:::     :::

เหตุผลที่ The Godfather "ราล์ฟ รังนิค" ไม่น่าได้มาแมนยูไนเต็ด

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2564 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
10,060
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ราล์ฟ รังนิค ผู้เป็นระดับอาจารย์ต้นแบบของคล็อปป์ทูเคิลนาเกลส์มันน์ ทำไมเขาถึงไม่น่าจะเหมาะกับยูไนเต็ด นี่คือเหตุผลสำคัญที่ดีลไม่น่าจะเป็นไปได้

ราล์ฟ รังนิคนั้นได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งฟุตบอลเยอรมันเลยก็ว่าได้ อย่างที่หลายๆคนทราบกันว่าเขาคือผู้คิดค้น "เกเก้นเพรสซิ่ง" ขึ้นมา และเป็นผู้ที่เป็นเหมือนพิมพ์เขียว ต้นแบบ และอาจารย์ของผู้จัดการทีมสายบอลระบบหลายๆคน โดยเฉพาะชาวเยอรมัน ซึ่งรังนิคเป็นไอดอลของ เจอร์เก้น คล็อปป์, ยูเลียน นาเกลส์มันน์ รวมถึง โธมัส ทูเคิล ด้วย

แต่อะไรทำให้เขาเป็นคนที่พิเศษกว่าคนอื่นๆ?

บุรุษวัย 63 ปีรายนี้คือบุคคลระดับพรสวรรค์ และได้รับการยกย่องเป็น "เทพแห่งแทคติก" ผู้ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของสไตล์เกเก้นเพรสซิ่งที่เจอร์เก้น คล็อปป์ ใช้ 

ประวัติคร่าวๆของรังนิคเท่าที่จะอธิบายได้ก็คือ ยามที่เป็นนักเตะเขาก็ไม่ได้โด่งดังอะไรมาก และเริ่มจับงานโค้ชครั้งแรกในช่วงยุค90 ตั้งแต่สมัยที่เยอรมันครองโลก (รังนิคแขวนสตั๊ดปี88) ช่วงนั้นเยอรมันในทรง 3-5-2 ก็ได้แชมป์ฟุตบอลโลกปี 1990 รวมถึงแชมป์ยูโร 96 ด้วย

คำจำกัดความง่ายๆของราล์ฟ รังนิคก็คือ เป็นคนโคตรเก่งที่ทำหลายหน้าที่มากๆในวงการฟุตบอล ตั้งแต่วางระบบ โครงสร้าง รากฐานวิธีการ รวมถึงรายละเอียดในเชิงฟุตบอลที่เป็นโครงสร้างทั้งระบบ แถมยังเป็นคนที่มีความคิดนอกกรอบ เปิดรับสิ่งใหม่ๆ พัฒนาตัวเองไปตามยุคสมัยตลอดเวลา

ต้องบอกว่า ไอดอลของรังนิคคือ อาริโก ซาคคี ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมของเอซี มิลาน และทีมชาติอิตาลี อยู่ในระดับปรมาจารย์เช่นกัน และรังนิคเป็นผู้คิดค้นแทคติกสมัยใหม่ๆขึ้นมา จากยุคที่เยอรมันครองโลกด้วยลิเบอโร่ เล่นด้วย 3-5-2 ไล่มาจนกระทั่งเขาเองได้พบที่ปรึกษาอย่าง เฮลมุส กรอส ที่เป็นคนแรกๆในเยอรมันที่เลิกใช้ลิเบอโร่ ทำให้บอลของรังนิคนั้นไม่ได้เป็นแบบยุคเก่า แต่สร้างอะไรใหม่ๆที่มันเป็นเหมือนพิมพ์นิยมในยุคปัจจุบันนี้ เช่นการใช้กองหลัง4คน มิดฟิลด์สองคน ปีกสองคน ตัวเล่นหลังกองหน้า และก็กองหน้าตัวstriker 

(ฟังไปฟังมามันก็คือ 4-4-2 แบบปีกดันสูง+มีกองหน้าตัวต่ำ หรือไม่ก็ 4-2-3-1 ในยุคนี้ดีๆนี่เอง)

รังนิคอธิบายเรื่องเกเก้นเพรสซิ่งในปี1998 ขณะที่เป็นบอสของ Ulm 1846

ส่วนเรื่องของเกเก้นเพรสซิ่งนั้น หลักๆก็คือ ถือกำเนิดขึ้นมาจากคำอธิบายแทคติกของรังนิคในปี 1998 ที่จะเน้นการ "ดันพื้นที่การเล่น" ขึ้นมาสูงใส่คู่แข่ง เล่นบอลเร็ว บีบใส่คู่แข่ง เล่นสวนกลับไว และในทันทีที่เสียบอลก็จะวิ่งเข้าบีบสวนกลับเลยเช่นกัน และมันก็คือCounter-pressing นั่นเอง

เกียรติประวัติของรังนิคต้องบอกว่ามีหลายอย่าง หลากหลายที่เพราะว่าผ่านการคุมทีมมาเยอะมาก หลายๆทีมในเยอรมันเช่น ชาลเก้04 ฮอฟเฟ่นไฮม์ สตุ๊ทการ์ด ฮันโนเวอร์96 รวมถึง ไลป์ซิกด้วย งานเด่นๆก็เช่น การพาชาลเก้เข้าถึงรอบรอง UCL ในปี 2011 จากนั้นปีต่อมา เขาก็ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการฟุตบอลให้กับทีม Red Bull Salzburg รวมถึง RB Leipzig ด้วย

ทำงานเฉพาะเป็นdirectorอยู่สามปีก่อนที่จะมาเป็นเฮดโค้ชคุมไลป์ซิกในซีซั่น 2015/16 และ 2018/19 สองซีซั่น และปัจจุบัน ปี 2021 ก็มาเซ็นสัญญาสามปี เป็นผู้จัดการฝ่ายฟุตบอลและการพัฒนาของสโมสรโลโคโมทีฟ มอสโคว

รังนิคนั้นได้รับการเชื่อมโยงข่าวว่าอาจจะมาเป็นตัวแทนของโอเล่ กุนนาร์ โซลชา ที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้ ซึ่งแฟนหลายๆส่วนก็ตื่นเต้นกับการที่เขาอาจจะย้ายมาคุมทีมเรา

แต่เขาคือตัวเลือกที่ใช่จริงๆหรือไม่ บทความนี้มีข้อสังเกตอยู่หลายประการ

1.อธิบายแทคติกของรังนิค

ตลอดการคุมทีมของเขา รังนิคเล่นในระบบ 4-4-2 ที่สามารถเปลี่ยนเป็น "4-2-2-2" ได้ และดูเหมือนว่าเขาจะชอบใช้กองหน้าคู่ตัวบนสุดสองคน พิจารณาจากการที่เขามีใช้แผนการเล่น 3-5-2 บ่อยครั้งที่ RB Leipzig ด้วย

รังนิคเล่น 4-3-3 ที่ฮอฟเฟ่นไฮม์ แต่ไม่เยอะเท่าแผนอื่นๆที่กล่าวมา

ทีมของเขาถูกสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะเล่นเกมบุกเป็นหลัก และอาศัยการดักบอลคู่แข่งได้อย่างชาญฉลาดเวลาที่เล่นพลาดเอง (จากการโดนเพรส นี่คือปรัชญาหลักๆเลย ดังนั้นจะเห็นว่า แมนยูแพ้ทางสิ่งนี้อย่างมาก โดนบีบแล้วพลาด ถือเป็นคีย์สำคัญของทีมที่เล่นเพรสซิ่ง นำมาใช้อัดใส่ปีศาจแดงเน้นๆ)

ปรัชญาการยืน และควบคุมพื้นที่ ชัดซะยิ่งกว่าชัดที่ดึงเอาแบทเทิลแอเรีย มาอยู่ในแดนคู่แข่ง ถ้าคู่แข่งพลาด มีโอกาสโดนทันทีจากการเพรสสำเร็จ

พวกเขาจะไม่เน้นการครอบครองบอลเป็นอาวุธหลัก และจะไม่พยายามที่จะลงไปเล่นตั้งรับลึกเพื่อที่จะรอคู่แข่งพลาดเอง

"เพรสซิ่ง" คือปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของทุกๆทีมที่รังนิคคุม และไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจเลยที่รังนิคจะขึ้นชื่อว่าชอบการทำงานกับนักเตะอายุน้อยๆ ไล่ตั้งแต่นักเตะตำแหน่งกองหลังยันตัวรุก และก็พวกกองกลาง ทุกๆคนมีหน้าที่ และเปลี่ยนการเล่นอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างความปั่นป่วนให้คู่แข่ง

2.รังนิคเข้ามาจะสร้างผลกระทบอย่างไรต่อยูไนเต็ดบ้าง?

ตอนนี้แมนยูไนเต็ดมี คริสเตียโน่ โรนัลโด้ และ เอดินสัน คาวานี่ เป็นตัวเลือกในตำแหน่งกองหน้า แต่ว่าคาวานี่เองก็จะหมดสัญญาในซัมเมอร์ที่จะถึงนี้ ส่วนโรนัลโด้จะอยู่อีกซีซั่น แต่ขณะนี้ทีมยังไม่มีตัวเลือกของกองหน้าถาวรระยะยาวเข้ามาในทีม จึงมีเท่าที่เห็นนี้ที่ใช้งานได้จริงๆ

(ส่วนเมสัน กรีนวู้ด ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก แต่ก็ยังไม่ใช่ striker แท้อยู่ดี เพราะน้องยังคงเล่นเป็น Centre-Forward มากกว่าจะเป็นหน้าเป้าในปัจจุบันนี้)

พูดถึงพี่โด้กันก่อน ดาวเตะโปรตุกีส ตำนานที่ยังคงโลดแล่นอยู่นั้น การเพรสซิ่งคือสิ่งที่ไม่ใช่จุดเด่นของเขาเลย ทีมที่มีโรนัลโด้อยู่จะต้องเล่นโดยการใช้งานเขาให้เต็มที่ ซึ่งหลักการมันค้านกันโดยตรงกับการทำทีมของรังนิคอย่างเห็นได้ชัด

หากราล์ฟเข้ามาคุมทีมในตอนนี้เลยนั้น เขาก็ไม่สามารถดึงนักเตะที่เขาต้องการใช้งานเข้ามาได้ และถ้าจำเป็นต้องเล่นด้วยตัวนักเตะเท่าที่มีอยู่ในมือนั้น ก็ลองจินตนาการถึงความหนักหน่วงที่นักเตะวัย 30+ ทั้งสองคนจะต้องรับมือด้วย ซึ่งมันไม่ไหว

รังนิคเข้ามาอาจจะส่งผลต่อโอกาสการได้ลงสนามของปีกในทีม อย่างเช่นมาร์คัส แรชฟอร์ด และ เจดอน ซานโช่ ที่ซื้อเข้ามาในราคา 75 ล้านปอนด์ด้วย

มิดฟิลด์ตัวรับที่มีฝีเท้าความเร็วที่ดีนั้น ก็จำเป็นอย่างมากต่อการเซ็ตระบบของรังนิคให้ผลิดอกออกผลด้วย

ดูจากการที่เน้นหนักเรื่องการเพรสซิ่งแล้วนั้น ให้สังเกตว่านักเตะแมนยูไนเต็ดขาดความเร็วอยู่หลายๆตัว และมักจะลงไม่ค่อยทัน (track back) อยู่บ่อยๆ ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น แฮรี่ แมกไกวร์นั้นช้ามาก ช้าเกินไปในแนวหลัง และจนทุกวันนี้ทีมก็ยังทดสอบหามิดฟิลด์ชุดที่ลงตัวไม่ได้อยู่เลย

บางทีระบบดังกล่าวอาจจะเหมาะสมและเข้ากับ สก็อตต์ แม็คโทมิเนย์ + เฟร็ด + "กลางรับที่เหมาะสม" อีกหนึ่งตัว (นึกถึงกลางของลิเวอร์พูลก็ได้ครับ เน้นพลัง วินัย ความแน่นอน)

แต่ก็นั่นแหละครับอย่างที่ทราบกันว่า เนมันย่า มาติชนั้น ขาดความเร็วอีกนั่นแหละในการที่จะสร้างประโยชน์ในแผนการเล่นของรังนิคได้ ซึ่งมันก็คือความเร็วอีกแล้ว 

นักเตะเราขาดความเร็วหลายตัวพอสมควรถ้าสังเกตดีๆ ปอล ป็อกบาก็ใช่

ตัวรังนิคเองนั้นไม่มีทางที่จะเปลี่ยนสไตล์ของตัวเขาเองเพื่อสโมสรอย่างแน่นอน ซึ่งนั่นแปลว่า หากรังนิคเข้ามา การเซ็ตระบบก็มีโอกาสที่จะเป็นไปไม่ได้ และมาสร้างระบบที่นี่ไม่ได้ เหมือนอย่างที่หลายๆคนคาดหวังว่า จะให้รังนิคเข้ามาเซ็ตระบบ แล้วรอคนใหม่มาคุมทีมต่อ เช่น เทน ฮาก เป็นต้น

แค่คิดจะเริ่ม ก็มองเห็นความเป็นไปไม่ได้แล้ว

3.ปัจจัยภายนอกที่อาจทำให้การดึงตัวรังนิคมานั้นเป็นไปไม่ได้

ในยามที่บอร์ดบริหารของสโมสรนั้นมักจะทำการตัดสินใจอะไรหลายๆอย่างที่ไม่ค่อยดีทั้งในและนอกสนามอยู่เสมอ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ตัวแทนของโอเล่นั้นจะเข้ามาแล้วเวิร์คได้ยังไง ถ้าบอร์ดเบื้องบนยังเป็นแบบนั้นอยู่

เกร็ดเล็กๆเรื่องรังนิคที่หลายคนอาจจะรู้แล้วนั่นก็คือ เขาเกือบจะได้ไปคุมเอซี มิลานแล้วในปี 2020 (หลังจากคุมไลป์ซิกคำรบสอง) แต่ว่าตัวเขาต้องการเป็นคนควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างของสโมสร 

ผลก็คือ ดีลรังนิคคุมมิลานก็ล่มไปอย่างที่เห็นกัน

ซึ่งพวกตระกูลเกลเซอร์ นั้นก็ไม่ใช่คณะที่จะไปต่อรองอะไรด้วยได้เลย ดังจะเห็นได้จาก เดวิด มอยส์, หลุยส์ ฟาน กัล และ โจเซ่ มูรินโญ่

ก็ค่อนข้างชัดว่ารังนิคที่ต้องการอำนาจเบ็ดเสร็จนั้น คงไม่สามารถจะมาอยู่ที่นี่ได้แน่ๆ เพราะเกลเซอร์ยังคงคุมทุกอย่างอยู่ และพวกเขาชอบผู้จัดการทีมที่ว่านอนสอนง่าย และไม่ใช่คนที่จะมาแล้วงัดใส่บอร์ดอย่างเช่นตัวอย่างของการไม่เอาคอนเต้เป็นต้น เคสของรังนิคก็เหตุผลเดียวกันเป๊ะๆ

รังนิคเองก็ไม่ได้คุมทีมมาเป็นปีๆแล้ว ซึ่งครั้งสุดท้ายคือการคุมสโมสร RB Leipzig แล้วก็แยกทางมาในปี 2020 ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นเฮดของฝ่ายกีฬาและพัฒนาของโลโคโมทีฟ มอสโควอยู่ ซึ่งไม่ได้เป็นตำแหน่งที่คุมทีม

ดังนั้นมันก็อาจจะยังเป็นไปได้อยู่ที่เขาจะสนใจที่จะรีเทิร์นกลับมาคุมทีมก็เป็นไปได้ ข้อนี้ถือว่ารังนิคเป็นต่อตัวเลือกอื่นๆ เนื่องจากว่าคนอื่นอย่าง พอช รอดเจอร์ส เทน ฮาก พวกนี้คือมีสโมสรคุมทีมอยู่แล้วทั้งหมดเลย รังนิค จึงถือเป็นตัวเลือกที่มีข่าวเชื่อมโยงน่าสนใจมา เพราะว่าความavailableที่อาจจะดึงตัวเขามาได้ ถ้าเจ้าตัวสนใจจะกลับมาทำงานโค้ชอีกครั้ง

แต่เมื่อดูปัจจัยหลายๆอย่างแล้ว ราล์ฟ รังนิค กับแมนยูไนเต็ด ดูจะเป็นไปได้ยากจริงๆ

อยู่กับโอเล่ต่อไปอีกระยะนึงแน่นอน..

-ศาลาผี-

References

https://tribuna.com/en/news/manutd-2021-11-12-cristiano-ronaldo-teaching-his-son-siiiiuuuuu-celebration-is-most-adorable-thing-on-inter/

https://www.espn.com/soccer/german-bundesliga/story/4218884/ralf-rangnick-on-rb-leipzigs-success-and-being-the-godfather-of-gegenpressing

https://totalfootballanalysis.com/analysis/ralf-rangnick-tactical-analysis-tactics

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด