:::     :::

กำจัดมารในใจ คู่ต่อสู้เป็นใครไม่สำคัญ [บทวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา]

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2562 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
1,399
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
บางทีคู่ต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการกลับมาทวงบัลลังก์แชมป์อีกครั้ง อาจจะไม่ได้มาจากคู่แข่ง แต่พวกเขาต้องจัดการกับมารที่อยู่ภายในมากกว่า

อีกหนึ่งแง่มุมที่น่าสนใจของการแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในการที่จะกลับมาสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้งนั้น หลายคนก็ว่ากันไปต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็นการซื้อตัวนักเตะเก่งๆ การนำเข้าโค้ชระดับมหากาฬที่มีระบบการเล่นชัดเจน หรือการแก้ไขระบบบริหารงานที่ล้มเหลวของบอร์ดระดับสูงและเจ้าของสโมสร  เรื่องทุกเรื่องล้วนแล้วแต่สำคัญทั้งสิ้นต่อการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นของแมนยูไนเต็ด แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนมองข้ามไปเสมอ และอาจจะถูกมองว่าไม่ได้สลักสำคัญอะไร แต่จริงๆแล้วมันคือปัจจัยที่จำเป็นสุดๆอีกเรื่องหนึ่ง

สิ่งนั้นก็คือ เรื่องของสภาพจิตใจของนักเตะในเชิงจิตวิทยา


แน่นอนว่าหัวเรื่องแบบนี้มันอาจจะไม่ได้แลดูดึงดูดเท่ากับเวลาเขียนกระแทกกระทั้นเอามันส์สะใจ หรือวิเคราะห์แทคติกอย่างที่เคยๆเขียนมา แต่ว่านี่เป็นเรื่องสำคัญมาก สาเหตุก็เพราะคู่ต่อสู้ของแมนยูไนเต็ดที่ชื่อว่าวูล์ฟแฮมตันนี่แหละ คือต้นเรื่องของบทความนี้

วูล์ฟคืออีกทีมหนึ่งที่เป็นต้นเหตุของความเป๋แมนยูไนเต็ด ในช่วงท้ายฤดูกาลที่ก็เป็นยุคของโอเล่คุมทีมแล้ว นับจากการพลาดอาร์เซนอลมา สิ่งที่ทำให้ทุกอย่างมันแย่ลงอีกก็คือการพ่ายซ้ำซ้อนกันของยูไนเต็ดกับวูล์ฟแฮมตัน ที่ทำให้พวกเขาสูญเสียไปทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นความหวังของถ้วย และตำแหน่งในลีก ต่อกันรัวๆเลยสองนัดรวด (สกอร์เดิมด้วยสาด 2-1)

หลังจากพลาดแล้ว ยูไนเต็ดไม่สามารถกลับมาเป็นทีมเดิมที่ฮึกเหิมเมื่อช่วงเปลี่ยนโค้ชสิบนัดแรกได้อีกเลย

ยับ

สิ่งเหล่านี้มันเห็นได้ถึงความสำคัญของ "หัวใจและความรู้สึก" ของนักเตะในทีมมากๆ

สิ่งที่ผมอยากจะพูดก็คือ การเจอวูล์ฟไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเลย ผู้เขียนไม่เคยกลัว และก็ไม่เพียงแต่วูล์ฟด้วยซ้ำ แต่ไม่ว่าจะเป็นใคร ทีมไหนก็ตามที มันก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ากลัวเลยต่อให้พวกเขาจะเหนือกว่าเราสักแค่ไหน เพราะส่วนหนึ่งของฟุตบอล มันตัดสินกันที่หัวใจจริงๆ  ใครที่สภาพจิตข้างในดีกว่า พร้อมกว่า และมีพลังมากกว่าอีกฝ่าย ทีมนั้นจะเป็นผู้ชนะ มากกว่าที่จะแพ้หรือเสมอ

ถามว่าสภาวะในเชิงจิตวิทยาสำคัญยังไง ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดก็คือ สิบนัดแรกที่แมนยูไนเต็ดคึกคักยังกับปลากระดี่ได้น้ำนั้น นั่นก็เป็นเพราะว่า "สภาพจิตใจ" ที่มันดีขึ้น และฮึกเหิมไม่ใช่หรือ เราจึงทำได้เช่นนั้น  จากที่ก่อนหน้านั้น บรรยากาศในทีมย่ำแย่ การบริหารของเฮียมูสร้างปัญหาทีมให้เกิดขึ้นส่วนหนึ่ง แม้ว่าเขาจะทำได้ดีในอีกส่วนหนึ่งก็ตามไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชิงแทคติก หรือการพิสูจน์ให้แฟนบอลเห็นอะไรบางอย่าง  แต่ในด้านบรรยากาศของทีม มูรินโญ่เฟลหนักกับแมนยูไนเต็ด

คำถามก็คือ นักเตะที่ยิงกระจุยกระจาย ชนะรวดมาสิบนัดนั้น กับ นักเตะที่เล่นกับมูรินโญ่แล้วแพ้เอาๆ ยิงก็ไม่ค่อยได้ รวมถึงการโดนลิเวอร์พูลขยี้ด้วย นักเตะที่ว่านี้คือคนละกลุ่มกันหรือไม่ คำตอบก็คือ  มันก็ไอ้นักเตะชุดเดิมที่เรามีนี่แหละ!


ดังนั้นจะเห็นได้จากเคสปีที่แล้วนี่แหละว่า เรื่องของสภาพความมั่นใจในเชิงจิตวิทยา สำคัญมากๆในเรื่องของการแข่งขันฟุตบอลที่ต้องเอาแพ้เอาชนะกัน ทีมที่ฮึกเหิมกว่า มั่นใจกว่า พร้อมจะขยี้ หรืออยากเอาชนะมากกว่า ก็มักจะชนะและทำได้ดีกว่าทุกๆครั้ง ทั้งด้านการครองบอลบุกกดดันบี้ให้เละ หรือความมั่นใจในการเล่นเกมรุกก็ตามที เรื่องของหัวใจสำคัญมากๆ

แม้กระทั่งการที่จะต้องเจอกับทีมประเภทที่ว่า "แพ้ทาง" อย่างเช่นขุมกำลังนักเตะหมาป่า หรือทีมบางทีมอย่างแมนเชสเตอร์ซิตี้เป็นต้น ผมอยากชี้ให้เห็นว่า มันไม่ใช่เรื่องของการแพ้ทาง แต่มันคือความมั่นใจในนัดนั้นๆ โดยที่ไม่ขึ้นตรงกับการแปรผันของคู่ต่อสู้มากนัก

พูดภาษาชาวบ้านเลยก็คือ มันไม่ได้อยู่ที่คู่ต่อสู้ แต่มันอยู่ที่ตัวเราเองต่างหาก


ย้อนกลับมาอีกครั้ง ผมไม่อยากให้แฟนผีกลัววูล์ฟ เหมือนอย่างที่ตอนนี้เราเป็นกัน เช่นเดียวกันกับแมนซิตี้ ที่ถ้าหากใครได้ดูจริงๆในปีก่อน มันก็ยังมีลุ้นอยู่ในการที่จะเข้าไปให้ใกล้เคียง หรือต่อสู้กับเขาได้เวลาเผชิญหน้ากันในเกมลีก

สิ่งที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดต้องทำในเบื้องต้น หากอยากจะกลับมาให้ได้ส่วนหนึ่งนั้น ตอนนี้งานของโอเล่ทำมันไปได้ครึ่งทางแล้ว นั่นก็คือการ "รีโมเดลสภาพจิตใจนักเตะ" ให้มันแตกต่างออกไป ทั้งความมั่นใจของนักเตะต่อทีม ต่อหัวหน้า(เฮดโค้ช ผจก.) ความเป็นปึกแผ่นของทีม และการไม่ยึดติดกับความกลัวเดิมๆ

ส่วนตัวผมเองนั้นเป็นอีกคนหนึ่งจริงๆที่ไม่มีความรู้สึกว่าจะต้องกลัวกับบางทีมเลย โดยเฉพาะวูล์ฟ ผมไม่รู้สึกว่าเราจะต้องกลัว และเราก็ควรจะต้องลงสนามด้วยสภาพความรู้สึกเช่นนั้น แฟนผีหลายๆคนกังวลและคิดว่าเราไม่น่าจะดีพอที่จะเอาชนะ เลยเกิดความไม่มั่นใจในการคาดเดาเกมหรือสกอร์ และคิดว่าแมนยูไนเต็ดคงไม่น่าจะเจองานง่าย

ใช่แล้ว มันไม่มีงานง่ายหรอกในทุกๆเกมการแข่งขัน  แต่ว่าเราปรับทัศนคติเรื่องนี้ได้


ผมมองว่าวูล์ฟก็เหมือนกับทีมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นบาซ่า ซิตี้ หรือจะทีมท้ายตารางอย่างเซาท์แธมตันก็ตามที ทุกทีมเหมือนกันหมด นั่นก็คือคู่แข่งของแมนยูไนเต็ด แต่คำถามคือ ก่อนที่คุณจะไปสู่การพิจารณาเป้าของเราในแง่ของคู่แข่งขันแล้วนั้น มีคนที่เราจำเป็นต้องชนะให้ได้ก่อน ก่อนที่จะไปหาทางพิชิตคู่ต่อสู้ นั่นก็คือคุณจะต้องชนะความรู้สึกของตัวเอง

โอเล่ กุนนาร์ โซลชา จำเป็นที่จะต้องปรับขบวนความรู้สึกของเด็กๆให้ทรงพลัง และฮึกเหิมเช่นนี้เอาไว้ไปเรื่อยๆ เพราะสภาพพลังใจของทีมในตอนนี้นั้น มันคือเลเวลเดียวกันเป๊ะๆกับ สิบนัดแรกของซีซั่นที่แล้ว ที่เล่นกันด้วยความฮึกเหิมมั่นใจ และมันส่งผลให้เกมออกมาดีด้วย เมื่อนักเตะพร้อมจะบดขยี้คู่แข่งให้ได้ ไม่ว่ามันจะเป็นใคร

ดังนั้น จะวูล์ฟหรือบาซ่า ก็ไม่ต่างกัน ในเมื่อเราต้องเอาชนะตัวมารที่เรียกว่า "ความสั่นคลอนในใจ" ให้ออกไปก่อน กำจัดมันไปให้หมดอย่าให้มีเหลือ เหลือเอาไว้แต่เพียงจิตใจของผู้ชนะที่พร้อมบวกได้ทุกคน แบบเดียวกันกับที่มีตอนนี้ ถ้าโอเล่สามารถรักษาสิ่งเหล่านี้เอาไว้ได้รับรองว่าบินฉิวยาวๆแน่

 หากจะมองกันในภาษาฟุตบอล ไอ้นี่มันคือส่วนหนึ่งของ "โมเมนตัม" ทีมนั่นแหละ


อย่างที่สิบนัดแรกดังกล่าวทำได้ คือฟอร์มดีปุ๊บ ทีมสามารถยืดระยะสภาพคึกคักนั้นเอาไว้ได้สิบนัด รักษาให้โมเมนตัมของทีมมันคงที่ ไม่แกว่ง  เราจึงชนะได้รัวๆยาวเลย

แต่ทันทีที่ เราเจอจุดด่างพร้อยกับอาร์เซนอล และกับวูล์ฟในปีก่อน หลังจากนั้นมาคือเป๋ยาวรวดๆ ความมั่นใจแบบเดิมหายเกลี้ยง เหลือแต่สภาพขี้แพ้ไม่ต่างกับสมัยตอนทีมเจอปัญหา กลับมาอีกครั้ง   ทีมที่ไล่บดขยี้คู่แข่งเยอะๆไม่ว่ามันจะเป็นใครทีมนั้นหายไปหมดเกลี้ยง  ทั้งๆที่พวกเขาก็เพิ่งโกงความตาย ตบปารีสตกรอบมาแล้วในแบบที่ไม่ควรจะเป็นไปได้

ซึ่งถ้าลองคิดดูจริงๆ  ทีมที่ไปขยี้ปารีสคาบ้านได้ มันก็ควรจะไม่มาแพ้ทีมเล็กๆแบบวูล์ฟนี้ถูกไหม


สรุปแล้วปัญหาของแมนยูไนเต็ดที่มีอยู่หลายๆด้านนั้น สิ่งหนึ่งที่ผู้จัดการทีมอย่างโซลชาควรจะทำให้ได้ ก็คือการรีโมเดลหัวใจของนักเตะให้แน่วแน่ และแข็งแกร่งกว่าเดิม  ดึงเอาพลังบวกของปีก่อน ตอนที่เป็น "บอลเปลี่ยนโค้ช" แบบนั้นกลับมาให้ได้ เหมือนที่ทำให้ตอนขยี้เชลซี4-0ในนัดแรก  นั่นแหละมันคือพลังของบอลเปลี่ยนโค้ช แต่แค่เปลี่ยนชื่อเป็น "บอลนัดเปิดฤดูกาล" แทนต่างๆ  แต่ถามว่ามันแตกต่างกันไหม

"มันไม่แตกต่างกันเลย"

ความเหมือนกันของ บอลเปลี่ยนโค้ช กับ บอลนัดเปิดฤดูกาลนั้น มันมีจุดร่วมเดียวกันแบบเห็นชัดๆเลยนั่นก็คือ "ความมั่นใจ" และความฮึกเหิมในสภาพจิตของนักเตะ ซึ่งเป็นเรื่องเชิงจิตวิทยาล้วนๆ  


บอลเปลี่ยนโค้ชก็เต็มไปด้วยความสุขที่ปลดเปลื้องอะไรบางอย่างออกไป และมีความมั่นใจที่จะเล่น / ส่วนบอลนัดเปิดสนาม ก็เป็นความมุ่งมั่นที่อยากจะโชว์ผลงานเปิดหัวให้ดีเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย  หากเราคงสภาพนี้เอาไว้ได้ให้ยาวที่สุด เราจะต้องเก็บผลการแข่งขันที่ดีอย่างต่อเนื่องได้แน่ เช่นเดียวกันกับปีที่แล้ว ทั้งซิตี้ และลิเวอร์พูลเองก็มีนัดแข่งขันที่เป็นเหมือนจุดเปลี่ยนเยอะ โดยเฉพาะการโกงตายให้ทีมของ ราฮีม สเตอร์ลิ่ง บ่อยครั้งมากๆในช่วงต้นซีซั่น ที่สำคัญที่สุดของการเป็นแชมป์ของซิตี้ 

ราฮีม สเตอร์ลิ่ง บันดาลแชมป์ให้แมนซิตี้โดยที่เจ้าตัวก็ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า ผลเชิงจิตวิทยาที่เขาทำได้นั้น สำคัญยิ่งกว่าตัวสกอร์เป็นนามธรรมที่เขาทำได้เสียอีก  เอาจริงๆแล้วเรื่องจำนวนประตูเนี่ย มีคนอื่นๆในทีมที่ทำได้ ยิงแทนเขาได้อีกเยอะ แต่สิ่งที่ราฮีมผลิตให้กับแมนซิตี้ มันคือความมั่นใจที่พาทีมรอดผลการแข่งขันเลวร้ายมาได้นักต่อนักในซีซั่น

จากนั้นซิตี้ก็บินยาวๆเลย พลาดอีกแค่นัดเดียว จากนั้นไม่นานก็กลับมาได้ จนพวกเขาได้แชมป์ในที่สุด


สเตอร์ลิ่งกับซิตี้ คือตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่ดีที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง พอๆกับเหตุการณ์สิบนัดแรกของทีมเราปีที่แล้วในยุคโอเล่นั่นแหละ ที่เป็นบทพิสูจน์ว่า ในโลกของฟุตบอล เอาจริงๆแล้วการมีคู่แข่งที่ฝีมือดีนั้น อาจจะสำคัญกับการแพ้ชนะก็จริง แต่เรื่องที่สำคัญกว่า ก่อนที่จะไปหาทางชนะคู่ต่อสู้  นั่นก็คือการกำจัดมารในใจให้ได้ก่อน แล้วสร้างความมั่นใจ ความฮึกเหิมในการเล่นฟุตบอลให้กับนักเตะในทีม และบรรยากาศทีมโดยรวม

ซึ่งสิ่งนี้คือความสำเร็จขั้นต้นที่โอเล่ได้เสกเอาไว้แล้ว ด้วยการรวบรวมเอาเด็กหนุ่มอายุน้อยจำนวนมากที่มีเป้าหมาย มีความรู้สึกเดียวกัน และเข้ากันได้เป็นอย่างดี ซมันมาจากพื้นฐานที่เขาต้องการจะสร้างทีมเด็กหนุ่มจากพื้นถิ่นสหราชอาณาจักรด้วยจากการที่เลือกที่จะเสียเงินปริมาณมากเพื่อแลกที่จะดึงเอาตัวนักเตะฝีเท้าดีที่เป็นคนอังกฤษ เพื่อที่จะได้มาเข้ากับทีมได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน และยิ่งทำให้นักเตะที่เหลือแฮปปี้ด้วยที่เข้ากันกับเพื่อนใหม่ฝีเท้าดีได้   นี่คือส่วนหนึ่งผู้จัดการทีมได้สร้างสภาวะทางจิตใจที่ดีให้กับนักเตะแล้วในเบื้องต้น ต่อจากนี้คือการยืนระยะ และการกระตุ้นความมั่นใจ  ผสมกับเรื่องในเชิงtechnicalในด้านแผนการเล่นและtacticsล้วนๆ

ถ้าเบื้องต้นจัดการมารในหัวใจได้ จะเจอใครก็ไม่สำคัญ

-ศาลาผี-


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด