:::     :::

รากเหง้าเยาวชน4000นัด มรดกดั่งทองคำของManchester United

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2562 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
2,180
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
นี่คือสิ่งที่เป็นตัวตนสำคัญที่สุดอีกสิ่งหนึ่งของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่ไม่ว่ายุคสมัยไหนเราก็ไม่เคยขาดนักเตะท้องถิ่นในการลงสนามให้กับทีม และนี่คือหลักไมล์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยความสำเร็จเขาพวกเรานั้นมาจากไหน

ในขณะที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกำลังจะพบกับเอฟเวอร์ตันในวันที่15ธันวาคมนี้นั้น มันกำลังจะเป็นความสำเร็จแมตช์ที่4000ของทีมชุดซีเนียร์ที่อย่างน้อยที่สุดมีนักเตะจากทีมเยาวชนอยู่ในนักเตะชุดแรกหรือมีชื่อในทีมวันแข่งขัน สถิติอันน่าเหลือเชื่อนี้ยืดยาวมานับเป็นเวลา9ทศวรรษแล้วนับตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเสียอีก!

เกมที่4000นี้มาพร้อมกับช่วงเวลาอันน่าตื่นเต้นของการพัฒนานักเตะเยาวชนโดยเฉพาะกับการเดบิวต์ของน้องๆนักเตะถึง10คนในฤดูกาลนี้จากทีมอะคาเดมี่ และเหล่านักเตะโฮมโกรนก็ลงไปเล่นมากกว่า3ใน4ของเวลาทั้งหมดนับจากทีมนักเตะชุดใหญ่

Made in Manchester United

นักเตะที่ประสบความสำเร็จจากชุดเยาวชนของเราในยุคปัจจุบันนั้นประกอบด้วย ปอล ป็อกบา เจสซี่ ลินการ์ด อันเดรส เปเรร่า มาร์คัส แรชฟอร์ด แอกเซล ตวนเซเบ้ สก็อตต์ แม็คโทมิเนย์ และเมสัน กรีนวู้ด นักเตะเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสมบัติล้ำค่าที่เป็นเหมือนหัวใจและตัวตนของสโมสรมาเป็นเวลา4000เกมต่อเนื่องแล้วนับตั้งแต่ปี 1937

Duncan Edwards, Bill Foulkes, Sir Bobby Charlton, Nobby Stiles, George Best, Norman Whiteside, Mark Hughes, Ryan Giggs, Gary Neville, David Beckham, Paul Scholes และ Darren Fletcher ก็คือเหล่านักเตะผู้ที่มาจากชุดเยาวชนที่ได้ลงเล่นในทีมชุดใหญ่ต่อเนื่องกันมา82ปีเช่นเดียวกัน

David Beckham และที่วางตีนธรรมดาๆของเขา

การอุทิศพื้นที่และโอกาสให้กับการพัฒนานักเตะพรสวรรค์จากท้องถิ่นเหล่านี้ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของทั้งด้านตัวตนและแผนปฏิบัติของสโมสร จะยังคงอยู่ต่อไปโดยมุ่งหวังที่จะสร้างนักเตะรุ่นใหม่ๆให้ประสบความสำเร็จและน่าทึ่งกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เพื่อที่จะรักษาสปิริตของเหล่าบัสบี้เบ๊บส์และ คลาสออฟ92 ต่อไป

Ed Woodward รองประธานฝ่ายบริหารกล่าวว่า "ระบบเยาวชนคือส่วนที่สำคัญมากสำหรับตัวตนของสโมสรเราและสิ่งที่เราต้องการจะประสบความสำเร็จ เราตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะพัฒนานักเตะอายุน้อยๆที่มีพรสวรรค์มากเพียงพอที่จะใส่เสื้อตราสโมสรของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้ แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องการที่จะพัฒนาคนที่อ่อนน้อมถ่อมตน มั่นใจ มีวินัย และมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย หลักกิโลเมตรที่สำคัญของ4000เกมครั้งนี้นั้นทำให้เราไตร่ตรองและระลึกถึงส่วนของทีมและความสามารถเหล่านั้นทั้งหลายผู้ที่นำความสำเร็จอย่างมากมาให้กับเรา และยังช่วยเตือนให้เรารำลึกถึงความสำคัญที่จะพัฒนาเด็กๆในเจนเนอเรชั่นถัดไปอย่างต่อเนื่องด้วย

โอเล่ กุนนาร์ โซลชา กล่าวว่า "การให้โอกาสเด็กๆของเรานั้นเป็นวัฒนธรรมที่เราภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง มันคือส่วนหนึ่งของDNA และคุณจะรับรู้สิ่งนี้ได้ทันทีเลยที่คุณเข้ามาอยู่ร่วมกับสโมสรแห่งนี้ ไม่มีสิ่งใดจะทำให้ผมมีความสุขมากไปกว่าการที่ได้เห็นผู้เล่นที่ขึ้นมาจากทีมชุดเยาวชนได้ลงไปโลดแล่นอยู่ในสนามให้ได้เห็น นักเตะหนุ่มๆสร้างเซอไพรส์และความประทับใจให้คุณได้เสมอเวลาที่มอบโอกาสให้พวกเขาได้แสดงพรสวรรค์ให้เห็น มันคือหลักไมล์ที่เราภาคภูมิมาอย่างยาวนาน และมันจะต้องอยู่ยืนยงเช่นนี้ต่อไปอีกนาน!"


นิค ค็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายเยาวชน "เป็นความสำเร็จที่เหลือเชื่อมากๆกับทุกคนที่สถาบัน สถิติบันทึกมามากกว่า80ปีต่อเนื่องที่เยาวชนของสโมสรได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมในทุกๆแลนด์มาร์คสำคัญของประวัติศาสตร์สโมสร ความสำเร็จนี้นั้นผ่านมาจากการทำงานอย่างหนัก อุทิศตนทุ่มเทด้วยแพสชั่นทั้งหมด มาจากความสำเร็จอันยาวนานของการพัฒนานักเตะเยาวชน ผมขอคารวะอย่างสูงให้กับสต๊าฟทุกๆท่าน ผู้คนและรวมถึงครอบครัวของสมาชิกที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ไม่มีใครเทียบนี้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างต่อเนื่องโดยเหล่าผู้คนที่งดงามเหล่านี้มานานนับปี และพวกเราจะมั่นใจได้ว่าสถาบันนักเตะเยาวชนจะยังคงเป็นทุกลมหายใจของสโมสร"

นิคกี้ บัตต์ หัวหน้าทีมพัฒนานักเตะชุดใหญ่กล่าวไว้ว่า "เป็นสถิติที่มหัศจรรย์จริงๆนะ มันบอกทุกๆอย่างที่เป็นแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเลย ความมุ่งหวังหลักของอะคาเดมี่นั้นคือการที่จะปั้นนักเตะส่งขึ้นไปติดทีมชุดใหญ่ให้ได้ และมันเกิดขึ้นแบบนั้นมา4000เกมติดต่อกันซึ่งเป็นการประสบความสำเร็จที่ไม่ธรรมดา ในการที่จะพัฒนานักเตะขึ้นมาสักคนนึงนั้นมันประกอบไปด้วยเหล่าโค้ช แมวมอง ทีมดูแลเสื้อผ้า เชฟทำอาหาร ทีมงานภาคพื้นสนาม เหล่าครู ป้าคนดูแล คนขับรถ และอื่นๆอีกมาก ทุกๆคนที่สโมสรเป็นส่วนสำคัญเช่นกันและพวกเขาจะต้องภาคภูมิใจกับหลักไมล์อันสุดยอดเช่นนี้"


ซึ่งเกมที่4000ต่อเนื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ หากจะย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้นของมันนั้นก็อยู่ในเดือนตุลาคม ปี1937 (พ.ศ.2480) Tony Park และ Steve Hobin เปิดเผยประวัติศาสตร์นักเตะเยาวชนนี้ที่น่าทึ่งในหนังสือ Sons of United และเราก็ได้พูดคุยกับโทนี่เพื่อเล่าถึงเรื่องราวดังกล่าว

United : คุณค้นเจอสถิติกับฟูแล่มในเกมเดือนตุลาคมปี1937 ซึ่งเป็นเกมที่เป็นจุดเริ่มต้นของนักเตะท้องถิ่นที่ลงในทีมชุดใหญ่ได้อย่างไร

"ในขณะที่เราเขียนหนังสือเราก็เก็บสถิติเอาไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในปี1957 นักเตะ10คนจากระบบเยาวชนลงเล่นในทีมชุดใหญ่ และคนที่11 Colin Webster มาอยู่กับเราตอนอายุ18 ดังนั้นจึงไม่เป็นเครดิตของนักเตะเยาวชนอย่างเป็นทางการ(ทั้งทีม11คนเพราะโคลินไม่ได้นับ) เป็นต้น  ผมดูย้อนไปเกมต่อเกม(ทุกๆเกม)ในแต่ละซีซั่นเลยทีเดียว ..อ่าวเฮ้ย! เรามีนักเตะเยาวชนลงทุกเกมเลยนี่หว่า ผมจึงย้อนกลับไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะไกลได้และก็พบว่า เกมก่อนนัดเจอฟูแล่มซึ่งมันเป็นแมตช์กับเชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์นั้น ไม่มีนักเตะท้องถิ่นอยู่ในทีม ซึ่งสองคนในตอนนั้นที่มาจากทีมเยาวชนของเราอย่าง Tom Manley กับ Jackie Wassell เมื่อพวกเขาไม่ได้ลงสนามและไม่มีชื่อในไลน์อัพ(เกมกับเว้นส์เดย์) ดังนั้นผมจึงรู้ว่าจุดเริ่มต้นจึงต้องนับจากเกมกับฟูแล่มนั่นเอง

ปู่ชาร์ลตันโคตรเท่เลย

United : คุณได้ตัวเลขมายังไงว่าทำไมมันถึงแตะ4000เกม

"สิ่งที่ยากคือจุดเริ่มต้นนั่นแหละครั้งเดียวจบเลย สิ่งที่คุณจะต้องทำก็คือหาหนังสือyearbooksประจำปีมาให้ได้และก็นั่งนับจำนวนแมตช์ในปีนั้น จากนั้นดูชื่อไลน์อัพตัวจริงตัวสำรอง และทำให้แน่ใจว่ามีนักเตะจากชุดเยาวชนอยู่ในนั้น มีองค์ประกอบที่น่าสนใจอยู่สองสามประการ ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม สถิติบันทึกบางอย่างของแมนยูไนเต็ดนั้นไม่ได้รวมแมตช์อย่าง Screensport Super Cup (เป็นทัวร์มาเม้นต์4นัดย่อยๆในช่วงปลายทศวรรษที่80s) ผมได้ไปสอบถามกับทางFA และได้คำตอบมาว่าทัวร์นาเม้นต์นั้นเป็นลีกการแข่งขันในเครือ  และรายการอื่นๆก็มีอย่าง Anglo-Italian Cup ซึ่งก็อยู่ในเครือการร่วมมือของFA ลีก และทางItalian FAเช่นกัน ผมได้พูดคุยกับทีมอื่นที่เข้าร่วมด้วยอย่ง นิวคาสเซิล สวินดอนทาวน์ และอื่นๆ สโมสรเหล่านั้นก็รวมแมตช์พวกนี้ในสถิติของพวกเขาด้วยเช่นกัน"

"มีทัวร์นาเม้นต์อื่นอื่นๆอีกที่จัดโดยฟุตบอลลีก ที่มีชื่อว่า Centenary Tournament ที่เราก็เข้าไปเตะกะเค้าด้วย บางคนก็รวมแมตช์พวกนี้แต่บางคนไม่รวม แต่ว่าผมรวมเอาไว้ด้วยในความต่อเนื่องนี้เพราะว่าใช้นักเตะชุดซีเนียร์ลงสนามอย่างเป็นทางการภายใต้การรับรองจากFA"


United : มีเกณฑ์สามส่วนที่จะบ่งชี้ว่าอะไรคือ ผู้เล่นที่เป็นนักเตะท้องถิ่นของเรา นั่นก็คือจะต้องเซ็นสัญญาก่อนอายุ18 เล่นในระดับชุดเล็ก(จูเนียร์)ก่อนจะขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ของยูไนเต็ด และไม่เคยลงเล่นกับทีมชุดใหญ่มาจากที่อื่นมาก่อน สามสิ่งนี้จะช่วยให้ทุกสิ่งมันเคลียร์

"ใช่แล้ว ผมคิดว่าคุณต้องมีความยุติธรรมในตัวเองและมีเหตุมีผลกับเกณฑ์ดังกล่าว และอะไรคือสิ่งสำคัญในการใช้เกณฑ์พวกนี้กับช่วงยุค 1950s ไล่มา 60s, 70s และ 80s และต้องใช้มาจนถึง 2020sด้วย  ถ้ามีคนพูดว่า ปอล ป็อกบาไม่ใช่นักเตะท้องถิ่น เพราะว่าเขามาจากฝรั่งเศสนั้น ผมก็จะบอกว่า เย็นก่อนน้องชาย เขาก็เหมือนจอร์จเบสนั่นแหละ มาตอนอายุพอๆกันเลย เขาลงในทีมเยาวชนอยู่สองปี ถ้างั้นทำไมจอร์จ เบสต์ หรือ บ็อบบี้ ชาร์ลตันถือเป็นนักเตะท้องถิ่น แต่ทำไมไม่นับหมอนี่(ป็อกบา)ล่ะ?"

"นั่นแหละ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อยคือแหล่งที่มาของนักเตะเหล่านี้ นอกจากนักเตะที่เล่นฟุตบอลอยู่แค่ในท้องถิ่นตำบลย่านนี้เปลี่ยนเป็นเรื่องการที่เด็กมาเล่นอยู่ในอะคาเดมี่ของเรา  ดังนั้นถ้าเรารักษาเกณฑ์ง่ายๆนี้เอาไว้อย่างมั่นคงหนักแน่น และใช้หลักในการชี้วัดอย่างมั่นคงสม่ำเสมอแล้วนั้น มันก็ยุติธรรมมากพอสมควรแล้ว"


และนี่คือเรื่องราวและรากเหง้าที่มาที่ไปก่อนจะมาเป็นสถิติอันน่าสุดยอดของการลงเล่น4000แมตช์ติดต่อกันโดยที่มีนักเตะจากทีมเยาวชนมีส่วนร่วมในเกมอย่างเป็นทางการเหล่านี้ ต้องบอกได้เลยว่า นอกจากการประสบความสำเร็จอันยอดเยี่ยมโดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่90 อย่างที่เรารู้กันแล้วว่า แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดฟาดแชมป์เรียบวุธไม่ว่าจะเป็นฟุตบอลลีก ถ้วยต่างๆทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงแชมป์ระดับทวีปสามครั้ง ผมค่อนข้างเชื่อว่าแฟนปีศาจแดงที่แท้จริงนั้น หากติดตามกันมาเป็นเวลานานแล้ว ในเรื่องของความสำเร็จต่างๆนั้นมันก็เป็น "ส่วนหนึ่ง" จากหลายๆส่วนที่ประกอบกันเป็น "แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด" แบบที่เราหลงใหลกัน

"Elements" ของแมนยูที่ว่า หากจะให้นับแยกออกมาเป็นพาร์ทใหญ่ๆแล้ว สิ่งที่ทำให้พวกเราเชียร์ หรือเริ่มเชียร์กันมานั้นมันมีอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น

-แชมป์ ถ้วยรางวัล เกียรติยศที่ยิ่งใหญ่

-คาแรคเตอร์นักเตะ

-DNAสโมสรที่ไม่ยอมแพ้จนนาทีสุดท้าย

-การใช้เด็กปั้นนักเตะท้องถิ่นในการลงสนามให้กับทีม


จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดของแมนยูไนเต็ดที่อยู่คู่กับสโมสรเรามาตลอดนั้น ในนั้นมันจะต้องมีเรื่องของ "เด็กปั้นสโมสร" ด้วยอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นยุคไหนๆก็ตามนี่คือเรื่องจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแฟนบอลช่วงยุค90ที่ทีมประสบความสำเร็จมากที่สุดและฐานแฟนบอลก็เพิ่มขึ้นจากยุคนี้นั้น ไล่มาตั้งแต่ช่วง1990s 2000s 2010s (ปี2019นี่ยังถือว่าอยู่ในdecadeของ 2010s อยู่นะ) ซึ่งฐาน10ปีที่ผ่านมาล่าสุดนี้ ดูดีๆเราก็ยังคงมีนักเตะเยาวชนเป็นฐานสำคัญของสโมสรอยู่เสมอไม่ว่าจะปีไหนช่วงไหนก็ตาม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี2019 ปีนี้ผมว่ามันถือเป็นแลนด์มาร์คที่โหดมากๆอีกปีนึงที่ "เด่นชัดมาก" ในเรื่องของการดันเยาวชน โดยการนำของโอเล่ กุนนาร์ โซลชาอย่างที่ทราบกันไปตามข้อมูลก็คือ มีนักเตะที่ได้เดบิวต์ปีนี้เป็นสิบคนรวดเดียว แถมใช้งานจริงอีกต่างหาก แม้ผลงานการคุมทีมอาจจะมีติดขัดไปบ้าง แต่การสร้างฐานสโมสรด้วยนักเตะเยาวชนของเราเป็นเบสหลักแล้วนั้น โซลชาถือเป็นผู้จัดการทีมคนสำคัญที่มุ่งมั่นในเรื่องนี้อย่างเห็นได้ชัด และมันก็สะท้อนออกมาด้วยปริมาณดาวรุ่งที่มีแววในอนาคตจำนวนมากที่เราสามารถใช้ได้ยาวๆ ดังที่ได้เห็นแล้วจากเมสัน กรีนวู้ด หรือแบรนดอน วิลเลียมส์นั่นเอง


ตลอดเวลาที่เชียร์แมนยูไนเต็ดมาตลอด ไม่ว่าจะช่วงที่ได้แชมป์หรือช่วงทีมฟอร์มตกก็ตามที เรื่องราวของเด็กปั้นอยู่กับเราเสมอ ในยามที่ยุค90ได้แชมป์ เราจะเห็นกันมาตลอดว่า "Class of '92" คือแกนหลักสุดสำคัญที่เราเห็นและระลึกเสมอว่า "แกนของทีม" นั้นคือนักเตะที่มาจากการปั้นและดันขึ้นมาจากเด็กฝึกหัดเยาวชนของทีมทั้งสิ้นไม่ว่าจะ แกรี่ ฟิลล์ บัตต์ สโคลส์ เบ็คแฮม แม้กระทั่งกับไรอัน กิ๊กส์ ที่แรกเริ่มนั้นเคยร่วมจอยทีมเยาวชนของแมนซิตี้มาก่อน แต่เขาก็ย้ายมาอยู่กับเยาวชนแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดตั้งแต่วันเกิดอายุ14ปีในปี1987 และหลังจากนั้น4ปี 1991 อายุ17เขาก็เดบิวต์ขึ้นทีมชุดใหญ่ของแมนยูไนเต็ดทันที!

ไม่ว่าจะในช่วงเวลาไหนที่คุณเชียร์แมนยูมา อย่างน้อยที่สุดถ้าคุณเป็นแฟนผีจริงๆจะต้องมีเรื่องพวกนี้แทรกและซึมซับอยู่ในความรู้สึกที่เป็นดั่งหัวใจของการซัพพอร์ตสโมสรอยู่แล้วอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งการจะทำให้ระบบเยาวชนพวกนี้นั้น"สำเร็จ"ได้ที่แท้จริงนั้นจะต้องค่อยๆทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างที่ทราบกัน

"ระบบเยาวชนอันเป็นรากเหง้าของสโมสร ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องใช้แต่นักเตะเยาวชนของเราลงสนาม"

ไอ้คนตรงกลางนี่คงไม่มีใครโชคร้ายไปกว่ามันแล้วเมื่อเจอขนาบด้วยสองปีศาจอย่างก็องโต้กับคีโน่

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดตลอดเวลาที่ผ่านมายาวนาน เรามีเด็กปั้นของเรามีส่วนร่วมกับทีมเสมอ แต่ก็ยังไม่ละเลย และจำเป็นที่จะต้องนำเข้านักเตะฝีเท้าเยี่ยมเข้ามาเพื่อยืนเป็นหลักและฟันเฟืองสำคัญในการพาสโมสรก้าวไปข้างหน้าด้วย บางคนนั้นถือเป็นโรลโมเดล เป็นแบบอย่างและเป็นหลักให้เด็กปั้นของเราได้เกาะยึดเหนี่ยวด้วยซ้ำดังเช่นยุคClass of '92เองนั้นก็ไม่ได้เก่งขึ้นมาเพียวๆทีเดียว เพราะเรายังมีรุ่นพี่ตัวหลักอย่างคันโตน่า มีรอยคีนที่ซื้อเข้ามานำทีม รวมถึงชไมเคิล บรูซ และอีกมากมายที่เข้ามาผสมผสานกับนักเตะท้องถิ่นพวกนี้

การผสมผสานเด็กปั้นจากท้องถิ่น ผสมผสานเข้ากับนักเตะฝีเท้ายอดเยี่ยมเข้าด้วยกัน คือคีย์สำคัญของการประสบความสำเร็จที่นี่ต่างหาก และสิ่งนั้นกำลังเริ่มขึ้นอีกครั้งแล้วจากยังบลัดทั้งจากภายใน (แรชฟอร์ด เมสัน แม็คโทมิเนย์) และนักเตะฝีเท้าชั้นเลิศที่อิมพอร์ตเข้ามาเสริมทีมและหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว (บิสซาก้า แดเนียล เจมส์ มาร์กซิยาล) นี่คือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ และมันก็เข้าใกล้ความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ

การให้โอกาสกับนักเตะเยาวชนที่ผงาดขึ้นมาสู่ทีมชุดใหญ่นั้น นอกจากจะเป็นการประสบความสำเร็จจากพื้นฐานศูนย์ฝึกของเราแล้วนั้น ตัวนักเตะผู้ได้ขึ้นมาติดชุดใหญ่ยังจะเป็น "ตัวอย่างและแรงบันดาลใจที่สำคัญ" อันเป็นโมเดลฮีโร่ให้กับเด็กๆรุ่นหลังได้มีกำลังใจและ "มีความหวัง" ที่จะพัฒนาฝีเท้าและมุ่งมั่นที่จะถีบตัวเองขึ้นมาให้ได้ด้วย เพราะเห็นแล้วว่ามันสามารถทำได้จริง และเป็นจริงได้ ดังเช่นรุ่นพี่ของพวกเขาที่กำลังได้รับโอกาสอยู่ในตอนนี้

แรชฟอร์ด คือตัวอย่างที่ชัดที่สุดของการประสบความสำเร็จจากเยาวชน ดั่งฝันที่ "เกิดขึ้นได้จริง" ซึ่งเป็นกำลังใจให้น้องๆรุ่นหลังได้อีกมาก

แมตช์เกมกับเอฟเวอร์ตันในวันนี้ ต่อหน้าแฟนบอล7-8หมื่นคนในสนามโอลด์แทรฟฟอร์ด ซึ่งเป็นหลักไมล์สำคัญนัดที่ 4000 ต่อเนื่องสำหรับการมีส่วนร่วมของเด็กปั้นเยาวชนของสโมสรนั้น จึงเป็นนัดสำคัญที่ต้องจารึกไว้ และช่วยย้ำเตือนถึงตัวตนที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นอย่างดี

ว่าเราคือใคร รากเหง้าตัวตนของพวกเราคืออะไร อะไรคือสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมของเรามาโดยตลอด

หากตัวตนดั้งเดิมของเราไม่ถูกทำลายและยังคงดำรงอยู่ต่อไปเช่นนี้แล้วนั้น

กงล้อของความสำเร็จอย่างในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาจะต้องหมุนกลับมาหาเราในไม่ช้าอย่างแน่นอน

บทความนี้แด่ประวัติศาสตร์นักเตะเยาวชนท้องถิ่นของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

#BELIEVE

-ศาลาผี-


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลบางส่วนจาก
source : https://www.manutd.com/en/news/detail/man-utd-celebrate-unrivalled-academy-milestone-with-4000th-game

https://www.manutd.com/en/news/detail/interview-with-historian-tony-park-about-academy-4000-games-mark

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด