:::     :::

จากอย่างเข้าใจ

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2562 คอลัมน์ ฉันดูบอลที่ร้านเหล้า โดย ดากานดา
3,196
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ข่าวคราวการยุบ อาร์มี่ ยูไนเต็ด ออกจากสารบบลูกหนังไทย ไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพรส์สำหรับผู้เขียนแต่อย่างใด

หลังจาก พี่เล็ก วาสนา แหล่งข่าววงในระดับ “ใต้เตียงทหาร” ออกมาคอนเฟิร์มว่า พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานสโมสร มีคำสั่งยุบทีมอย่างเป็นทางการ

ทั้งที่ย้อนกลับไปก่อนหน้าราว 1-2 เดือน ยังมีข่าวหลุดมาว่า สโมสรเตรียมไปตั้งฐานใหม่ใน จ.ลพบุรี เพื่อสู้ศึก ไทยลีก 2 ซีซั่นหน้า ทว่าโปรเจกต์ดังกล่าวถูกจับยัดลิ้นชักไปถาวร

ที่เกริ่นมาข้างต้นว่า “ไม่เซอร์ไพรส์” แต่อย่างใด เพราะ อาร์มี่ อยู่ในสถานะถูก “เลี้ยงไข้” มาพักใหญ่แล้ว

ด้วยระบบฟุตบอลองค์กร และบริหารทีมแบบราชการ ทิศทางลูกหนังทีมจึงไม่ได้เคลื่อนไปเหมือนสโมสรฟุตบอลอื่นในลีก

เอาแค่ประธานสโมสร เมื่อ ผบ.ทบ. “หมดวาระ” ทีก็มีการเปลี่ยนที เช่นเดียวกับตำแหน่ง “ผู้จัดการทีม” หรือ “ผู้อำนวยการสโมสร” ที่ใช้คนในกองทัพมารับหน้าที่แทน แต่วันดีคินดี ผู้จัดการทีมที่ทำหน้าที่มาอย่างดี ถูกเลื่อนขั้น ปัดยศขึ้นให้ใหม่ โดนย้ายไปประจำการหัวเมืองอื่นในต่างจังหวัด สโมสรก็ต้องหาคนใหม่เข้ามาทำแทน

ความต่อเนื่องในการพัฒนาทีมถูกทำให้หล่นหายไป

อย่างลืมว่าคนในกองทัพ ไม่ว่าจะเป็น ผบ.ทบ. หรือ ผู้จัดการทีมที่ถูกตั้งมา พวกเขาเหล่านี้คือข้าราชการทหาร ทำงานตามหน้าที่ บางคนเขาไม่ได้ “รักฟุตบอล” หรือ เทใจให้กีฬาขนาดนั้น

กระทั่งนักฟุตบอลเองมากกว่าครึ่ง ต่างรับราชการติดยศทั้งสิ้น พวกเขายอมกินเงินเดือนกองทัพที่ไม่ได้สูงเหมือนแข้งอาชีพทั่วไป พร้อมเป็นทหารไปในตัว เพราะวันหนึ่งต่อให้ร่างกายเล่นไม่ไหว ก็ยังรับราชการได้ต่อ

“เงินหมด แต่ยศกูอยู่”




ที่ผ่านมา อาร์มี่ ประคองตัวด้วยความเป็นบ้านลูกหนังเก่าแก่ ตั้งแต่ฟุตบอลลีกไทยยังไม่เป็นอาชีพ ฉะนั้นเมื่อโลกลูกหนังหมุนเปลี่ยนไป หลายอย่างในระบบ “ราชการ” มันไม่สามารถตอบโจทย์ลีกไทย ณ ปัจจุบันขณะ

และ “ฟางเส้นสุดท้าย” คือการทำได้แค่เฉียด อดขึ้นชั้นติดกันหลายปีแล้วนั่นแหละ

การย้ายรังไปเมืองรองทหารอย่าง ลพบุรี ถือเป็นไอเดียดี แต่นั่นคือสิ่งที่ “บิ๊กแดง” เองอ่านเอาไว้แล้วว่า อาร์มี่ (ทีมฟุตบอล) ในเวลานี้ไม่ได้ยิ่งใหญ่ เกรียงไกร เหมือนยุคก่อน แถมการทำสโมสรฟุตบอลสมัยนี้ ต้องใช้ “เม็ดเงิน” มหาศาลในการบริหาร ทั้งการปรับปรุงรังเหย้าใหม่ การหาฐานแฟนบอล  อีกทั้งต้องชนกับระบบราชการ ข้อจำกัดอีกหลายอย่างในกองทัพ

ทุกอย่างต้องใช้เงิน…

แม้ทีมจะมีสปอนเซอร์ จาก 2 เจ้าสัว กลุ่มทุนที่รวยระดับประเทศ ยอมเจียดธนบัตรเป็นงบประมาณทำทีมทุกปี ซึ่งเงินที่หว่านให้อาจเป็นเพียง “ขนหน้าแข้ง” ของพวกเขา

แต่นั่นเป็นการ “จ่าย” เพื่อซื้อความสัมพันธ์ทางทหาร ที่กำลังบริหารบ้านเมืองเวลานี้ หรือจ่ายเพื่อช่วยฟุตบอล สิ่งเหล่านี้ยังเป็นคำถาม ?

อีกทั้งเมื่อเปย์ให้ทุกปี ๆ แต่สิ่งที่ทีมคืนกลับไปยังสปอนเซอร์หลัก 2 กลุ่มทุนเหล่านี้คืออะไร เพราะเมื่อมองภาพรวม การจัดการในระบบฟุตบอลอาชีพ พวกเขาเหมือนพยายามให้ อาร์มี่ ยูไนเต็ด “แค่มีตัวตน” ในสารบบลูกหนังไทยเท่านั้น  

ไม่ได้มี “เป้าหมาย” ทะเยอทะยานอะไร บริหารไปก็ติดลบ สุดท้ายเลิกยื้อ และเลือกที่จะหยุด

ผู้เขียนเข้าใจว่าคนที่เจ็บปวดแท้จริง กับการตัดสินใจครั้งนี้มากสุดคือ “แฟนบอล” ที่ตามให้กำลังใจสโมสรมาตลอด

แฟนบอลเป็นง่าย แต่เลิกยาก บางทีคนที่ไม่ได้พิสมัยในฟุตบอล แต่มา “บริหาร” ฟุตบอล อาจไม่เข้าใจความหมายแท้จริงของสิ่งเหล่านี้

แต่อย่างที่บอกไป อาร์มี่ ตลอดหลายปีผ่านมาอยู่ในสถานะ “เลี้ยงไข้” บนอุตสาหกรรมฟุตบอลสมัยใหม่ เมื่อไปต่อไม่ไหว ก็ต้องเข้าใจและยอมรับ

คงไม่ต่างจากการ “ยื้อความสัมพันธ์” ที่ต่อให้ทนฝืนยิ้มแค่ไหน สุดท้ายก็รอวันจบอยู่ดี


** ภาพประกอบคอลัมน์ : FB Army Utd Fanclub

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด