:::     :::

Tactical Analysis : "อสูรเจาะเกราะ" แฟรงกี้ เดอ ยอง

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
6,436
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
การเล่นของว่าที่นักเตะใหม่ปีศาจแดง(ถ้าไม่ว่าว)อย่าง "แฟรงกี้ เดอ ยอง" ในมิติการเล่นของเขาที่เกี่ยวเนื่องและช่วยทางด้านแทคติกการเล่นของทีม แล้วจะรู้ว่าหมอนี่คือมิดฟิลด์อัจฉริยะที่เกิดมาเพื่อฆ่า High Pressing และ เป็นตัวเจาะเกราะเกมของคู่แข่งขนานแท้!!!

ช่วงซัมเมอร์ปี 2019 แฟรงกี้ เดอ ยอง ที่เริ่มมีชื่อเสียงในวงการฟุตบอลดัตช์อย่างมากแล้วนั้น ตัดสินใจย้ายซบบาร์เซโลน่าด้วยค่าตัว 75 ล้านยูโร ตามรอยนักเตะเก่าเพื่อนร่วมชาติที่มาประสบความสำเร็จ ณ คัมป์นูแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น โยฮัน ครัฟฟ์, ไคลเวิร์ท, ฟิลิป โคคู, โรนัลด์ คูมัน ขณะที่ครัฟฟ์ คูมัน ฟานกัล ไรจ์การ์ด ต่างก็เป็นสะพานเชื่อมของสโมสรนี้กับเกมระดับทีมชาติของพวกเขาด้วย

แฟรงกี้ เดอ ยอง ย้ายมาอยู่บาร์ซ่าในยามที่คาบเกี่ยวกับช่วงสุดท้ายของยุคที่แดนกลางบาร์ซ่า ครอบครองโดยสามตำนาน ชาบี้ อิเนียสต้า และ บุสเก็ตต์ พอดี ซึ่งยังคงเหลือ 1คนจากในนั้นอยู่โยงที่สโมสร สองซีซั่นแรก FDJ ได้คว้าแชมป์มาเพียงแค่ 1 รายการจากโคป้า เดล เรย์ ปี 2021

และตำแหน่งสำคัญในแดนกลางยังคงถูกถือครองโดยมิดฟิลด์มากประสบการณ์อย่างบุสเก็ตต์จนถึงตอนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลับมาในตำแหน่งผู้จัดการทีมของชาบี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2021

ประเด็นนี้จึงเป็นอีกสาเหตุสำคัญหนึ่งที่ทำให้เอริค เทน ฮาก ใช้โน้มน้าวใจให้แฟรงกี้ เดอ ยอง มาเล่นที่โอลด์แทรฟฟอร์ด ในตำแหน่งและบทบาทที่เขาอยากจะเล่นตามที่ใจต้องการ กับตำแหน่งมิดฟิลด์ตัวต่ำในบทบาทโฮลดิ้งและบัญชาการเกมจากแดนกลางของทีมนั่นเอง

ว่าแต่ ที่แฟนผีอยากได้แฟรงกี้กันอยู่นั้น ในเชิงแทคติกแล้ว มีอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับมิดฟิลด์ดัตช์วัย 25 ปี เจ้าของส่วนสูง 180cm รายนี้บ้าง ลองไปอ่านกัน


ทั้งทางด้านเทคนิคการเล่นส่วนตัว และความสามารถในเชิงแทคติกของแฟรงกี้ เดอ ยอง ที่มีอยู่ในตัว ทำให้เขาคือผู้เล่นคนสำคัญในแดนกลางอย่างมากเมื่อเทียบกับนักเตะรายอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟรงกี้แข็งแกร่งและสำคัญมากๆกับระบบฟุตบอลที่เน้นประเด็นต่อไปนี้

1. ใช้การครองบอลในภาคการเล่นเป็นสำคัญ

2. การเอาชนะคู่แข่งที่ถอยไปตั้งรับต่ำ

แฟรงกี้สามารถที่จะปกป้องเกมรับของทีมก็ได้ รักษาจังหวะและคุมเกมได้ รวมถึงสร้างรูปแบบการครองบอลในขั้นที่เหนือกว่าขึ้นไปอีก เพื่อสามารถเอาชนะเกมการเล่นของคู่ต่อกรในสนาม ไม่ว่าจะอยู่ในphase 1 (with ball) หรือ phase 2 (without ball) ก็ตาม

สามารถเล่นบอลจังหวะเดียวได้อย่างสบายๆ หรือจะเล่นด้วยการยื้อจังหวะการเล่นให้นาน5-6ครั้งก็ทำได้ ด้วยประสิทธิภาพการเล่นที่ดีมากทั้งสามแดนของสนาม ไม่ว่าจะเป็น Defensive Third, Middle Third รวมถึง Final Third ก็สามารถทำได้หมด

พื้นที่ Defensive Third : FDJ สำคัญมากในการเซ็ตบอล ตั้งเกม แกะเพรสขึ้นมาจากแดนหลังได้

พื้นที่ Middle Third : การสร้างสรรค์เกมกลางสนามให้ไหลลื่น แพรวพราว และมีความหลากหลาย คือคีย์สำคัญในการเล่น

พื้นที่ Final Third : สร้างการเล่นในจังหวะสุดท้ายของทีมได้ ทั้งการสามารถแอสซิสต์ให้เพื่อนในพื้นที่ดังกล่าว หรือเปิดเพลย์การวางบอลที่เจาะแนวรับคู่ต่อสู้

เกมที่แสดงให้เห็นว่าเขามีพรสวรรค์ที่ยอดเยี่ยมตั้งแต่สมัยอยู่อาแจ็กซ์นั้น คือเกมที่เจอกับคู่แข่งอย่าง PSV Eindhoven เมื่อเดือนธันวาคมปี 2017 ซึ่งแฟรงกี้เพิ่งอายุ 20 เอง เขารับบอลในบริเวณรอบกรอบเขตโทษของAjax

และแทนที่จะเพลย์เซฟให้ตัวเองปลอดภัย เขากลับกระชากตะลุยเจาะกลางสนามมาเลยทันที ขึ้นมาลึกจนถึงในแดนของ PSV ก่อนที่จะกดสามเหลี่ยมแทงบอลทะลุช่องให้กับ David Neres ขึ้นไปรับบอลแดนหน้าที่เจาะแผงหลังคู่แข่ง

ปีที่ Ajax เซ็น ดาลีย์ บลินด์มาเมื่อซัมเมอร์ปี 2018 เดอ ยอง ขึ้นไปเล่นในแดนกลางที่สูงขึ้นกว่าเดิมในระบบ double pivot ทำให้แฟรงกี้สามารถมีอิสระในการเติมเกมบุกจากแนวหลังได้ด้วยวิธีการเล่นที่เจาะคู่แข่งด้วยการเลี้ยงพาบอลขึ้นหน้า

ประสิทธิภาพในการเล่นของแฟรงกี้ เดอ ยอง นั้นทำให้เรานึกภาพไปถึงสุดยอดมิดฟิลด์อีกคนหนึ่งอย่าง ลูก้า โมดริช ของเรอัล มาดริดในยามที่ถอยลงมารับบทบาทการเล่นมิดฟิลด์ตัวต่ำให้กับราชันชุดขาว รวมถึงแสดงให้เห็นถึงมิติการจ่ายบอลจากเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมทีมในบาร์ซ่าอย่างบุสเก็ตต์ด้วย

ความสามารถของแฟรงกี้ทั้งในแผงมิดฟิลด์ และแนวรับ(ยามที่ถอยต่ำ) ช่วยให้ทีมสามารถนำบอลเข้าไปโจมตีใส่ Final Third ได้อย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะ "ไทม์มิ่งในการจ่ายบอล" ของเดอ ยองนี่คือสุดๆ จากการ draw ตัวประกบคู่แข่งให้เข้ามาประชิดตัวเขา ซึ่งมันทำให้สามารถเรียกสเปซที่ทิ้งห่างจากเพื่อนได้ ก่อนที่จะหาช่องเล็กๆระหว่างตัวประกบ จ่ายบอลหลุดไปให้เพื่อนที่ยืนว่าง และเล่นเพลย์ถัดไปได้อย่างสะดวกมากๆ

จังหวะนี้โดนรุมที 4-5 ตัว พี่แกพลิกและหาทางจ่ายหลุดการโดนท่าแมลงวันตอมขี้ของคู่ต่อสู้ได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

เรื่องของ "สกิลการแกะเพรส" และการ "ล่อคู่แข่งให้เข้ามาประกบ" ทำให้บอลเพรสทำอะไรแฟรงกี้แทบจะไม่ได้เลยนั้น ด้วยฝีเท้าอันเหนือชั้นของแฟรงกี้ เดอ ยอง มีวิธีการในการแกะเพรส เอาตัวรอดอยู่สามวิธีหลักๆ

1.พลิกหนี หาเหลี่ยมที่คู่แข่งแย่งไม่ได้ และปลอดภัยสำหรับการเล่นของเขา ข้อนี้ก็ว่าเจ๋งมากๆแล้ว นักเตะที่พลิกเก่งๆคือจะต้องมีการรับรู้เชิงพื้นที่ (Spatial Awareness) ที่โหดมากๆ

2. เลี้ยงพาบอลผ่านคู่แข่ง ด้วยวิธีการsimpleนี่แหละก็คือเลี้ยงหนีมันซะเลย ในเมื่อขวางหรือเข้ามาสกัดบอล ด้วยสกิลทักษะการเลี้ยงบอล (Dribbling) ของ FDJ ที่บอลติดเท้าโคตรๆ และเลี้ยงได้ยังกะเอาปีกมาวางอยู่กลางสนาม ทำให้เขาพร้อมที่จะเลี้ยงกินตัวคู่แข่งได้ตลอดเวลา และใช้มันเอาตัวรอดในแดนกลางได้ง่ายๆ

สถิติที่เห็นได้ชัดเจนคือเรื่องของ Dribbles Successful Percentage จาก 38 ครั้งเลี้ยงชนะ 25 ครั้งในลาลีกาปีที่แล้ว คิดเป็น 65.8% แถมพ่วงด้วยอัตราความสำเร็จในการรับบอล 89.7% เป็นตัวที่เลี้ยงบอลกินตัวสำเร็จเยอะมากๆ และรักษาบอลได้ดี

3. จ่ายบอลหนี วิธีนี้เหมือนจะง่ายๆ แต่การจ่ายบอลหนีคู่แข่งของแฟรงกี้มันมาจาก "Positional Awareness" ที่รับรู้ตำแหน่งของตัวเอง คู่แข่ง และเพื่อนร่วมทีมอย่างทะลุปรุโปร่ง จากการสังเกตและอ่านเกมรอบๆตัวอยู่เสมอ รวมถึงมุมมองในการเล่นด้วยที่ค่อนข้างกว้าง ทำให้แฟรงกี้รู้อยู่ตลอดเวลาว่า ตัวรับบอล (outlet) อยู่ตรงไหนบ้างในสนาม

เมื่อรู้ว่าเพื่อนอยู่ไหนบ้าง การจ่ายบอลหนีตัวประกบที่ถูกDrawเข้ามาใกล้ๆตัวแฟรงกี้ ก็จะยิ่งทำได้สะดวก แถมนั่นจะทำให้เพื่อนว่างอีกด้วย หากว่าคู่แข่งวิ่งมาเพรสซิ่งแฟรงกี้แล้วพลาด เพื่อนจะว่างและเล่นเพลย์ต่อไปได้ง่ายทันที

บอลเพรสซิ่งมาเจอ FDJ มีเสียวโดนแกะหลุด บอกเลย

ในภาพด้านบนนี้คืออีกหนึ่งตัวอย่างของ Positional Awareness การรับรู้ตำแหน่งเพื่อนในกรณีช็อตนี้ FDJ มองเช็คหมดแล้วในจังหวะก่อนหน้านี้ว่าเพื่อนอยู่ตรงไหน สีเหลืองทางจ่ายตัวริมเส้นกำลังจะโดนบีบ แฟรงกี้จึงเลือกจ่ายตัวบนที่ถอยลงมารับบอล ซึ่งเป็นทางเลือกหนีเพรสที่ดีที่สุด เพราะจะหลุดขึ้นไปบุกต่อได้ทันที

อนึ่ง สถิติการจ่ายบอลสำเร็จของแฟรงกี้ เดอ ยอง เฉลี่ยในลาลีกาอยู่ที่ 89.9% แยกย่อยออกเป็นสามระยะ ใกล้ กลาง ไกล มีอัตราสำเร็จตามลำดับดังนี้คือ 92.9%, 91.3% และ 85% จะเห็นได้ว่าลูกจ่ายระยะใกล้ ระยะกลาง อัตราสำเร็จสูงมากๆ

นอกจากนี้แล้วแฟรงกี้ก็ยังสามารถวางบอลยาวได้ด้วยถ้าต้องการ

Neres + FDJ VS Luka

การจ่ายบอลแกะจากการถูกบีบมุมของแฟรงกี้เป็นประโยชน์กับทีมสุดๆ โดยเฉพาะกรณีการเจอคู่แข่งที่เล่น High Pressing หนักๆในยุคนี้ แฟนบอลจะได้เห็นแฟรงกี้ เดอ ยอง เคลื่อนที่เยอะมากเวลาที่ยืนต่ำ เพื่อขับเคลื่อนเกมการเล่นที่เป็นเหมือนโครงกระดูกของทีม

ในขณะที่เมื่อเติมขึ้นไปแดนหน้า เขาจะรักษาตำแหน่งและไม่ขยับจากพื้นที่สมดุลตรงกลาง เพื่อรักษา shape ของทีมไว้ตลอดเวลาด้วย (บางทีถ้าเห็นFDJยืนไม่ขยับตำแหน่ง รู้ไว้เลยว่าเขายืนคุมพื้นที่รักษาshapeอยู่)

รวมถึงการเป็นตัวซัพพอร์ตแถวสองที่ช่วยรับบอล เชื่อมบอลในขณะครองบอลบุกเวลาเจอคู่แข่งเล่น low blocks ได้ด้วย

การจ่ายบอลของแฟรงกี้จังหวะนี้ ทำลายพื้นที่ทั้งแนวด้านกว้างไปด้วย เพื่อนก็วิ่งเจาะแนวรับตรงกลาง4คนได้อีกต่อ

จุดอ่อนในขวบปีแรกๆของแฟรงกี้จะมีปัญหากับการวิ่งไปคุมพื้นที่มากๆ เพราะ work rate ของเจ้าตัวในขณะที่เป็นฝ่ายครองบอลนั้นยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังขาดความรอบคอบในจังหวะเปลี่ยนผ่านการเล่น (transition play) อีกด้วย ซึ่งเวลาที่เจอคู่แข่งที่เล่นสวนกลับเร็ว และมีความว่องไว มักมีปัญหาอยู่บ่อยๆ

ปัจจุบันข้อผิดพลาดทั้งหลายเหล่านี้ก็ลดน้อยลงแล้ว จากฝีเท้าที่พัฒนาขึ้นอีกในระยะหลังของเขา

แต่หากจะให้เปรียบเทียบจำนวนเกมรับ ต้องบอกว่าสมัยอยู่ Ajax เกมรับค่อนข้างเยอะกว่าตอนอยู่บาร์ซ่ามากๆ เน้นย้ำว่ามันเป็นเพราะรูปแบบการเล่นและสไตล์ของแต่ละทีมด้วย ไม่ใช่ว่าแฟรงกี้จะเล่นรับน้อยลง แต่เพราะบาร์ซ่าเน้นเป็นฝ่ายครองบอลเป็นหลัก เกมรับจึงลดลงตาม

จำนวนการเล่นที่เป็น Tackles + Interceptions เฉลี่ยต่อเกม สมัยอยู่อาแจ็กซ์จะเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 3++ จนถึง 4 ก็มีในบางซีซั่น

ส่วนการอยู่กับบาร์ซ่า สองค่านี้รวมกันแล้วเฉลี่ยต่อเกมลดลงมาเหลือราวๆ 1.3/1.6/1.7 แถวๆนี้เท่านั้นเองในลาลีกาซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากๆเพราะไม่ถึง 2 เลยสักฤดูกาลในการเล่นที่ประเทศสเปน

ท่าไม้ตาย "อสูรเจาะเกราะ" การแทงคิลเลอร์พาสเจาะแนวรุกจากแนวลึกตรงกลางของแฟรงกี้ เดอ ยอง ที่จะได้เห็นกันบ่อยๆ

บทบาทที่บาร์เซโลน่า

ถือว่าแฟรงกี้เป็นตัวหลักที่ได้ลงอย่างสม่ำเสมอที่บาร์ซ่า หลังจากย้ายมาจากอาแจ็กซ์ โดยส่วนใหญ่ก็จะได้ลงเป็นหนึ่งในสามตัวกลางของทีม ถูกใช้งานทั้งข้างซ้ายและข้างขวาของระบบสามมิดฟิลด์ และต้องปรับสไตล์ให้เล่นง่ายออกบอลง่ายกว่าเดิมหลังจากย้ายออกมาจากถิ่นอัมสเตอร์ดัม

ซึ่งเวลาที่บาร์ซ่าจะเซ็ตบอลจากแดนหลัง เดอยองจะเป็นผู้เล่นในพาร์ทเคลื่อนที่ เพื่อขยับดึงปฏิกิริยาการเล่นของคู่แข่งออกมา ว่าจะบีบเพรสเข้ามา หรือทิ้งระยะห่าง

ภาพข้างล่างนี้คือสิ่งที่ตำแหน่งการยืนของแฟรงกี้จะกลายเป็นของชินตาของแฟนแมนยู(ถ้าซื้อตัวมาสำเร็จ)

จากตำแหน่งที่ลงต่ำไปพอๆกับDefensive Lineของทีม เขาก็จะสามารถรับบอล หรือสร้างทางจ่ายอื่นให้เพื่อนได้ ซึ่งปกติแล้วแฟรงกี้ก็จะสั่งการให้ลงต่ำอยู่บ่อยๆ เขาจึงสามารถที่ลงไปรับบอล และพลิกเล่นได้เองตามต้องการ นอกจากนี้มันยังเป็นการเปิดสเปซให้กับผู้เล่นริมเส้นได้ขยับหนีคู่แข่ง หุบเข้ามาด้านในแทนได้ด้วยจากการเคลื่อนที่ขยับลงไปของแฟรงกี้ เดอ ยอง

กรณีแรก จากภาพข้างบนนี้ เป็นการถอยต่ำลงของแฟรงกี้ เดอ ยอง ที่ลงมาแล้วถ่างริมเส้นในจุดดังกล่าว จากจุดแรกที่ยืน (วงกลมสีส้ม) ลงมายืนแทนแบ็คซ้ายที่ดันขึ้นไป

ในขณะที่เพื่อนคู่หูมิดฟิลด์ หุบตามเข้ามาช่วยสร้างทางจ่ายในพื้นที่ที่แฟรงกี้ ออกจากตำแหน่งเดิม / บวกกับเซ็นเตอร์ตัวข้างซ้ายฝั่งนั้นก็ขยับขึ้นมาใกล้ๆในระนาบเดียวกับแฟรงกี้ และใกล้กับมิดฟิลด์ตัวที่มารับบอลด้วย

ผลที่เกิดขึ้นจากการ "ถ่างริมเส้น" ของแฟรงกี้ ช่วยในการสร้างทางจ่ายบอลให้กับทีมเวลาเจอเพรสซิ่งได้ชนิดที่เรียกว่าperfectสุดๆ เพราะจากในรูปนี้จะเห็นชัดเจนว่า เส้นสีดำ คือทางเลือกในการจ่ายบอลของแฟรงกี้ เดอ ยอง จากการขยับตำแหน่งลงต่ำไปยืนในจุดที่สร้าง option การจ่ายดีๆให้ทีม

เขาสามารถเลือกทางจ่ายบอล และสร้าง passing network แบบสมดุลให้กับทีมได้จากการขยับตำแหน่งมายืนตรงนี้ มันจะเกิดทั้งสามเหลี่ยมริมเส้น และ "Square" ที่ยืนกันสี่คนระหว่ง ตัวเขา แบ็ค เซ็นเตอร์ และมิดฟิลด์อีกคนอย่างที่เห็นในรูป

เจอยืนกันแบบนี้ถามจริงๆว่าใครจะมาเพรสไหว? เจอเล่นลิง100%

การถอยมาแทนตำแหน่งริมเส้นด้านหลังของแฟรงกี้ในลักษณะนี้ มันยังเอื้อให้แบ็คและปีกของทีมด้านหน้าเขา สามารถบุกได้เต็มที่โดยทีมจะไม่เกิดอาการออกทะเลหาปลา เพราะว่า "แบ็คลอย" เกิดขึ้นอีกต่างหาก เพราะการถ่างออกข้างและทดแทนตำแหน่งกันในแอเรียว่างที่เป็นประโยชน์กับทีมนั่นเอง

ยังมีอีกกรณีหนึ่งด้านล่างที่เป็นการถอยต่ำ สร้างสเปซให้เพื่อนดันสูงแทน โดยเฉพาะCB แล้วเกิดวิธีการเอาชนะคู่แข่งสวยๆขึ้น ดังภาพและคำอธิบายในภาพต่อไปนี้

จังหวะแรกกองหลังยังอยู่ไลน์หลังแฟรงกี้อยู่เลย และเมื่อเห็นมิดฟิลด์กำลังจะลงต่ำและดึงตัวประกบ เขาจึงดันขึ้นทันที

คอนเน็คชั่นในการสร้างพื้นที่และเล่นร่วมกันระหว่างเดอ ยอง + ฟูลแบ็คตัวใกล้ + ตัวรุกริมเส้น จะช่วยให้ทีมเอาชนะและผ่านคู่แข่งได้เสมอ โดยเฉพาะการ "overloads" ปริมาณผู้เล่นในพื้นที่นั้นให้เหนือกว่าคู่แข่ง ด้วยการเติม 2 หรือ 3 เข้าไปให้สร้างทางเล่นที่เหนือกว่าและเยอะกว่าคู่แข่ง

แทคติกนี้มักจะทำให้แนวรับคู่ต่อสู้เจอ situations 3vs2 (แฟรงกี้ + แบ็คเรา + ปีกเรา VS แบ็คคู่แข่ง+กลางต่ำคู่แข่ง) หรือ 2vs1 (ปีก + แฟรงกี้ VS แบ็คคู่แข่ง) อยู่ตลอดเวลา

สร้างสามเหลี่ยมการเจาะทะลวงจากตัวเล่นริมเส้นอย่างแบ็ค และตัวรุกด้านข้างที่สามารถเจาะได้ทั้งจาก Flank และ Half-space

เมื่อแฟรงกี้พลิกบอลได้ สิ่งแรกที่จะทำก็คือดึงคู่แข่งมาขวางแบบ ตัวต่อตัว ก่อนที่จะแจกบอลต่อไปให้ฟูลแบ็คที่เติมมาของเรา หรือปีกที่ยืนเจาะอยู่ริมเส้น เป็นการเล่นคอมบิเนชั่นกับตัว wide area ที่เห็นได้ประจำไม่ว่าแฟรงกี้จะเล่นกับทีมไหน กับสโมสรต้นสังกัด หรือบอลทีมชาติฮอลแลนด์ก็ตาม

มิติการเล่นที่น่าตื่นตาตื่นใจมากขึ้นเรื่อยๆของเดอ ยอง คือการรู้จังหวะเป็นอย่างดีว่า "เมื่อใดควรจะวิ่งเจาะเข้าใส่คู่ต่อสู้" ถึงจะมีประโยชน์ที่สุด ซึ่งกับบาร์เซโลน่า เรื่องของการระแวดระวังตำแหน่งรอบๆตัว (positional awareness)ของเขานั้นพัฒนาขึ้นอีก ตอนนี้เขาเล่นได้อย่างเนียนตามากขึ้นว่าเมื่อไหร่ที่ "สามารถ" และ "ควร"วิ่งเติมขึ้นไปได้

หรือเมื่อไหร่ที่ต้องมีระเบียบวินัยในการรักษาพื้นที่และคุมตำแหน่งของตัวเองเอาไว้

ให้ดูตำแหน่งการเล่นของแฟรงกี้ เดอ ยอง ที่Ajax ในปี 2019 เกมเจอยูเว่ และแฟนผีคงจะเห็นแล้วว่าดอนนี่ ฟานเดอเบค อยู่ตรงไหนในสมการนี้ นอกจากการเคลื่อนที่ขึ้นลงจากตำแหน่งการยืนในจุด DM ของแฟรงกี้แล้ว อีกข้อสังเกตคือแกจะไม่ใช่ "Lone Six" ที่ยืนกลางต่ำคนเดียว แฟรงกี้ เดอ ยอง เหมาะกับระบบ Double Pivot ที่สุดหากยืนเบอร์ 6

ในรูปข้างล่างนี้ก็ใช่ โดยเฉพาะแทคติกของ Ajax และทีมชาติฮอลแลนด์ (Netherlandsนั่นแหละ) การเล่นกลางคู่ คู่หูของแฟรงกี้จะเป็นตัวสนับสนุน / ตัวพลังงานที่ช่วยการเล่นของเขาเสมอๆ

จะบอกว่าลูกหาบแฟรงกี้ก็ไม่เชิง ใช้คำว่ามิดฟิลด์ที่จะคู่กับเขา คือคนที่ทำให้แฟรงกี้ เดอ ยอง อันตรายรอบตัวก็แล้วกัน เหมือนรุคาว่าปลดล็อคสกิลจ่ายในแมตช์สุดท้ายก็ว่าได้

การวิ่งทะลุขึ้นหน้าของเขาในการเจาะแนวรับนั้น ถ้าหากว่ากองหน้าหรือตัวรุกริมเส้นที่ใกล้ที่สุดตรงนั้นถอยต่ำลงมาเพื่อจะรับบอลที่กำลังครอบครองอยู่ จังหวะนี้แฟรงกี้จะอ่านเกมโดยรอบทั้งหมด และสร้างความได้เปรียบใส่กองหลังคู่แข่งทันทีที่ถูกบีบให้ต้องพลิกหันกลับมาและวิ่งตาม ในยามที่ก็ต้องอ่านเกมและกะระยะที่บอลจะเปิดมาด้วย

การวิ่งเจาะของแฟรงกี้จะเล่นงานคู่แข่งด้วยการเคลื่อนที่ และความพะวงจากการโดนโจมตีทั้ง"คน"(วิ่ง) และทั้ง"บอล"ที่กำลังเปิดมา

บอล give n go [pass n move] ของแฟรงกี้โดดเด่นมาก เล่นในพื้นที่แคบๆได้ดี และฉลาดในการขยับตำแหน่งโจมตีคู่แข่ง

กลับกัน เวลาที่เขายืนรักษาตำแหน่งอยู่แนวหลัง เขาจะสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งเป็นทางจ่ายให้เพื่อน(คนรับต่อบอล) รวมถึงการเป็นมิดฟิลด์สร้างสรรค์เกมที่หันหน้าเข้าหาคู่แข่ง

แฟรงกี้จ่ายแอสซิสต์ในลักษณะของบอลเจาะช่องจากการยืนตำแหน่งต่ำในแนวลึกได้บ่อยครั้งมากจากการกะน้ำหนักการจ่ายอันสุดยอดในการแทงทะลุแนวรับฝ่ายตรงข้าม

จะบอกว่าเขาคือมิดฟิลด์จอมเจาะเกราะแนวรับของคู่แข่งก็ว่าได้ ทั้งๆที่เป็นนักเตะที่เล่นมิดฟิลด์ตัวต่ำแบบเบอร์6ธรรมชาติซะด้วยซ้ำ

และทั้งหมดนี้คือความสามารถและจุดเด่นทางฟุตบอลของแฟรงกี้ เดอ ยอง ที่เกี่ยวข้องกับแทคติกการเล่น ในฐานะเป็นมิดฟิลด์สายคลาสสิคอีกหนึ่งคนในวัยที่เพิ่งจะกลางๆเท่านั้นเอง (25ปี)

ไม่ว่าเขาจะยังคงอยู่ในทีมใหม่ของบาร์เซโลน่าจากการนำของชาบี้ หรือจะย้ายมาสู่โรงละครแห่งความฝัน ณ สังเวียนของศึกพรีเมียร์ลีกก็ตาม แฟรงกี้ เดอ ยอง คือยอดมิดฟิลด์ที่น่าจับตามอง

และจะมีช่วงเวลาพีคในการเล่นของเขาไปอีกหลายปีนับจากนี้อย่างแน่นอนครับ

-ศาลาผี-

References

https://fbref.com/en/players/1bacc518/Frenkie-de-Jong

https://www.whoscored.com/Players/279423/History/Frenkie-de-Jong

https://www.coachesvoice.com/la-liga-barcelona-frenkie-de-jong/

https://www.youtube.com/watch?v=rWQaNwZblwk

https://www.youtube.com/watch?v=pzD2jfp1Nec

https://www.youtube.com/watch?v=zBs7tV_gjbc


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด