:::     :::

Tactical Analysis : กุลยุทธ์หยุดแบล็คโฮลจากการขาดปีกขวา

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2563 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
6,316
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
นี่คือการแก้ปัญหาเชิงกลยุทธ์ของแมนยู ในช่องโหว่ที่ไม่มีผู้เล่นมาใช้งานในตำแหน่งปีกขวาที่กระทบการเล่นของทั้งทีม และนี่คือภาควิเคราะห์แทคติกระดับมหภาพ ที่สามารถแก้ไขได้โดยวิธีแยกย่อยมากมาย

ช่วง2นัดที่ผ่านมาถือเป็นการก้าวผ่านสถานการณ์ที่เลวร้ายมาได้อย่างสวยงาม หลังจากตลาดซื้อขายที่ปิดไปด้วยความล้มเหลวในหลายๆจุดที่เกิดขึ้นขณะดำเนินการ แต่เราก็ได้อาวุธเสริมเข้ามาอีกหลายๆจุดในเวลาเดียวกัน

ซึ่งเมื่อ "เวลา" ของตลาดมันล่วงเลยไปแล้ว สิ่งที่ทำได้จึงเหลือแต่ "การแก้ปัญหาจากภายใน" ของแมนยูไนเต็ดในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปใช้งานให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ทีมสามารถเดินไปข้างหน้าและเก็บผลการแข่งขันที่ดีได้

ซึ่งมันคือหน้าที่หลักของผู้จัดการทีมใหญ่อย่างโอเล่ กุนนาร์ โซลชา ที่เป็นคนตัดสินใจภาพรวมทั้งหมดในการบริหารทีมให้เดินต่อไปได้ ไม่ว่าตลาดนักเตะเราจะได้ใครหรือไม่ได้ใครก็ตามที

แมนยูไนเต็ดมีปัญหาใหญ่ๆที่สามารถแจกแจงได้สองเรื่อง นั่นก็คือ ปัญหารายบุคคลของนักเตะ (Individual Problems) และปัญหาทางด้านแทคติก (Tactical Problems)

1.ปัญหารายบุคคลของนักเตะ (Individual Problems)

ในข้อแรกปัญหารายบุคคลนั้น สามารถสรุปให้เห็นได้อย่างชัดเจนง่ายๆเลย แฟนผีคนไหนที่ติดตามและวิเคราะห์ปัญหาของแมนยูไนเต็ดนั้นจะทราบดีว่า นักเตะแทบทุกคนที่เราจำเป็นต้องใช้ลงสนามล้วนแล้วแต่มีปัญหาการเล่นของแต่ละคนกันครบทั้งนั้น

ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น AWB เรื่องเกมรุก / Lindelof ปัญหาเรื่องแรงปะทะและการmarking / Maguire เรื่องความเร็วและการดวล1on1 / Martial ปัญหาเรื่องความตั้งใจและสมาธิ / Bailly ปัญหาอาการบาดเจ็บ / Matic ปัญหาเรื่องอายุและความเร็ว /  Pogba ปัญหาเรื่องความทุ่มเทและจิตใจในการเล่น / De Gea เรื่องความสม่ำเสมอของฟอร์ม / Rashford ปัญหาความสม่ำเสมอของฟอร์ม

แก..ไม่มีสิทธิ์มาเรียกชั้นว่าพ่อ!!!

นี่คือกลุ่มที่ยกตัวอย่างมาให้เห็นเน้นๆว่า ล้วนแล้วแต่เป็นพวกทีมตัวจริงที่เราจำต้องใช้ลงสนามทั้งนั้น แทบทุกตัวจะมีปัญหารายบุคคลทั้งสิ้น ที่เด่นชัดสุดๆก็อย่างเช่นแมกไกวร์ ที่แม้ว่าทีมจะซื้อมาในราคาระดับสถิติโลก แต่สุดท้ายซื้อมาปุ๊บเราก็ยังเจอปัญหาเรื่องความคล่องตัว การแพ้ดวล1-1และหลุดเข้าไปทำประตู แม้กระทั่งวิธีการเล่นที่ชอบไปแย่งเพื่อนในทีมเล่นเองก็ด้วย จะเห็นว่ามีน้อยตัวมากจริงๆที่จะไม่มีปัญหาให้เห็นแบบเด่นชัด

ทีมตัวจริงที่ไม่ติดลิสต์มาก็จะเหลือเพียงแค่ Luke Shaw, Fred, Mctominay, Bruno ตัวพวกนี้เท่านั้นที่ไม่ค่อยมีปัญหาส่วนตัวแบบใหญ่ๆให้เห็น จะมีก็มีเล็กน้อยเช่น ความเสี่ยงเจ็บของชอว์, การโฮลด์บอลที่ไม่มีเลยของเฟร็ด แม็ค ซึ่งพวกนี้ไม่ใช่ปัญหาที่ส่งผลกระทบมากเท่าไหร่จึงไม่นับ

แต่หากมองไปในชุดสำรอง ก็ยังมีอีกหลายๆคนที่ล้วนแล้วแต่มีปัญหาเฉพาะตัวที่ต้องปรับแก้ในทุกๆคนทั้งสิ้น เช่น Williams ปัญหาการขึ้นเกมทางริมเส้นฝั่งซ้าย / James Lingard ปัญหาเรื่องการเล่นในจังหวะสุดท้าย / Mata ปัญหาข้อเสียเปรียบทางกายภาพ

จริงๆรวมปัญหาของโอเล่ในบางจุดไปก็ได้นะเช่น การชอบดื้อใช้นักเตะลูกรักบางคนในการลงสนาม อย่างเช่นลินเดอเลิฟที่ยังไงก็ตัวจริงคู่แมกไกวร์ การฝืนใช้งานนักเตะตัวสำคัญหนักมากเกินไปไม่ให้พักเช่นบรูโน่ และการที่ไม่ค่อยเชื่อใจนักเตะสำรอง จนเกิดปัญหามาหลายคนแล้วเช่นอังเคล โกเมส และรายล่าอย่าง แซร์คิโอ โรเมโร่ เป็นต้น

แม้แต่OGSยังมีIndividual Problemเลยคิดดู

ซึ่งปัญหาเฉพาะตัวเหล่านี้เวลานักเตะพาร์ทนึงเกิด มันจะส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆด้วยเป็นลูกโซ่ อย่างเช่นปัญหาเรื่องการยืนตำแหน่งของ"กองกลาง"ที่บางครั้งยืนกันไม่ดีและปล่อยให้แผงหลังต้องเจองานยากๆ และหวยก็จะไปออกที่"กองหลัง" จนทำให้แผนกเกมรับนั้นดูเป็นพื้นที่จุดอ่อนของแมนยูไนเต็ด

ทั้งที่จริงๆแล้วหลายๆส่วน กองกลางก็ต้องรับผิดชอบที่ไม่สามารถสกรีนงานให้กองหลังได้ดีพอ เมื่อมีการปัดภาระไปให้แนวรับ และสายตาแฟนบอลก็จะจับจ้องอยู่ที่คนพลาดแผลใหญ่ๆในจังหวะสุดท้ายเสมอ ซึ่งเหล่ามิดฟิลด์ที่ทำงานพลาดก็จะลอยตัวในเรื่องนี้จริงๆ

ถามว่าเรื่องนี้มันจริงหรือไม่จริง ก็ลองย้อนไปดูเกมเจอปารีสนัดที่แล้วนี่แหละที่ชัดเจนสุดว่า เมื่อใดก็ตามที่กำแพงชั้นที่1หน้าแผงหลัง อย่างไลน์มิดฟิลด์ที่ทำงานกันได้ดีๆ และสกรีนงานกันได้ยอดเยี่ยม อย่างเช่นที่ แม็ค เฟร็ด วานบิสซาก้า ไล่อัดและป้องกันเกมรุกจากนักเตะอย่างดิมาเรียและเนย์มาร์ได้อย่างชนิดที่เรียกว่า "ปิดตายวายร้ายปารีส" ยังได้เลย ดังนั้นเมื่อมิดฟิลด์ทำงานดี เกมบุกจึงไม่เหลืองานยากๆไปให้แผงกองหลังรับภาระเยอะ จะมีที่นานๆหลุดมาทีก็สามารถช่วยกันซ้อนและป้องกันได้ เหมือนที่ตวนเซเบ้ ลินเดอเลิฟ ชอว์ ช่วยกันทำในเกมนั้น

นี่จึงเป็นภาพรวมคร่าวๆของปัญหารายบุคคลในแต่ละนักเตะของยูไนเต็ด ซึ่งเมื่อมันเป็นความผิดพลาดรายบุคคลดังนั้นมันจึงอาจจะอยู่นอกเหนือการจะแก้ไขควบคุมได้ของผู้จัดการทีมภายในเร็ววัน

2.ปัญหาทางด้านแทคติก (Tactical Problems)

ในเชิงแทคติก จุดแรกสุดของแมนยูนั้นล้วนแล้วแต่เริ่มจากปัญหาการขาด "ปีกขวา" ทั้งสิ้น ซึ่งMason Greenwoodนั้นไม่พร้อมสำหรับการเล่นในตำแหน่งหน้าที่ปีกขวานี้ จะเห็นได้จากว่า ทำไมโซลชาถึงได้ตั้งfirst priorityในตลาดซัมเมอร์ที่ผ่านมาเป็น Jadon Sancho นี่สะท้อนให้แฟนๆผีเห็นชัดเจนนะว่า โอเล่"รู้" ว่าปัจจุบันทีมเราไม่มีคนเล่นตัวรุกด้านขวาเลย จนแทบจะกลายเป็นแดนสนธยาไปแล้วที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตตรงนั้น

เป็นจุดบอดที่เป็นเหมือนแบล็คโฮลซึ่งกลืนกินทุกสิ่ง ทั้งความหวังและชัยชนะของแมนยูไนเต็ด

ปีกขวาคนสุดท้ายเมื่อชาติที่แล้ว

2.1 จุดเริ่มของปัญหาปีกขวาคือการไม่มีผู้เล่นเหมาะสม

แดนเจมส์นั้นได้โอกาสมากมายในการเล่นตำแหน่งRWเมื่อซีซั่นที่แล้ว แต่ก็อย่างที่เราเห็นกันว่าเขานั้นไม่สามารถเล่นในตำแหน่งปีกขวาได้เช่นกัน เมื่อpositionนี้ทำให้เจมส์นั้นบ้อท่าไปไม่เป็น เมื่อเทียบกับตอนเล่นปีกซ้ายทุกคนจะเห็นว่าแดนเจมส์พริ้วและทำอะไรให้ทีมได้เยอะกว่าตอนเล่นปีกขวามากที่มุมเท้าขวามันบีบให้ทำได้แค่ วิ่ง+กระชากสุดเส้น+เปิด เท่านั้น

การที่เจมส์ไม่สามารถเล่นปีกขวาได้ มันจึงกลายเป็นการ "บีบโซลชา" ให้เหลือออฟชั่นเดียวทางขวา นั่นก็คือเมสัน กรีนวู้ดนั่นเอง

ช่วงครึ่งแรกของซีซั่นที่แล้ว กรีนวู้ดได้เวลาในการลงเล่นอย่างจำกัดเพราะโซลชาไม่ต้องการจะรีบร้อนใช้เขาทั้งเรื่องวัย และปัญหาในการลงมาเล่นเกมรับที่แดเนียล เจมส์ยังทำได้ดีกว่า(ถ้ามีโอกาสจะเขียนบทความนี้เพิ่มเติมให้เห็นจุดอ่อนกรีนวู้ด) ซึ่งโดยธรรมชาติในยามที่เขาเล่นด้วยวัย18ปีนี้ เมสัน กรีนวู้ดคือนักเตะในตำแหน่ง Center Forward ที่ยังต้องพัฒนาตัวเองอีกเยอะ

เมื่อถึงช่วงกลับมาจากล็อคดาวน์ กรีนวู้ดพัฒนาขึ้นเยอะทั้งด้านกายภาพ ฝีเท้าการเล่นในเกมรับและการระวังตำแหน่งผู้เล่นต่างๆ แล้วทำประตูได้4ลูกจาก3เกมจนเป็นตัวจริงทุกนัด แต่นั่นก็หมายความว่ายิ่งเขาลง คู่แข่งยิ่งรู้จักและรู้วิธีรับมือเขาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ทุกคนรู้ว่าเขาอันตรายในจังหวะยิงประตู แต่ว่าไม่มีส่วนร่วมในopen playมาก ดังนั้นจุดที่คู่แข่งต้องรับมือจึงหาจุดโฟกัสได้ง่ายขึ้น(ปิดจังหวะยิง)

ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับเกมเก่าในเกมไบรจ์ตัน กรีนวู้ดได้บอลบนเส้นกรอบเขตโทษ และลากเข้ากลางไปเจอแนวรับ4ตัวข้างในที่ปิดทางอยู่ ถ้าเขาเลือกที่จะไหลบอลออกให้แมกไกวร์ด้านขวาโล่งๆหรือมาร์กซิยาลตัวบนที่ไม่มีใครประกบ หรือแม้กระทั่งบิสซาก้าที่โอเวอร์แลปขึ้นมา แมนยูน่าจะทำได้ดีกว่าการที่เขาตัดเข้าไปในดงกองหลัง แล้วก็จ่ายสั้นให้เพื่อนไม่มีมุมยิง และต้องยิงติดกำแพงในที่สุด

ลากเข้าไปจนมุมและจ่ายให้เพื่อนที่ไม่มีมุมยิง สุดท้ายก็ต้องยิง

เรื่องการเล่นในจังหวะโอเพ่นเพลย์ กรีนวู้ดยังมีบาดแผลให้เห็นบ่อยๆด้านการตัดสินใจ อย่างเช่นรูปต่อไปนี้ เมื่อเขาได้บอลต่อมาจากแรชฟอร์ดแล้ว กรีนวู้ดกลับไม่ยอมแปะ1-2ต่อให้แรชฟอร์ดที่วิ่งหนีตัวประกบได้แล้ว ส่วนทางขวาก็มีหมากกับบรูโน่สองคนที่พร้อมขยับโจมตีอยู่ แต่เขาเลือกที่จะม้วน แล้วพลิกยิงถากเสาไป

ดูเผินๆเหมือนจะเป็นช็อตที่ดี แต่จริงๆมันคือความผิดพลาดในด้านของการตัดสินใจที่ถ้าจ่ายด้วยsimple pass มันจะทำได้ดีกว่าการยิงถากเสานั้นอีก เพราะเพื่อนอาจจะทำประตูได้ก็ได้


เป็นที่ถกเถียงกันว่า แม้กรีนวู้ดจะคมกริบด้วยการเปลี่ยนโอกาสเดียวเป็นประตูได้ก็ตาม แต่มันก็พอๆกับเรื่องที่เขาไม่สามารถสร้างสรรค์เกมให้กับทีมได้เลย เพราะแทบทุกนัดก็หายตัวตลอดเป็นประจำ และโอกาสยิงของเขาก็เริ่มลดลงเรื่อยๆเมื่อทุกคนจับทางได้มากขึ้น เพราะก่อนล็อคดาวน์เขาได้โอกาสยิง 2.86ครั้งต่อเกม แต่หลังล็อคดาวน์มันเหลือ2.32ครั้งต่อเกมเท่านั้น ซึ่งโอกาสทำประตูได้ก็จะน้อยลงอีกเพราะโดนปิดมากขึ้น

แต่นั่นก็ยังไม่น่าห่วงเท่ากับประเด็นเรื่อง "ตำแหน่งการยิง" ของเขาจากชาร์ทนี้


จะเห็นว่าตำแหน่งการยิงของเขามักจะไม่ค่อยเอาตัวเองเข้าไปอยู่ใกล้ประตู ในที่ที่มีโอกาสทำประตูได้ชัวร์ๆและแน่นอนกว่ายิงไกลตามที่ถนัด จะสังเกตว่าจุดยิงมักอยู่แถวๆหัวกะโหลกทั้งนั้น แทบไม่เข้าใกล้ประตูเลย แต่กลับกัน นักเตะที่ทำประตูได้เป็นกอบเป็นกำให้ทีมอย่างแรชฟอร์ด เปรียบเทียบดูตำแหน่งยิงจะเห็นชัดว่าแรชเข้าพื้นที่อันตรายกว่าเยอะมากๆ ตามภาพล่างนี้ ทั้งๆที่สองคนนี้เป็นผู้เล่นที่เล่นจากบริเวณ wide area ด้านข้างตัดเข้าในเหมือนกัน


เมสัน กรีนวู้ดนั้นเป็นตัวยิงที่ดี เอาจริงๆภาคการยิงดีกว่าแรชฟอร์ดด้วยซ้ำ ซึ่งปัญหาของกรีนวู้ดมันไม่ใช่จุดที่ยิง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าถ้าคู่แข่งบล็อคเขาในพื้นที่นอกกรอบได้ ทุกอย่างก็จบแล้วเพราะเขาไม่ถนัดในการเข้าใกล้ปากประตูแล้วยิง พยายามจะแทรกเข้าไปยิงก็ทำได้ไม่ดีเท่าแรช

ดังนั้นสรุปสิ่งที่กรีนวู้ดต้องพัฒนานั่นก็คือ พัฒนาตัวเองในเรื่องการหาพื้นที่เล่นยาม"ไม่มีบอล" และวิ่งตัดแนวรับเข้าไปในโซนอันตรายใกล้ประตูมากกว่านี้ รวมถึงทีมเวิร์คและการตัดสินใจให้บอลเพื่อน ต้องปรับปรุงอีกมาก

แม้ว่าเราจะพูดว่า เขาเพิ่งอายุ19คงยังไม่สามารถแบกความหวังทีมได้ก็จริง แต่หากกรีนวู้ดทำได้ราวๆนี้เท่านั้นเหมือนในปัจจุบัน มันคงจะดีกว่ามากถ้าใช้งานเขาในลักษณะของการเป็นซุปเปอร์ซับ "กองหน้าตัวแบ็คอัพ" ที่ส่งลงมาแก้สถานการณ์ให้ทีม ณ ขณะนี้น่าจะเหมาะกับฝีเท้าของกรีนวู้ดปัจจุบันมากกว่า

และเมื่อมันเป็นแบบนั้น ก็นั่นแหละครับวกกลับมาที่ประเด็นปัญหาว่า ถ้าไม่ดีพอจะลงได้ ดังนั้น เมสัน กรีนวู้ด จึงยังไม่ใช่คำตอบของปีกขวาแมนยู แน่นอน

2.2 ใช้ไดมอนด์ดึงศักยภาพนักเตะ ณ ตอนนี้

ข้อมูลเก่าตั้งแต่ยุคแรกๆที่โซลชาย้ายเข้ามาเขาก็ได้เคยใช้ไดมอนด์มาบ้างแล้วถึง7ครั้ง ช่วง2018-19 และอีกหนึ่งครั้งในซีซั่นที่แล้ว ตามข้อมูลนี้ (ถ้าใครนึกไม่ออก มันก็คือเกมที่เขาใช้พวกลินการ์ดเปเรร่ามาต้าลงสนามนั่นแหละ พวกนี้ก็กลางรุกแท้ๆเลย +สามมิดฟิลด์ด้านหลัง)

จะเห็นว่าสองนัดแรกไปได้ดีเลยด้วยการชนะสเปอร์และอาร์เซนอล นัดเจอสเปอร์ถ้าใครจำได้ก็คือ เดเคอาระเบิดร่างสุดยอดที่สุดในชีวิตนั่นแหละ (ดูจากตารางได้ สเปอร์ยิงไป21ครั้งยังสกอร์0)

ไดมอนด์ที่ยูไนเต็ดใช้ตอนนั้น เป็นการเอาบอลสไตล์มูรินโญ่มาใช้ กล่าวคือเขาจะใช้งานในยามที่ต้องการแพ็คเกมตรงกลางให้แน่น / ตั้งรับลึกมาก / ต้องการจะใช้เกมสวนกลับเล่นงานคู่แข่ง ซึ่งสามเกมที่ใช้คือ เกมเจอปืน ไก่ และ หงส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือ เกมรุกบอด เกมรับก็กาก ส่วนปีที่แล้วยูไนเต็ดหยิบมาใช้ครั้งเดียวในเกมเจอเอฟเวอร์ตัน ซึ่งxG (expected goal) มันคือ"ประสิทธิภาพของการยิง" หรือความน่าจะเป็นที่ทำประตูหรือ xGAเสียประตู

ตอนเจอเอฟ แมนยูมีค่าเสียประตูถึง 2.41ในเกมนั้น ซึ่งสูงสุดของปีก่อนเลย

เกมด้านบนที่ใช้ไดมอนด์ หมากแรชได้ลงพร้อมกันแค่เกมเดียวคือเกมกับบาร์ซ่า ซึ่งก็เล่นกันไม่ถนัดทั้งคู่สำหรับกองหน้าสายsplitอย่างทั้งสองคนไม่ได้เหมาะกับเกมนั้น

ซึ่งสถิติด้านบนทั้งหมดนี้จะเห็นว่าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยดี ชนะแค่สองนัดแรกหลังจากนั้น5นัดเสมอเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสิ่งที่"ไดมอนด์"  มันจะใช้ทำประโยชน์ให้แมนยูได้จริงๆแล้ว ก็คือการที่แผนนี้มันจะทำให้เราสามารถ "นำเอานักเตะที่ดีที่สุดที่มีในทีม มาลงในตำแหน่งที่ดีที่สุดของพวกเขา"

พูดง่ายๆภาษาชาวบ้านคือ เพราะยูไนเต็ดมีแต่มิดฟิลด์เก่งๆเต็มไปหมดนั่นแหละ ไดมอนด์จึงจะเหมาะสมที่จะนำมาใช้

ซึ่งมันคือ "ตอนนี้" ไม่ใช่ "ตอนนั้น" ที่ขณะนี้หลายๆอย่างเข้าแก๊ปการใช้ไดมอนด์แล้ว เนื่องจากเรามีฟานเดอเบคเข้ามา/ การมีCavaniถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเอื้อไดมอนด์ เพราะต้องใช้กองหน้าคู่ ซึ่งหมากแรช สองตัวนี้ชอบที่จะเล่นเป็นกองหน้าด้านข้างมากกว่า / รวมถึงอเล็กซ์ เตลีส ที่จะรับผิดชอบเกมริมเส้นในตำแหน่งแบ็ค ซึ่งต้องทำคนเดียวทั้งรุกรับ เพราะแผนนี้จะไม่มีตัวริมเส้นใช้งานเลยทำให้ตำแหน่งแบ็คจำเป็นมากๆที่ต้องมีคนทำในส่วนนี้ได้

ไดมอนด์ของโอเล่ยุคแรกจึงเป็นแผนที่ไม่เวิร์คเพราะตัวมันไม่พร้อม แต่ตอนนี้น่าจะถึงเวลาที่ว่านั้นแล้วในการนำมาแก้ปัญหา

2.3 ใช้สูตรหลังสาม (A Back Three)

เป็นแผนยอดฮิตที่แมนยูนำมาใช้เมื่อไหร่ก็เกิดผลลัพธ์ที่ดีบ่อยครั้ง ซึ่งหลังสามของโอเล่นั้นมีหลายๆรูปแบบ เช่น 3-4-1-2 ที่จะยังสามารถใช้งานเพลย์เมคเกอร์เบอร์10ในแผนได้

(โอเล่เคยลอง 3-4-3 กองหน้าสามตัว ไม่ใช้เพลย์เมคเกอร์ ปรากฏว่าเละครับเกมเจอเชฟฟิลด์ยูไนเต็ด ส่วนเกมเยือนคลับบรูจจ์ดูเหมือนว่าจะเป็นแผน 3-2-2-2-1 ซึ่งก็เละเทะอีกตามเคย เละตั้งแต่ตัวเลขประหลาดๆเหล่านี้แล้ว แต่ข้อมูลนี้ก็น่าจะตอกหน้าพวกที่ด่าโอเล่ว่าเป็นบอลหน้าเดียวอีกครั้ง ด้วยการยืนยันครั้งที่ล้านว่า แทคติกโอเล่แม่งเยอะจัด เยอะจนสามารถพูดได้ว่าแกเป็นTactics Mania ได้เลย)

ผลลัพธ์ตอนใช้หลังสามมีที่ดีๆดังนี้

นี่คือตารางการเล่นด้วยแผน3-4-1-2 การโค่นเชลซีและซิตี้ถึงสองครั้งแสดงให้เห็นการป้องกันที่แข็งแกร่ง แต่ว่าเกมรุกก็มีอาการดรอปลงบ้างเล็กน้อยตามข้อมูลข้างล่าง


เห็นชัดๆก่อนอย่างแรกเลยคือ ประตูทั้งหมดด้านบนตอนเล่นแผนนี้ปีก่อน ได้จากโอเพ่นเพลย์สามลูกเท่านั้น นอกนั้นลูกนิ่งหมด ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวแยกรายละเอียดแต่ละทีมได้ดังนี้

คำอธิบายของเรื่องเหล่านี้ก็คือ แมนยูไนเต็ดใช้แผนแบ็คทรีในเกมที่เจอคู่ต่อสู้ตัวสำคัญในลีกทั้ง3ทีม(ลิพู เชลซี แมนซิ) ยกเว้นปาร์ติซานทีมเดียว ซึ่งมันแปลว่า ใช้แผนหลังสามในการเจอทีมพวกนี้ ทีมที่ไม่สามารถไปเปิดหน้าแลกหมัดได้ และต้องรอเล่นรับจากนั้นค่อยคว้าโอกาสทองในการสวนกลับและทำให้ได้ ซึ่งฟังดูมันก็ออกๆจะเป็นปรัชญาแบบมูรินโญ่พอสมควร

ทั้งนี้ทั้งนั้นแผนหลังสามไม่ใช่ช้อยส์แรกโดยทั่วไปของโซลชาอย่างที่เรารู้กันว่าเขาจะใช้ 4-2-3-1 ก่อน แถมที่สำคัญก็คือหลังสามของเขาก็ไม่ค่อยได้เคยใช้หมากแรชลงพร้อมกันเพราะด้วยสถานการณ์และอาการบาดเจ็บ (จนกระทั่งเกมเจอปารีสวันก่อนนั่นแหละ)

เมื่อไหร่ก็ตามที่หน้าคู่ พวกเขาลงพร้อมกันไม่ได้ ก็จะเกิดปัญหาทันที แรชฟอร์ดที่ลงไปเล่นหน้าเป้าในวันที่ไม่มีมาร์กซิยาล ก็จะทำให้ทีมขาดมิติปีก ส่วนยามที่หมากลงแต่แรชไม่อยู่ หมากก็ไม่สามารถทำทุกอย่างแทนแรชฟอร์ดได้อีก

แผนหลังสามจะช่วยบรรเทาปัญหาที่ว่านั้นได้ด้วยการปลดปล่อยอิสระให้แบ็คได้เล่นแนวกว้างเต็มที่ แล้วก็ใช้ช่วยเกมรับได้อีกแรงนึงด้วย(กลายเป็นแผง5ตัวแนวรับ) ซึ่งแม้หลังสามมันจะเป็นฟอร์เมชั่นที่เกมรับแข็งแกร่ง แต่ไม่ได้แปลว่า "เราใช้แผนนี้แล้วต้องเล่นเกมรับเท่านั้น" สักหน่อย

หลังสามก็บุกได้ อย่างที่เขียนบอกบ่อยๆ

ด้วยปริมาณผู้เล่นในเกมรุกที่ใช้งานได้มากขึ้น แผนหลังสามก็ใช้เป็นอาวุธบุกได้และแก้ปัญหาขาดปีกขวาที่บอกไว้ในตอนต้นว่ามันเป็นแบล็คโฮลจุดเริ่มต้นของแทคติกปัญหาแมนยู

มาร์กซิยาลแรชฟอร์ดเล่นกองหน้าฝั่งซ้ายได้ทั้งคู่ ส่วนกรีนวู้ดเล่นกองหน้าคู่ด้านขวาสองครั้งปีก่อน และก็โดนลักพาตัวไปสองครั้ง ตัวที่ดีกว่ากลับกลายเป็นเจมส์ในตำแหน่งนี้

การเข้ามาของคาวานี่น่าจะทำให้แผนนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมแน่นอน เพราะตัวนี้แหละตัวเป้าของแท้ และเหมาะที่จะยึดโยงฝังรากการเล่นอยู่กลางสนาม ซึ่งเข้ากับแผนหลังสามที่ใช้หน้าคู่ของโอเล่สูตรนี้ 3-4-1-2

ดังนั้น แผนหลังสามนี่แหละ คือหนึ่งในอีกวิธีการที่ใช้แก้ปัญหาในเชิงแทคติกปัจจุบันของแมนยูที่ไม่มีใครเล่นปีกขวา

ก็ใช้สูตรนี้ไปเลย

2.4 ใช้วิธีเปลี่ยนrole(บทบาทการเล่น)ของผู้เล่นที่จะลงตำแหน่งRW

นอกจากไดมอนด์ หลังสาม อีกวิธีนึงที่จะแก้ปัญหาเชิงแทคติกก็คือ "ปรับวิธีการเล่นของคนที่มาลงตำแหน่งปีกขวาซะ" เพราะแผนปัจจุบันของแมนยูสูตร 4-2-3-1 ไม่ได้ใช้ปีกขวาแท้ๆในการเล่นตรงนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละเกมเลยว่าใช้ใครลงไปเล่นRWผลที่ออกมาก็ต่างกันไป เช่น กรีนวู้ดเองเวลาลงเล่นRW ก็เล่นเป็นForwardด้านขวาตัดเข้าใน / เจมส์เล่นRWก็จะเล่นริมเส้นเน้นๆเหมือนปีกธรรมชาติ ส่วนฮวน มาต้าในตำแหน่งRW ก็เล่นในลักษณะเหมือน RM (มิดฟิลด์ตัวขวา ตำแหน่งพี่เบ็ค)

คีย์แมนสำคัญคือ ภาคการเล่นของคนสุดท้าย "ฮวน มาต้า" นี่แหละที่จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้

มาต้านั้นเป็นบอลสมองที่ช่วยเกมรุกแมนยูได้ดีมากๆ แต่ด้วยอายุและสังขารที่ลงเยอะมากไม่ได้ทำให้เขาไม่ค่อยมีส่วนกับในเกมพรีเมียร์ลีกปีที่แล้ว แต่ว่าตอนนี้ปัญหาเรื่องมาต้าลงบ่อยๆไม่ได้กำลังจะหมดไป เพราะตอนนี้เรามีตัวแบบเดียวกันเข้ามาแล้ว

Donny van de Beek

ในประเด็นที่RWมักจะดรอปลงต่ำ(RM)แล้วก็ช่วยในการตั้งเกมการเล่นให้แมนยูได้ด้วย ซึ่งVDBถ้าใครศึกษาข้อมูลวิเคราะห์มาที่ได้เขียนก่อนหน้านี้ จะบอกว่าเขาเองก็ถนัดในการเล่นกลางรุกเบ้ไปทางซีกขวาด้วยซ้ำไป

มาต้ามักจะปั้นเกมได้ดีด้วยเวลาดรอปต่ำลงเป็นRMดังรูป ยิ่งไม่โดนเพรสใส่ยิ่งดี และปั้นเสร็จยังสามารถวิ่งต่อเข้าพื้นที่อันตรายด้วยตัวเอง จนหลายๆครั้งยิงประตูได้ด้วย

ลูกนี้จ่ายแล้ววิ่งเข้ากรอบ จนตวัดเข้ากลางให้อิกาโล่ได้

เล่นวันทูคู่หูดอนฮวน หลุดเข้าไปยิงในกรอบ ได้ประตู

แมนยูไนเต็ดยังต้องปรับปัญหาเรื่องที่กองกลางไม่ค่อยช่วยสกรีนงานแบ็คโฟร์ด้วย อย่างเช่นมาติชในรูปนี้ที่วิ่งเข้าเพรสซิ่งอย่างดุเดือด และปล่อยป็อกบา"เหงาalone"อยู่ตรงกลางต่ำคนเดียวซึ่งไม่ใช่เรื่องดี เพราะพี่เค้าก็ไม่ค่อยเล่นรับด้วย

แต่เชื่อหรือไม่ xGA/90 (โอกาสที่แมนยูจะโดนยิงต่อเกม) ยามมีป็อกในสนามอยู่ที่ 2.25 แต่ในยามที่ป็อกไม่อยู่ xGAที่จะเสียประตูกลับสูงขึ้นเป็น 4.97 ดังนั้นเกมรับจึงไม่ใช่ปัญหาที่ป็อกบา แต่เป็นที่solutionการเล่นของทีมเป็นหลัก ไม่เกี่ยวกับตัวนักเตะ ซึ่งนั่นก็คือ ไม่ควรปล่อยให้ป็อกบาโดดเดี่ยวในเกมรับ เพราะเขาจะไม่ระมัดระวังเพียงพอ

(หากถอยบรูโน่มาเล่นตำแหน่งเบอร์8 เขาก็อาจมีปัญหาเดียวกัน)

ดังนั้นเพื่อเสริมให้ทีมแน่นขึ้นนั้น ปกติโอเล่จึงแก้เรื่องนี้ด้วยการดึงเอาเฟร็ดมาใช้งานโดยยืนข้างๆป็อกบาหรือบรูโน่ หรือจะลงไปยืนคู่มาติช แม็คโทมิเนย์อย่างที่เราเห็นกัน ซึ่งยูไนเต็ดนั้นใช้มิดฟิลด์ตัวรับในลักษณะของ "กลางรับคู่" ที่เป็นdouble pivotนั่นแหละ จะยืนต่ำกว่า CM ปกติกลางสนามอย่างที่เราเห็น

ซึ่งพอใช้กลางรับคู่ จะมีปัญหาที่เรื่องของการขึ้นเกมจะยากหน่อย

วิธีการแก้ไขต่อก็คือ ต้องสั่งบรูโน่ดรอปต่ำลงมาบริเวณมิดฟิลด์เพื่อรับบอล+เชื่อมเกม จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ในเปลาะแรก แต่ปัญหาก็คือ เมื่อดึงพี่หนวดลงมาจะเกิดอะไรขึ้น?

ผู้เล่นในแดนหน้าที่จะรับบอลบุกก็ลดลงไป หากว่ามิดฟิลด์ที่สลับขึ้นไปแทนที่กันในแดนหน้าเป็นป็อกบาก็โอเคอยู่(เพราะเล่นรุกถนัดอยู่แล้ว) แต่ถ้าไม่ใช่ แล้วคนที่ขึ้นสูงไปแทนเป็นเฟร็ด มาติช แม็ค มันก็ทำเกมรุกต่อไม่ค่อยดีเท่าไหร่

Fred : ลูกนี้ไม่บอกก็รู้ว่าเข้า / Moutinho : เข้าโกล? / Fred : ยิงออกไปโดนหัวคนดู..เข้าโรงบาล !!!

แต่การมีฟานเดอเบคเข้ามานั้นเขาเก่งในการหาพื้นที่ว่างในยามไม่มีบอล เพื่อที่จะ "รับบอลต่อ" เพื่อพาเข้าพื้นที่อันตรายได้ การเคลื่อนไหวของฟานเดอเบคนั้นจะถอยต่ำลงมาช่วยในเรื่องbuild-up playที่ว่านี้ได้อย่างดี ทั้งการดรอปต่ำลงมาเอง หรือswapกับบรูโน่ที่ออกจากตำแหน่งตัวเองก็ได้

ดังนั้นหากใช้บรูโน่เล่นในroleแบบ Mata เช่นนี้จะทำให้เราเพิ่มปริมาณนักเตะในพื้นที่กลางสนามขึ้นมาอีกหนึ่งตัวและสามารถพาบอลขึ้นหน้าได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงเป็นออฟชั่นตัวรับบอลต่อจากเพื่อนด้วยอีกอย่างหนึ่ง

กรณีนี้ยังช่วยแก้ไขปัญหาอื่นๆได้อีกหลายอย่างด้วย เช่นปัญหาการbuild upจากซีกขวาของสนามที่ Aaron Wan-Bissaka ไม่สามารถทำเกมรุกได้จริงๆ (อย่าเพิ่งนับลูกยิงFlying-Wของนัดก่อนนะ! ไม่ได้แปลว่ามันจะรุกได้เลยทันที)

คือจริงๆแล้วบิสซาก้าทำผลงานได้ดีกว่านี้แน่ๆถ้าเข้าไปในพื้นที่final thirdได้บ่อยๆเหมือนที่ยิงลูกนั้นนั่นแหละ แต่ปัญหาคือเขาทำได้ไม่ค่อยดีในด้านการตั้งเกม จะสังเกตได้จากการเล่นของAWBใน zone map แผนที่ที่บอกโซนการเล่นของเขาเลยว่าบริเวณไหนดี บริเวณไหนแย่ ตามรูปนี้

เห็นได้ง่ายๆเลยว่าพื้นที่การเล่นของบิสซาก้าด้านกราบขวา มีสามโซนใหญ่ๆ

โซนแรก "ริมเส้นขวาหลัง" เขาคือเทพเจ้า อาจจะบอกว่าเกมรับเป็นหนึ่งในสามของโลกตอนนี้ยังได้เลยในพื้นที่ด้านหลังขวา ที่เล่นเกมรับได้โหดสัสที่สุด เพราะหยุดอยู่แม้กระทั่งtrinityพระเจ้าอย่างเอ็มบัปเป้ ดิมาเรียและเนย์มาร์

โซนสอง "ริมเส้นขวากลางใกล้ๆวงกลม" พื้นที่ห่วยๆของบิสซาก้า ก็คือตั้งแต่ใกล้ๆเส้นกลางสนามด้านล่าง จนไปถึงด้านบน ตรงนั้นแหละพี่แกเล่นไม่ดีเอาซะเลยตามภาพนี้

โซนสาม "ริมเส้นด้านขวาสุดเส้นหลัง" พื้นที่ที่AWBทำอะไรได้ดีกว่าที่หลายๆคนคิด ขอแค่หลุดเข้าไป ..ลูกยิงเมื่อวันก่อนก็อาจจะเป็นคำตอบดีๆได้บางส่วนแล้ว

แต่ประเด็นคือ "พื้นที่ห่วยของบิสซาก้า" ตรงนี้ เราจะไม่ใช้งานเขา แต่วิธีแก้ก็คือ "ปรับrole ดรอปนักเตะRW ลงต่ำมาแบบมาต้า มาเล่นในบริเวณที่บิสซาก้าไม่ถนัด(สีน้ำตาล) " จากนั้นก็ดันบิสซาก้า หรือใครก็ได้ที่เล่นแบ็คขวาขึ้นไปสูง แทนRWที่ดรอปลงมาต่ำ

นี่แหละ solutionแก้ปัญหาการปรับหน้าที่ปีกขวามีแค่นี้เองที่เป็นkey point

ในรูปนี่ก็คือมาต้าดรอปต่ำ ดาโลต์ก็ดันสูงได้ตามอิสระ

ทำเช่นนี้บิสซาก้าจะมีที่ว่างและมีเวลาที่สามารถดันเกมตัวเองขึ้นไปอยู่สูงในโซนสีเขียวด้านบนสุดของfinal thirdริมข้างขวาได้ ทันทีที่ดรอปมาต้า หรือฟานเดอเบค บรูโน่ ลงมาเล่นจุดนี้ (อาจจะลงไม้เขียวroleนี้ดูได้ แต่ไม่น่าเวิร์ค)

การขึ้นเกมฝั่งขวาของทีมจึงสามารถทำได้โดยการถอยมิดฟิลด์ตัวพิเศษลงมาต่ำ แล้วเปลี่ยนจุดอ่อนแบ็คขวาเราให้เขาได้ไปเล่นในพื้นที่ที่เป็นจุดแข็งแทน

ในตอนนี้อาจจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา มันจะช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้เราสามารถดันป็อกบาขึ้นสูงไปเล่นยังจุดของเบอร์10ได้

หรือถ้าคุณอยากได้มิดฟิลด์มาคุมพื้นที่เกมรับมากขึ้น หรือต้องการกองกลางที่เติมไปซ้อนกองหน้าในกรอบ ก็แค่โรเตชั่นใช้งานระหว่าง ป็อกบา บรูโน่ ฟานเดอเบค และ กรีนวู้ด 4ตัวนี้ให้หมุนตำแหน่งกันไปมาระหว่าง no.10 กับ RW ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปทันที

(ป็อก บรูโน่ ฟานเดอเบค เป็นกลางรุกno.10ที่เล่นเป็นAdvance Playmakerที่ถ่างออกข้างได้ทุกตัว ส่วนกรีนวู้ด เป็นRWที่ชอบตัดเข้ากลางไปเล่นCentral Forward ซึ่งตำแหน่งก็ยืนเกือบๆจุดเดียวกับ no.10นั่นแหละ)

มิสเตอร์แฟร์นันด์สจะเพิ่มการสร้างสรรค์เกมจากด้านขวาให้เรามากกว่าที่เคย แต่เขาจะไม่ต้องไปยืนแช่อยู่ปีกขวาอย่างเดียว เพราะว่า "Mata role" ที่ว่านี้จะให้อิสระในการขยับไปจุดต่างๆในสนามอย่างอิสระ ทั้งลงต่ำ ถ่างขวา รุกตรงกลาง และปั้นเกมได้ตามต้องการจากนอกกรอบเขตโทษ และขยับออกไปขวาได้

ออฟชั่นการแก้ปัญหามันมีอยู่ตั้งเยอะแยะหลายวิธีที่กล่าวมานี้ ดังนั้นขึ้นอยู่กับว่าโซลชาจะหยิบเอาวิธีการอันไหนมาแก้ปัญหาเหล่านี้ของทีม

ถ้านำไปใช้ เขาจะคว้าผลการแข่งขันที่ดีเยี่ยมอย่างแน่นอน

-ศาลาผี-

Reference

https://thebusbybabe.sbnation.com/2020/10/16/21513302/manchester-united-tactical-analysis-how-do-you-fix-this-mess

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด