:::     :::

"หนี้ผ่อน307ล้าน" / ขายก่อนซื้อ / และ "UCL" ที่สำคัญมากกับแมนยูไนเต็ด

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2566 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
5,260
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ตลาดมกราคมและซัมเมอร์ของเทน ฮาก จะเป็นงานยากที่ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดด้วยกฎใหม่ของยูฟ่า แมนยูต้องเจอกับกฎเรื่องอะไรบ้าง หนี้ก้อน 307ล้านคืออะไร, เราต้องขายแฮรี่ แมกไกวร์จริงๆหรือ? ทุกอย่างมีคำตอบ

รายงานของ Tier 1 อย่าง James Ducker ได้ออกมาเปิดเผยถึงรายได้และการเสริมทัพของแมนยูไนเต็ดเอาไว้ในบทความฉบับเต็มที่ลงไว้ใน The Telegraph ดังนี้ว่า Manchester United จะต้องเข้าไปเล่นใน Champions League ฤดูกาลหน้าให้ได้ และจะต้องระดมทุนจากการขายนักเตะออกจากทีมเท่านั้น หากว่าเอริค เทน ฮาก ต้องการจะเซ็นนักเตะเป้าหมายที่เป็นมิดฟิลด์ หรือ กองหน้าที่เขาต้องการในซัมเมอร์นี้ ถึงแม้ว่าเกลเซอร์จะขายสโมสรแล้วก็ตาม

โดยเอริคนั้นต้องการกองหน้าระดับท็อปเช่นพวกแฮรี่ เคน, เบนจามิน เซสโก้ หรือ วิคเตอร์ โอซิมเฮนเข้ามาเสริมทีม โดยพวกเขาเหล่านี้อยู่ในข่ายเสริมทัพอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็ต้องการมิดฟิลด์ชั้นแนวหน้าเข้ามาเสริมทีมด้วยเช่นแฟรงกี้ เดอ ยอง หรือ จู๊ด เบลลิ่งแฮม

แต่ทางเทเลกราฟเข้าใจว่าแม้จะมีการเปลี่ยนมือเจ้าของสโมสรก็ตาม มันจะไม่เปลี่ยนแปลงงบประมาณเสริมทัพมากนัก ถ้าหากว่าทีมยังไม่ได้กลับไปเล่นแชมเปี้ยนส์ลีก ซึ่งดูจะมีความสำคัญมากกว่าที่ผ่านมา รวมถึงการขายนักเตะออกไปด้วย

เอริคอาจต้องเลือกระหว่างกองหน้ามีชื่อ หรือ มิดฟิลด์เข้ามาเท่านั้น เนื่องจากผลของกฎใหม่เรื่องความยั่งยืนทางการเงินของยูฟ่า และเงินอีก 307ล้านปอนด์ที่ยังอยู่ในระหว่างการชำระจ่ายค่าตัวนักเตะเป็นงวดอีก

เกมวันเสาร์นี้หากยูไนเต็ดเก็บแต้มเอาชนะแมนซิตี้ในวันเสาร์นี้ได้ หรือรวมถึงอาร์เซนอลในวันอาทิตย์สัปดาห์ถัดไป อาจทำให้พวกเขาได้ลุ้นแชมป์ขึ้นมาบ้าง แต่กฎใหม่เรื่องความยั่งยืนทางการเงินของยูฟ่า รวมถึงหนี้ชำระค่าตัวนักเตะที่มีอยู่ อาจจะทำให้งานของเทน ฮาก ในการจบท็อปโฟร์นั้นยากขึ้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องปล่อยตัวนักเตะบางคนอย่างเช่น แฮรี่ แมกไกวร์, อารอน วานบิสซาก้า เฟร็ด หรือ ดอนนี่ ฟานเดอเบค

หรือใครสักคนที่ปล่อยออกไปแล้วจะได้เงินกลับมาใช้จ่ายต่อได้ ซึ่งเทน ฮากอาจจะยังอยากได้แบ็คขวาเข้ามาด้วย

การออกจากสโมสรไปของคริสเตียโน่ โรนัลโด้ ในช่วงพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทำให้ตัวเลือกในแนวรุกของเทน ฮาก ลดน้อยลง แต่ผู้จัดการทีมก็เบนเป้ามาสู่กองหน้าที่ราคาไม่แพงมาก และยืมตัวมาได้สำเร็จอย่าง Wout Weghorst ด้วยปัจจัยที่ค่อนข้างบีบบังคับมาก เพราะเนื่องจากว่าซัมเมอร์ที่ผ่านมา สโมสรเซ็นนักเตะมาด้วยเงินถึง 200ล้านปอนด์แล้วกับการเซ็นนักเตะใหม่เข้ามาถึงหกคน

การจะไม่ได้ไปแชมเปี้ยนส์ลีกติดต่อกันสองปี อาจทำให้สโมสรสูญเงินไปได้อีก 30% ซึ่งคิดเป็นเงินตกราว 22.5ล้านปอนด์ จากรายรับ75ล้านปอนด์ต่อปี ที่ได้จากซัพพลายเออร์ชุดแข่งอย่างอาดิดาส ถึงแม้ผลดังกล่าวจะกระจายไปสู่สองปีสัญญาที่เหลือในดีลนี้ก็ตาม

กฎใหม่ในการควบคุมมูลค่าทีมที่นำมาใช้เมื่อมิถุนายนที่แล้วของยูฟ่านั้น สโมสรจะถูกจำกัดการใช้จ่ายเงินให้อยู่เพียงแค่ 70% จากรายได้ทั้งหมดในการขายนักเตะ, เงินค่าเหนื่อยนักเตะและโค้ช รวมถึงค่านายหน้า ซึ่งจะเริ่มใช้ในฤดูกาล 2025/26 โดยซีซั่นนี้จะยังเป็น 100% อยู่ ก่อนที่ซีซั่นหน้าจะดรอปลงไปเหลือ 90% จากรายได้ดังกล่าว และค่อยๆลดต่อเนื่องไปยังปี 2024/25 อยู่ที่ 80% ก่อนที่อีกสองปีข้างหน้าจะเป็น 70% เพราะสหพันธ์ฟุตบอลยุโรปต้องการที่จะจำกัดค่าเหนื่อยนักเตะ และลดอัตราเงินเฟ้อของค่าตัวนักเตะที่เกิดขึ้น

ส่วนหนึ่งในเรื่องของมาตรการด้านการเงินนี้ รายได้สโมสรจะถูกคิดมาจากการดำเนินงานต่างๆของสโมสรบวกกับการขายนักเตะ ในขณะที่ยูฟ่าก็ใช้ค่าเสื่อมของนักเตะเข้ามาคิดด้วย โดยนำราคาค่าตัวนักเตะกระจายตามความยาวของระยะสัญญานักเตะนั้นๆเพื่อจะคำนวณว่าสโมสรใช้จ่ายไปเท่าใดกันแน่

โดยยูไนเต็ดนั้นคาดการณ์ว่ามีรายได้อยู่ที่ราว 590-610ล้านปอนด์ในฤดูกาลนี้ ขึ้นมาจาก 583ล้านปอนด์ในซีซั่น 2021/22 และตัวเลขนี้จะเพิ่มมากขึ้นไปอีกหากปีหน้าได้กลับไปเล่นUCLอีกครั้ง

แต่ถ้าไม่ได้ไปUCL ยูไนเต็ดจะประสบปัญหาหนักมากสำหรับเอริค เทน ฮาก ที่ต้องการจะเสริมทีม ยูไนเต็ดอาจจะจำเป็นต้องขายให้ได้ราคาเน้นๆในซัมเมอร์นี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มักจะล้มเหลวอยู่บ่อยครั้งในช่วงหลังยุคเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (จริงๆยุคป๋าก็ขายขาดทุนอยู่แล้วแหละ -ผู้แปล) เนื่องมาจากกฎเรื่องต้นทุนนักเตะดังกล่าวของยูฟ่า และกระแสการเงินที่ฝืดเคืองจากเงินก้อนที่ยังคงอยู่ระหว่างการผ่อนชำระค่าตัวนักเตะ ที่ตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ 307ล้านปอนด์นั่นเอง

หากไม่เช่นนั้นแล้ว เอริค เทน ฮาก ก็อาจจะจำเป็นต้องเลือกซื้อกองหน้ามาก่อน แทนที่เขาจะได้ตัวที่ต้องการอย่างแฟรงกี้ เดอ ยอง ที่เอริคพยายามล่าลายเซ็นมาตั้งแต่ปีที่แล้วจากบาร์ซ่า และตอนนี้ก็ยังคงต้องการตัวอยู่

(พูดในกรณีที่หลังจากที่ยืมเว็กฮอร์สเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอริคก็ต้องตัดสินใจลงทุนซื้อกองหน้ามาอยู่ดี ซึ่งก็อาจเป็นซื้อขาดเว็กฮอร์ส หรือเป็นกองหน้าตัวอื่นนั่นเองในบริบทนี้)

ในกรณีของการขายนักเตะของขาออกนั้น ถ้ายูไนเต็ดขายกัปตันอย่างแฮรี่ แมกไกวร์ได้สักครึ่งหนึ่งของราคาที่ซื้อมา 80ล้านปอนด์ในช่วงปี 2019, เฟร็ดสัก 30ล้าน และ แบ็คขวาอย่าง AWB อีก20ล้านปอนด์ นั่นจะเท่ากับกำไรจากการขายผู้เล่น 50ล้านปอนด์เมื่อนำไปคำนวณในบัญชีค่าใช้จ่าย ยกตัวอย่างแมกไกวร์ที่ยังเหลืออีกสองปีในสัญญา 6 ปีของเขา มูลค่านักเตะจะเท่ากับ 26.67 ล้านปอนด์ตามที่ยังเหลือสัญญาอยู่ ถ้าหากว่าสามารถขายออกได้นราคา 40ล้านปอนด์ นั่นอาจแปลงเป็นกำไรจากการคิดค่าเสื่อมได้ราวๆ 13.33ล้านปอนด์ เป็นต้น

เมื่อฤดูกาลที่แล้วยูไนเต็ดจ่ายเงินซื้อนักเตะ,ค่าเหนื่อย และค่านายหน้าทั้งหมดประมาณแล้วน่าจะมากกว่า 80% ของมูลค่าการขายนักเตะออกบวกกับกำไรต่างๆของสโมสร ซึ่งรายรับของรายได้อยู่ที่ 583.2ล้านปอนด์ บวกกับกำไรขายนักเตะ 21.9ล้านปอนด์ ทำให้ total ตรงนี้เท่ากับ 583.2+21.9 = 605.1ล้านปอนด์

แต่มีค่าเสื่อมราคาของนักเตะ (เงินที่ถูกหักออกไปจากราคาแรกซื้อของนักเตะ) อยู่ที่ 151.5ล้านปอนด์, ค่านายหน้า 29ล้านปอนด์, เงินค่าจ้างนักเตะกับโค้ช คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของบิลค่าจ้าง 384.2 ล้านปอนด์ ซึ่งในนี้รวมค่าชดใช้การปลดโอเล่ กุนนาร์ โซลชา และราล์ฟ รังนิคแล้ว

(สรุปง่ายๆว่า ปีที่แล้ว ratio ของรายรับกับรายจ่าย แมนยูใช้จ่ายเงินเกิน 80%ของรายได้รวมเมื่อปีก่อนนั่นเอง -ผู้แปล)

ด้วยรายได้ที่คาดการณ์ว่าน่าจะสูงขึ้นในซีซั่นนี้ และบิลค่าเหนื่อยที่ลดลงจากการจากไปของคริสเตียโน่ โรนัลโด้ในช่วงกลางฤดูกาล และค่าเหนื่อยนักเตะที่ลดลงเนื่องจากไม่ได้ไปเล่นแชมเปี้ยนส์ลีก ทำให้ ratio ระหว่างรายรับและรายจ่ายมันดรอปตามลงมา

แต่เนื่องด้วยการมีหน้าต่างซื้อขายที่ทำการขายออกได้ย่ำแย่ในปีนี้ อาจส่งผลให้แพลนของเทนฮากที่จะเสริมทีมนั้นเจอผลกระทบอย่างรุนแรงพอสมควร เนื่องจากยูฟ่านั้นรัดเข็มขัดสัดส่วนการซื้อขาย (ratio ที่ซื้อได้ไม่เกิน 70%ของรายได้) เริ่มตั้งแต่ซีซั่นหน้าเป็นต้นไป

โดยแมนยูนั้นมีรายได้เพิ่มขึ้นมา 61% นับตั้งแต่เฟอร์กี้รีไทร์ไปในปี 2013 แต่ค่าเหนื่อยพุ่งสูงทะลุขึ้นมา 113% และค่าเสื่อมราคาการซื้อขาย (transfer fee amortisation) อีก 263%

อย่างไรก็ตาม คู่แข่งในพรีเมียร์ลีกของยูไนเต็ดอย่างอาร์เซนอล และเชลซี ที่ใช้จ่ายหนักมากเหมือนกัน แต่รายรับน้อยกว่ายูไนเต็ดนั้น อาจจะเจอความกดดันเรื่องการรัดเข็มขัดด้วยกฎของยูฟ่านี้เข้าไปอีก ยูไนเต็ดนั้นยังมีแนวโน้มที่ดีที่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยการจ่ายค่าเหนื่อยที่สูงกว่า และอัตราสัดส่วนรายได้ที่ดีกว่าทีมอื่นๆภายในประเทศ รวมถึงคู่แข่งในทวีปด้วย

ยูไนเต็ดนั้นพยายามซัพพอร์ตกฎข้อบังคับดังกล่าว และสนับสนุนความสำคัญของกฎความเท่าเทียมทางการเงิน (FFP)ที่จะบังคับใช้ทั่วยุโรป เชื่อว่าสโมสรสามารถทำให้งบดุลเป็นบวกได้ในบัญชีรายรับรายจ่าย ยังเป็นข้อได้เปรียบคู่แข่งชั้นนำอีกหลายที่อาจทำให้เราสามารถที่จะขาดดุลได้โดยยังไม่ผิดกฎข้อบังคับของยูฟ่า

เว็กฮอร์สเป็นดีลยืมตัวที่จะเข้ามาช่วยในช่วงครึ่งซีซั่นนี้ก่อนที่ยูไนเต็ดจะหาตัวแทนแบบถาวรเพื่อแทนที่CR7ในช่วงซัมเมอร์ที่จะถึง รายชื่อนักเตะก็จะยังมีพวกเคน โอซิมเฮน หรือเซสโก้ที่อยู่ในข่ายการจับตามองต่อไป

ทั้งหมดด้านบนนี้มาจากบทความ Erik ten Hag wants a striker and midfielder – but Manchester United face summer transfer dilemma ของ James Ducker

คำถามต่อนักอ่านอย่างเราๆท่านๆ อ่านแล้วรู้สึกอะไรบ้างจากบทความนี้ ผู้เขียนลิสต์สรุปมาให้แบบคร่าวๆได้ดังนี้

1.ทำให้เราเห็นว่ากฎดังกล่าวมันใกล้ตัวเราเข้ามาทุกที และยูไนเต็ดก็อยู่ในข่ายที่ต้องปฏิบัติตามด้วย โดนกันหมดไม่ว่าจะทีมระดับบาร์ซ่า หรือทีมเล็กทีมน้อยต่างๆในลีกรอง ถ้าอยู่ในสังกัดยูฟ่าก็ต้องปฏิบัติตามหมด

2.ยูไนเต็ดยังเป็นทีมที่มีค่าจ้างสูง งบประมาณซื้อขายนักเตะที่สูงได้อยู่ เนื่องจากว่า "รายรับยังเยอะอยู่" แน่นอนจากที่รายงานนี้และหลายๆบทความยืนยันตรงกันว่า รายรับแมนยูมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นๆ (เกลเซอร์มันก็ถึงไม่ค่อยอยากปล่อยไง)

พอรายรับเยอะ เราก็สามารถใช้กฎดังกล่าวในการใช้จ่ายได้ 70% ของรายรับจากสโมสรและเงินขายนักเตะได้ ซึ่งของเราเงินขายนักเตะจะได้ไม่ค่อยเยอะมากตั้งแต่ยุคป๋าแล้ว ดีลเดียวที่เห็นว่ากำไร(กำไรแต่เฉพาะด้านเงินน่ะสิ) ก็คือดีล 80ล้านปอนด์ของคริสเตียโน่ โรนัลโด้ ที่ขายให้เรอัล มาดริดนั่นแหละ

ปัญหาเรื่องขายนักเตะได้ไม่แพงจะหมดไป ถ้า

2.1 บอร์ดและทีมงานซื้อขายเคี่ยวๆหน่อย ไม่ปล่อยแบบโดนกดราคา

2.2 ปั้นขายบ้างก็ได้แบบAjax เรามีมือโปรเรื่องปั้นเด็กอยู่ที่นี่แล้ว (ฮา)

เอ้า นี่เรื่องจริง

3.ตัวเลือกเงินผ่อนค่าตัวนักเตะที่รอบบัญชีล่าสุดยังเหลือ 307ล้านปอนด์ เนื้อๆเน้นๆก็มาจากสองดีลโหดอย่างซานโช่ กับ อันโตนี่นั่นเอง แต่ตัวอื่นๆก็แพงใช่ย่อยเหมือนกัน คาเซมิโร่ ลิซานโดร ก็ไม่ได้ซื้อมาถูกๆ ทำให้แฟนบอลยังได้ระลึกและเข้าใจว่า ไอ้ดีลก่อนๆที่เราซื้อนักเตะเข้ามาได้แล้ว มันยังไม่ได้จบซะทีเดียว ราคาที่ต้องจ่ายยังคงอยู่ แค่เราผ่อนชำระเท่านั้นเอง

เพื่อให้แฟนบอลเข้าใจได้ว่า ทำไมมกราคมนี้เราถึง "ไม่มีเงินถุงเงินถัง" ในการซื้อเป้าหมายบิ๊กดีลเข้ามา และต้องเป็นดีลยืมตัวราคาถูกๆอย่าง Wout Weghorst ซึ่งเชื่อว่าแฟนผีเกือบ 100% น่าจะดีใจกับดีลนี้ เพราะนอกจากมันจะถูกและเบากระเป๋าแล้ว การเสริมทีมมันยังตรงจุดอีกด้วย อันนี้คือโคตรดีย์

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การไป UCL คือตัวตัดสินจริงๆว่าเราจะมีงบเสริมทัพก้อนใหญ่หรือไม่ ถ้าได้ไป ทุกอย่างจบ!

4.การมีเจ้าของใหม่เข้ามาก็แทบจะไม่ส่งผลอะไรมากนัก เพราะสุดท้ายเราก็ต้องปฏิบัติตามกฎการบาลานซ์เรื่องturnoverดังกล่าวนี้ให้มันพอดี ได้เข้ามาเท่าไหร่ ก็ใช้ได้ไม่เกิน 70%(ในปี2025) ซึ่งปีหน้าก็เริ่มลดลงมาเหลือ90%แล้ว

ที่แฟนผีหวังว่าเจ้าของใหม่จะมา อาจจะไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบเรื่องงบประมาณที่จะไปสู้กับพวกทีมคนรวยอย่างซิตี้หรือเชลซีสักเท่าไหร่ เพราะทุกทีมก็ต้องปฏิบัติตามกฎเช่นกัน (แปลว่าทั้งเสี่ยทั้งชีคเทคโอเวอร์กันได้เหมาะเจาะมากก่อนกฎFFPใหม่นี้จะเข้ามาควบคุม)

5.ค่าเสื่อมราคาของนักเตะจะถูกนำมาใช้คำนวณเพิ่มเติมหลังจากนี้ การคิดรายรับจากค่าขายนักเตะจะละเอียดซับซ้อนยิ่งขึ้น

6.บิ๊กดีลของซัมเมอร์หน้า คิดว่าคงจะมีแค่เบอร์เดียวที่เข้ามา ซึ่งดีไม่ดีก็อาจจะเป็นตำแหน่ง "มิดฟิลด์" ที่เข้ามาแบบจั๋งๆสักหนึ่งคน ส่วนแดนหน้า ก็น่าจะเป็นการซื้อขาด Wout Weghorst ซึ่งถูกมากในราคา 10ล้านยูโรเท่านั้น

7.กฎใหม่เรื่องความยั่งยืนทางการเงินนี้ จะช่วยให้ทีมที่มีอะคาเดมี่สร้างนักเตะเยาวชนขึ้นมาสู่ทีมชุดใหญ่ ได้ประโยชน์มากขึ้นอย่างชัดเจน เพราะไม่ต้องเสียเงินนำเข้าผู้เล่นจากที่อื่นมา ยิ่งยูฟ่าจำกัดเพดานการใช้จ่ายให้ลดลงไม่เกินรายได้ที่เข้ามาสโมสรแล้วนั้น การปั้นนักเตะใช้เองจะยิ่งเป็นตัวเลือกที่ดีในอนาคต

ถ้าเด็กๆในสโมสรเราที่ปั้นกันอยู่และติดตามฟอร์มกันอยู่ เช่นพวก Kobbie Mainoo, Zidane Iqbal, Facundo Pellistri, Amad Diallo, Charlie Savage/McNeill, Isak Hansen-Aaröen, Marc Jurado & Alvaro Fernandez

นักเตะพวกนี้จะยิ่งได้เฉิดฉาย และมีโอกาสจะเดบิวต์กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด มากขึ้นกว่าจะเป็นการปล่อยหมดสัญญาเหมือนนักเตะดาวรุ่งคนอื่นๆที่ออกจากทีมไป

10.ด้วยปัจจัยทั้งหมดที่แมนยูมีอยู่ ทั้งเรื่องเด็กปั้นจากอะคาเดมี่ และเรื่องรายรับที่ยังคงเยอะอยู่ ทำให้เราเชื่อว่าสถานภาพทางการเงินของแมนยูไนเต็ดในตลาดนักเตะจะยัง "แข็งแกร่ง" อยู่เหมือนเดิมแน่นอน

ยิ่งมาอยู่ในมือของคนที่ "เข้าใจ" เรื่องราวของเพดานการเงินต่างๆนี้ และบริหารมันอย่างดีเช่นเอริค เทน ฮาก ผมเชื่อว่าทีมเราจะสามารถพัฒนาไปได้บน "กฎความยั่งยืนทางการเงิน" (Financial Sustainability rules) นี้แน่นอน

-ศาลาผี-


Reference

https://www.telegraph.co.uk/football/2023/01/12/manchester-united-must-sell-to-buy-summer-even-get-new-owners/

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด