:::     :::

ปิดสนามเตะใช้คนมากเท่าไหร่?

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
หนึ่งในความพยายามของลีกใหญ่ในยุโรปที่หวังจะกลับมาแข่งขันอีกครั้งให้ได้คือการแข่งแบบ "ปิดสนาม" เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมของรัฐบาล

พรีเมียร์ลีก และอีก 4 ลีกชั้นนำต้องการให้ฤดูกาลนี้จบให้ได้เพราะหากไม่สามารถจบได้จะสูญเสียรายได้มหาศาลที่ส่งผลโดยตรงต่อหลายสโมสร 

ทางเลือกแบบ เอเรดิวิซี่ หรือ ลีกสูงสุดของฮอลแลนด์ที่ขอตัดจบเพียงแค่นี้ ไม่มีทีมแชมป์ ไม่มีทีมตกชั้น-เลื่อนชั้น จะเป็นทางเลือกสุดท้ายแล้วจริงๆ 

ในตอนนี้ ทุกสโมสรเจอวิกฤตกันหนักหน่วงเพราะขาดรายได้จากการแข่งขันที่มาจากค่าบัตรผ่านประตู และสินค้าที่ระลึก หลังฟุตบอลเว้นวรรคมานานเกือบสองเดือน 

หากไม่สามารถแข่งได้ ช่องสถานีโทรทัศน์ที่ซื้อลิขสิทธิ์ก็จะเรียกค่าเสียหายคืนจากพรีเมียร์ลีกเพราะไม่มีเกมการแข่งขันให้ถ่ายทอดสด 

เมื่อพรีเมียร์ลีกต้องจ่ายเงินคืนผู้ซื้อลิขสิทธิ์ พวกเขาก็ไม่มีเงินมากพอที่จะจ่ายให้แต่ละทีมได้เต็มจำนวนตามที่เคยตกลงกันไว้ 

ในสถานการณ์เช่นนี้ที่การแพร่ระบาดยังไม่สิ้นสุด การแข่งแบบเปิดให้แฟนบอลเข้าชมเกมเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นรายได้จากค่าบัตรผ่านประตู-สินค้าที่ระลึกจึงหายไป 

แต่หากยังแข่งกันได้แบบปิดสนาม ก็ยังมีรายได้จากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดจากพรีเมียร์ลีกที่นับว่าเป็นเงินก้อนโตเช่นกัน ทีมใหญ่ออกจอบ่อยก็ได้ส่วนแบ่งมาก ทีมเล็กออกจอนานๆ ทีก็ได้ส่วนแบ่งลดหลั่นกันไป แต่ระดับพรีเมียร์ลีกแล้ว ขนาดทีมบ๊วยของตารางก็ยังฟันเงินส่วนนี้หลายสิบล้านปอนด์ 

ในการแข่งแบบปิดสนาม ไม่ได้หมายความว่าทั้งสนามมีเพียงนักเตะทั้งสองทีม, สตาฟฟ์โค้ช และผู้ตัดสิน ยังมีคนอื่นที่เกี่ยวข้องรวมกันแล้วประมาณ 300 คนเพื่อให้การแข่งขันหนึ่งนัดดำเนินไปได้

ใน 300 คนมีใครกันบ้าง?

นักเตะทั้งสองทีม : 40 คน

ในการแข่งขัน 1 นัด แต่ละทีมจะมีตัวจริง 11 คน สำรอง 7 คน และสแตนด์บายอีก 2 คน 

โค้ชและทีมแพทย์ของสโมสร : 32 คน

ในแต่ละทีมจะมีผู้จัดการทีม 1 คน, ผู้ช่วย 1-3 คน, สตาฟฟ์โค้ช และทีมแพทย์ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ของสโมสรและผู้บริหารสโมสร 

ผู้ตัดสินและทีมงาน : 12 คน 

ประกอบด้วยผู้ตัดสินหลัก, ผู้ช่วยผู้ตัดสิน, ผู้ตัดสินที่ 4 และผู้ตัดสินสำรองรวม 6 คน, ทีมงานฮอว์ค-อาย 3 คน และทีมงาน วีเออาร์ 3 คน 

เจ้าหน้าที่พรีเมียร์ลีก : 3 คน 

ประกอบด้วยผู้ประสานงานวันแข่งขัน, แมตช์ดีเลเกต (Delegate) และแมตช์คอมมิชชันเนอร์  

แพทย์สนามและเจ้าหน้าที่ : 16 คน+

ส่วนนี้จะมีแพทย์สนาม 6-8 คน, เจ้าหน้าที่ตรวจสารกระตุ้น 4 คน, เจ้าหน้าที่ดูแลสกอร์บอร์ดและแอลอีดีในสนาม 

สื่อมวลชน : 130 คน


แข่งแบบปิดสนามก็ยังต้องมีคนเกี่ยวข้องรวมกันราว 300 คน

เจ้าหน้าที่สถานีโทรทัศนย์และวิทยุราว 77 (ไม่มีถ่ายทอดสด), นักข่าวสื่อสิงห์พิมพ์ 28 คน, ช่างภาพ 2 คน และทีมสื่อของสโมสร และหากมีการถ่ายทอดสดจะต้องมีเจ้าหน้าที่อีกราว 23 คน

นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ประสานงานสื่อมวลชนของสโมสร เจ้าหน้าที่ดูแลสนาม และฝ่ายรักษาความปลอดภัย ฯลฯ 

พรีเมียร์ลีกได้ประชุมทางไกลผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับ 20 สโมสรในการสรุปตัวเลขจำนวนคนมากสุดที่เข้าไปในสนามได้ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 500 คน แต่พรีเมียร์ลีกจะพยายามควบคุมตัวเลขให้อยู่ที่ราว 300 คนให้ได้ 

ด้วยแนวทางปิดสนามนี้ พรีเมียร์ลีก ตั้งความหวังจะกลับมาแข่งขันอีกครั้งให้ได้ภายในเดือนมิถุนายน และเป็นการแข่งแบบปิดสนาม และจบฤดูกาลในสิ้นเดือนกรกฎาคม

ขณะที่ก็มีบางทีมอย่าง อาร์เซน่อล ที่กลับมาซ้อมกันเป็นทีมแรกของลีกเมื่อวันจันทร์ที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา 

แข้งปืนใหญ่กลับมาซ้อมที่ลอนดอน โคลนี่ย์ เป็นครั้งแรกในรอบ 47 วันนับตั้งแต่เริ่มกักตัวอยู่บ้านหนีไวรัสโควิด-19 หรือช่วงที่ มิเกล อาร์เตต้า กุนซือของทีมมีผลตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นบวก จนทำให้พรีเมียร์ลีกต้องหยุดการแข่งขันในตอนนั้น 

แต่การกลับมาซ้อมของ อาร์เซน่อล ก็ไม่สามารถทำได้เต็มรูปแบบเพราะต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด 

  การซ้อมแต่ละครั้ง เรียกนักเตะซ้อมได้ 5 คน ต้องเดินทางไป-กลับสนามคนเดียว ห้ามมีใครโดยสารมาด้วย ซ้อมเสร็จก็กลับไปอาบน้ำที่บ้าน 


อาร์เซน่อลกลับมาซ้อมกันแล้ว

การซ้อมจะแยกซ้อมเดี่ยว ใช้คนละสนามเพราะมีสนามซ้อมพออยู่แล้วสำหรับการซ้อมทีละกลุ่ม ไม่ได้มาพร้อมกันหมดทุกคน และใช้ลูกบอลที่มีออกแบบเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการปนเปื้อน (cross-contamination) ของสิ่งแปลกปลอมซึ่งนาทีนี้ก็คือไวรัสโควิด-19 

นักเตะแต่ละคนไม่สามารถสุงสิงกันได้ ต่างคนต่างมาซ้อมและแยกย้ายกลับ โดยที่มีเจ้าหน้าที่และทีมแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด 

ระหว่างนี้จนถึงต้นเดือนมิถุนายน แฟนบอลกก็ตามลุ้นกันว่าพรีเมียร์ลีกจะสามารถกลับมาแข่งขันกันได้จริงๆ หรือไม่เพราะแม้จะไม่สามารถเข้าชมเกมในสนามได้ แต่หากได้ดูถ่ายทอดสดก็ดีกว่าที่การแข่งขันต้องเลื่อนออกไปอีกเรื่อยๆ 

แต่แน่นอนว่าการตัดสินใจขั้นเด็ดขาดก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตเป็นเรื่องสำคัญสุดเพราะความเสี่ยงแม้เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ก็อาจนำมาซึ่งความเสียหายที่ร้ายแรงได้เช่นกัน 


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด