:::     :::

รู้จัก "ดร.อาร์ม" หัวหน้าฝ่ายเทคนิค (ที่แฟนบอลบางคนข้องใจ)

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2561 คอลัมน์ ฉันดูบอลที่ร้านเหล้า โดย ดากานดา
3,702
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
เปลือยใจ หนุ่มดีกรีรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ตกเป็นข่าวในแวดวงลูกหนังไทย กับบทบาท หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเทคนิค

รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวคราวข้างสนามฟุตบอลไทย มีเรื่องหนึ่งที่ถูกถกกันเงียบๆ แต่เป็นกระแสพอสมควรถึงหนุ่มคนหนึ่งที่ชื่อ อาชวิทธิ์ เจิงกลิ่นจันทน์ หรือที่คนแวดวงลูกหนังเรียก “ดร.อาร์ม”

แฟนบอลหลายท่านอาจเกากบาล เมื่อได้ยินชื่อนี้ เพราะเขาคือ 1 ในขุนพลเบื้องหลังที่ทำงานกับ สมาคมฟุตบอลไทยฯ ในตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเทคนิค

แต่ที่กลายเป็นประเด็นซุบซิบในบ้านลูกหนังไทย เห็นจะเป็นบทบาท และการก้าวขึ้นมานั่งเก้าอี้ตัวนี้ของ “อาร์ม” ว่าเป็นมาอย่างไร เนื่องจากมี “กูรู” ฟุตบอลบางท่าน หรือสื่อบางเจ้า “ข้องใจ”

ไม่เคยผ่านการเป็นโค้ชฟุตบอลมาก่อน แทบไม่เป็นที่รู้จักในวงการฟุตบอล ลูกเต้าเหล่าใคร ทำไมถึงพัฒนาก้าวกระโดดโคตรไว วันนี้คอลัมน์ “ฉันดูบอลที่ร้านเหล้า” จะพามารู้จักคนหนุ่มในคราบลูกหนังรายนี้

 

…………………………………………………..

 

คุณเป็นใคร ยืนขึ้นแนะนำตัวหน่อย
ดร.อาร์ม :  ผม ดร.อาชวิทธิ์ เจิงกลิ่นจันทน์ จบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โค้ชและจิตวิทยาการกีฬา เกียรตินิยมอันดับ 1)

ปริญญาโทวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  (โค้ชและจิตวิทยาการกีฬา) และ ปริญญาเอกวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (การจัดการกีฬา) ปัจจุบันทำหน้าที่ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเทคนิค สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ

 

คุณเข้าสู่วงการฟุตบอลไทยได้อย่างไร ?
ดร.อาร์ม :
ช่วงที่ผมเพิ่งจบปริญญาโทที่จุฬา ได้ไปรับงานที่ โอสถสภา ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกเทคนิค ตอนนั้นทำงานร่วมกับ “พี่เบ๊” ไพโรจน์ บวรวัฒนดิลก และ “น้าชัช” ชัชชัย พหลแพทย์ ขอบค่ายงานของผมดูแลในเรื่อง ซัพพอร์ต งานข้อมูล ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา นอกจากนี้ผมยังเคยมีโอกาสเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมด้วย

ช่วงที่เรียนปริญญาเอก ผมได้มีเสนอตัวจัดทำแผนฟุตบอลระยะยาว 20 ปีกับสมาคมฟุตบอล และอาจารย์ที่คณะ จากนั้นผมก็ได้กลับมาทำงานในสโมสรอีกครั้งกับ โปลิศ เทโรฯ ในตำแหน่งเลขานุการทีม และมีไปช่วยทำหน้าที่ล่ามแปลภาษาบ้างในบางโอกาส



สมัยทำงานร่วมกับ โอสถสภา / Photo : Arm Archavit 


มาร่วมงานกับ สมาคมฟุตบอลฯ และเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคนิคได้อย่างไร ?
ดร.อาร์ม :
ผมทราบมาว่า พี่อาร์ท (สาวิน จรัสเพชรานันท์) หัวหน้าฝ่ายเทคนิคคนเดิม มีแผนลาออก และมีคนในวงการฟุตบอลแนะนำมา ก็เลยลองไปสมัครก่อนได้รับการพิจารณา เนื่องจากผมเข้าใจในแผนฟุตบอลระยะยาว 20 ปี ของสมาคมอยู่แล้ว สามารถสานต่องานได้ทันที นอกจากนี้ผมยังเป็นเลขาธิการสมาคมการจัดการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่

 

หัวหน้าฝ่ายเทคนิค ต้องทำอะไรบ้าง ?
ดร.อาร์ม :
ในส่วนของทีมชาติ จะมีทีมงานประสานงานทีมชาติแต่ละชุด จะเดินทางยังไง ที่พัก วีซ่า อำนวยความสะดวกให้ทีมแต่ละชุด ในส่วนวิทยาศาสตร์การกีฬา ก็ต้องดูแลพวกนักกายภาพ ฟิตเนส ประสานงานกับฝ่ายแพทย์

ในส่วนของการฝึกอบรม ต้องประสานงานสถานที่จัดคอร์ส ประสานงานเกี่ยวกับผู้เข้าอบรม และในส่วนพัฒนาเยาวชน คอยอำนวยการประสานงาน จัดกิจกรรมกราสรูต กิจกรรมเยาวชนต่างๆ

คือต้องเข้าใจก่อนว่าเราเป็นหัวหน้าฝ่าย ไม่ใช่ประธานเทคนิค ไม่ได้เป็นผู้กำหนดนโยบายแผนงานต่างๆ เราเป็นเพียงผู้ประสานงาน ซึ่งรับนโยบายจากอุปนายกต่างๆมาอีกทีหนึ่ง

 

มีกูรูฟุตบอลคนหนึ่ง สงสัยว่าคุณก้าวหน้าไวมาก ทั้งที่โค้ชสโมสรก็ไม่เคยทำ แต่มานั่งเก้าอี้ตัวนี้ได้ ?
ดร.อาร์ม : อย่างแรกต้องขอบคุณนายกสมาคมที่ให้โอกาส และอาจมองเห็นในศักยภาพของเรา ที่จะช่วยพัฒนาวงการฟุตบอลในอนาคตให้ดีขึ้น

การที่ผมมาอยู่ตรงนี้ได้เป็นเพราะจังหวะและโอกาส ผมก็พร้อมพิสูจน์ตัวเองด้วยผลงาน และเนื่องจากเนื้องานในตำแหน่งงานนี้เป็นการบริหารงานบุคคลและบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งน่าจะมีความถนัดมากกว่าคนที่มาทางสายโค้ช

 

รู้สึกอย่างไร ที่เหมือนถูกสื่อบางเจ้าตั้งแง่โจมตีเรื่องตำแหน่งงาน ?
ดร.อาร์ม :
ก็ขอบคุณที่ให้ความสนใจในตำแหน่งนี้ อย่างน้อยก็เป็นกระจกที่สะท้อนให้คนได้ทราบถึงเนื้องานของฝ่ายเทคนิคสมาคมได้มากขึ้น

 

ในฐานะหัวหน้าฝ่ายพัฒนาเทคนิค คุณมองทิศทางฟุตบอลไทยตอนนี้เช่นไร ?
ดร.อาร์ม :
โดยตำแหน่งแล้ว เรายังมีเป้าหมายเหมือนเดิม คือต้องการพัฒนาฟุตบอลไทยในทุกมิติ  เรามีโครงการมุ่งจะพัฒนาเยาวชน เพื่อเป็นการสร้างนักกีฬาใหม่ๆ และทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรักในกีฬาฟุตบอล เพื่อขยายครอบครัวฟุตบอลให้กว้างขึ้นและทั่วถึงในทุกพื้นที่

 

พี่เฮง (วิทยา) ได้ช่วยแนะนำอะไรกับคุณไหม ?
ดร.อาร์ม :
พี่เฮง ให้ความสำคัญเรื่องพัฒนาเยาวชนและกราสรูตเป็นอันดับต้นๆ การที่เรามีประชากรฟุตบอลมากขึ้น จะส่งผลให้กลไกต่างๆในวงการฟุตบอลพัฒนาขึ้น แล้วเมื่อเด็กสนใจฟุตบอลแล้ว ขั้นต่อไปจะให้เรียนรู้วิธีการเล่นที่ถูกต้อง นั่นคือโครงการต่างๆ ที่เราพยายามจะทำให้เกิดขึ้น

 

คิดอย่างไรกับคำพูดที่ว่า คนรุ่นเก่ามีประสบการณ์ แต่คนรุ่นใหม่มองโลกมาเยอะกว่า
ดร.อาร์ม : ผมยังเชื่อว่าประสบการณ์คนรุ่นเก่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าประสบการณ์เกิดจากสิ่งที่คนรุ่นเก่าผ่านร้อนผ่านหนาว ก็จะเป็นบทเรียนให้คนรุ่นใหม่พัฒนาไปข้างหน้า คนรุ่นใหม่อาจจะไม่ได้มองโลกมาเยอะกว่า เพียงแต่ด้วยเทคโนโลยีอาจทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น แต่ถ้าขาดประสบการณ์คนรุ่นเก่า ก็ไม่สามารถเดินไปอย่างมั่นคงได้

 

ในฐานะที่มาอยู่จุดนี้ คุณทำงานกับคนรุ่นเก่าอย่างไร หรือเดินหน้าด้วยแนวคิดคนรุ่นใหม่เต็มตัว
ดร.อาร์ม : มันเป็นสิ่งปกติที่ผมต้องทำอยู่แล้ว คนรุ่นเก่ามีความรู้ แค่ต้องการคนไปรับฟังเป็นคำสอน ส่วนคนรุ่นใหม่มีศักยภาพ มีพลังในตัว มีการเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ก็จะสามารถทำให้องค์ความรู้เหล่านั้นไปสร้างให้เป็นความจริงได้


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด