:::     :::

คาร์โล อันเชล็อตติ The master of management

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
จนถึงตอนนี้ เรอัล มาดริด คือทีมเดียวใน 5 ลีกใหญ่ยุโรปที่ชนะรวดทุกนัด เทียบกับจ่าฝูงของแต่ละลีก อาร์เซน่อล,เปแอสเช,อูนิโอน เบอร์ลิน,นาโปลี ที่แม้กำลังขึ้นนำในลีกของตัวเอง แต่ก็ต่างเสียแต้มกันหมดแล้ว

จาก ลา ลีกา สู่ พรีเมียร์ลีก,กัลโช่ เซเรีย อา,บุนเดสลีกา จนถึง ลีก เอิง ผลงานชนะรวดทุกนัดในลีก หมายความว่า เรอัล มาดริด กำลังยืนเหนืออีก 97 ทีมใน 5 ลีกใหญ่ของยุโรป 

และหากรวมผลงานในเวทียุโรป ทั้ง ยูฟ่า ซูเปอร์คัพ และ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก เท่ากับทีมเก็บชัยชนะรวด 9 นัดในเกมอย่างเป็นทางการของฤดูกาล 2022-23 

เหตุผลสำคัญที่ช่วยให้  ’โลส บลังโกส’ บินสูงอยู่ในเวลานี้ นอกเหนือจากการทำงานเบื้องหลังอันเข้มข้นของ อันโตนิโอ ปินตุส โค้ชความฟิตแล้ว ฉากหน้าก็คือการบริหารจัดการของ คาร์โล อันเชล็อตติ 

อันเชล็อตติ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดเทรนเนอร์แห่งยุค ไม่เพียงแค่ด้านแท็คติก และการเอาชนะใจนักเตะในทีมเท่านั้น หากแต่หนึ่งในจุดแข็งของเขาซึ่งได้รับการยกย่องอย่างสูงว่าอยู่ในขั้น master ก็คือ ‘การบริหารจัดการ’ 



ฤดูกาลที่แล้วซึ่งเป็นการคัมแบ็กคำรบ 2 อันเชล็อตติ ถูกวิจารณ์บ่อยครั้งว่าไม่ค่อยโรเตชั่น

ทีมเท่าไหร่นัก ทั้งๆที่นักเตะแกนหลักหลายคนอายุเลข 3 นำหน้า จนมีความกังวลว่าอาจส่งผลเสียในช่วงบั้นปลายของฤดูกาล 

เดือนกุมภาพันธ์อันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งทีมมีโปรแกรมสำคัญลงเล่นติดๆกัน ทั้ง ลา ลีกา , ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก และ โกปา เดล เรย์ ปรากฏว่า มาดริด ฟอร์มตก ! 

ทีมออกสตาร์ทด้วยการ แพ้ แอธ.บิลเบา 0-1 ในโกปา เดล เรย์ รอบ ควอเตอร์ไฟนั่ล เลกแรก,เฉือนชนะ กรานาด้า หืดจับ 1-0 จากนั้นเสมอ บียาร์เรอัล แบบโนสกอร์  ก่อนที่ 15 ก.พ. จะออกไปแพ้ เปแอสเช ที่ ปาร์ค เดอส์ แปรงส์ 0-1 ใน ชปล. รอบ 16 ทีม เลกแรก 

ผลพวงจากผลงานที่ย่ำแย่ อันเชล็อตติ จึงถูกจี้ประเด็นเรื่องการโรเตชั่น สื่อพยายามบอกว่าเขาคิดผิดในเรื่องนี้ 

มีการสำรวจว่ามีนักเตะมากถึง 9 รายในทีมที่มีเปอร์เซนต์ลงเล่นต่ำกว่า 30% 


อาซาร์ ได้ลงเล่น 887 นาที คิดเป็น 27%

กามาวินก้า เล่น 858 คิดเป็น 26%

มาร์เซโล่ เล่น 551 นาที คิดเป็น 16%

ลูก้า โยวิช เล่น 473 นาที คิดเป็น 14%

อิสโก้ เล่น 342 นาที คิดเป็น 10%

แกเร็ธ เบล เล่น 270 นาที คิดเป็น 8%

อังเดร ลูนิน เล่น 210 นาที คิดเป็น 6% 

มาเรียโน่ เล่น 178 นาที คิดเป็น 5%

ดานี่ เซบายอส เล่น 65 นาที คิดเป็น 2% 


จากตัวเลขที่ปรากฏกับนักเตะทั้ง 9 เรียกได้ว่าตั้งแต่ออกสตาร์ซีซั่น 2021-22 อันเชล็อตติ แทบจะไม่โรเตชั่นทีมเลย บางช่วง ทีมลงเล่น 2 นัด มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นแค่ 2 คนเท่านั้น 

ผลงานที่ตกต่ำนำมาสู่การวิจารณ์ แต่สุดท้ายแล้วก็กลายเป็นคนที่นักวิจารณ์ที่หน้าหงาย เมื่อ อันเชล็อตติ นำ เรอัล มาดริด คว้าแชมป์ ลา ลีกา,ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก และ ซูเปร์โกปา เด เอสปันญ่า (รายการนี้แข่งในเดือนมกราคม) มาครอง 




เช่นนี้แล้ว สามารถพูดได้หรือไม่ว่า “การเชื่อมั่นในผู้เล่นชุดหลัก การไม่โรเตชั่นทีม คือกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ ?”  

ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะถูกต้องนักและดูง่ายเกินไปที่จะตีกรอบแนวทางการทำงานของกุนซืออย่าง อันเชล็อตติ โดยเฉพาะหากว่าดูจากการทำงานของเขาในปีนี้ 


จากฤดูกาลก่อนที่แทบจะไม่โรเตชั่นเลย มาฤดูกาลปัจจุบัน ปรากฏว่าทุกอย่างเปลี่ยนไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว 

กูร์กตัวส์,การ์บาฆาล,มิลิเตา,อลาบา,เมนดี้,กาเซมีโร่,โครส,โมดริช,บัลเบร์เด้,เบนเซม่า และ วินิซิอุส คือ 11 คนแรกที่ อันเชล็อตติ ส่งลงเล่นในรายการยูฟ่า ซูเปอร์คัพ กับ ไอน์ทรัค แฟร้งเฟิร์ต อันถือว่าเป็นเกมอย่างเป็นทางการนัดแรก เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 


จากนั้น ในอีก 8 เกมต่อมา เรอัล มาดริด ก็ไม่เคยหยุดโรเตชั่นทีมเลย ไม่ว่าจะในแชมเปี้ยนส์ลีก หรือ ลา ลีกา อันเชล็อตติ เปลี่ยน 11 คนแรกทุกเกม ! 

ไม่มีเกมไหนที่กุนซืออิตาเลี่ยนใช้ผู้เล่น 11 คนแรกซ้ำกันเลย และจาก 8 เกมที่ว่านี้นับการโรเตชั่นได้ถึง 31 ตำแหน่งด้วยกัน ไล่เรียงตามลำดับเกมที่ 2 ถึง 9 คือ 5 ตำแหน่ง,4 ตำแหน่ง,3 ตำแหน่ง,4 ตำแหน่ง,2 ตำแหน่ง,5 ตำแหน่ง,5 ตำแหน่งและ 3 ตำแหน่ง


จากตัวเลขข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีถึง 3 เกมที่ อันเชล็อตติ โรเตชั่นทีมถึง 5 ตำแหน่งคือในเกมกับ อัลเมเรีย,เรอัล มายอร์ก้า และ ไลป์ซิก 

การโรเตชั่นทีมของ อันเชล็อตติ นั้นส่งผลดีกับทีมใช่หรือไม่ ? 


ถึงตรงนี้คงต้องบอกว่า “ได้ผลดีเยี่ยม” ทีมเก็บชัยชนะรวดทุกนัด นักเตะเล่นด้วยความเข้มข้นในทุกเกม และลดอัตราส่วนความเป็นไปได้ที่จะบาดเจ็บลง 

จนถึงตอนนี้ อันเชล็อตติ ใช้งานนักเตะไปแล้ว 21 ราย มีเพียง อันเดร ลูนิน,เฆซุส บาเยโฆ และ อัลบาโร่ โอดริโอโซล่า เท่านั้นที่ยังไม่มีส่วนร่วมกับเกมการแข่งขัน 

ทั้งนี้จุดนึงที่ทำให้ อันเชล็อตติ โรเตชั่นทีมในทุกนัด ส่วนนึงมาจากคุณภาพของนักเตะใหม่ที่เข้ามา 

ในแผงกองหลัง จากการเข้ามาของ อันโตนิโอ รือดิเกอร์ ช่วยให้ อันเชล็อตติ สามารถจับคู่เซนเตอร์ฮาล์ฟได้ถึง 8 รูปแบบ ส่งผลให้แผงแบ็กโฟร์มีความหลากหลาย ใช้งานได้ตามจุดประสงค์ 




สำหรับในส่วนนี้ผู้เล่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดมีทั้งสิ้น 4 รายคือ การ์บาฆาล,มิลิเตา,อลาบา และ เมนดี้ ได้ลงเล่นคนละ 5 เกม 

เฉกเช่นเดียวกับแผงกองกลาง การเข้ามาของ อูเรเลียง ชูอาเมนี่ ช่วยให้ อันเชล็อตติ สามารถจัดแผงกลางได้หลายรูปแบบ ซึ่ง formation : ชูอาเมนี่-โมดริช-กามาวินก้า กับ ชูอาเมนี่-โมดริช-โครส เป็นชุดแผงกลางที่ถูกใช้งานมากที่สุดชุดละ 4 ครั้ง 


การโรเตชั่นอย่างจริงจังในฤดูกาลนี้ของ อันเชล็อตติ ได้รับคำชมจากสื่อว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ทีมมีผลงานยอดเยี่ยมอยู่ในเวลานี้ และจะส่งผลดีต่อการเล่นตลอดทั้งฤดูกาลที่มีฟุตบอลโลกที่ กาตาร์ คั่นกลาง 


แต่หากเรานำไปเปรียบเทียบกับการทำงานของ อันเชล็อตติ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงเมื่อฤดูกาลที่แล้ว ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนถึงความแตกต่าง 

ข้อสังเกตนึงคือ 9 แข้งที่ถูกใช้งานน้อยมากเมื่อฤดูกาลก่อน มี 4 คนที่ถูกปล่อยออกไปแล้ว และ 3 คนที่สถานการณ์ยังเหมือนเดิม มีเพียงแค่ เซบายอส กับ กามาวินก้า ที่ถูกใช้งานมากขึ้น 


จุดนี้บ่งบอกชัดเจนว่า อันเชล็อตติ ไม่ใช่เทรนเนอร์ที่ชอบการโรเตชั่นหรือไม่ชอบ แต่เป็นเทรนเนอร์ที่มองทีมตัวเองอย่างทะลุปรุโปร่ง 

เขารู้ว่าทีมต้องการอะไร มีอะไรและขาดอะไร ถึงไม่ 100% แต่ก็ใกล้เคียง 

ความเหนือชั้นของการบริหารจัดการทีมของ อันเชล็อตติ ที่ได้รับการยกย่องอย่างมาก นั้นก็คือ

“ไม่เคยมีหลักตายตัว ทุกอย่างสามารถปรับเปลี่ยนได้หมด” 

นี่จึงเป็น The master of management ตัวจริงเสียงจริง 


เจมส์ ลา ลีกา 


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด