:::     :::

แฟชั่นโค้ชผู้ดีเลือดใหม่

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
3 จาก 23 ผู้เล่นทีมชาติอังกฤษ ชุดฟีฟ่า เวิลด์ คัพ 2006 ปัจจุบันผันตัวมาเป็นผจก.ทีมแล้ว ทั้งมีหลายหน่อจ่อตามมาเร่งศึกษาอบรม รวมถึงขัดเกลาฐานะผู้ช่วย ลองไปดูหน่อยว่าใครเป็นใครบ้าง

การแต่งตั้ง แฟร้งค์ แลมพาร์ด ดำรงตำแหน่งเจ้านายใหญ่มิเพียงเป็นการเปลี่ยนทิศทางของสโมสร เชลซี แต่ยังเป็นสัญญาณบวกของวงการโค้ชเลือดผู้ดีที่มีเฮดโค้ชอายุไม่เกิน 45 ปี เพิ่มมาอีกหน่อ 

กลับไปที่ แลมพาร์ด เขาถือเป็นเจ้านายใหญ่ อิงลิชแมน คนแรกในรอบ 23 ปี นับจาก เกล็น ฮ็อดเดิ้ล แห่ง สแตมฟอร์ด บริดจ์ แล้วโอกาสซึ่งรออยู่คือการคุมยอดแข้งในมือ ลงเตะเกมลีกสูงสุด รวมถึงโม่แข้งรายการ แชมเปี้ยนส์ ลีก 

อนึ่งไม่เพียงแต่เขาที่เป็น ผจก.ทีม ชุดใหญ่ของค่ายลูกหนังเกรด เอ แต่ยังมีพวกพ้องรุ่นราวคราวเดียวกัน อีกหลายหน่อเดินเข้าวงการ 


แลมพาร์ด (กลาง) กับ เจอร์ราร์ด (ขวา) ผู้เล่นอังกฤษชุดเวิลด์ คัพ 2006 เป็นเฮดโค้ชแล้ว

"ผมรู้สึกดีใจที่ผู้จัดการทีมหนุ่มจากสหราชอาณาจักรได้โอกาสมากขึ้น ซึ่งคือประเด็นที่เราพูดถึงมานาน แล้วทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (เอฟเอ) ก็พยายามผลักดันมาตลอด" 'แลมพ์ส' กล่าวถึงการที่เขาคือ 1 จาก 3 ผู้เล่นทีมชาติจาก เวิลด์ คัพ ฉบับเยอรมัน แล้วต่อยอดเป็นโค้ชใหญ่ร่วมกับ สตีเว่น เจอร์ราร์ด หรือ โซล แคมพ์เบลล์ 

"ปัจจุบันเราก็ยังเห็น เจอร์ราร์ด (เรนเจอร์ส เอฟซี/ พรีเมียร์ชิพ สกอตแลนด์), ฟิล เนวิลล์ (ทีมอังกฤษ สตรี) หรือ สกอตต์ พาร์เกอร์ (ฟูแล่ม/แชมเปี้ยนชิพ)  รับโอกาสเช่นกัน" 

"อนึ่งผมไม่ได้มองมันว่าคือความรับผิดชอบฐานะโค้ชอังกฤษแต่อย่างใด ทั้งนี้แค่ต้องการทำสุดความสามารถ เพราะรุ่นเราสมัยเป็นผู้เล่นมีโอกาสร่วมงานกับ ผจก.ทีม เก่งๆหลายท่าน แล้วมันได้สร้างแรงบันดาลใจ จุดเด่น ลูกไม้โค้ชแต่ละคนก็แพรวพราวต่างกัน" 

"ส่วนตัวไม่อยากวางให้ผมเป็นมาตรฐานสำหรับ ผจก.ทีม ชาวอังกฤษคนอื่นๆ แต่ลึกๆแล้วก็บอกใจเราว่าต้องทำให้ดีสุดกับสโมสรนี้ แล้วก็อยากเห็นโค้ชหนุ่มเลือดผู้ดีอีกหลายรายเดินเข้าสู่วงการ ลองสัมผัสงานนี้ดู" 

ก๊วนกุนซือสัญชาติอังกฤษอายุไม่เกิน 45 ปี เด่นๆ ที่เคยผ่านประสบการณ์นักเตะดีกรีทีมชาติก็อย่างเช่น


ฟิล ฐานะผจก.ทีมอังกฤษ สตรี โม่แข้งฟีฟ่า เวิลด์ คัพ 2019

'สตีวี่ จี' ซึ่งรับงานคุมทีม เรนเจอร์ส เข้าสู่ฤดูกาลที่สอง, ฟิล เนวิลล์ ซึ่งพาทีมชาติอังกฤษ สตรี เข้าถึงรอบรองฯ ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ 2019 แล้วอาจรวม จอห์น เทอร์รี่ มือขวาของ ดีน สมิธ ที่ช่วยกันผลักดัน แอสตัน วิลล่า ชนะเพลย์ออฟเลื่อนชั้นขึ้นพรีเมียร์ลีก อังกฤษ

ส่วนระดับลีกรองก็หลายหน่ออย่าง พาร์เกอร์ รอคุม ฟูแล่ม แบบเต็มตัวต่อสู้ระดับแชมเปี้ยนชิพ, ลี โบว์เยอร์ นำทัพ ชาร์ลตัน ชนะเพลย์ออฟ เลื่อนชั้นจาก ลีก วัน มายัง ชปช., โจนาธาน วู้ดเกต ถูกโปรโมทจากสตาฟฟ์โค้ช สู่ตำแหน่ง ผจก.ทีม มิดเดิ้ลสโบรช์ พร้อมเดบิวต์ซีซั่นแรก 

แคมพ์เบลล์ ก็คืออีกคนที่กล้าหาญรับงาน แม็คเคิ่ลฟิลด์ ในระดับ ลีก ทู ปลุกปั้นจนรอดตกชั้น 

นับเป็นตัวเลขที่มากขึ้นหลายเท่าเมื่อเทียบกับการจดบันทึกหนก่อน มี.ค.2014 โดยเวลานั้นมี ผจก.ทีม ชาวอังกฤษเพียง 4 ราย ในหมู่ 92 สโมสร ลีกอาชีพอังกฤษสี่ดิวิชั่น (พรีเมียร์ลีก - ลีก ทู) - ได้แก่ ไนเจล คลัฟ ที่ เชฟฯ ยูไนเต็ด, ทิม เชอร์วู้ด คุม แอสตัน วิลล่า, คริส พาวล์ แห่ง ฮัดเดอร์สฟิลด์ และ คีธ เคอร์ล เจ้านายใหญ่ คาร์ไลส์ ซึ่งดีกรีติดทีมชาติอังกฤษ สมัยเป็นผู้เล่นรวมกันทั้งหมดแค่ 25 หน 

ผ่านไป 5 ปี จากสี่รายที่ว่าเหลือเพียง คลัฟ กับ เคอร์ล ที่ยังทำงาน ผจก.ทีม แต่กับค่ายอื่นแล้ว 

เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะกระแสอดีตผู้เล่น หันหน้าเข้าวงการโทรทัศน์-สื่อมวลชนมาแรง 

อย่างไรก็ตามเทรนด์ยุค 2019 กลายเป็นว่าพวกนักบอลอาชีพที่แขวนเกือก จะต้องมาพิสูจน์ตัวเองกับงานโค้ช 


แคมพ์เบลล์ สมาชิก เวิลด์ คัพ 2006 คุมทีมอยู่ ลีก ทู

ประเด็นนี้ พาร์เกอร์ กุนซือหนุ่มของ 'เจ้าสัวน้อย' มองว่าเพราะความท้าทายในการเปลี่ยนบทบาทจากผู้เล่นสู่โค้ช ตรงจริตมากกว่า 

"พวกเราหลายคนมองแบบนั้น อย่างก๊วนเคยเล่นทีมชาติที่อบรมใบประกาศร่วมกับผมก็มี ฟิล เนวิลล์, แลมพาร์ด โดยทาง เอฟเอ ดูแลเราอย่างดี สนับสนุนในทุกทางหวังให้ประสบความสำเร็จเพราะทราบว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่อดีตแข้งจะเปลี่ยนบทบาทสู่งานโค้ชแล้วประสบความสำเร็จทันที ... ก็นับว่าองค์กรมาถูกทาง"

"ความคลั่งไคล้ต่อหน้าที่โค้ชคือวัตถุดิบสำคัญทำให้คุณอยู่บนตำแหน่งนี้รอด"

"ยิ่งกับโลกฟุตบอลสมัยใหม่พวกนักเตะมีรายได้เป็นกอบ เป็นกำ กินอยู่สบาย ตำแหน่ง ผจก.ทีมก็งานยากขึ้นที่จะปลุกเร้าความกระหายของลูกน้องที่ไม่ได้เดือดร้อนใดกับชีวิต"  

"เราฐานะโค้ชจึงต้องเครียดกว่าเดิม เค้นสมองเพิ่มขึ้น แสดงความคลั่งไคล้ออกมา บอกให้ทุกคนทราบว่าต้องการนำทีมประสบความสำเร็จ" 


พาร์เกอร์ จะคุมฟูแล่มเตะ แชมเปี้ยนชิพแบบเต็มตัว 2019-20

อิทธิพลจากลูกพี่เก่า หรือโค้ชต้นแบบก็เป็นอีกประการที่ผลักดันบรรดานักเตะดังๆ กรูกันสู่เส้นทาง ผจก.ทีม หรือฝ่ายบริหารฟุตบอล มากกว่าทำหน้าที่สื่อมวลชน 

ยกตัวอย่างขุนพล แมนฯ ยูไนเต็ด ที่เคยร่วมงานกับ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ทั้ง รอย คีน, แกรี่-ฟิล เนวิลล์, พอล สโคลส์ หรือ ไรอัน กิ๊กส์ ล้วนผ่านประสบการณ์โค้ชมาทั้งสิ้น 

หรือฝั่ง เชลซี นักเตะซึ่งมีโอกาสรับการถ่ายทอดจาก โชเซ่ มูรินโญ่ ก็มี 'เดอะ สเปเชี่ยล วัน' เป็นแรงบันดาลใจเช่น โค้ด มาเกเลเล่ จ่อถูกตั้งเป็นสตาฟฟ์ เชลซี, เปาโล แฟร์เรยร่า, คาร์โล คูดิชินี่ ก็เข้าวงการมาหลายปี, พาร์เกอร์, เทอร์รี่, แลมพาร์ด แม้แต่ ปีเตอร์ เช็ก กับบทบาทฝ่ายเทคนิค วางกลยุทธ์ 'สิงห์บลูส์' ก็เป็นอีกศาสตร์ลูกหนัง 


แลมพ์ส คุมเชลซีซ้อมที่แคมป์ประเทศไอร์แลนด์

จุดนี้ก็เป็นอีกสิ่งที่ พาร์เกอร์ ยกมาอวยแก่พวกพ้องอดีตแข้ง เชลซี "แฟร้งค์ กับ จอห์น มีบุคลิกภาพโดดเด่น พวกเขาเป็นตัวขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร, ขับเคลื่อนมาตรฐานทีม, ขับเคลื่อนทุกอย่างไปในทางที่ ผจก.ทีม ชอบ" 

"ผมก็อยากรวมตัวเองเข้าไปด้วย เพราะเคยช่วย ผจก.ทีม เตรียมตัวในบางเรื่อง ครูพักลักจำวิชามาบ้าง - นั่นคืออีกเหตุผลที่อยากเดินตามรอยเท้าโค้ชเก่งๆ" 

แล้วก็ให้บังเอิญว่า โอเล่ กุนนาร์ โซลชา ศิษย์เฟอร์กูสัน จะมีโอกาสดวลกึ๋นกับ แลมพาร์ด ลูกน้องเก่า มูรินโญ่ ตั้งแต่นัดเปิดสนามพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ซีซั่น 2019-20 

ไม่แน่บางทีใน 14-15 ปีจากนี้เราอาจมีโอกาสเห็น เจสซี่ ลินการ์ด, มาร์คัส แรชฟอร์ด หรือ คริส สมอลลิ่ง เปลี่ยนบทบาทจากนักเตะ แมนฯ ยูไนเต็ด สู่ ผจก.ทีม นำทัพดวล รอสส์ บาร์กลี่ย์, แดนนี่ ดริก์วอเตอร์ หรือ รูเบน ลอฟตัส-ชีก ที่สวมสูทวาดแผนข้างสนามบ้างก็ได้ 

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด