:::     :::

ลิเวอร์พูล กับสปอนเซอร์

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน 2564 คอลัมน์ Zero to Hero โดย บังคุง
1,028
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ปฏิเสธไม่ได้ว่า

โลกของฟุตบอลดำเนินไปด้วยความเป็นธุรกิจมากขึ้น แน่นอนว่า เงินทองจำนวนมหาศาล ถูกหมุนเวียนไปพร้อมกับเหล่าสโมสรต่างๆ หนึ่งในส่วนสำคัญที่สามารถทำเงินอย่างมากมายให้กับแต่ละทีม นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าสปอนเซอร์คาดอก


ศึกพรีเมียร์ลีก ถือว่าเป็นลีกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เมื่อเปรียบเทียบกับลิขสิทธิ์ รวมถึงมูลค่าทางการถ่ายทอดสด ดังนั้น การแข่งขัน และการช่วงชิงในเรื่องของสปอนเซอร์คาดอก จึงมีความดุเดือด และรุนแรงเป็นอย่างมาก 


เรื่องราวที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยทราบมาก่อนคือ ก่อนที่สปอนเซอร์คาดอกจะเป็นการแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ต้องผ่านความเป็นมา และเรื่องราวมาก่อน


โดยที่สโมสรลิเวอร์พูล ยอดทีมจากพรีเมียร์ลีก ถูกจารึกลงในหน้าประวัติศาสตร์ว่า พวกเขากลายเป็นทีมแรกของเกาะอังกฤษ ที่มีสปอนเซอร์คาดอก ... เราไปดูจุดเริ่มต้นของพวกเขากัน 

ย้อนเวลากลับไปช่วงปี 1979 ลิเวอร์พูล ทำการเซ็นสัญญากับทางฮิตาชิบริษัทชื่อดังของประเทศญี่ปุ่น ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก นั่นถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกใหม่, กล้าคิดกล้าทำ และพลิกวงการลูกหนังในอีกรูปแบบหนึ่งเลยทีเดียว 


การร่วมมือกันครั้งนั้น "ฮิตาชิ" ทำการมอบผลตอบแทนเป็นเม็ดเงินประมาณ 100,000 ปอนด์ ซึ่งถือว่ามากอยู่ในช่วงสมัยนั้น เพื่อแลกกับการมีชื่อติดกลางหน้าอกของพลพรรคหงส์แดงที่ถือว่าเป็นสโมสรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งในประเทศอังกฤษ และทั่วโลก 


อย่างที่บอกไปข้างต้น การจับมือกันดังกล่าว ทำให้ลิเวอร์พูล ครองสถานะกลายเป็นสโมสรระดับอาชีพทีมแรกของเกาะอังกฤษ ที่มีสปอนเซอร์คาดอก หากไม่นับทีมกึ่งสมัครเล่นอย่างเคทเทอร์ริ่ง ทาวน์ที่มีสปอนเซอร์คาดอก ในปี 1976 ซึ่งพวกเขาเล่นอยู่ในระดับเซาธ์เทิร์น ลีก เท่านั้น 


การจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กันนั้นเอง ถือเป็นการปักหมุด ในการที่ธุรกิจเข้ามามีบทบาทสำคัญกับสโมสรฟุตบอล ทั้งในแง่ของการสนับสนุนทีม และมอบเงินทุน แลกกับการที่ตราสินค้าของตัวเองกลายเป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับของกลุ่มคนในวงกว้าง ถือเป็นการวิน-วินด้วยกันทั้งสองฝ่าย  

อย่างไรก็ตาม การเข้ามาทำธุรกิจเป็นสปอนเซอร์คาดอก ย่อมต้องผ่านกระบวนการทางความคิด และการตัดสินใจมากมาย โดยทั้งฮิตาชิ และลิเวอร์พูล มีการระดมสมอง เพื่อปรับเปลี่ยน หรือหาเส้นทางสายกลาง เพื่อให้สโมสร และตัวแบรนด์ที่เข้ามาสนับสนุน ต่างได้รับผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายมองแล้วว่า คุ้มค่าต่อการลงทุนไป 


ผลปรากฏว่า ตามปกติแล้วฮิตาชิ” ที่จะสะกดด้วยตัวอักษรแบบเล็ก อย่างไรก็ตาม แบรนด์กับทางลิเวอร์พูล มีการตกลงกันว่า สปอนเซอร์คาดอกจะสะกดด้วยตัวอักษรใหญ่ทั้งหมด (HITACHI) เพื่อง่ายต่อการมองเห็น ยามเล่นออกโทรทัศน์ ที่มีผู้ชมเป็นจำนวนมากนั่นเอง นี่คือกลยุทธ์ทางการตลาดในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป 


หลังจากนั้น ลิเวอร์พูล กับแบรนด์ฮิตาชิถือว่าจับมือกัน จนสร้างชื่อเสียงกันเป็นอย่างมาก โดยได้ผ่านการสวมใส่จากบรรดานักเตะชื่อดังอย่างมากมาย อาทิ เคนนี่ ดัลกลิช, เอียน รัช และ อลัน แฮนเซ่น เรียกได้ว่า มันถูกนำเสนอผ่านตาผู้คนจำนวนมาก และกลายเป็นที่จดจำไปในที่สุด 

หลังจากที่ลิเวอร์พูล ประสบความสำเร็จกับสปอนเซอร์คาดอกอย่างฮิตาชิเพียงไม่นานนัก ทีมอาชีพในเกาะอังกฤษ ก็เริ่มมีไอเดียในแนวทางเดียวกัน และทำการเดินรอยตามกัน กล่าวคือ หลายต่อหลายสโมสร ต่างมีแบรนด์สินค้า/บริการแปะอยู่ที่หน้าอกของตัวเอง 


โดยเฉพาะกับอาร์เซน่อล ที่เซ็นสัญญาคาดหน้าอกกับ “JVC” ในช่วงปี 1981 พร้อมกับค่าตอบแทนประมาณ 500,000 ปอนด์ ซึ่งถือว่าเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะธุรกิจมองแล้วว่า วงการลูกหนัง สามารถทำประโยชน์ร่วมกันได้ และนี่ถือเป็นช่องทางใหม่ในการดำเนินการตลาด


จากนั้น อย่างที่เราทราบกัน วิวัฒนาการ และความเปลี่ยนแปลงของสปอนเซอร์คาดหน้าอกของทีมจากเกาะอังกฤษ ก็ทวีมูลค่ามากมายเรื่อยๆ รวมแล้วมูลค่าแตะหลักหลายสิบล้านปอนด์ขึ้นไป จนมันกลายเป็นส่วนสำคัญ ในการพัฒนา และบริหารสโมสรฟุตบอลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 


หากเทียบกับอดีตที่ลิเวอร์พูล รับจากฮิตาชิ” 100,000 ปอนด์  ปัจจุบัน พวกเขารับกับ “Standard Chartered” ที่จำนวนกว่า 40 ล้านปอนด์ต่อปี กับสัญญาที่ควบยาวจนถึงปี 2023 เลยทีเดียว และเชื่อเหลือเกินว่าในอนาคต ตัวเลขจะไม่หยุดที่จำนวนดังกล่าวอย่างแน่นอน 

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด