:::     :::

ไขปริศนา "มนุษย์สมอ Anchor Man" Scott McTominay

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2565 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
5,481
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
นี่คือ Player Analysis ที่จะไขปริศนาการเล่นดีขึ้นของ Scott McTominay จากการติวเข้ม และมอบบทบาทหน้าที่อันถูกต้องจากเทน ฮาก ในฐานะมิดฟิลด์ตัวต่ำแบบ "Anchor Man" คำตอบทุกอย่างสำหรับ Roleสุดปังนี้ของน้องแม็ค อยู่ในบทความนี้แล้ว

หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุดของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่แฟนบอลปีศาจแดงตั้งข้อสงสัย และสังเกตเห็นสิ่งดีๆอะไรบางอย่างจากการเล่นของ "สก็อตต์ แม็คโทมิเนย์" ที่ยึดตำแหน่งตัวจริงของทีมชุดใหญ่แมนยูไนเต็ดได้อยู่ในขณะนี้ ด้วยการเล่นในตำแหน่ง "มิดฟิลด์ตัวต่ำ" ของทีม

ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ไม่มีวี่แววเลยว่า เราจะสามารถใช้น้องแม็คเล่นกลางต่ำได้ยังไง เมื่อสกิลทักษะน้องไม่ดีพอจะเอาตัวรอด หรือตั้งเกมให้กับทีมในตำแหน่งนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับคู่กับ เฟร็ด ฟอร์มยิ่งไปกันใหญ่ทั้งคู่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตามที่แฟนบอลรู้จักกันดีในนามคอมบิเนชั่น "แม็คเฟร็ด"

มองไม่เห็นอนาคตเลยที่น้องแม็คจะคุมกลางให้ทีมไหว และรอเวลาเพียงแค่เสริมนักเตะใหม่ที่เก่งกว่าเขาเข้ามาแทนเท่านั้น

แต่ขณะนี้ ฟอร์มการเล่นของแม็คโทมิเนย์ เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากนักเตะที่สร้างความผิดพลาดในสนามจากลูกจ่ายให้เพื่อน การพลิกบอลที่ขาดเซนส์ที่ดี และชอบที่จะจ่ายบอลคืนหลัง ไม่ขยับหาตำแหน่งเพื่อรับบอลจากเพื่อน ขยันจ็อกดูคู่แข่ง ขาดความกระตือรือร้นอย่างแรง

แถมบางครั้งเข้าหนักเกินกว่าเหตุ เก๋าไม่เข้าท่า และเสียฟาล์วเสียเหลืองอย่างเปลืองโควตาทีม จนสุดท้ายก็ไม่กล้าเข้าบอล และช่วยเกมรับไม่ได้

ร่าง เอริค แม็คโตน่า ลงไปจะบวกกับคู่แข่งอย่างเดียว ไม่เอาอะไรเลย -*-

ปัญหาทุกอย่างเหล่านี้ เอริค เทน ฮาก ดูเหมือนว่าจะค้นพบ "คู่มือการใช้แม็คโทมิเนย์" แล้วเรียบร้อย เพื่อจับน้องมาเล่นกลางต่ำให้กับทีมได้

ทำไมมันจึงเป็นแบบนี้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้เรามองกันว่า แม็คซอสไม่น่าจะเอาอยู่ในตำแหน่งสำคัญนี้ แต่ปัจจุบันมันเกิดขึ้นแล้ว เมื่อเขากลายเป็นตัวจริงที่ได้ลงสนามก่อนนักเตะระดับ World Class ที่เพิ่งย้ายเข้ามาอย่าง Casemiro ซะด้วยซ้ำ

บทความนี้คือการไขปริศนาว่า เอริค เทน ฮาก จัดการ coaching และ "ปรับบทบาท" ให้แม็คโทมิเนย์ยังไง ถึงสามารถทำผลงานได้โคตรดีขนาดนี้

คำตอบอยู่ที่ "Role การเล่น" อันเหมาะสมในสนามของเขานั่นเอง ที่ช่วยให้แม็คโทมิเนย์ฟอร์มดีวันดีคืนแบบนี้ เนื่องจากได้ใช้จุดเด่นของตัวเองอย่างเต็มที่ และไม่ทำให้จุดอ่อนที่มีอยู่ ออกมาสร้างความเสียหายกับทีม

เคสเดียวกันกับที่เอริค ใช้แรชฟอร์ดเป็นหน้าเป้าสาย Poacher เช่นกัน ดึงพลังส่วนที่ดีที่สุดออกมา และเอาจุดอ่อนไปโยนชักโครกทิ้ง หรือถ้าทิ้งไม่ได้ก็แค่จุดอ่อนนั้นเอาไว้ในกางเกงใน อย่าให้มันออกมาเพ่นพ่าน แค่นั้นก็เรียบร้อย

ประเด็นตรงนี้ มีจุดที่น่าสนใจในการเปรียบเทียบกันระหว่าง สองบทบาทการเล่น ที่แม็คโทมิเนย์ใช้อยู่ในขณะนี้ กับคำถามที่แฟนบอลสายแทคติกเล็งเห็นว่า เขาคือกลางต่ำสไตล์ไหนกันแน่?

กลางรับตัวตัดเกม? (Ball-wining Midfielder)

มิดฟิลด์ตัวรับ ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบงานในแดนกลางของทีม โดยเฉพาะหน้าที่เกมรับเป็นหลัก? (Defensive Midfielder)

ตัวคอนโทรล คุมจังหวะเกมแบบ Conductor คุมการเล่นหลัก ตั้งเกมให้ทีม? (Regista)

กลางต่ำตัวสร้างสรรค์เกมจากแนวลึก? (Deep-lying Playmaker : DLP)

ทั้งหมดด้านบนนี้ดูเหมือนว่าจะยังไม่ตรงเป๊ะๆ กับสิ่งที่ EtH ใช้งาน McTominay ในสนาม

และมันเหลือสองรูปแบบ ที่ต้องมาพิจารณากันว่า จริงๆแล้วในตอนนี้ แม็คโทมิเนย์เล่นตำแหน่งอะไรกันแน่ในฐานะเบอร์ 6 ของทีม ระหว่าง

"Half-Back" หรือ "Anchor Man"

เรื่องของสไตล์การเล่นหลากหลายอย่างของนักเตะมิดฟิลด์ ผู้เขียนได้เขียนโพสต์ข้อมูลแบบละเอียดเอาไว้ในประเด็นที่แมนยูไนเต็ดยังคงขาดตัว Conductor ที่เรียกว่า "Regista" อยู่ ในบทความของเพจศาลาผีจากลิงค์นี้

https://www.facebook.com/photo/?fbid=623642439331772&set=a.619595486403134

สามารถแยกไปอ่านได้อีกภาคนึง จะเสริมให้บทความนี้เติมเต็มมากขึ้น เพราะกลางต่ำเองก็มีหลากหลายสไตล์เหมือนกัน

น้องแม็คเล่นแบบไหนกันแน่ อธิบายจุดเด่นของทั้งสองตำแหน่งแยกแบบคร่าวๆเพื่อให้เห็นภาพได้ดังนี้

1.Half-Back

ตำแหน่งฮาล์ฟแบ็ค จะเรียกว่าเป็นมิดฟิลด์ที่เล่นแบบ "มิดฟิลด์กึ่งกองหลัง" ก็ตามชื่อเลยครับ (ยกตัวอย่างเช่น Mezzala ที่เป็น Half-Wing : กองกลางกึ่งปีก ก็เล่นในพื้นที่ฮาล์ฟสเปซ ไดรฟ์เกม เติมถ่างออกข้าง เป็นต้น)

จุดเด่นของผู้เล่นตำแหน่ง Half-Back ให้แฟนผีสังเกตการเล่นของ "Nemanja Matić" กับแมนยูไนเต็ดปีก่อนๆดูก็ได้ครับ แบบนั้นแหะ มีความเป็น Half-Back สูงมาก ผสมกับความเป็น DLP เล็กน้อยที่เปิดบอลเกมรุกจากแนวลึกได้

เงื่อนไขของคนที่เล่นในบทบาทตัวฮาล์ฟแบ็ค ที่สังเกตชัดๆมีดังนี้

1.1 ดรอปต่ำลงมายืนระนาบเดียวกับเซ็นเตอร์ เล่นเป็นกองหลังเสมือน

1.2 Half-Back จะมีหน้าที่เน้นลงต่ำเพื่อช่วยการครองบอล เซ็ตบอลจากแดนหลังให้ทีม ใน Possession Game

1.3 รับผิดชอบหน้าที่เกมรับ คอยตัดเกมสวนกลับให้กับทีม เวลาตั้งรับต่ำก็อาจลงไปเป็นเซ็นเตอร์แบ็คอีกคนในกรอบเลย

1.4 Half-Back เหมาะกับทีมที่ "เน้นวิงแบ็คทำเกมรุก" เพราะเมื่อวิงเติมสูงขึ้นไป Half-Back จะลงไปยืนตรงกลางในช่องว่างของเซ็นเตอร์แบ็ค ทำให้คู่เซ็นเตอร์เดิมสองคน สามารถแยกถ่างออกไปดูแลเกมรับริมเส้น ที่วิงแบ็คขึ้นไปบุก และเกิดพื้นที่ว่างขึ้น ถ้าโดนเจาะมา CB จะออกไปเล่นเกมรับได้สบายใจ เพราะ "HB" ยืนคุมหลังแทนให้แล้ว

นอกจากนี้ เวลาวิงเติมสูง Half-Back ก็จะไม่เติมตามขึ้นไป หรือออกห่างจาก CB เพราะวิงแบ็คหลุดตำแหน่งหมดแล้ว ถ้าขึ้นไปอีกคน ด้านหลังอาจจะเหลือผู้เล่นเราแค่สองคนสุดท้าย ในกรณีโดนเล่น Counter-attack เสี่ยงเสียประตูสูง

ยกเว้นกรณีที่ ทีมครองบอลได้แบบเสร็จสรรพ และคู่แข่งถอยไปตั้ง Low Block กันแบบเต็มสตรีม Half-Back อาจจะเติมขึ้นไปคุมพื้นที่หน้ากรอบเขตโทษคู่แข่งได้

1.5 แต่ถ้าทีมเสียการครองบอล Half-Back / Centre-Back และ Wing-Back จะพยายามกลับตำแหน่งเดิม เพื่อเซ็ตการยืนให้เป็นทรงมาตรฐานของทีม ตัวฮาล์ฟแบ็คก็จะดันขึ้นมาอยู่ข้างหน้าแผง Defensive Line

1.6 ทีมที่ใช้ระบบหน้าคู่ หรือใช้ตัวเข้าทำหุบในแบบ Narrow เหมาะมากๆ เพราะการมี Half-Back จะเอื้อให้ Wing-Back เติมขึ้นไปเป็นตัวขึงริมเส้นแทน ดังนั้นปีกหรือกองหน้า สามารถหุบเข้าในเพื่อเข้าไปใกล้พื้นที่อันตรายหน้าประตูคู่แข่ง สำหรับการหาโอกาสสับไกได้ทั้งจากฮาล์ฟสเปซ หรือในเขตโทษถ้ามี Shadow Striker หรือรวมถึง Raumdeuter อยู่ในทีม

ทั้งหมดนี้คือจุดเด่นของตัวเล่น Half-Back ซึ่งมาติชเล่นแบบนี้เต็มๆตอนอยู่กับแมนยูปีท้ายๆ แค่ว่าแกมีสกิลทักษะและเหลี่ยมบอลสูงมาก ที่มีความเป็น DLP ผสมอยู่ในตัวด้วยซึ่งสามารถจ่ายบอล Forward Passes ขึ้นเกมจากแนวลึกได้สบาย

เนมันย่า มาติช คือสุดยอดมิดฟิลด์ตัวต่ำของแท้อีกคนหนึ่งจริงๆ

2. Anchor Man

ส่วนตำแหน่งสำคัญที่เราจะพูดถึงวันนี้ คือ Anchor Man (อ่านว่า แองเคอร์แมนนะครับ ไม่ใช่อันชอร์แมน)

Anchor Man หรือ "ตัวปักหลัก" ยืนคุมพื้นที่อยู่หน้ากองหลัง ประหนึ่งทีมทอด "สมอ" (Anchor) ลงหน้าแผงหลัง เพื่อเป็นหลักให้กับผู้เล่นคนอื่นๆในทีมนั่นเอง

จะแปลตรงตัวแบบนั้นก็ถือว่าความหมายได้เหมือนกัน แต่ Anchor Man จริงๆแปลว่า ผู้เป็นหลัก ผู้กระจายบอลก็ได้เหมือนกัน

ตำแหน่งนี้ถ้าให้นึกถึงใครสักคนแบบง่ายๆ จะบอกว่าการยืนกลางรับตัวต่ำของ "โรดรี้" แห่งแมนเชสเตอร์ซิตี้ ก็เข้าข่าย Anchor Man เหมือนกัน

โรดรี้เป็น Anchor Man ที่มีส่วนผสมของ Defensive Midfielder และ Regista ที่แข็งแกร่งและทางบอลดี รวมอยู่ด้วยกัน

หน้าที่ของตัวเล่นกลางต่ำที่เป็น Anchor Man สังเกตได้ง่ายๆดังต่อไปนี้

2.1 ยืนอยู่ในสเปซระหว่าง แผงมิดฟิลด์ กับ ไลน์กองหลัง

2.2 ยืนคุมตำแหน่งกลางต่ำที่ปักหลักอยู่หน้ากองหลัง ไม่หลุดตำแหน่งออกไปไหน ไม่ว่าทีมจะขยับทรงไปยังไงก็ตาม Anchor Man จะยืนอยู่หน้า Centre-Back เสมอ (และจะไม่ดรอปต่ำลงไปยืน CB ตัวที่3บ่อยเหมือน Half-Back)

2.3 เน้นเชื่อมบอลสั้น จ่ายบอลง่ายๆ เพื่อให้เกมไหลลื่น และคอยจ่ายบอลต่อไปให้ยังมิดฟิลด์ทักษะสูงตัวสร้างสรรค์เกม

2.4 มีเกมรับเป็นหน้าที่สำคัญ ที่จะสกรีนงานหน้าแผงหลัง ทั้งตัดบอล เข้าปะทะ หากว่ามีตัวเล่นที่ตัวเองMarkingอยู่ได้บอลนอกพื้นที่ ก็อาจจะตามไปเพรสซิ่งประชิดตัวบ้าง แต่ถ้าเสร็จแล้วก็จะจ็อกกลับมาคุมตำแหน่งตัวเอง ไม่หลุดไปไหน จะไม่ตามติดคู่แข่งเกินไปหากไม่จำเป็น ยกเว้นว่าอยู่ในระยะตัวเองที่ประกบอยู่ใกล้ๆ

หรือมีผู้เล่นศัตรู เข้ามาในระยะทำการที่ Anchor Man คุมพื้นที่อยู่ ซึ่งก็คือหน้าแผงหลัง ใครเข้ามา Anchor Man ล่อหมด!

3. เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะเห็นว่าข้อแตกต่างระหว่าง Half-Back กับ Anchor Man จะมีหลายๆจุดที่เห็นได้ง่ายมาก และเหมาะกับแทคติกการเล่นที่แตกต่างกันในรายละเอียด เช่น

3.1 Anchor Man จะไม่ดรอปต่ำลงมายืนกองหลังเหมือน Half-Back ในจังหวะเซ็ตเกม ยกเว้นจังหวะที่ต้องตั้งรับต่ำ อาจจะลงไปช่วยCB ได้ แต่หลักๆจะไม่ดรอปลงลึกเท่า Half-Back

3.2 Anchor Man จะเด่นเรื่องการปัดกวาดเกมรับให้ทีมมากกว่า ส่วน Half-Back จริงๆโดดเด่นเรื่องช่วยทีมครองบอลเหนียวๆ เซ็ตบอลจากแดนหลัง

3.3 Half-Back เหมาะกับทีมที่ใช้วิงแบ็คเติมเกมบุก Overlapping จนสุดเส้นอย่างอิสระมากกว่า ส่วน Anchor Man จะไม่เอื้อเท่าไหร่ เพราะถ้าวิงขึ้นไปเติมหมดเกลี้ยง Anchor Man ซึ่งปกติจะไม่ได้ "ดรอปต่ำ" มายืนกองหลังตัวที่สาม

ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการที่วิงแบ็คลอยก็คือ "ทีมอาจจะโดนสวนกลับริมเส้นได้ง่ายมากๆ"

เพราะ Anchor Man ไม่ลงไปต่ำ ทำให้ CB ของทีมจะไม่สามารถ "ถ่างออกด้านข้างได้เยอะ" เมื่อเป็นเช่นนั้นหากเจอสวนเกมริมเส้นมา จะมีช่องให้คู่แข่งสวนกลับได้สบายๆ แล้ว Anchor Man ที่ปักอยู่ตรงกลาง ก็น่าจะตามออกมาคัฟเวอร์ริมเส้นไม่ทันอีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือข้อแตกต่างระหว่าง Anchor Man กับ Half-Back ที่มีดีเทลการเล่นไม่เหมือนกันเลย

ถ้างั้น สรุปว่า ปริศนาในเรื่องที่เราหาคำตอบของ Scott McTominay ว่าเขาเล่นกลางต่ำด้วย Role ใดกันแน่ โดยเฉพาะสองหน้าที่ที่ใกล้เคียงสุดๆอย่าง Half-Back และ Anchor Man

ลองมาดูภาพด้านล่างนี้ เพื่อ "เช็คองค์ประกอบการเล่น" ที่น้องแม็คเล่นในสนาม ว่าสรุปแล้ว น้องเหมาะและกำลังเล่นบทบาทแบบไหนอยู่ จากการกำกับและแนะนำของ Erik ten Hag ดูภาพด้านล่างนี้ไปทีละรูป

ช่องที่ 1 : น้องแม็คยืนอยู่หน้ากองหลังสองคน ไม่ดรอปต่ำลงไปเซ็ตหลังสาม

ช่องที่ 2 : พื้นที่ของตัวเองตรงนั้น จะต้องรับผิดชอบให้ได้ในการยืน Positioning และ "คุมแอเรีย" ตรงนั้นให้ได้ ซึ่งอย่างน้อยๆเขาก็อยู่สูงขึ้นมาจาก CB ทำให้แม้จะพลาด ก็ยังไม่ได้พลาดในจุดที่อันตราย

หากว่า "ดรอปต่ำ" ลงไปรับบอล แล้วโดนคู่แข่งเพรสจากด้านหลังแล้วพลาด ก็จะเป็นแบบลูกที่อีริคเซ่น โดนเบรนท์ฟอร์ดเล่นงานนั่นแหละ

อันนี้คือชัดเจนว่า ถ้าดรอปลงมาจนแทบจะอยู่ระนาบเดียวกับ CB ในรูป แล้วพลาดโดนแย่งบอลไป ก็จะมีโอกาสเสียประตูสูงเหมือนในรูปนี้ น้องแม็คจึงไม่ลงต่ำมากนัก ตามรูปที่2

ช่องที่ 3 : น้องแม็คเน้นจ่ายบอลสั้น จ่ายบอลง่ายๆ ไม่เล่นยาก ตัวไหนใกล้ให้ตัวนั้นเพื่อเชื่อมเกมขึ้นไป ไม่วางยาวแบบDLP

ช่องที่ 4 : การยืนต่ำกว่าตัวรุก และมิดฟิลด์คนอื่นๆ ทำให้เขาเป็นหลักในการรับบอล และคุมพื้นที่อยู่หลังตัวรุกเสมอ และแน่นอนว่า กองหลังสองตัว อยู่ข้างหลังแม็คอีกที

ช่องที่ 5 : แสดงให้เห็นถึงการรักษาตำแหน่ง ที่จะไม่ออกไปไหน ระหว่างช่องว่างของมิดฟิลด์ (ที่เติมขึ้นไปในกรอบ) แต่ยังยืนเป็นการ์ดคอยprotect ให้กองหลังสองคน เผื่อมีจังหวะสวนกลับด้วย ช่อง5ภาพเคลื่อนไหวคือ น้องแม็ค จ็อกถอยหลัง ไปคุมตำแหน่งตัวเองไม่ให้ลอยสูงไป

ช่องที่ 6 : แน่นอน ผลจาก Position Awareness ที่การยืนคุมตำแหน่งตัวเอง และหน้าที่เกมรับ พอทีมพลาดเสียบอล น้องสามารถที่จะตัดชะลอเกม ที่กำลังจะเข้าไปเล่นงานเซ็นเตอร์แบ็คด้านหลังได้ทันทีในช่องที่6นี้

และในจังหวะนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้องสามารถเข้าไปตัดบอล Kill จังหวะ Counter-attack ของ Arsenal ได้อย่างสุดเนี้ยบ

 

เรียบร้อยครับ นี่คือสิ่งที่น้องแม็คทำในสนาม จากจุดสังเกตทั้ง 6-7 ข้อนี้ เราจะเห็นเลยว่าแม็คโทมิเนย์เล่นแบบยืนปักหลักคุมตำแหน่งเป็นสำคัญ อยู่หน้าแผงหลัง จ่ายบอลง่ายๆ ไหลลื่น เล่นสั้น และปัดกวาดเกมรับให้ทีมในแอเรียของเขา

ชัดเจนใช่ไหมครับ ว่า สก็อตต แม็คโทมิเนย์ เล่นตำแหน่งอะไรกันแน่ในยุคของเอริค เทน ฮาก และโชว์ฟอร์มร่างทองให้เห็นมา 4 นัดติดในพรีเมียร์ลีก ยึดตัวจริงยาวๆ และส่งคาเซมิโร่ไปนอนคุยกับลุงโด้ที่ม้านั่งสำรองเช่นนั้น(หยอกๆๆๆ)

ใช่ครับ Scott McTominay เล่นเป็น "Anchor Man" ในระบบ 4-2-3-1 ของ เอริค เทน ฮาก ณ ระบบปัจจุบัน

ต้องชม เอริค ด้วยว่า ปิดจุดอ่อน และใช้จุดแข็งน้องแม็คได้ดีเยี่ยมมากๆ

น้องไม่ได้มีเซนส์หรือเหลี่ยมบอลที่พริ้วระดับ DLP หรือ Regista ที่จะเป็นตัวคุมจังหวะ หรือโฮลด์บอลได้เลย ในเมื่อโฮลด์บอลไม่ได้ เอริคจึงไม่เน้นให้สก็อตต์ต้องเล่นโฮลดิ้ง

ตัว Anchor Man ไม่เน้น Holding อยู่แล้ว เพราะจะออกบอลง่ายๆ รักษาตำแหน่งแค่นั้นเอง

ร่างกายที่แข็งแกร่ง Physical ที่ดีเยี่ยม เหมาะจะเล่นเกมรับอยู่แล้ว ให้ทำงานแค่ปักหลักยืนPositioningดีๆ คุมพื้นที่หน้าแผงหลังอยู่ตลอด เดี๋ยวคู่แข่งมันจะเข้ามาให้ตัดเกมได้เอง เพราะตรงนั้นคือพื้นที่อันตรายที่ศัตรูจะต้องมาทำเกมบุกอยู่แล้ว

ถ้าน้องแม็คยืนรักษาตำแหน่งดีๆ ยังไงร่างกายน้องก็ได้เปรียบ ทั้งส่วนสูง ทั้งความแข็งแกร่งของแรงปะทะและการเข้าแทคเกิลตัดบอล

มีoptionโขกบอลโด่งทิ้งได้แบบเซ็นเตอร์แบ็คแท้ๆอีก อย่างที่เจ้าตัวเล่น CB ในทีมชาติ ทำให้น้องแม็คเป็นตัวช่วยลงไปเล่นเกมรับในกรอบเขตโทษ ช่วยเหลือลิซานโดร มาร์ติเนซอีกแรงในการรับมือบอลโด่ง

ตรงนี้มันคือการอธิบายว่า น้องแม็คก็ไม่ได้เล่นเป็น Anchor Man ซะ 100% แต่มันเป็นสัดส่วน 70-30 อีกส่วนหนึ่ง น้องก็ยังมีความเป็น Box-to-Box และ Half-Back อยู่ในตัวด้วยที่สามารถลงต่ำไปยืนเป็นกองหลังตัวพิเศษเพื่อช่วยทีมได้อยู่เป็นประจำ

ภาพข้างบนนี้คือความชาญฉลาดที่จะปิดจุดอ่อนให้แม็คโทมิเนย์ของเทน ฮาก โดยเอริคจะถ่างมิดฟิลด์สองคนอย่างอีริคเซ่น และ บรูโน่ ออกไปเพื่อล่อตัวประกบ รวมถึงแบ็คซ้ายขวาด้วย เมื่อตัวรับบอลถ่างออกข้าง ออกห่างจากพื้นที่ยืนของสก็อตตี้แล้ว จะเห็นชัดเจนจากภาพด้านบนนี้ว่า แทคติกการ "ลากมอนสเตอร์" ออกไปวงนอกแบบนี้ มันทำให้แม็คโทมิเนย์ "ว่าง" และมีพื้นที่รับบอล ต่อบอลได้สะดวก

ภาพนี้ก็ใช่ เป็นการยืนยันอีกครั้งว่า น้องยืนปักเป็นสมอ เท่เสมออยู่กลางสนาม เพราะจะไม่ดรอปต่ำเหมือน Half-Back แล้วการยืนกระจายของเพื่อนร่วมทีม ก็ช่วยให้กลางต่ำสกิลทักษะไม่พริ้วมากแบบน้อง สามารถเล่นได้ง่ายขึ้นด้วยเพราะไม่โดนรุม อย่างน้อย 1-1 แม็คโทมิเนย์ก็เอาตัวรอดได้นะ เพราะมีสกิลเลี้ยงบอลเอาชนะคู่แข่งอยู่

และถ้ามีโอกาส บอล Forward Passes ขึ้นหน้า เราได้เห็นแม็คพัฒนาขึ้นเยอะ จากที่เมื่อก่อนจ่ายบอล Square Passes คืนหลัง ออกริมเส้น แค่นั้นอย่างเดียวจริงๆ

ภาพข้างบนนี้ เป็นตัวอย่างที่อธิบายประเด็นเรื่องที่ Anchor Man จะไม่ดรอปต่ำได้ดีที่สุดว่า เอริค เทน ฮาก ไม่ใช้แม็คโทมิเนย์เป็น "Half-Back"แต่อย่างใด

คนที่ยืนดรอปต่ำลงไปช่วย CB ในไลน์สุดท้าย(สีเหลือง) คือใคร? ใช่ครับ ท่านดีโอ ดิโอโก้ ดาโลต์ ผู้ปลอมตัวเป็นลูกกระจ๊อกของโรนัลโดะ แต่จริงๆเป็นหัวหน้าแก๊งค์"ที่นี่บราซิล" นั่นเอง

จากภาพนี้มันคือทรงการเซ็ตหลังสามที่เอริค ไม่ใช้น้องแม็คที่สกิลการรับจ่ายบอลไม่ดีมาก ลงไปช่วยตั้งเกม หนีเพรส Build-up ขึ้นบน เอริคเลือกดาโลต์ เป็นแบ็คฝั่งยืนต่ำแทน แล้วใช้มาลาเซียดันเกมบุก

ถ้าเป็น Half-Back น้องแม็คจะต้องยืนตำแหน่งคล้ายๆมาติช คือลงต่ำไปเป็น "Centre-Back ตัวกลาง" เพื่อช่วยเซ็ตบอล และเปิดโอกาสให้ คู่ CB ทั้งสองคน สามารถขยายการยืนตำแหน่งถ่างออกด้านข้างได้มากกว่าเดิม เพราะตรงกลางมี Half-Back ถอยลงมาช่วยสร้างหลังสามเสมือนแล้ว

แม็คโทมิเนย์ไม่ได้ทำแบบนั้นเป็นหลักในยุคของ EtH เงื่อนไขนี้ก็ชัดเจนว่า น้องมีการเล่นที่เป็นสัดส่วนแบบ Half-Back น้อยกว่า Anchor Man ที่เน้นปักหลักอยู่หน้าแผงหลัง ซึ่งภาพด้านบนนี้ก็ยังถือว่าอยู่ในข่ายคุมพื้นที่หน้ากองหลังอยู่ (อีริคเซ่นแค่ลงต่ำมาช่วยเป็นคนออกบอลเท่านั้นเอง จ่ายบอลเสร็จ เขาก็ขยับตำแหน่งขึ้นหน้าได้อย่างอิสระ แต่น้องแม็คจะต้องรักษาตำแหน่งที่ยืนหน้ากองหลังแบบนี้ตลอดเวลา)

มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของรูปแบบการเล่นที่เอริค เทน ฮาก "ปรับใช้" กับชุดนักเตะแมนยูปัจจุบัน ที่พอจะอธิบายให้เห็นแพทเทิร์นแบบคร่าวๆ สั้นๆให้เข้าใจ โดยสาเหตุของวิธีการนี้ มันส่งผลเนื่องมาจากการที่ทีมเราใช้ สก็อตต์ แม็คโทมิเนย์ เป็น Anchor Man ด้วย ทำให้ไม่สามารถใช้เกมรุกที่เน้นวิงแบ็คเติมเกมบุกได้แบบ 100%

ตำแหน่งที่จะช่วยอุดรูรั่วจากการเติมขึ้นหน้าของวิงแบ็คได้จริงๆ คือการใช้ Half-Back จะเหมาะสมกว่า เพราะเขาจะถอยต่ำลงมายืน Sweeper แล้วถ่าง CB หลักไปคุมพื้นที่ริมเส้นแทน ทำให้ด้านหลัง ถ้าวิงแบ็คหลุดตำแหน่ง ก็จะมีตัวเล่นเกมรับคุมพื้นที่หลังสุดอยู่ถึงสามคน

False Nine ที่ดรอปต่ำลงมาทำเกม จะอยู่ในแอเรียรับผิดชอบของ Anchor Man ทันที

ส่วนตัวปักหลักอย่าง Anchor Man ที่แม็คโทมิเนย์เล่น ยังไม่สามารถโหลดแบ็คขึ้นไปพร้อมกันหมดเลยได้ในทีเดียว เราจึงยังไม่เห็นดาโลต์ลอยสูงมากเกินไป และใช้เล่นMarkingแบบประกบติดคู่แข่งในเกมเพรสซิ่งใส่ตัว Receiver แดนบนของคู่แข่ง ตามตำแหน่งที่เขาจับปีกซ้ายคู่ต่อสู้

มาดูตัวอย่างเพิ่มเติมกันครับ ภาพข้างล่างนี้คือคำตอบว่า ทำไมการเล่นของ แบ็คซ้าย กับแบ็คขวาของเรา มีความแตกต่างกัน เพราะแม็คโทมิเนย์ที่เล่น Anchor Man คุมเกมด้านหลัง

สังเกตทุกตัวในฝ่ายเราบนภาพนี้ (แม็คโทมิเนย์คุมตัวประกบอยู่ด้านล่าง ส่วนอีริคเซ่นโรมมิ่งขึ้นมาแล้ว เนื่องจากชัดเจนว่า ดาโลต์ เติมขึ้นมา underlapping ปีกขวาที่ถ่างออกข้าง ด้านหลังจึงเหลือตัวเล่นสามคน ที่แม็คโทมิเนย์ไม่ควรตามสูงขึ้นมาด้วยอีกคน ไม่งั้นอันตรายแน่ถ้าโดน Counter-attack)

จากภาพนี้ ทำให้เราเห็นวิธีการเล่นและปรัชญา "บางส่วน" ของเอริค เทน ฮาก ได้อีกดังนี้ นอกเหนือจากเรื่องการยืนตำแหน่งต่ำของแม็คโทมิเนย์

1. กองหน้าในบอลระบบของเทน ฮาก ไม่ใช่กองหน้าตัวรอบอลจบสกอร์อย่างเดียว

แน่นอนว่า กองหน้าตัวที่เข้าระบบของเอริค มีสองประเภทแบบจริงๆจังๆคือ

1.1 Target Man แบบพักบอล เก็บบอล ชนกองหลังได้ เพื่อประโยชน์ในภาคของ Possession Game

1.2 Advance Forward กองหน้าหัวหอกหลักที่ตอ้งทำหน้าที่ทั้งเป็นตัวหอกเป้าบุก รับหน้าที่จบสกอร์ วิ่งทำทาง ทำช่องให้เพื่อนจ่ายหลุดมายิง รวมถึงไล่บอล เพรสซิ่ง เก็บบอลสอง ปั้นบอลทำเกมให้เพื่อน แม้กระทั่งครอสบอล ก็ต้องทำได้ถ้าจำเป็น

"Advance Forward คือกองหน้าตำแหน่ง 9.5 ที่เอริคต้องการ"

หรือถ้ามีตัวเก่งพอจะเล่น "Complete Forward" แบบที่ทำได้ทุกอย่างในแดนหน้าทั้งยิงทั้งจ่ายทั้งปั้นทั้งโขก ก็โอเคนะ

จะไปสอย Victor Osimhen มาให้เอริคมั้ยล่ะ เกลเซอร์?

ถ้ายังไม่ได้ตัวนั้น ก็ปรับใช้ Rashford + Martial ไปก่อน พอจะเอาอยู่เหมือนกัน

จากกรณีแรก ให้ดูการเล่นของมาร์คัส แรชฟอร์ด ก่อนว่า ตัวเขาเองอย่างที่ผมเขียนในบทความบ่อยๆว่า ชุดทักษะที่แรชมีและถนัดนั้น แกคือกองหน้าจบสกอร์ที่เป็นตัวชิงจังหวะแบบ Poacher ชัดเจน

แต่แรชฟอร์ด เริ่มพัฒนาตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆด้วยการลงต่ำ เกมเจอน่อลคือชัดสุดๆว่า แรชลงต่ำมาทำเกมเยอะมาก จนกระทั่งเขาเป็นตัวแอสซิสต์ให้กับแอนโทนี่ ได้โจมตีจากด้านข้าง ทำประตูสำเร็จ

ภาพในเกมเจออาร์เซนอล ที่ลงต่ำมาช่วยพักบอล ต่อเกมให้เพื่อนข้างต้นนั้น คงเป็นคำตอบแล้วว่า ด็อกเตอร์กำลังเรียนรู้ และปรับตัวเข้ากับระบบเทน ฮาก อยู่ หากว่าทำได้ แรชชี่น่าจะเป็นกองหน้าที่มีความเป็น ตัวจบ และลงต่ำมาเพื่อเชื่อมเกมให้ทีมได้


แม้สกิลทักษะแรชชี่จะไม่เท่ากับมาร์กซิยาล แต่ผมว่าเรื่องความเป็น Striker หรือเพชรฆาต แน่นอนน้องแรชคมกว่าหมากชัวร์ๆ ส่วนหมากก็เก่งเรื่องเทคนิค ไอเดียการทำเกมจากริมเส้นมากกว่า ควรใช้ให้ถูกจุด

Advane Forward คือตำแหน่งในอนาคตที่อยากให้แรชฟอร์ด ไปได้ไกลมากกว่าแค่การเป็น Poacher อย่างที่เขียนระบุไว้ แต่ถ้าไปไม่ได้ ก็จงตามรอยน้ากุ้ง แล้วเป็น Poacher ที่เก่งที่สุดอีกคนนึงบนโลกนี้ให้ได้ก็พอ

2. หัวข้อต่อมา คือเรื่องของการทำเกมริมเส้น

ถ้าใครจะสังเกตดีๆ เคยกล่าวไว้แล้วเช่นกันว่า วิธีการเล่นของเราในตอนนี้ และเป็นหลักการยืน positioning ของนักเตะในสนามของเทน ฮาก ด้วยก็คือ ถ้าแบ็คข้างนึงเติมบุก อีกข้างจะรักษาตำแหน่งไว้เสมอ

ขณะนี้ เกมของแทน ฮาก มีการsetting "หลังสามเสมือน" ขณะที่ทำการ build-up ขึ้นหน้า โดยที่ไม่ได้ใช้ มิดฟิลด์ตัวต่ำลงมาเซ็ตบอลเหมือนตอนมาติชอยู่

สิ่งที่เอริคทำ ก็คือให้ตัวทีทักษะดีกว่าอย่าง ดาโลต์ ลงต่ำมาขนา ลิซ่า วาราน เป็นหลังสาม ทำให้ด้านขวาการเติมเกมหรือยืนสูง ก็จะน้อยกว่าทางซ้าย ซึ่งไทเรลล์ มาลาเซีย จะได้อิสระในการขึ้นมายืนรอรับบอลตั้งแต่จุดกึ่งกลางสนาม ขึ้นไป เพื่อรับบอล Forward Passes จากแนวหลังบ้าน

แล้วเมื่อวิงแบ็ค เติมสูงเช่นนี้ ทำให้ตัวเล่นขึงริมเส้น มีแล้ว 1 ตัวจากมาลาเซีย สิ่งที่ตามมากันอย่างเป็นระบบคือ ปีกซ้ายก็จะสามารถ cut inside และเข้าไปโจมตีสร้างสรรค์เกมได้อย่างสะดวกส์เท้า ซึ่งเข้าทางของปีกซ้ายที่ดีที่สุดของทีมอย่าง เจดอน ซานโช่ ที่สไตล์การเล่นเป็นเหมือนเพลยเมคฯริมเส้นอยู่แล้ว

มาลาเซียนี่แหละที่ทำให้เกมของซานโช่อันตรายขึ้นกว่าเดิมมาก แล้วยิ่งมีแอนโทนี่ มาปักขวา ทำให้ซานโช่ไม่ต้องกลับมายืนข้างนี้อีกเลย ซึ่งจะขาดเรื่องพลังทำลายการจบสกอร์ไป แม้จะปั้นเกมได้เหมือนกันสองฝั่งก็ตาม


มาดูซีกขวา จะเห็นได้ว่า ตำแหน่งของ ดิโอโก้ ดาโลต์ จะยืนต่ำกว่ามาลาเซียจริงๆ ในจังหวะเติมเกมขึ้นมา ก็ยังคงต่ำกว่าแผงแนวรุกสามคนอยู่ ขณะที่มาลาเซียกลายเป็น LW ไปแล้ว ณ โมเมนต์นี้

ดาโลต์จะกลายเป็น Inverted-Full Back ที่สามารถสร้างสรรค์เกมแบบคันเซโล่ได้ เวลาหุบเข้ากลางในพื้นที่ Half-space สลับกันกับ "Antony" ในรูปนี้ที่เล่นชิดริมเส้นในแอเรีย Flank ซึ่งปกติแอนโทนี่ก็จะเป็นตัวขึงริมเส้นซ้าย ของบอลเทน ฮาก ตามปกติอยู่แล้ว ก็เข้าแก๊ปกันพอดี เพราะว่า ซ้ายเรามีมาลาเซีย ขวามีแอนโทนี่ยืนชิดเส้น มันก็จะสอดรับกันที่ซ้ายขวามีตัวถ่างคู่แข่งในแนวกว้างบริเวณ Wide Area


ด้านขวาเหตุที่ดาโลต์ไม่ได้เล่นเกมริมเส้นเหมือนมาลาเซีย ก็เนื่องจากเขาต้องหุบเข้ากลาง และยืนต่ำเล็กน้อย เพื่อช่วยในภาคเซ็ตบอลนั่นแหละ พอมีแอนโทนี่เข้ามาปุ๊บ ทุกอย่างลงตัว

ดิโอโก้ ดาโลต์นี่แหละ ที่ทำให้น้องแม็คสามารถยืนปักกลางต่ำได้แบบสบายๆ เพราะมีน้องโล่ กับ คริสเตียน ช่วยงานแม็คโทมิเนย์ตลอดเวลา ยังไม่รวมมาร์ติเนซด้านหลัง และวารานที่คอยซ้อนความผิดพลาดให้อีกต่อ


... นี่คือแพทเทิร์นปัจจุบันที่เราใช้กันอยู่ จะเห็นเลยว่า นักเตะในทีมเราจะต้องใช้ความคิด เรื่องของ Shape การเล่นมากกว่าเดิมเยอะ ไม่ใช่บุกกันด้วยสัญชาตญาณอย่างเดียว

ถามว่า ที่เห็นนี้มันคือบอลเทน ฮาก เต็มสูบ100%เลยใช่ไหม? ตอบได้เลยว่า ยัง เพราะจริงๆแล้ว แบ็คขวาควรจะต้องได้ทำเกมบุกมากกว่านี้อีก เพื่อให้แอนโทนี่ ตัดเข้าในไปสร้างอันตรายเยอะกว่านี้ ปัญหาคือ มิดฟิลด์ตัวต่ำเราไม่มีตัว Conductor ที่มีความยืดหยุ่นในการ "แทนตำแหน่งแบ็ค" เวลาเติมสูง

คาเซมิโร่ก็เป็น DM แท้ ไม่ใช่ Regista ซะด้วย

ถ้าเติมขึ้นทั้งสองข้าง แล้วกลางต่ำไม่สามารถยืนแพ็คพื้นที่ที่แบ็คหลุดขึ้นไปได้ อันนี้จะมีปัญหา มันจึงเป็นเหตุเป็นผลกันง่ายๆแหละครับว่า นักเตะที่เล่นกลางต่ำในลักษณะที่เป็นตัว "Regista" รวมถึง "Half-Back สกิลสูง" จะเหมาะมากๆกับทีมที่ใช้วิงแบ็คบุกกระหน่ำได้เต็มสตรีม

ในเมื่อเราไม่มีนักเตะอย่างพวก แฟรงกี้ โรดรี้ บุสเก็ตต์ อยู่ในทีม ดาโลต์ก็จะต้องปิดทองหลังพระแบบนี้ไปก่อนด้วยการเป็นตัวรักษาพื้นที่และซัพพอร์ตปีก ตอนไหนมีจังหวะก็อาจจะสลับออกนอกได้ ถ้าแอนโทนี่ตัดเข้าใน สองคนนี้ถึงต้องพูดคุยและจูนกันเยอะๆนั่นแหละครับ


เรื่องที่อยากจะบอกคือ ระบบทีมยังห่างไกลมากกว่าจะเข้าไปสู่ Ideal Philosophy ที่เอริค เทน ฮาก ต้องการ นักเตะบางคนจึงยังต้องรอโอกาส และอยู่ช่วยทีมไปก่อน ในบางจังหวะที่ทีมต้องการ ณ โมเมนต์นั้นๆ

โดยเฉพาะนักเตะที่หลายคนกังวลอย่าง DVB ที่ตอนนี้เจ็บอยู่ คือเดี๋ยวมันก็ได้ลง เอริคเขาไม่ใช่ผู้จัดการทีมอคติอะไรขนาดนั้น แต่ที่จำเป็นกว่าคือ "ความคิด" ในการใช้งานในสิ่งที่ทีมจำเป็น มันสำคัญมากกว่า

ว่าจะใช้ใคร หรือเลือกใคร เฮดโค้ชเขารู้อยู่แล้วว่า เพราะอะไรนักเตะบางคนถึงต้องลงก่อน หรือได้ลงบ่อย ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอะไรเลย โดยเฉพาะกับเอริคที่มีethicsในการทำงานดีขนาดนั้น


แม้ทรงบอลจะยังไม่ได้อย่างที่เขาต้องการตอนนี้ก็ไม่เป็นไร เราก็ค่อยๆเชียร์กันไปทีละนัด ดีบ้างแย่บ้าง ว่ากันตาเนื้อผ้า แล้วปีหน้าค่อยรอ "Conductor" หรือไม่ก็ "Orchestrator" ได้ครับ ปีนี้ใช้ตัวปักกลางต่ำ เล่นคู่ DLP แก้ขัดไปก่อน ได้เหมือนกัน

แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งซึ่งเห็นผลมากขึ้นเรื่อยๆ คือการใช้คนได้อย่างถูกจุดของ "Erik ten Hag" ที่พาแรชฟอร์ด กลับมาเป็นผู้เป็นคนมากขึ้นได้เยอะแล้ว

ผลงานตอนนี้ไม่น่าเชื่อว่า Scott McTominay จะกลายเป็นกำลังสำคัญที่เราสามารถใช้งานเขาเล่นกลางต่ำได้แล้วจริงๆ แค่ปรับบทบาท การยืนตำแหน่ง การเล่นให้เหมาะสม โดยมีตัวแปรสำคัญคือ "คริสเตียน อีริคเซ่น" และ "ดิโอโก้ ดาโลต์" มาช่วยเขาในเรื่อง Position และ Tactic ในสนาม ทำให้แม็คโทมิเนย์ดึงศักยภาพของตัวเองมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจริงๆ

ขอบคุณเอริค เทน ฮากมากๆ

การเล่นมิดฟิลด์ตัวปักหลักหน้าแผงหลังแบบ "Anchor Man" โดยใช้ส่วนผสมบางอย่างของ Half-Back และ Box-to-Box ที่เขาเป็น เอามารวมด้วยอย่างละนิดอย่างะหน่อย เหมาะกับน้องที่สุดแล้วครับ

โคตรดีใจกับไอ้น้องแม็คจริงๆ

#BELIEVE

-ศาลาผี-


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด