:::     :::

เข้าใจและยอมรับ

วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2560 คอลัมน์ ฉันดูบอลที่ร้านเหล้า โดย ดากานดา
15,088
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ฉันไม่รู้ว่าแฟน "ฉลามชล" ยังเก็บความหอมหวาน สูดกลิ่นความสำเร็จเมื่อ 10 ปีก่อนไว้อยู่หรือไม่...

เดินทวนเข็มนาฬิกากลับไป 10 ปีก่อน วิทยา เลาหกุล เฮดโค้ชฉลามชล เวลานั้น ตัดสินใจลาเก้าอี้ไปคุม ไกนาเร่ ทตโตริ ทีมในดิวิชั่น 3 ญี่ปุ่น

สโมสรจะเลือกตั้ง จเด็จ มีลาภ คนหนุ่มวัย 35 ปี นั่งเก้าอี้กุนซือใหญ่่แทน

แม้จะไร้ปูชนีย์ลูกหนังฝีมือดี แต่ ชลบุรี คว้าแชมป์ลีกสมัยแรกมาครองอย่างยิ่งใหญ่ (ทีมต่างจังหวัดแท้ๆทีมแรก) ด้วยเมล็ดพันธุ์ลูกหนังจาก อัสสัมชัญศรีราชา และ จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย

พิภพ อ่อนโม้ ในวัย 28 ขวบคว้ารองดาวซัลโว 16 ตุง (ดาวซัลโวคือ เนย์ ฟาเบียโน บราซิเลียนจาก พนักงานยาสูบ ที่ซัดมากกว่า 2 ประตู)

ชลทิตย์ จันทคาม ที่ถูก "โค้ชเฮง" พลิกบทบาทจากกองหน้าคู่ พิภพ อ่อนโม้ สมัยโปรลีก มาเป็นกองหลัง รับรางวัลดาวรุ่งยอดเยี่ยมในปี รวมถึง โกสินทร์ (สินทวีชัย) หทัยรัตนกุล ได้รางวัลนายด่านยอดเยี่ยมในฤดูกาลดังกล่าว

..................................

10 ปีล่วงผ่าน ฉันไม่รู้ว่าแฟน “ฉลามชล” ยังเก็บความหอมหวานนั้นไว้หรือไม่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกฟุตบอลไทยฉบับรีเซตใหม่ เม็ดเงินมากมายถูกโยนเข้ามามีส่วนขับเคลื่อนสโมสร ใครรวย (ไม่ต้องผวน) ทุนเยอะกว่า ก็สามารถกว้านหาทรัพยากรลูกหนังฝีตีนดีมาร่วมทัพ ก่อนปึกธนบัตรดังกล่าวที่หว่านลงไปจะแปรสภาพเป็น “โทรฟี่” ในท้ายซีซั่น

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, เอสซีจี เมืองทอง, แบงค็อก ยูไนเต็ด, สิงห์ เชียงราย เหล่านี้คือ “เจ้าบุญทุ่ม” ที่พร้อมผลาญเงินถีบตัวเองแลกความฝัน สำเร็จความใคร่ในเป้าหมาย

แล้ว ชลบุรี ล่ะ ?

ตัดภาพมาที่อดีตแชมป์ไทยลีก 1 สมัย ในโมงยามปัจจุบันพวกเขายังย่ำอยู่จุดเดิม โรงเรียนเพราะเมล็ดพันธุ์ลูกหนังฝั่งตะวันออก ไม่ได้เป็นเต้ยเรื่องปั้นดาวรุ่งแต่เพียงเจ้าเดียวอีกต่อไป เมื่อสโมสรใหญ่เฝ้นหาแข้งดาวรุ่งมาร่วมอะคาเดมีทีมตั้งแต่วัยละอ่อน อำนาจของเงินมีส่วนต่อการเลือกสิ่งที่ดีสุดสำหรับนักเตะแต่ละคน

สิ่งที่ “ฉลามชล” ทำมาตลอดคือการใช้งบประมาณที่มีอย่าง “จำกัด” ให้คุ้มทุนที่สุด ผสมกับดันผู้เล่นดาวรุ่งในโรงเรียนตัวเองขึ้นมาเสริมสร้างประสบการณ์ฟุตบอล

คำถามคือ “เมล็ดพันธุ์” ของฉลามชล ที่ออกดอกผลิตผลทุกฤดูกาล พร้อมปลอกเปลือกใช้งานได้ทันทีหรือไม่ และเงินที่ได้จากการปล่อย “ซูเปอร์สตาร์” ภายในทีม ถูกมาจับใช้กับแข้งใหม่คุ้มกับแข้งที่เสียไปไหม

ทุน 70-80 ล้านต่อปี บวกวัตถุดิบที่มีต่อกรกับ “บิ๊กทีม” เงินถังที่ทุ่มแหลก 200-300 ล้าน เมื่อการลงทุนหาความสำเร็จต่างกัน เรื่อง “ผลงาน” คงไม่ต้องเอื้อนเอ่ยให้เมื่อยความ

มองแบบโลกสวย เอาเข้าจริงการใช้งบเพียงจำกัด แต่สามารถ “เนรมิต” ทีมได้ขนาดนี้ คือสี่งที่น่าชื่นชมเสียกว่าด้วยซ้ำ (มั้ง)

ถึงเวลาที่แฟนฉลามชล (บางคน) ควรเข้าใจและยอมรับได้แล้วว่า ทีมรักของตนในวันนี้ หาใช่สโมสรที่มีลุ้นแชมป์ทุกฤดูกาลเมื่อผ่านมา

กระดกเบียร์ เชียร์ฟุตบอลให้สนุกดีกว่าว่ะ

.........................

ภาพ : Chonburi Football Club


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด