:::     :::

สนามในฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 คอลัมน์ Zero to Hero โดย บังคุง
1,671
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
เปิดฉากกันไปแล้ว

สำหรับฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย นอกจากนักฟุตบอล และผลการแข่งขันแล้ว เรื่องของสนามถือว่าน่าสนใจไม่แพ้กัน 


ช่วงนี้ เราจะพาไปทำความรู้จักกับ 8 สนามที่เจ้าภาพอย่างกาตาร์ เตรียมเอาไว้ บอกเลยว่า เต็มไปด้วยความยิ่งใหญ่ และความอลังการ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เราลองไปไล่ดูกันเลย 

สนามลูเซล สเตเดี้ยม : ความจุ 80,000 คน / แข่งขัน 10 เกม (รวมพิธีปิด)

แข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม 6 เกม, รอบ 16 ทีมสุดท้าย, รอบ 8 ทีมสุดท้าย, รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศ อย่างละ 1 เกม


สนามที่มีความจุมากที่สุด ในฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย โดยใช้ในการทำพิธีปิด และแข่งขันในนัดชิงชนะเลิศด้วย 

สนามถูกออกแบบโดยบริษัทฟอสเตอร์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ ส่วนจุดเด่นของสนามคือ ออกแบบโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากแสง และเงา ที่เกิดจากไฟตะเกียง ตามสไตล์ของชาวอาหรับ เมื่อการแข่งขันเวิลด์ คัพ จบลง ที่นั่งส่วนใหญ่จะถูกรื้อออกพร้อมกับบริจาคให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาต่างๆ เนื่องจากทางเมืองลูเซล ไม่ต้องการสนามฟุตบอลเป็นของตัวเอง รวมถึงสิ่งอื่นนอกจากเก้าอี้ จะมาใช้ในวัตถุประสงค์อื่น เช่นการทำพื้นที่ชุมชนที่มีร้านค้า, สนามกีฬา, สถานศึกษา, คลินิกสุขภาพ

สนามอัล บายต์ สเตเดี้ยม : ความจุ 60,000 คน / แข่งขัน 9 เกม (รวมพิธีเปิด)

แข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม 6 เกม, รอบ 16 ทีมสุดท้าย, รอบ 8 ทีมสุดท้าย, รอบรองชนะเลิศ อย่างละ 1 เกม


หนึ่งในสนามที่มีความจุมากที่สุด ในฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย โดยใช้ในการทำพิธีเปิด ระหว่างเจ้าภาพกาตาร์ กับทีมชาติเอกวาดอร์ สนามแห่งนี้ ถูกออกแบบจากดาร์ อัล-ฮานดาซาห์แน่นอนว่า จุดเด่นที่เห็นชัด คือการออกแบบโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก โครงสร้างที่ดูเหมือนกับเต็นท์แบบดั้งเดิมของชาวอาหรับ หรือตามที่คนท้องถิ่นเรียกกันว่าบายต์ อัล ชาร์หลังคาสามารถเปิด-ปิดได้ สามารถช่วยเรื่องการป้องกันความร้อนได้เป็นอย่างดี ภายในประกอบด้วยโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว พร้อมแหล่งช้อปปิ้งอีกด้วย

สนามเอดูเตชั่น ซิตี้ สเตเดี้ยม : ความจุ 45,350 คน / แข่งขัน 8 เกม

แข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม 6 เกม, รอบ 16 ทีมสุดท้าย และรอบ 8 ทีมสุดท้าย อย่างละ 1 เกม


โลเคชั่นของสนาม ตั้งอยู่ที่ในเขตมหาวิทยาลัยหลายแห่งของมูลนิธิกาตาร์ โดยเอกลักษณ์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน นั่นก็คือการออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปทรงของเพชร จนสนามได้รับการยกย่องว่าเพชรแห่งทะเลทรายนอกจากนี้ สนามยังเปล่งแสงระยิบระยับ ทั้งกลางวัน และกลางคืน อีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก นั่นคือสนามเอดูเตชั่น ซิตี้ สเตเดี้ยม ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุอุปกรณ์สีเขียวประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และเป็นหนึ่งในสนามที่มีความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในโลกอีกด้วย 

สนามกีฬาแห่งชาติ คาห์ลิฟา : ความจุ 45,416 คน / แข่งขัน 8 เกม

แข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม 6 เกม, รอบ 16 ทีมสุดท้าย และรอบชิงอันดับ 3 อย่างละ 1 เกม


นี่ถือเป็นสนามเก่าแก่ของกาตาร์ ถูกเปิดใช้งาน ตั้งแต่ปี 1976 ก่อนปรับปรุงครั้งใหญ่ในปี 2017 เพื่อต้อนรับฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย ถือเป็นสนามเพียงแห่งเดียวที่เปิดใช้งาน ก่อนที่กาตาร์ ถูกประกาศว่าจะได้เป็นเจ้าภาพ โดยก่อนหน้านี้ สนามถูกใช้แข่งขันในรายการสำคัญ เช่น เอเชี่ยน เกมส์, กัลฟ์ คัพ และเอเอฟซี เอเชี่ยน คัพ รวมถึงจัดการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก เมื่อปี 2019 ขณะที่โลเคชั่นของสนาม ตั้งอยู่ห่างจากกลางกรุงโดฮา ออกไปประมาณ 8 ไมล์ แม้เป็นสนามเก่า แต่โครงสร้างถือว่าดูตามสมัยเอามากๆ 

สนามอาห์หมัด บิน อาลี : ความจุ 44,740 คน / แข่งขัน 7 เกม

แข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม 6 เกม และรอบ 16 ทีมสุดท้าย 1 เกม


สนามถูกออกแบบโดยบริษัทเรมโบลล์ การสร้างได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราว และวัฒนธรรมต่างๆของกาตาร์ ทั้งสัตว์ป่า, การค้าขาย และเนินทราย หากเจาะลึกลงไป ด้านหน้าของสนามนั้น ปรากฏรูปแบบที่ซับซ้อน ที่พัฒนาจากชีวิตในป่าเขา ไล่มาจนมาถึงประวัติศาสตร์แห่งการค้า การก่อสร้าง ผ่านวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่ เป็นการนำเอาชิ้นส่วนของสนาม อาหมัด บิน อาลี สเตเดี้ยม ที่ถูกรื้อออก นำกลับมาใช้ใหม่ ถือเป็นการรักษ์โลก และมีการเปิดทดลองใช้สนามเมื่อ 18 ..2020 ซึ่งตรงกับช่วงวันชาติของกาตาร์

สนามอัล จานูบ : ความจุ 40,000 คน / แข่งขัน 7 เกม

แข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม 6 เกม และรอบ 16 ทีมสุดท้าย 1 เกม


จุดเด่นของสนาม ออกแบบโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการล่องเรือใบอย่างเรือโดว์ซึ่งเป็นเรือโบราณของกาตาร์ ที่ควบคู่กับเมืองท่าชายฝั่งมาอย่างยาวนาน ถือเป็นสนามที่เต็มไปด้วยความทันสมัย และเป็นหน้าเป็นตาของเจ้าภาพในครั้งนี้ โครงสร้างหลังคาที่เลื่อนเปิด-ปิดได้ และนวัตกรรมระบบทำความเย็นในสนาม ราวกับติดแอร์ไว้ทั่วสนาม ทำให้จัดงาน หรือการแข่งขันกีฬาได้ตลอดทั้งปี หลังจบการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 จะมีการนำเก้าอี้ 20,000 ตัว ออกไปบริจาค เช่นเดียวกับสนามลูเซล 

สนาม สเตเดี้ยม 974 : ความจุ 40,000 คน / แข่งขัน 7 เกม

แข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม 6 เกม และรอบ 16 ทีมสุดท้าย 1 เกม


จุดเด่นของสนาม ถูกออกแบบโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 974 ตู้มาวางเรียงต่อๆกันไป ตัวเลขดังกล่าว เป็นที่มาของชื่อสนามแห่งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกของการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้ายอีกด้วย ที่สนามถูกสร้างจากตู้คอนเทนเนอร์ พร้อมโครงสร้างส่วนต่างๆ ที่สามารถรื้อถอนอย่างง่ายดาย หลังจบศึกฟุตบอลโลก แน่นอนว่า เป้าหมายของการสร้างสนาม นั่นคือใช้วัสดุอุปกรณ์น้อยชิ้นมากที่สุด เท่าที่จะสามารถทำได้ การออกแบบ ช่วยลดต้นทุน, เวลา และวัสดุในการก่อสร้าง เนื่องจากเป็นตู้คอนเทนเนอร์รีไซเคิล ฝ่ายจัดการแข่งขันบอกว่า การdjvสร้างสนามแห่งนี้ ช่วยลดการใช้น้ำมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการก่อสร้างสนามกีฬาทั่วไป ตู้คอนเทนเนอร์ถูกวางตำแหน่งกระจายอยู่รอบสนามแข่งขัน ถูกดัดแปลงมาเป็นร้านขายของ, ห้องน้ำ รวมถึงห้องชมการแข่งขันแบบวีไอพี นอกจากนี้ ตัวเลข 974 ยังสื่อถึงรหัสโทรศัพท์ทางไกลของกาตาร์ อีกด้วย 

สนามอัล ทูมามา : ความจุ 40,000 คน / แข่งขัน 8 เกม 

แข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม 6 เกม, รอบ 8 ทีมสุดท้าย และรอบ 16 ทีมสุดท้าย อย่างละ 1 เกม


จุดเด่นของสนาม ถูกออกแบบโดยสำหนักวิศวกรรมอาหรับ โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากหมวกสไตล์อาหรับของผู้ชาย หรือที่คนท้องถิ่นเรียกกันว่ากาบิเยาะห์เมื่อเห็นรูปทรงของสนามแห่งนี้ แฟนบอลจะนึกถึงหมวกดังกล่าวทันที นี่คือสังเวียนฟุตบอลโลกแห่งแรก ที่ถูกออกแบบโดยสถาปนิกชาวกาตาร์ นั่นคืออิบราฮิม อัล ไจดาห์หลังเสร็จสิ้นภารกิจฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย เก้าอี้ของสนามครึ่งหนึ่งจะถูกบริจาคให้ประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนั้น ภายนอกของสนามยังมีมัสยิด และโรงแรมอีกด้วย 

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด