เมื่อความรักกลายเป็นยาพิษ

อดีตคนเคยรักที่เข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรเมื่อปี 2007 ภาพที่เราได้เห็นอยู่เป็นประจำคือเจ้าของทีมร่างท้วมสวมเสื้อของสโมสรเข้ามาชมเกมในสนามพร้อมกับทักทายแฟนบอลด้วยใบหน้ายิ้มแย้มอยู่เสมอ
แต่ทว่าช่วงฮันนีมูนของเขากับแฟนบอลจบลงอย่างรวดเร็วเมื่อแฟนบอลค้นพบว่าความรักของเขาไม่เคยเผื่อแผ่มาถึงสโมสรเลย การซื้อสโมสรเป็นเพราะต้องการขยายธุรกิจสปอร์ต ไดเร็คต์ของตัวเองให้เป็นที่รู้จักมากกว่า
6 เดือนแรกของการเป็นเจ้าของทีม เขาซื้อใจแฟนบอลที่ บลู แบมบู ไนท์คลับระหว่างไปพักผ่อนหยอ่นใจร่วมกับ คริส มอร์ต ประธานสโมสรกับสตาฟฟ์ของสปอร์ต ไดเร็คต์ราว 10 คนและ เอียน ผู้ดูแลพร้อมบอร์ดี้การ์ดที่ค่อยดูแล เลี้ยงเครื่องดื่มของผู้มาเที่ยวทุกคน คนละหนึ่งดื่มเป็นเงินราว 2,500 ปอนด์ ซึ่งไม่ระคายกระเป๋าเพราะเจ้าตัวมีทรัพย์สินจากธุรกิจกว่า 2,000 ล้านปอนด์
ในคืนนั้นเต็มไปด้วยความสุข แอชลี่ย์ อ้อนวอนให้ มอร์ต ขึ้นไปบนเวทีร้องเพลงในขณะที่ตัวเองเต้นรำข้างล่างเพื่อฉลองชัยชนะเกมล่าสุดของ นิวคาสเซิ่ล
แต่ที่น่าแปลกคือไม่มีทีมสตาฟฟ์จากสโมสร "สาลิกาดง" อยู่ด้วยเลย
"นั่นเป็นช่วงเวลาที่ดี" แหล่งข่าวใกล้ชิดกับ แอชลี่ย์ กล่าว "เขาซื้อสโมสร (ในฤดูร้อน 2007) โดยส่วนหนึ่งเป็นการลงทุน ส่วนหนึ่งเป็นการเล่น ส่วนหนึ่งเป็นทางพนัน และเขาสนุกกับปีแรกหรืออะไรประมาณนั้น"
เรียกได้ว่าเขาสามารถเดินไปรอบๆเมืองที่มีแฟนบอลให้ความรักอย่างเต็มเปี่ยม
ภาพที่ฝันว่าจะพาทีมขึ้นมาอยู่ในระดับแถวหน้าของพรีเมียร์ลีกแถมดึงอดีตฮีโร่ของทีมอย่าง เควิน คีแกน กลับมารั้งบังเหียนกุนซือ แต่ก็อยู่ในตำแหน่งแค่ 7 เดือนก่อนโดนปลดทั้งที่ไม่ได้ย่ำแย่อะไรขนาดนั้น และทุกอย่างกลับแย่ลง แฟนบอลเริ่มตั้งคำถามว่าสี "ดำ-ขาว" ของสโมสรหรือสี "น้ำเงิน-แดง" ที่เป็นสีของธุรกิจอะไรที่ แอชลี่ย์ รักมากกว่ากัน
แน่นอนว่ามันถูกเปิดเผยหลังผ่านไปไม่นานนักว่าธุรกิจของเขาต่างหากที่ได้รับการใส่ใจมากกว่า และสโมสรฟุตบอลก็เป็นแค่เครื่องมือในการใช้สร้างชื่อของธุรกิจให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกก็เท่านั้น ที่สโตร์ของสโมสรค่อยๆถูกเปลี่ยนพนักงานจากเดิมมาเป็นทีมงานที่ดึงมาจากสปอร์ต ไดเร็คต์ เช่นเดียวกับการการลดระดับคุณภาพของสินค้า
และฟางเส้นสุดท้ายก็ขาดลงในปี 2009 ในวันที่ทีมตกชั้นจากพรีเมียร์ลีก ซึ่งอันที่จริงทีมสามารถอยู่รอดได้ในวันสุดท้ายของฤดูกาลหากสามารถบุกชนะ แอสตัน วิลล่า ได้ เพราะคู่แข่งหนีตกชั้นอย่าง ฮัลล์ ซิตี้ ต้องเจอกับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เช่นเดียวกับ ซันเดอร์แลนด์ ที่เจอกับ เชลซี ซึางถือเป็นของแข็งทั้งคู่
ในขณะที่ทั้งสองทีมหนีตกชั้นด้วยกันพ่ายแพ้ ทาง "สาลิกาดง" ก็จบด้วยผลการแข่งขันที่แพ้เช่นเดียวกัน ทำให้ทีมตกชั้นไปเล่นในแชมเปี้ยนชิพ ถือเป็นการตกชั้นครั้งแรกในรอบ 17 ปี และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เปลี่ยนมาใช้ชื่อพรีเมียร์ลีก
ในวันนั้นแฟนบอลโกรธจัดและพุ่งเป้าไปที่ ไมค์ แอชลี่ย์ อย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งมีรายงานว่าเจ้าตัวและครอบครัวตกใจอย่างมากกับการกระทำของแฟนบอลและนับตั้งแต่นั้นมามุมมองที่มีต่อสโมสรก็เปลี่ยนแปลง
"มันกลายเป็นเกมเน้นการแสดงถึงแบรนด์ สปอร์ต ไดเร็คต์" แหล่งข่าวกล่าว "เขามีทัศนคิตที่ว่า 'เสี่ยงทั้งหมดคือการเสี่ยงที่ดี' ความผาดโผนที่เข้าดึงออกมานั้นเหมือนกัน - การเปลี่ยนชื่อสนาม สร้างแบรนด์ทั่วสนาม เขารู้ว่าการประชาสัมพันธ์จะเกิดขึ้น"
ถ้าในเวลาเดียวกันทีมทำผลงานได้ดีมันก็คงเยี่ยมไปเลย แต่เขาจะไม่ลงเงินของตัวเองไปกับการไล่ล่าท็อปโฟร์ การลงทุนไม่เพิ่มขึ้น มันคือเรื่องของการทำให้สโมสรอยู่ได้ด้วยตัวเอง ทำกำไรจากการขายนักเจะและอยู่ในพรีเมียร์ลีกเพื่อให้ สปอร์ต ไดเร็คต์ โดดเด่น"
ถือเป็นการกระทำที่น่าละอายในฐานะเจ้าของสโมสร นั่นทำให้ภาพชายซึ่งเป็นเจ้าของทีมใส่เสื้อเข้าไปเชียร์ทีมรักในสนามเริ่มไม่มีให้เห็น
มีเรื่องที่เลาขานกันว่าครั้งหนึ่ง ไมค์ แอชลี่ย์ เคยถามว่าชุดเหย้าที่เป็นสัญลักษณ์นั้นจำเป็นต้องเป็นสี "ดำ-ขาว" หรือไม่ แสดงให้เห็นถึงความไม่สนใจในประวัติศาสตร์ของสโมสรเท่าไร
ส่วนเรื่องดื่ม กิน ปาร์ตี้ที่เป็นชีวิตจิตใจก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่แฟนบอลไม่ชอบ แต่นั้นเป็นไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ไม่ขอเอ่ยถึง
แต่หลายสิ่งที่ ไมค์ แอชลี่ย์ ทำต่างหากที่สร้างความไม่พอใจไปทั่วทั้งทางเดินเข้าสโมสรมีการลดต้นทุน เจ้าหน้าที่สโมใสรไม่พอใจเรื่องค่าตัวและอดีตผู้เล่นก็พบว่าการเดินไปที่บ็อกซ์วีไอพีมีการเปลี่ยนเส้นทาง
และการดึง เดนิส ไวส์ เข้ามาสร้างความไม่พอใจให้กับ เควิน คีแกน สมัยที่คุมทีมทั้งคู่ร่วมงานกันแค่ปีเดียว คีแกน ก็ทนไม่ไหวต้องขอลาออกพร้อมด่ากราดกลางห้องประตูพร้อมวลี "ชาตินี้ นิวคาสเซิ่ล ก็ไปไม่ถึงไหนหรอกถ้ามีเจ้าของอย่าง ไมค์ แอชลี่ย์"
"มันดูเหมือนสโมสรฟุตบอล แต่เมื่อคุณเข้าไปในสนามแล้วจะรู้ว่าไม่มีอะไรในนั้น คุณมีความรู้สึกเสมอว่ามันไม่มีใครสนใจเลย" เจ้าหน้านี้พรีเมียร์ลีกคนหนึ่งเผย
ในขณะที่เจ้าหน้าที่สโมสรและแฟนบอลคร่ำครวญกับทิศทางของสโมสรว่าจะไปทางไหน ไมค์ แอชลี่ย์ ยังคงมีความสุขกับธุรกิจ ดื่มกินในช่วงสุดสัปดาห์และใช้ชีวิตสุดหรูของตัวเองต่อไป
"เขามองว่าทีมงานของ สปอร์ต ไดเร็คต์ เป็นคนที่ทำเงิน ส่วนคนที่สโมสรเป็นเพียงพนักงานในบัญชีเงินเดือนเท่านั้น" แหล่งข่าวเผย
ตลอดเส้นทาง 14 ปีของ ไมค์ แอชลี่ย์ สโมสรตกชั้นถึง 2 หน ครั้งแรกปี 2009 และอีกครั้งในปี 2016 ยังดีที่ใช้เวลาแค่ปีเดียวก็กลับสู่จุดสูงสุดได้อีกครั้ง
แม้จะจากสโมสรไปเขายังคงทำเงินเข้ากระเป๋มหาศาล เรียกได้ว่าพอใจทั้งเจ้าของใหม่ แฟนบอลก็มีความุสข ไมค์ แอชลี่ย์ ก็เช่นกัน
ทว่าการรัดเข็มขัดของ ไมค์ แอชลี่ย์ ก็ส่งผลดีกับเจ้าของใหม่เมื่อตัวเลขของสโมสรไม่ได้เป็นสีแดง นั่นทำให้ทีมมีสถานะการเงินที่ดีและเจ้าของใหม่ก็สามารถใช้เงินก้อนใหญ่ในการเสริมทัพได้
แต่เชื่อเถอะว่าแฟนบอลคงไม่มีใครชื่นชมอะไรตรงนั้นอย่างแน่นอน