:::     :::

เกาะติดเลือกตั้งประธานบาร์ซ่า...ลาปอร์ต้า เต็งหนึ่ง !?

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
กลางดึกคืนวันพุธที่ผ่านมา ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่มีผลต่ออนาคตของสโมสรบาร์เซโลน่าอย่างมาก เพราะมันคือ ‘รอบตัดตัวว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานสโมสร’

เงื่อนไขคือว่าที่ผู้สมัคร ทั้ง 9 คน ต้องเข้าแสดงตนและแถลงนโยบายต่อหน้าโซซิโอผู้ทรงเกียรติในที่ประชุมสภา เพื่อขอเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2,257 เสียง ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการตั้งไว้ 

ตามขั้นตอน มีการเรียงลำดับการเข้าแสดงตนของ 'ว่าที่' ทั้ง 9 โดยยึดตามหมายเลขโซซิโอของแต่ละคน (คนที่จะลงสมัครชิงตำแหน่งประธานสโมสรบาร์เซโลน่าได้จะต้องเป็นโซซิโอของสโมสร) 

คิวแรกได้แก่ โจน ลาปอร์ต้า เข้าแสดงตนในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นหรือ 23.00 น. ตรงกับเวลาประเทศไทย หลังจากนั้นก็ไล่เรียงกันมาด้วยระยะห่างคนละ 30 นาที 

ลำดับที่ 2 เวลา  17:30 น. ยอร์ดี้ ฟาร์เร่ 

ลำดับที่ 3 เวลา 18.00 น. อากุสตี เบเนดีโต้ 

ลำดับที่ 4 เวลา 18.30 น. อามิลี โรโซ 

ลำดับที่ 5 เวลา 19.00 น. ชาบี บีลาโฆอาน่า

ลำดับที่ 6 เวลา 19.30 น. โตนี่ ไฟรช่า

ลำดับที่ 7 เวลา 20.00 น. บิคตอร์ ฟอนท์

ลำดับที่ 8 เวลา 20.30 น. เฟร์นานเดซ อาล่า

และ ลำดับที่ 9 เวลา 21.00 น. เปเร่ รีเอร่า 

ตามกฏ 'ว่าที่ผู้สมัคร' จะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจำนวน 2.257 เสียงจึงจะสามารถเปลี่ยนสสถานะเป็น 'ผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานสโมสร' อย่างเต็มตัว

แต่ถ้าใครไม่ผ่านเกณฑ์ จะถูกปรับตกรอบ ไม่มีสิทธิลงสมัครับเลือก และถูกยึดเงินประกันจำนวน 200,000 ยูโร หรือ 7.4 ล้านบาททันที 

สาเหตุที่ตั้งเงินประกันไว้สูงและไม่คืนเงินประกันเมื่อไม่ผ่านการตัดตัวนั้น ก็เพราะว่าสโมสรต้องการกันคนที่ไม่มีคุณสมบัติ หรือคนที่ไม่ได้ตั้งใจจะลงสมัครจริงๆออกไป 

ตามคาดการณ์ของสื่อกาตาลัน ที่มีการวิเคราะห์ออกมาก่อนหน้านี้ เชื่อว่าจะมี 'ว่าที่' หลุดจากวงโคจรในรอบตัดตัวอย่างน้อย 5 คนด้วยกัน 

ช่วงประมาณเกือบตี 4 บ้านเรา (เข้าสู่เช้าวันอังคาร) ผลการโหวตทั้งหมดก็ออกมาอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าเป็นไปตามความคาดหมาย มี ‘ว่าที่ผู้สมัคร’ ผ่านเกณฑ์คัดเลือกทั้งสิ้น 4 คน และหลุดวงโคจร 5 คน 

โจน ลาปอร์ต้า ได้คะแนนเสียงสนับสนุนจากโซซิโอมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ถึง 10,257 เสียง, ตามด้วย วิคตอร์ ฟอนท์ อันดับ 2 ที่  4,710 เสียง, อันดับ 3 เป็น โตนี่ ไฟรช่า 2,821 และ อามิลี โรโซ 2,501 เสียง 

ส่วนที่เหลือ 5 ราย ยอร์ดี้ ฟาร์เร่ (2,082), ชาบี บีลาโฆอาน่า (1,967), เฟร์นานเดซ อาล่า (1,177), เปเร่ รีเอร่า (ตัดสินใจไม่ขอให้นับคะแนน) และ อากุสติ เบเนดิโต้ ไม่มาแสดงตน 


จากคะแนนเสียงที่ออกมาในรอบแรก สามารถประเมินได้ในทันทีว่าเวลานี้ ลาปอร์ต้า ได้รับความนิยมจากโซซิโอสูงมาก และพูดได้เต็มปากว่าอดีตประธานยุคทริบเบิ้ลแชมป์สมัยแรกของสโมสรคือเต็งหนึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ 


อย่างไรก็ตาม คะแนนเสียงที่ ลาปอร์ต้า ได้รับในรอบแรกแม้ว่าจะสูงมาก แต่ก็ยังไม่ได้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์

โจเซป ยุยส์ นูนเญซ เคยทำสถิติสูงสุดเอาไว้ที่ 26,619 เสียงในปี 1989 อันดับ 2 เป็นของ โจน กาสปาร์ต ที่ 13,547 เสียงในการเลือกตั้งปี  1997 , อันดับ 3 สูงสุดตลอดกาลได้แก่ ซานโดร โรเซลล์ ในปี  2010 ที่ 12,635 เสียง 


อย่างไรก็ตาม กับคะแนนเสียงสนับสนุนที่ ลาปอร์ต้า คว้ามาได้ก็เหนือกว่า ฟอนท์ อย่างมากแล้ว อีกทั้งเมื่อย้อนกลับไปดูสถิติคะแนนเสียงในรอบตัดตัวที่ผ่านมาของ ลาปอร์ต้า 2 ครั้งหลังสุดซึ่งเขาได้ 5,725 ในปี 2003 และ 4,272 ในการลงชิงตำแหน่งปี 2015 นั้น สะท้อนให้เห็นว่าการกลับมาครั้งนี้ของเขามีกระแสดีกว่ายุคที่เอาชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานสโมสรในปี 2003 อย่างท้วมท้นเลยทีเดียว

หลังทราบผล ลาปอร์ต้า ให้สัมภาษณ์ว่า “เราผ่านรอบแรกของการเลือกตั้งมาแล้วด้วยการได้เสียงสนับสนุนสูงสุด แต่เราไม่ได้คิดว่าเราคือตัวเต็งหรือไม่ , เราได้ความรู้สึกของผู้ชนะในรอบนี้และเราต้องการที่จะเปลี่ยนมันเป็นเสียงโหวตที่มากขึ้น”



ครับ ว่ากันตามสถานการณ์ตอนนี้ พูดได้ว่า ลาปอร์ต้า มีโอกาสสูงมากที่จะชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ เพราะคู่แข่งสำคัญอย่าง ฟอนท์ ดูเหมือนว่าจะได้รับแรงสนับสนุนน้อยกว่าที่คาดอย่างมาก 

ฟอนท์ เองกล่าวยอมรับว่า 4,710 เสียงที่ได้รับนั้นน้อยกว่าที่เขาและทีมงานคาดเอาไว้ แต่ยังมองโลกในแง่ดีว่าเขาก็ยังผ่านรอบตัดตัดมาได้ ส่วนคะแนนของ ลาปอร์ต้า ที่มากกว่าเขาเกือบ 6,000 เสียงนั้นเป็นสิ่งที่คาดไว้อยู่แล้ว 

“อย่างไรก็ตามเกมนี้ยังไม่จบ” 


ส่วนอีก 2 ราย อย่าง โตนี่ ไฟรช่า และ อามิลี โรโซ ที่ผ่านการตัดตัวเข้ามา ถูกประเมินไว้ตั้งแต่แรกว่าคงเป็นได้แค่ไม้ประทับเท่านั้น  

รายของ โรโซ ที่เคยนั่งรองประธานในยุคของ บาร์โตเมว นั้น ไม่แน่ว่าเป็นข้อดีหรือข้อเสียกันแน่ เพราะแม้จะเคยนั่งตำแหน่งบริหารมาก่อน แต่เขามักไม่ค่อยออกสื่อและไม่เป็นที่รู้จักของโซซิโออย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมาเกิดคดีฉาวโฉ่ที่ออกมาแฉเรื่องยักยยอกเงินจนถูก บาร์โตเมว บีบให้ออกจากตำแหน่ง นั่นแหละชื่อของเขาจึงถึงได้ปรากฏในสื่อ


        และทุกวันนี้ ก็ยังเหมือนว่า โรโซ จะยังไม่ได้เคลียร์ตัวเองให้ขาวสะอาด 100% 

ผลงานน้อย+ข่าวฉาวเยอะ เช่นนี้โอกาสจะชนะแทบเป็นไปไม่ได้เลย ส่วน ไฟรช่า นั้น ผลงานโดดเด่นคือเขาเป็นหนึ่งในบอร์ดบริหารของ บาร์โตเมว ยุคปี 2015 ที่ บาร์เซโลน่า ภายใต้การนำของ หลุยส์ เอ็นรีเก้ คว้าทริบเบิ้ลแชมป์ได้เป็นครั้งที่ 2 


อย่างไรก็ตาม คุณงามความดีก็ไม่ได้เด่นชัด ความโดดเด่นเรื่องนโยบายยังทันสมัยสู้ ฟอนท์ ไม่ได้ ส่วนบารมีก็ยังน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับ ลาปอร์ต้า หนนี้จึงคาดว่า ไฟรช่า ก็ไม่ต่างจากไม้ประดับเท่านั้น 

สรุปสุดท้ายแล้ว ก็น่าจะเป็นไปตามที่สื่อส่วนใหญ่คาดไว้แต่แรก ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ “เป็นเรื่องระหว่าง ฟอนท์ กับ ลาปอร์ต้า”  เพียงสองคนเท่านั้น 

แล้วถามว่าเมื่อดูจากแนวโน้มคะแนนเสียงสนับสนุนจากโซซิโอ ในรอบแรกแล้ว ฟอนท์ จะเอาอะไรมาสู้ ลาปอร์ต้า ? 

ข้อนี้ไว้เรามาคุยกันตอนในตอนต่อไปเร็วๆนี้ครับ 


เจมส์ ลา ลีกา 




ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด