:::     :::

"กล้าบวกกับเกลเซอร์ซักตั้งไหมล่ะ" และปัญหาการเลือกปฏิบัติของเฮียเนฟ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
3,085
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
อดีตยอดนักเตะผู้นี้ไม่ใช่คนอื่นไกลจากโอลด์แทรฟฟอร์ด ดังนั้นไม่แปลกที่เขาอาจจะเข้าข้างสโมสรเก่าไปบ้าง แต่มันก็เยอะเกินไปจนเป็นการเลือกปฏิบัติ

จากบทวิจารณ์ของRichard Jolly ที่วิเคราะห์ลักษณะนิสัยของแกรี่ เนวิลล์ทิ้งเอาไว้เมื่อปีก่อน ในยามที่เจ้าตัวพูดถึงแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในยามที่มีบทบาทเป็นกูรูนักวิจารณ์ และผู้ดำเนินรายการทางช่องโทรทัศน์ใหญ่ของเกาะอังกฤษ ด้วยบุคลิกที่ดุเดือดเล่นใหญ่ อาจจะดีในเรื่องการสร้างกระแสสนใจให้ผู้คน แต่ในภาคของการวิเคราะห์อย่างจริงๆจังๆเล่า?..

และนี่คือบทความต่อเฮียเนฟที่ว่านั่น เป็นอีกแง่มุมหนึ่งที่ชี้ให้เห็นด้านที่แตกต่างของแกรี่ ซึ่งเขาเองก็มีทั้งด้านที่ดี และด้านที่ผิดพลาด ไม่ต่างอะไรกับมนุษย์ปุถุชนธรรมดาทุกคนเหมือนเราๆท่านๆเช่นเดียวกัน

-------------------------------------


แกรี่ เนวิลล์ ..เขาคือชายผู้มีสายสัมพันธ์กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่สร้างความเร้าใจในทุกๆอาทิตย์ยามที่มีการแข่งขันเกิดขึ้น บางทีสิ่งที่เขาทำมันอาจจะทำให้หัวหน้าหรือนายจ้างพอใจ เวลาที่เขาโม้โวยวายเกรี้ยวกราดบนหน้าจอทีวีของSky Sports แม้กระทั่งการเลือกใช้คำพูดของเขา คำอย่างเช่น ฉิบหายวายป่วง, เจ็บปวด ,ทนทุกข์ทรมาน หรือ ยุ่งเหยิงวุ่นวาย แสดงให้เห็นว่าเขามักจะทำให้สถานการณ์จริงที่ทีมเผชิญนั้นดูย่ำกว่ามากเกินกว่าความเป็นจริง เช่นในเกมที่พ่ายนิวคาสเซิลต้นซีซั่นที่ผ่านมา แม้กระนั้นเองคนที่ไม่ได้เกี่ยวด้วยตรงนั้นอย่าง Ed Woodword ก็จะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีอย่างหนักด้วย

แต่ในขณะเดียวกันบางคนที่น่าตำหนิกลับรอดตัวไปได้เฉยเลย หลายๆครั้งที่เนวิลล์ควรแสดงออกได้ดีกว่านี้ในยามโต้เถียงกัน เขากลับทำตัวได้ไม่น่าเชื่อถือเอาซะเลย

กับเจ้าของทีม แกรี่ก็ไม่เคยไปแตะเลยจนแฟนบอลตั้งข้อสงสัย

"กล้าลองไปบวกกับเกลเซอร์ดูสักตั้งมั้ยล่ะ?"

เจมี่ คาราเกอร์โพสต์เอาไว้บนทวิตเตอร์เมื่อหลายเดือนก่อน ไม่ว่าจะเล่นมุก หรือไม่ได้มุกก็ตามมันก็เป็นเรื่องที่น่ารับฟังอยู่ดี แต่ในทางเดียวกันแกรี่ก็ไม่ทำแบบนั้น ในยามที่เขาไม่ได้เห็นด้วยกับคำถามของผู้ร่วมรายการอย่างDavid Jones ที่ถามเกี่ยวกับว่า Ole Gunnar Solskjaerนั้นเป็นอีกตัวการนึงในปัญหาของทีมหรือไม่ เขามักจะไม่เต็มใจที่จะวิพากษ์พุ่งตรงไปใส่เจ้าของทีม(เกลเซอร์)หรือผู้จัดการทีม(โอเล่)เสมอ

แสดงให้เห็นว่า แกรี่เนฟ มักแสดงความคิดเห็นแบบ "เลือกปฏิบัติ" เป็นประจำ

มีจุดเชื่อมโยงอยู่สองอย่างที่แลดูน่าอึดอัดใจ อย่างแรกก็คือ เขามักจะเป็นพวกที่ยึดติดอยู่แต่กับอดีต และเชื่อมกับความเอนเอียงไปในความคิดที่เห็นด้วยกับเรื่องที่ว่า การทำลายสถิติคุมทีมให้ยาวนานที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่ดี..


"ผมไม่อยากให้โจเซ่ มูรินโญ่โดนไล่ออก"

เขากล่าวขึ้นในวันอาทิตย์อย่างหนักแน่นมั่นคง พอๆกับที่ผ่านมาหลายๆปีก่อน ต่อเคสของ เดวิด มอยส์ และ หลุยส์ ฟาน กัล เขาก็พูดแบบนี้เช่นเดียวกันที่ปกป้องไม่ให้พวกเขาโดนไล่ออก แต่สุดท้ายแล้วมูก็โดนไล่ออกจนได้กับการทำคะแนนตามหลังลิเวอร์พูล 19แต้มเมื่อเดือนธันวาคมปี2018 แถมแต้มก็อยู่ใกล้เคียงกับโซนตกชั้น มากกว่าจะใกล้โซนหัวตาราง

ส่วนฟานกัลก็โดนไล่ออกในปีที่ยูไนเต็ดยิงได้แค่49ลูกซึ่ง เยอะกว่าซันเดอร์แลนด์แค่ทีมเดียว ส่วนด้านมอยส์ที่ไม่สามารถป้องกันแชมป์ให้แมนยู และตกมารวดเดียวจาก1ลงสู่7ภายในปีเดียว จะเห็นว่าทุกคนล้วนแล้วแต่มีการคุมทีมที่ย่ำแย่แทบทั้งสิ้น

ดังนั้นเรื่องทั้งหมดนี้จึงเกิดเป็นคำถามที่ว่า สิ่งที่อยู่ในหัวเนวิลล์คืออะไร เกี่ยวกับ'เหตุให้เลิกจ้าง'คือประเด็นสำคัญเหรอ? เนวิลล์อ้างอิงถึงมูรินโญ่ว่า เขาเพิ่งได้รับการต่อสัญญาใหม่มายังไม่ทันถึงปีเลยทำไมถึงโดนไล่ออก แต่มอยส์มีสัญญาถึง6ปีที่ทำไว้ 

ดังนั้นถ้าตรรกะที่ว่า ผู้จัดการทีมทุกคนควรได้รับการปล่อยให้ทำงานจนครบสัญญาทั้งหมดนั้น จึงดูน่ากลัวขึ้นมาทันทีเมื่อนึกถึงผลงานของเนวิลล์เองที่สโมสรบาเลนเซีย

ตอนนั้นเนวิลล์พูดว่า เขาจะไม่ลาออกเด็ดขาด ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นที่เขาพูดและคิด เดวิด มอยส์ก็จะยังคงนั่งคุมแมนยูมาเรื่อยๆจนกระทั่งถึงซัมเมอร์ปีที่ผ่านมาเลยทีเดียว  ในขณะเดียวกัน คนอย่างอลัน พาร์ดิว ก็อาจจะยังคุมเวสต์บรอมอยู่ และ คนอย่าง ยาน ซีเวิร์ท ที่มีสัดส่วนชนะเพียงแค่ 5.3% ก็อาจจะยังคุมฮัดเดอร์สฟิลด์ไปจนกระทั่งปี2021 เป็นต้น

ดังนั้นการ "ให้เวลากับผู้จัดการทีม" มันจึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง แต่การ "ตัดสินใจอย่างแม่นยำอย่างถูกจุดด้วยเหตุผล" ต่างหากที่เป็นสิ่งที่ถูก วิธีการนี้นั้นจะเกิดผลดีมากกว่าในแต่ละเคสๆไป

โอเล่คือคนที่ไม่ค่อยจะโดนเนวิลล์ตำหนิเท่าที่ควร

เนวิลล์นั้นทำถูกที่โต้แย้งเรื่องว่า มันไม่มีความเกี่ยวโยงยึดมั่นถือมั่นกันในจารีตของโอลด์แทรฟฟอร์ด ที่ที่ซึ่งมักจะจ้างผู้จัดการทีมมากมายหลายคนที่สไตล์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเหลือเกิน ซึ่งมันเป็นราคาที่ต้องจ่ายแพงมาก ไม่มีความสม่ำเสมอ และสุดท้ายก็ต้องยกเครื่องใหม่

คำด่าส่วนใหญ่มักจะไปลงที่Woodward เนวิลล์เคยพูดว่า "ทีมต้องการแบ็คขวาใหม่" ซึ่งเมื่อพอสโมสรจ่ายไป50ล้านปอนด์สำหรับวานบิสซาก้าเมื่อซัมเมอร์ที่ผ่านมา เนวิลล์พูดแค่ว่า "อืม ก็ดีดิ" มันไม่ได้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความกล้าที่จะแสดงความยอมรับคนๆนั้นว่า "เขาทำได้ดี" เลยแม้แต่น้อย (เนวิลล์ไม่ยอมรับเต็มปากเต็มคำว่า เอ็ดทำได้ดีในเคสนี้)

ศัตรูเบอร์หนึ่งคนเดียวของเนวิลล์ "Ed Woodward"

มันก็เป็นไปได้ที่จะพูดว่า ผู้จัดการทีมควรที่จะสามารถโละสร้างทีมใหม่ที่เข้ากับปรัชญาฟุตบอลของคนนั้นๆ และยังชี้อีกด้วยว่าพวกเขาควรที่จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการคุมทีม ซึ่งอย่างน้อยที่สุด กับยูไนเต็ดที่ยังคงไม่มีคนมาทำหน้าที่ ผู้อำนวยการฟุตบอลสักทีในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  โดยความรู้สึกแล้วนั้น เนวิลล์พูดถูกตอนที่เขาบอกว่า "ผมตั้งประเด็นขึ้นมาแล้วเมื่อปีก่อนตอนที่โจเซ่ต้องการเซ็นนักเตะเข้าทีมมา ทำไมเบื้องบนปฏิเสธเขา?" ซึ่งเมื่อพิจารณาองค์รวมแล้วจะเห็นว่ามีใครที่มีประสบการณ์เรื่องพวกนี้เท่ากับมูรินโญ่บ้างล่ะ? แถมเมื่อพิจารณาตัวเลือกที่อยู่บนลิสต์รายชื่อนักเตะที่จอมคนโปรตุกีสผู้นี้ต้องการในปี2018 มันมีชื่อของ เจอโรม บัวเต็ง, โทบี้ อัลเดอไวเรลด์, อีวาน เปริซิส และ วิลเลียน

ปัจจัยร่วมของนักเตะเหล่านั้นก็คือ พวกเขาอายุใกล้ๆจะ30แล้วทั้งนั้น จริงๆWoodwardก็อาจจะทำถูกแล้วที่เลือกจะไม่ซื้อพวกนั้นเข้ามา การที่เขาลำบากใจที่จะซื้อตัวเก๋าๆพวกนี้มันเลยอาจจะแลดูเป็นสิ่งที่ผิดก็ได้ที่ไม่ยอมเซ็นเข้ามา


ในแง่ของการเงินแล้วนั้น การซื้อนักเตะสักคนมันเกี่ยวพันกับเงินจำนวนมหาศาลเป็นล้านๆทีเดียวหากนักเตะพวกนี้จะไม่สามารถขายต่อหรือทำราคาได้ ในแง่มุมทางฟุตบอล การเสริมทีมด้วยนักเตะที่ว่าเหล่านั้นของมูอาจจะทำให้พวกแก่ๆล้นทีมยิ่งไปกว่าเดิมอีก เพราะพวกเขามีเนมันย่า มาติชที่เกือบจะเร็วตามไม่ทันบอลยุคใหม่แล้ว และยิ่งกับอเล็กซิส ซานเชสในตอนก่อนหน้านี้ผู้ซึ่งยิงประตูแค่ได้เท่ากับ สก็อตต์ แม็คโทมิเนย์ พวกเขาไม่ต้องการนักเตะที่ไร้ความสดแบบนี้อีกแล้วแม้ในช่วงระยะสั้นๆก็ตาม ดังนั้นการที่จะให้มูรินโญ่เป็นอนาคตของสโมสรนั้นก็เหมือนกับการไว้ใจ "ปัญหาClimate Change" นั่นแหละ (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่เกิดขึ้นจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คำพูดนี้เปรียบคล้ายๆว่า ไม่ควรไว้วางใจความเอาแน่เอานอนของมูรินโญ่ไม่ได้)

ไม่ใช่ผู้จัดการทีมทุกคนที่สามารถไว้ใจให้เขาคุมทิศทางการซื้อขาย ในหน้าที่ของผู้อำนวยการฟุตบอลควบคู่ผู้จัดการทีมได้ในคราเดียวกัน



ในบรรดาคำอธิบายต่างๆของเนวิลล์นั้น สามารถเข้าใจได้ว่าถ้าชุดความคิดของเขามันอิงกับอาชีพนักเตะที่ผ่านมาของตัวเขาเอง บางทีมันอาจจะเป็นผลพวงจากการที่ได้ลงสนามไปทั้งหมด 602 นัดของเขาภายใต้ยุคของเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน บรมกุนซือชาวสก็อตต์ถูกยกย่องในเรื่องนโยบายที่ควรจะต้องให้เวลาผู้จัดการทีมอย่างมากคนนึงเลย จากฤดูใบ้ไม้ร่วงอันยอดเยี่ยมในปี1989นั้นเป็นการสิ้นสุด23ปีของการไม่ประสบความสำเร็จ เขาคือผู้ที่เป็นตัวอย่างของเหตุผลในการให้โอกาสผู้จัดการทีมได้ใช้เวลาในการทำทีมมากเท่าที่เขาต้องการจะทำอะไรที่คิดไว้ แม้กระทั่งการซื้อนักเตะอย่าง "เบเบ้ ลมแทบจับ" หรืออยากจะเซ็นนักเตะแบบโซลชาเข้ามาสัก5คนให้ได้ อะไรก็ตามแต่เขาแทบจะไม่ค่อยถูกตำหนิเท่าไหร่เลย

หนึ่งในเรื่องราวของการวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นที่กล่าวขานมากที่สุดของยูไนเต็ดภายใต้ยุคเฟอร์กี้นั้น คือเรื่องที่ Alan Hansen ได้หล่นคำพูดที่ว่า You can't win anything with kids ..คุณไม่มีทางชนะอะไรได้หรอกด้วยเด็กๆพวกนี้เอาไว้นั้น ก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่ถูกเข้าใจผิดมากที่สุดด้วย และถ้าเนวิลล์ยังคงเชิดชูเรื่องพวกนี้ให้ยิ่งๆขึ้นไปอีกนั้น อาจจะแสดงให้เห็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์อะไรต่างๆของเนวิลล์เวลาที่พูดถึงสโมสรที่รักของตนนั้น มันช่างลักลั่นย้อนแย้งเสียเหลือเกิน

-ศาลาผี-

สุดท้ายเฮียแกสองคนก็ซี้กันดีนะ

Reference : https://www.fourfourtwo.com/features/gary-neville-man-utd-sky-sports-ole-gunnar-solskjaer-ed-woodward

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด