:::     :::

Tactical Analysis : เงากวาร์ดิโอล่า ในร่างทรงของโซลชา

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2563 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
11,560
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
มองเผินๆใครก็คิดว่าบอลหน้าเดียวของโอเล่นั้นจัดแต่ 4-2-3-1 แต่จริงๆในเชิงแทคติกมันเหนือกว่าที่ตาของแฟนบอลทั่วไปเห็นแค่หน้าฉากเท่านั้น บางส่วนมีวิธีการเล่นเกมครองบอลบุกที่เหมือนซิตี้ของเป๊ปจริงๆ และนี่คือคำตอบ

โอเล่ กุนนาร์ โซลชานั้นต้องทำการแก้ไขทีมของเขาขึ้นมาใหม่หลายๆจุดในซีซั่นนี้ หลังจากที่ปอล ป็อกบา มิดฟิลด์ตัวสร้างสรรค์เกมบาดเจ็บไปในเดือนสิงหาคม โซลชาจึงสร้างการเล่นเกมรุกโดยมีมาร์คัส แรชฟอร์ดเป็นแกนหลักของเกมcounter attacking และเนื่องจากทีมมีจุดบอดในตำแหน่งมิดฟิลด์ตัวรุก ทำให้ยูไนเต็ดต้องเจอปัญหาเจาะคู่แข่งไม่เข้า โอเล่ที่มีตัวอย่างมาจากเจอร์เก้น คล็อปป์จึงเพิ่มการสร้างสรรค์ของเกมด้วยนักเตะตำแหน่งฟูลแบ็คของเขา

ขณะนี้โซลชาได้ทีมหลักกลับมาเต็มตัวแล้ว มิดฟิลด์ศูนย์กลางทีมก็กลับมาเรียบร้อย ในขณะที่แรชฟอร์ดฟิตปั๋งเหมือนเดิม อีกทั้งบรูโน่ แฟร์นันด์ส ก็เข้ามาเป็น "Real No.10" ให้ทีมได้สำเร็จ ดังนั้นจึงเป็นงานของโอเล่ว่า เขาจะหลอมรวมส่วนต่างๆเหล่านี้เข้าด้วยกันได้ยังไง

เขาคงจะมองไปยังชิ้นงานของเป๊ป กวาดิโอลาร์ อย่างแน่นอน


ทีมของเป๊ปนั้นเด่นที่เรื่องของ "การเคลื่อนที่ และ การเพรสซิ่ง" เขาชอบที่จะหาทางเอาชนะกองหลัง และดันนักเตะขึ้นสูงในแดนหน้า

กับแมนเชสเตอร์ซิตี้นั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 2018 และ 2019 กวาร์ดิโอล่านั้นใช้แผนทั่วไปเป็นสูตร 4-3-3 แต่ว่ามันเป็นเพียงแค่สูตรพื้นฐานธรรมดาๆเท่านั้น เพราะในยามที่เป็นฝ่ายครองบอล ซิตี้จะชิฟท์สูตรไปเป็น "3-2-5" (หลัง3 กลาง2 แดนหน้า5) โดยใช้ผู้เล่นที่มีความแน่นอนในการดันเกมสูง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่ามีใครอยู่ในสนามบ้าง นักเตะที่ว่านั่นจะเป็นตัวดันสูงขึ้นไป 

ในยามพวกเขาเล่นโดยใช้โฮลดิ้งมิดฟิลด์สองตัวเช่น แฟร์นันดินโญ่ กับ กุนโดกัน กวาร์ดิโอล่าก็จะใช้ฟูลแบ็คที่มีอยู่ในการดันเกมขึ้นไปเป็นตัวรุกคนที่5ของทีม

ซึ่งตามปกติแล้วเขาเป็นคนที่ไม่ได้ชอบใช้ตัวโฮลดิ้งสองตัวพร้อมกันในสนาม แต่อยากจะใส่ตัวรุกที่มีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นบางทีเขาจึงเปลี่ยนหนึ่งในมิดฟิลด์เกมรับของทีมออกมา แล้วส่ง ตัวสร้างสรรค์เกมรุกลงไปแทน อย่างเช่นดาบิด ซิลบานั่นเอง

และเมื่อใดก็ตามที่เป๊ปทำเช่นนั้น เขาก็มักจะใช้แบ็คซ้ายเป็นฟาเบียง เดลป์ หรือ ซินเชนโก้แทนในตำแหน่งนี้ที่เป็นฟูลแบ็คแบบโบราณ (เพราะมีเกมรุกจากจุดอื่นแล้ว ก็จะใช้ฟูลแบ็คที่ไม่ได้เด่นรุกแทนนั่นเอง)

ซ้ายมือซินเชนโก้ ขวามือเดอบรอยน์

ดังนั้นเมื่อซิตี้เซ็ตอัพทีมเอาไว้เช่นนี้ ในการครองบอลโดยมิดฟิลด์ตัวรุกอย่างเดอบรอยน์กับซิลบานั้นก็จะดันขึ้นหน้าไปอยู่ในฟอร์มของ "Front Five" หรือ "หน้าห้าตัว" นั่นเอง โดยแนวรับเองก็จะขึ้นตามไปด้วยในทิศทางเดียวกัน โดยไคล์ วอล์คเกอร์จะหุบเข้าไปเล่นเซ็นเตอร์แบ็คตัวขวา ส่วนทางแบ็คซ้ายก็จะดันขึ้นไปอยู่บริเวณ มิดฟิลด์กราบซ้าย แล้วรองบอลทำหน้าที่เป็นตัวโฮลดิ้งมิดฟิลด์คนที่สองแทน (ถัดจากตัวจริงที่มีอยู่คนเดียวในสนามอย่างเช่นโรดรี้ เป็นต้น)

นี่คือเหตุผลหลักที่ทำไมแกเรธ เซาท์เกทนั้นถึงได้นำเอาฟาเบียง เดลป์ไปฟุตบอลโลก2018ด้วยในฐานะผู้เล่นมิดฟิลด์ แล้วดึงเอาไคล์ วอล์คเกอร์ไปในตำแหน่งแบ็คขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งทั่วๆไปของพวกเขาตอนที่เล่นให้ในเกมสโมสร

ด้านโซลชานั้นชอบที่จะให้ลูกทีมเล่นสูตร 4-2-3-1 ในแผนการเล่น แต่เกมกับไบรท์ตันที่ผ่านมานั้นโอเล่เปิดตำราการเล่นของเป๊ปและขยับสูตรขึ้นไปเป็น "3-2-5" ในยามที่เป็นฝ่ายครองบอล

ซึ่งสิ่งนี้มันก็ไม่ได้ถึงกับเหมือนกันเป๊ะทุกกระเบียดนิ้วเลยกับการเซ็ตอัพของกวาร์ดิโอล่าขนาดนั้น ซึ่งเป๊ปนั้นจะใช้สามตัวหลังเป็นนักเตะกองหลังล้วนๆ ส่วนยูไนเต็ดนั้นใช้"เนมันย่า มาติช" ในการดร็อปแบ็คลงไประนาบเดียวกับคู่สองเซ็นเตอร์ ในฟอร์มของหลังสาม

จากตรงนั้นขึ้นมา ในส่วนของอารอน วานบิสซาก้าก็จะดันสูงขึ้นหน้าไป และลุค ชอว์ก็ต้องทำถึงสองอย่างด้วยตัวคนเดียวนั่นก็คือ เขาอาจจะหุบเข้าตรงกลางมากขึ้น และก็เล่นเป็นมิดฟิลด์ตัวรองจากปอล ป็อกบา (เล่นในตำแหน่งยืนของเขา)


หรือตามปกติแล้ว ชอว์จะดันสูงขึ้นไปเป็น "ปีกซ้าย" โดยมีบรูโน่ที่ดร็อปลงมาต่ำยืนข้างป็อกบา แล้วให้มาร์คัส แรชฟอร์ด กับ เมสัน กรีนวู้ดนั้น ตัดเข้าไปเล่นตัวรุกด้านในแทน


ชอว์นั้นเล่นได้อย่างอิสระมากจริงๆในหน้าที่ของเขาตำแหน่งนี้ที่ทั้งขึ้นสุดลงสุดในสนาม เวลาที่เห็นเขาดันขึ้นหน้าอย่างรวดเร็วจะเห็นว่าแมนยูไนเต็ดก็จะใช้วิธีดึงช้าไว้นิดนึงเพื่อรอให้ชอว์วิ่งเข้าพื้นที่สังหารนั่นเอง

ชัดเจนมากๆว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่พูดถึงเรื่องที่ชอว์เติมเกมขึ้นหน้านั้น มันมักจะมีแฟนบอลที่ยังคิดว่า นี่คือ "ชอว์ยุคของมูรินโญ่" และยังมักจะกังวลกับเรื่องที่ว่าแบ็คซ้ายมักจะหลุดตำแหน่งเสมอเวลาที่แมนยูเสียบอล ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เวลาเจอแบบนั้นเราจะใช้มาติชให้ถอยลงต่ำไปยืนคัฟเวอร์พื้นที่ในระนาบหลังสามทดแทนชอว์ได้อยู่เวลาที่แบ็คเติมไปเล่นปีก ประเด็นนี้จึงไม่ค่อยเป็นปัญหาของทีมเท่าไหร่นัก

มีบางส่วนของสิ่งที่เกิดขึ้นในเกมกับเชฟฟิลด์เอามาถูกใช้ในเกมที่ว่านี้ คือการวิ่งในพื้นที่ฝั่งซ้ายที่จะเห็นชอว์วิ่งแซงแรชฟอร์ดขึ้นหน้าไป สองนักเตะนี้สลับตำแหน่งกันและกันเรื่อยๆโดยที่พอจบเกมมีจำนวนการแทงบอลขึ้นหน้าของแต่ละคนก็คือ ชอว์1ครั้งและ แรชฟอร์ด10ครั้ง เรียกง่ายๆว่าแรชแทงให้ชอว์วิ่งตลอด ซึ่งมันแปลกประหลาดมากเพราะปกติมิดฟิลด์กับฟูลแบ็คจะมีจำนวนครั้งตรงนี้มากที่สุด (ป็อกบามาอันดับ2ที่จำนวน8ครั้ง นอกนั้นไม่มีใครเยอะเกิน4) เป็นเพราะว่าเขาคือคนที่จ่ายบอลขึน้หน้ามากที่สุด ส่วนพวกตัวรุกแนวหน้าปกติจะไม่ค่อยมีจำนวนตรงนี้เยอะอยู่แล้วเพราะว่ามันไม่เหลือพื้นที่ให้เขาเล่นสักเท่าไหร่เวลาได้บอล (ตามค่าเฉลี่ยคือ แรช 4.01 ส่วนชอว์ 7.12 ครั้งต่อ90นาที)

ระบบทั้งหมดแสดงให้เห็นตามลำดับแบบนี้ ก็คือชอว์จะฝากบอลให้แรชฟอร์ดที่ตัดเข้ากลางและดร็อปลงต่ำถึงตรงกลาง ทันทีที่ชอว์ฝากไปแล้วเขาก็จะดันสูงขึ้นหน้าเลยเดี๋ยวนั้นจนกระทังลับขอบจอหายขึ้นไปเลย

แมนยูไนเต็ดนั้นอาจจะค่อยๆบุกขึ้นไปได้ทีละนิดจากทางขวาด้วยลินเดอเลิฟที่วิ่งขึ้นหน้าและเคลื่อนที่เข้าในพื้นที่ของ "ฟร้อนท์ไฟว์" ในตัวรุกยามที่เขาไม่มีบอล เพราะเวลาที่เราดูชอว์เราจะรู้ว่าเขาขยับขึ้นทางซ้าย และคาดเดาได้ว่าเขาจะน่าจะต้องขึ้นมาเล่นแถวๆนั้นอยู่แล้ว แต่เมื่อไบรท์ตันเห็นช่องจะเจาะคืนยามที่ลินเดอเลิฟขึ้นมาสูง ลุค ชอว์จะลงต่ำไปแทนตำแหน่งของเลิฟทันที เพื่อที่จะคงฟอร์มให้ด้านหลังยังเป็นทรง "แบ็คทรี" อยู่

แล้วพอเลิฟกลับตำแหน่ง ชอว์ก็จะดันสูงขึ้นไปบุกต่อได้อีกเหมือนเดิม

การวิ่งขึ้นไปบุกของชอว์นั้นเป็นเรื่องปกติยามที่ลงในสนาม และยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ยูไนเต็ดได้ประตูที่สองในเกมนั้นด้วย เมื่อเขาฝากบอลให้แรชฟอร์ด ชอว์ไม่ได้วิ่งไปบริเวณมุมธงในแนวขนานริมเส้นแต่อย่างใด แต่ชอว์วิ่งตัดตรงเข้าไปด้านในหาประตูเลย เข้าไปในพื้นที่จุดที่ไม่มีการป้องกันอยู่ และเข้าไปถึงพื้นที่อันตรายเลย จากนั้นก็คัทแบ็คกลับมาอย่างสวย สุดท้ายแล้วบอลหลุดไปถึงป็อกบาที่ไหลให้บรูโน่ยิงได้ในที่สุด

นับตั้งแต่เริ่มเกมนั้นชอว์พยายามที่จะเข้าไปจู่โจมในโซนพื้นที่อันตรายตลอดเวลา เพราะแค่นาทีแรกของเกมเขาก็ขึ้นไปอยู่ในกรอบเขตโทษของไบรท์ตันแล้วเรียบร้อย หลังจากนั้นอีกนาทีเขาก็เติมขึ้นสูงจากแรชฟอร์ดอีกครั้งแล้วก็ปาดลูกครอสเรียดกลับมาให้อ็องโตนี่ มาร์กซิยาลได้ 


วิธีการนี้แหละที่ทำให้เราได้เห็นมาร์กซิยาลมีส่วนร่วมกับเกมบ้าง และมันเป็นเหมือนบัญญัติสำคัญเลยที่ทำให้ยูไนเต็ดบินสูงได้ในซีซั่นนี้ เพราะมาร์กซิยาลนั้นหายตัวไปตลอดทั้งเกม เขาได้สัมผัสบอลแค่25ครั้งเท่านั้นในเกมครองบอล62%ของยูไนเต็ด คือนอกจากจะสัมผัสน้อยที่สุดในบรรดาผู้เล่นตัวจริง11คนแรกแล้วนั้น สองตัวสำรองที่ลุกมาจากม้านั่งก็ยังได้บอลเยอะกว่าเขาซะอีก!

ถัดจากนั้นก็คือรายของ มาร์คัส แรชฟอร์ด ที่จริงๆก็ไม่ได้เล่นแย่อะไรหรอก แต่่แค่เขายังเรียกฟอร์มช่วงก่อนเจ็บกลับมาได้ไม่เหมือนเดิมเต็มที่เท่านั้น แต่ถึงกระนั้นขนาดว่ามันเป็นเกมที่คู่หูหมากแรชเล่นไม่ออกเลย แต่แมนยูไนเต็ดก็ยังชนะไปตั้ง 3-0! นึกย้อนไปช่วงครึ่งแรกของซีซั่น หากมาร์กซิยาล หรือ แรชฟอร์ดไม่ได้ท็อปฟอร์มเมื่อไหร่ แมนยูไนเต็ดก็แทบจะชนะใครไม่ได้เลยด้วยซ้ำ

สัปดาห์ก่อนๆบรูโน่นั้นไม่ได้อยู่ในฟอร์มที่ดีที่สุดในเกมเจอเชฟฟิลด์ แต่ว่าเขาก็ได้ป็อกบา แรชฟอร์ด มาร์กซิยาล ช่วยดึงฟอร์มขึ้นมาด้วย ส่วนสัปดาห์ที่ผ่านมา มาร์กซิยาลและแรชฟอร์ดก็ยังคงหายตัว แต่เราได้บรูโน่ กับ เมสัน กรีนวู้ดในการแบกทีมได้แทน ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็น "สัญญาณความก้าวหน้า" พัฒนาขึ้นของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่มีผู้เล่นคนอื่นๆที่สามารถแบ่งเบาภาระให้ทีมได้  เรื่องนี้เยี่ยมมากๆ

ด้วย "ฟร้อนท์ไฟว์" หน้าห้าตัวนั้น แมนซิตี้ของเป๊ปนั้นเล่นเกมเพรสซิ่งกันอย่างป่าเถื่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณพื้นที่final third วิธีเช่นนี้ก็ใช้กันแพร่หลายรวมถึงทีมของโซลชาด้วยที่นำมาใช้ช่วงต้นซีซั่น แต่ในเดือนธันวาคมก็ลดๆการใช้เพรสซิ่งลงไปเนื่องจากทีมนั้นมีขนาดเล็กมาก ประกอบกับแมตช์การแข่งที่ต้องลงเตะมากมายจริงๆ

ย้อนกลับไปเมื่อวันอังคารอาทิตย์ก่อนๆ ยูไนเต็ดไม่ได้เล่นเกมเพรสซิ่งใส่สเปอร์ หรือเชฟฟิลด์ยูไนเต็ดมากนัก รวมสองเกมแล้วมีจำนวนการเพรสแค่201ครั้งเท่านั้นเอง โดยที่54จากในนั้นวิ่งเพรสในfinal third 

แต่เกมกับไบรท์ตัน  ห้าตัวรุกแดนหน้าของแมนยู (3*M + บรูโน่ + ชอว์) วิ่งเพรสซิ่งถึง158ครั้งในพื้นที่รุกของพวกเขา

เป็นเกมเพรสซิ่งที่วิ่งไม่หยุด และส่วนใหญ่จะเพรสกดดันได้สำเร็จด้วย

"คู่หูจอฟ้า" กองหน้าบลูสกรีน

เช่นการเล่นของบรูโน่ แฟร์นันด์ส  ยามที่แมนยูดันเกมขึ้นสูงเป็นหน้าห้าตัวนั้น นักเตะที่ได้ประโยชน์จากการเล่นของบรูโน่มากที่สุดก็คือ เมสัน กรีนวู้ด โดยเฉพาะในเกมที่ดีที่สุดของเขาตั้งแต่ลงสนามในสีเสื้อแมนยูไนเต็ดนั้น กรีนวู้ดยิ่งดีมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

พูดกันที่ประตูของเขา เรารู้กันอยู่แล้วถึงคุณภาพเท้าซ้ายของเขายามยิงประตู เรารู้ว่าเขาสามารถเลี้ยงจี้เข้าใส่กองหลังได้ดี(อย่างน้อยก็ตอนเล่นระดับเยาวชน เห็นกันบ่อยๆ) แต่สิ่งที่โดดเด่นมากจริงๆที่เห็นจากประตูของกรีนวู้ดนั้น มันคือเรื่องของ "การเคลื่อนที่ของเขา" ก่อนที่เขาจะได้บอล

พิจารณาที่ประตูนั้นจะเห็นว่า กรีนวู้ดใช้การวิ่งสลัดตัวประกบให้หลุดเพื่อจะรับบอลจากวานบิสซาก้า พอบอลไหลมาถึงนั้นเขาลดไหล่ โยกลำตัวหลอก ซึ่งการเคลื่อนที่อันชาญฉลาดนี้มันทำให้กองหลังขาตายในทันที  สิ่งนี้สำคัญยิ่งกว่าทริคต่างๆ สำคัญมากกว่าการยิงจบสกอร์ของเขาซะอีก การเฟคหลอกเล็กน้อยอันนี้ และการเคลื่อนที่ที่ทำให้เขาเกิดช่องว่างและสร้างความอันตรายแก่ตัวที่เข้ามาประกบ

นี่แหละนักเตะที่กำลังพัฒนาตัวเองอยู่ และกำลังจะกลายเป็นดาวเด่นในอนาคต

ท่าดีใจแบบว่าซุปตาร์ๆ

ตำแหน่งของกรีนวู้ดในฐานะInside Forward ฝั่งขวานั้นทำให้เขามีอิสระมากๆที่จะเคลื่อนที่ไปได้ทั้งสนาม คือเขาสามาถจะไปโผล่อยู่ตรงกลาง ยืนอยู่ทางขวา หรือแม้กระทั่งออกไปยืนฝั่งซ้ายได้เลยทีเดียว

ในช่วงครึ่งหลังเขาเล่นแทบจะเป็นการเคลื่อนไหวในตำแหน่งหน้าที่ของ"เบอร์10เลยทีเดียว" ที่เขาจะเข้าไปเล่นในพื้นที่ช่องโหว่เพื่อรอรับบอล และเมื่อได้โอกาสเขาก็แสดงการเล่นที่มีจินตนาการ การสร้างสรรค์เกมให้ได้เห็นทุกๆครั้งที่มีพื้นที่ให้วิ่งเมื่อบอลมาถึงกรีนวู้ดได้สำเร็จ

แน่นอน ยิ่งไปกว่านั้น "ภาคการเล่น"ของกรีนวู้ดที่โดดเด่น ได้แสดงให้เห็นในประตูที่สามของยูไนเต็ดคืนนั้น (เกมไบรท์ตัน) ก็แสดงให้ได้เห็นว่า โซลชานั้นต้องการแสดงการเล่นให้ได้เห็นยังไง มันไม่ใช่เป็นการตะโกนออกเสียงเพื่อต้องคอยบอกวิธีการกันในสนาม แต่สิ่งนี้กำลังพัฒนาเข้าไปสู่สิ่งที่เรียกว่า "นิสัยการเล่น" ที่รู้กันเองโดยไม่ต้องใช้คำพูดตะโกนบอกอะไรกัน ทุกคนรู้กันด้วยตัวเองหมด

เกมสุดท้ายของมูรินโญ่ที่เจอกับลิเวอร์พูลเมื่อซีซั่นที่แล้วนั้นมีเพลย์การเล่นหนึ่งที่สังเกตได้ โดยที่เนมันย่า มาติชนั้นตัดบอลกลับมาได้ และเจสซี่ ลินการ์ดก็รอสวนกลับริมเส้นอยู่ มาติชนั้นไม่ได้มองทิศทางการเล่นของลินการ์ดเลยด้วยซ้ำ แต่กลับเลือกที่จะเล่นแบบเซฟๆด้วยการจ่ายบอลไปมาเป็นสี่เหลี่ยม 

แมนยูสร้างประโยชน์อะไรไมได้เลยจากการครองบอลของทีม


แต่ภายใต้ยุคของโซลชา มาติชนั้นเล่นอย่างมั่นใจกว่าเดิม และในประตูที่สามที่เป็นลูกสวนกลับนั้นก็เป็นแบบแผนที่ทีมกำลังเล่นตอบสนองวิธีการของผู้จัดการทีมอยู่

ซึ่งรายของมาติชที่มักจะถูกตำหนิและวิพากษ์ในเรื่องที่ชอบเล่นบอลเซฟๆอย่างเดียว และเมสัน กรีนวู้ดที่ยังไม่สามารถขึ้นมาแย่งตำแหน่งตัวจริงได้ในช่วงต้นๆนั้น กลับกันเลย ในเกมนั้นไบรท์ตันต้องการจะเปิดบอลเข้ากรอบแมนยูและแมกไกวร์ก็เอาชนะลูกโหม่งแบบหมดจดจนทำให้บอลมาตกที่มาติช และกรีนวู้ดที่กำลังรอสวนอยู่ตามลำดับ

สำหรับมาติชนั้น สัญชาตญาณการเล่นของเขานั้นไม่ต้องคอยที่จะใช้การ "มองหา" แต่อย่างใด เขาเหลือบเห็นกรีนวู้ดเริ่มวิ่งสวน และก็เปิดบอลโคตรเพอร์เฟ็คต์จ่ายขึ้นมาในพื้นที่ว่าง

และนักเตะคนอื่นในช็อตนี้ก็สร้างเพลย์ที่สุดยอดขึ้นมาร่วมกันได้สำเร็จ

คำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลายที่มาติชได้รับเกี่ยวกับความคล่องตัวของเขา หรือว่าการจ่ายบอลนั้น เมื่อได้ดูจากกล้องที่แสดงให้เห็นถึงแทคติกในสนาม มันยิ่งไม่น่าเชื่อเข้าไปอีกเมื่อเห็นว่าเขาวิ่งคัฟเวอร์พื้นที่ตรงนั้นเยอะขนาดไหนก่อนที่จะได้เปิดบอลจากตรงนั้น (วิ่งไล่เข้าใส่คนเปิดบอลของไบรท์ตัน จนเข้าไปยืนคุมพื้นที่ว่างหน้ากองหลัง จนเก็บบอลได้นั่นเอง)

นี่คือแบรนด์ยีห้อฟุตบอลที่โซลชานั้นได้สร้างมาตลอดซีซั่น และตอนนี้มันชัดเจนแล้วว่าเขาสามารถร้องขอการเล่นในแทคติกเหล่านี้จากผู้เล่นในทีมได้ทุกๆคน  โซลชาได้รับมรดกตกทอดจาก Sir Alex Ferguson, Jurgen Klopp, Gareth Southgate, Pep Guardiola หลายๆส่วนหลอมรวมกันสู่ระบบการเล่นที่เป็นปึกแผ่นซึ่งเข้ากันดีกับบุคลากรภายใต้การจัดการของเขา

มันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆแค่เพียงชั่วข้ามคืนเพราะว่ามันเป็นไปไม่ได้ เหล่านักเตะต่างๆต้องพยายามปรับปรุงพัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้น เพื่อให้เข้าใจว่าโซลชานั้นต้องการอะไรบ้าง และก็ทำการเรียนรู้ระบบต่างๆเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงเด็กๆเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องมีความฟิตอยู่ในตัวด้วย

ตอนนี้ทุกอย่างมันคลิกเข้าหากันหมดแล้ว กลายเป็นความสวยงามที่เรากำลังได้ชมกันอยู่ในตอนนี้นั่นเอง

-ศาลาผี-

Reference

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด