:::     :::

สปิริตแห่งเวลส์

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2564 คอลัมน์ Football Therapy โดย บี้ เดอะสปา
1,155
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ยูโร 2016 คือทัวร์นาเมนต์ที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลของประเทศเวลส์ ผ่านไปครึ่งทศวรรษ เดอะ ดรากอนส์ กำลังเดินตามเส้นทางเดิมในยูโร 2020

ชัยชนะเหนือ ตุรกี 2-0 ทำให้ เวลส์ มี 4 คะแนนจาก 2 เกมแรก มีโอกาสสูงที่จะเสนอชื่อตัวเองอยู่ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย เพราะการเอาทีมอันดับสามที่ดีที่ 4 จาก 6 กลุ่มหลุดเข้าไปด้วย ทำให้ 1 ใน 16 ที่นั่งไม่น่าหลุดมือจาก มังกรแดง

แกเร็ธ เบล, อารอน แรมซี่ย์, โจ อัลเลน และ เบน เดวี่ส์ คือ 4 แกนหลักจากทุกแดน จากชุดยูโร 2016 ต่อมาจนถึงยูโร 2020 ถูกเสริมเติมอีก 7 ตำแหน่ง ที่อาจจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นด้วยซ้ำ ในแง่ของฝีเท้า
และที่ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนคือ สปิริตนักสู้ ที่วิ่งไม่มีหมดจนกระทั่งวินาทีสุดท้าย
จากทีมชุดยูโร 2016 คริส โคลแมน มีข้อจำกัดเยอะในเรื่องขุมกำลังที่มีความแตกต่างกันมากระหว่างตัวจริงกับตัวสำรอง แต่ก็โชคดีด้วยที่ทั้ง เบล, แรมซี่ย์, อัลเลน และ เดวี่ส์ ฟิตสมบูรณ์ลงสนามจนเกือบตลอดรอดฝั่ง ยกเว้นรอบรองชนะเลิศที่แพ้ โปรตุเกส ปราศจาก แรมซี่ย์ กับ เดวี่ส์
มาถึงทีมชุดยูโร 2020 โรเบิร์ต เพจ (กุนซือรักษาการณ์) ปรับเปลี่ยนจากกองหลัง 5 คนมาเป็นกองหลัง 4 คน ในรูปแบบ 4-2-3-1 ที่มีความยืดหยุ่นสูง มีขุมกำลังให้เลือกใช้งานมากขึ้น แข็งแกร่งขึ้น และหลากหลายขึ้นกว่า 5 ปีก่อน
โจ โรดอน กองหลังตัวเก็บกวาดจาก ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ เข้ามาเติมเต็มตำแหน่งเซนเตอร์แบ็ก
โจ มอร์เรลล์ กองกลางตัวสำรองระดับหางแถวของ ลูตัน ทาวน์ ทีมในแชมเปี้ยนชิพ เข้ามาเติมเต็มแดนกลาง
แดเนียล เจมส์ ปีกที่มีความเร็วเป็นอาวุธจาก แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เข้ามาเติมเต็มตำแหน่งริมเส้น
คีฟเฟอร์ มัวร์ ศูนย์หน้าร่างใหญ่จาก คาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ เข้ามาเติมเต็มตำแหน่งหน้าเป้า
และยังมีตัวเลือกที่น่าสนใจข้างสนามอย่าง เอธาน อัมปาดู, เดวิด บรู๊คส์, แฮร์รี่ วิลสัน ที่พร้อมลงมาพลิกเกมทั้งหมด
นั่นทำให้ เพจ มีอิสระที่จะพลิกแพลงทั้งเรื่องระบบการเล่นและแท็กติกต่างๆ ระหว่างเกม ไม่เหมือน โคลแมน ที่แทบจะดิ้นจากระบบการเล่น 5-3-1-1 ในยูโร 2016 ไม่ออกเลย
จากผลงานของ 4 ตัวหลัก แรมซี่ย์, อัลเลน, เดวี่ส์ แทบจะเหมือนเดิมจาก 5 ปีก่อนไม่มีเปลี่ยน จะมีก็แต่ เบล ที่แตกต่างไปอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็เป็นผลมาจากการเล่นกับสโมสรในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
จากยูโร 2016 เบล มีช่องเป็นส่อง ไม่ว่าจะไกลแค่ไหน ฟรีคิกที่มีลุ้นตำแหน่งใดขอลองหมด หรือจังหวะปั้นเกมรุกที่กระชากทีเดียวหาย จบทัวร์นาเมนต์ด้วย 3 ประตู
แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยน เบล ทำประตูในนามทีมชาติเวลส์ไม่ได้มา 17 เกมติดต่อกันแล้ว โดยประตูสุดท้ายที่ยิงได้ต้องย้อนกลับไปในเดือนตุลาคมปี 2019 ที่ยิงใส่ โครเอเชีย เกมรอบคัดเลือก ยูโร 2020 ทำให้สถิติดาวยิงสูงสุดของทีมชาติเวลส์หยุดนิ่งอยู่ที่ 33 ประตูมาเกือบจะสองปีแล้ว
เพจ มองเห็นปัญหานี้ จึงดึง เบล ลงมาเล่นตัวต่ำคอยป้อนบอลให้เพื่อนมากขึ้น จากที่เห็นได้จากประตูของ แรมซี่ย์ ที่ยิงใส่ ตุรกี และอีกหนึ่งแอสซิสต์ที่เป็นประตูของ คอเนอร์ โรเบิร์ตส์ ในเกมเดียวกัน
ขณะเดียวกัน เบล ก็ยังมีอิสระสามารถขึ้นไปเป็นกองหน้าคู่กับ มัวร์ ในจังหวะโหม่งทำประตูด้วย
ถึงตอนนี้ ไม่ว่าผลการแข่งขันของรอบแบ่งกลุ่มเกมสุดท้ายที่กรุงโรมจะจบลงแบบไหน เวลส์ ก็น่าจะเสนอชื่ออยู่ในรอบน็อกเอาท์ และเมื่อยืนอยู่ตรงจุดนั้น ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้
เพราะบางครั้ง 'สปิริต' สำคัญกว่า 'แท็กติก' 'เลือดนักสู้' ยิ่งใหญ่ 'ฝีเท้า'

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด