:::     :::

"ฟูลแบ็ก" อาวุธลับฟุตบอลยุคใหม่ #1

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ครั้งหนึ่ง จานลูก้า วิอัลลี่ อดีตกองหน้าทีมชาติอิตาลีและเชลซี เคยกล่าวไว้ว่า "ฟูลแบ็ก" คือนักเตะที่ไม่มีทักษะจะ เล่นปีก และไม่ได้แข็งแกร่งมากพอที่จะเป็นเซนเตอร์ฮาล์ฟ

ส่วนประโยคคลาสสิคของ เจมี่ คาร์ราเกอร์ อดีตกองหลังทีมชาติอังกฤษของลิเวอร์พูลที่ว่า "ไม่มีใครต้องการโตขึ้นมาเป็น แกรี่ เนวิลล์" อาจไม่ได้หมายถึงเป็นฟูลแบ็กที่ห่วยแตก แต่ก็มักถูกนำมาใช้ "อำ" ในเชิงเย้ยหยันอยู่ในที 

ทว่ามุมมองต่อตำแหน่ง "ฟูลแบ็ก" ในปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างมาก  

จากตำแหน่งของคนปลายแถวกลายเป็นสำคัญต่อทีมมากขึ้น ในช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา ขณะที่ทีมในพรีเมียร์ลีกใช้เงินรวม 210 ล้านปอนด์เพื่อซื้อ "ฟูลแบ็ก" มาร่วมทีม

เพราะเหตุใด ตำแหน่งนี้ถึงกลายเป็นกลไกสำคัญของฟุตบอลสมัยใหม่?


บทบาทที่มากขึ้นในเกมรุก 

ย้อนไปในปี 1996 ที่ อาร์แซน เวนเกอร์ เข้ามาทำงานคุมทีมอาร์เซน่อล เขานำ "แนวคิด" ใหม่หลายอย่างมาปรับเปลี่ยนทีมปืนใหญ่ รวมถึงวงการฟุตบอลอังกฤษ  

กุนซือชาวฝรั่งเศสต้องการสร้างอาร์เซน่อลให้ได้รับการยอมรับด้วยฟุตบอลเกมรุก ผู้เล่นฟูลแบ็กต้องขึ้น-ลงได้ตลอด 90 นาทีซึ่งต้องใช้ความแข็งแกร่ง และสปีดยิ่งกว่าเดิม 

แต่ฟูลแบ็กในทีมคือ ลี ดิ๊กซั่น กับ ไนเจล วินเทอร์เบิร์น ที่ทักษะความสามารถจำกัด และอยู่ในช่วงปลายอาชีพ แถมมีวิถีชีวิตแบบนักเตะอังกฤษแท้ๆ คือ เล่นบอลเสร็จแล้วก็เมา 


ลี ดิ๊กซั่น (ซ้าย) และ ไนเจล วินเทอร์เบิร์น (ขวา) สองฟูลแบ็กในชุดแบ็กโฟร์ตำนานของอาร์เซน่อล

วินเทอร์เบิร์น พูดถึงช่วงที่ เวนเกอร์ เข้ามาแรกๆ ว่า "ในยุคของ จอร์จ เกรแฮม ผมไม่เคยถูกตำหนิหากไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำเกมรุก แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป" 

"ตอน เวนเกอร์ เข้ามา เราได้รับอนุญาตให้เติมเกมรุกขึ้นข้างหน้า ขยับให้เร็ว และออกด้านขว้าง ก่อนหน้านี้เวลาผมเติมขึ้นข้างหน้า เขา (ดิ๊กซั่น) ก็จะถอยไปตั้งรับ แต่ทันใดนั้น ภารกิจของเราคือ ต้องบุกขึ้นพร้อมกันสองข้าง"

เมื่อเวนเกอร์พาทีมเล่นสไตล์นี้ หลายทีมเริ่มทำตาม ขณะที่ ดาเมียน โกมอลลี่ อดีตแมวมองอาร์เซน่อล และผู้อำนวยการฟุตบอลของสเปอร์ส และลิเวอร์พูล เคยแสดงความเห็นไว้ว่า ในอดีต หน้าที่ 60-70 เปอร์เซ็นต์ของฟูลแบ็กคือ การป้องกัน และอีก 30-40 เปอร์เซ็นต์ คือ ช่วยเกมรุก ทว่าตอนนี้ทุกอย่างกลับตรงกันข้าม

"มันเป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนัก ต้องมีขีดความสามารถสำหรับการวิ่งระยะไกล วิ่งอย่างหนักหน่วง และสปรินท์ได้ซึ่งเปลี่ยนไปมาก" โกมอลลี่ กล่าวพร้อมยกตัวอย่าง แอชลี่ย์ โคล คือหนึ่งในฟูลแบ็กที่มีคุณสมบัติครบถ้วนในช่วงหลายปีหลัง

ขณะที่ คาร์ราเกอร์ มองว่าทุกวันนี้ ฟูลแบ็กมักถูกประเมินผลงานจากการได้เติมขึ้นครอสส์บอลเข้ากลางบ่อยแค่ไหน แทนที่จะเป็นหยุดการเปิดของตัวรุกคู่แข่งได้มากเท่าไหร่ 


ฟูลแบ็กต้องสปรินท์มากขึ้นในช่วง 3 ฤดูกาลหลังสุด

โกมอลลี่ กล่าวต่อว่า "โค้ชทุกวันนี้ต้องการให้ฟูลแบ็กบุกมากขึ้น และสนับสนุนทีมจากด้านกว้าง แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็ต้องรีบถอยกลับไปประจำตำแหน่งทันทีเพื่อตั้งรับหากทีมเสียการครอบครองบอล"

"กลายเป็นว่าต้องรับผิดชอบสองตำแหน่งในเวลาเดียวกันทั้งที่ควรทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง ความคาดหวังมีสูงมากกว่าตำแหน่งอื่น ตำแหน่งนี้ต้องสปรินท์เป็นระยะทางมากขึ้นเพราะหากว่าเติมขึ้นสูงก็คงต้องสปรินท์มากกว่า 30-40 หลาเพื่อกลับมายังตำแหน่งเพื่อตั้งรับเกมรุกคู่แข่ง"

ดิ๊กซั่น เสริมว่า "ฟูลแบ็กยุคใหม่เล่นเกมรุกเป็นธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิง แต่ก่อนหากตำแหน่งนี้ทะลึ่งเล่นเกมบุก พวกเขาจะหลุดจากทีมไปเลย ตอนนี้กลายเป็นว่าฟูลแบ็กถูกคาดหวังในการเติมเกมและสร้างสรรค์โอกาสมากยิ่งขึ้น"

ระยะทางการวิ่งที่เพิ่มขึ้นของฟูลแบ็กใน 2-3 ปีหลังสะท้อนได้อย่างดีว่า ฟูลแบ็กต้องมีความเป็นนักกีฬาที่เก่งกาจมากขึ้น และในช่วงเวลา 3 ฤดูกาล ฟูลแบ็กชั้นนำ 4 คน สปรินท์มากขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์ และวิ่งคุมพื้นที่มากกว่าเดิม 0.4 กิโลเมตร 


ระยะทางที่วิ่งมากขึ้นของฟูลแบ็ก

เทคนิคที่มีประสิทธิภาพ 

การมีมัดกล้ามเป็นมัดไม่เพียงพอแล้วสำหรับการเป็นฟูลแบ็ก ทักษะกับลูกบอลจำเป็นไม่แพ้กัน ในบรรดาทีม "บิ๊กซิกซ์" ของพรีเมียร์ลีก จำแนกมิดฟิลด์หลายคนว่าเป็น "ฟูลแบ็ก" หรือ "วิงแบ็ก" ในฤดูกาลนี้ ไม่ว่าจะเป็น แอชลี่ย์ ยัง, อเล็กซ์ อเล็กซ์เลด-แชมเบอร์เลน และ เจมส์ มิลเนอร์

"ฟูลแบ็กต้องเล่นบอลสั้นได้ เลี้ยงบอลในพื้นที่สุดท้ายได้ (Final third) ประสานงานกับเพื่อนร่วมทีม และเล่นชิ่งหนึ่ง-สอง รวมถึงผ่านบอลในพื้นที่แคบได้" โกมอลลี่ ชี้ชัดเพิ่มเติม "ต่างจากแต่ก่อนที่เราคาดหวังเพียงให้เปิดบอลได้"

"ตอนผมทำงานที่ท็อตแน่ม เราจบอันดับ 5 ในปี 2006 และฟูลแบ็กของเราคือ พอล สตัลเทอรี่ กับ อี ยอง-เปียว"

"นักเตะเหล่านั้นแทบไม่มีอะไรที่ฟูลแบ็กในตอนนี้มีเลย พวกเขาต้องทำในสิ่งที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง"

ความคาดหวังในตำแหน่งฟูลแบ็กที่มากขึ้นดูได้จากลักษะการเลือกนักเตะเข้าทีม  


เปอร์เซ็นต์ผ่านบอลในแดนคู่แขงของฟูลแบ็กเพิ่มขึ้น

"ทุกวันนี้คุณต้องมองหาฟูลแบ็กที่มีเทคนิคมากขึ้นกว่าที่เคยเป็น" ฟิล สเพรียดบิวรี่ อดีตแมวมองเซาธ์แฮมป์ตันที่เป็นค้นพบ ลุค ชอว์ ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ และทำหน้าที่เสาะหาดาวรุ่งทั้งหลายมานานถึง 16 ปี กล่าวไปในทิศทางเดียวกัน

"นั่นเพราะพวกเขาได้บอลในพื้นที่สูงกว่าเดิม จำเป็นต้องมีทักษะที่ดีขึ้น"

ความคาดหวังในคุณภาพที่มากขึ้นทำให้ฟูลแบ็กปัจจุบันสามารถเลี้ยงบอลเฉลี่ยต่อนัดได้มากกว่าทศวรรษก่อน (0.87 ครั้ง/นัด ต่อ 0.59 ครั้ง/นัด) และยังมีพื้นที่เล่นสูงกว่าเดิมเข้าไปในแดนคู่แข่ง

ในฤดูกาลที่แล้ว ฟูลแบ็กระดับท็อป 4 คน จ่ายบอลในแดนคู่แข่งมากขึ้น 17 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับฤดูกาล 2006/07 หรือ 10 ฤดูกาลก่อน 

(โปรดติดตามต่อในตอนที่ 2 วันศุกร์ที่ 20 ต.ค.)


คำค้นหา : ฟูลแบ็ก เกมรุก
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด