ดังนั้น การมีสตาฟที่รู้ใจ ทำให้งานของเขาง่ายมากขึ้น และสามารถมองการบริหารทีมในมุมกว้าง และหลากหลายมากกว่าเดิม

        เขากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "การเป็นผู้จัดการทีม แบ่งออกด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง คุณจำเป็นต้องมีคนเก่งอยู่รอบตัวด้วย เพื่อคอยช่วยเหลือในเรื่องที่คุณไม่ได้เก่งกาจมากนัก ผมโชคดีมากที่มีคนเหล่านั้นอยู่ในทีมงานสตาฟของตัวเอง"

        "ผมรักการทำงานกับทีมงานทุกคน พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ยอดเยี่ยม หากคุณเปิดรับมุมมอง และลงมือทำในแบบที่พวกเขาให้คำแนะนำ คุณจะเป็นกุนซือที่จะเก่งขึ้น, เก่งขึ้น และเก่งขึ้น"

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด