:::     :::

มาดามแป้งจับมือฮาวาร์ดเปิดโปรเจ็คท์"คลองเตยดีดี"

วันอังคารที่ 07 มกราคม 2563
2,612
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
รู้ก่อนใคร ลึกกว่าใคร ข่าวบอลไทย ต้องที่ THSPORT

"มาดามแป้ง" ประธานทัพสิงห์เจ้าท่า แถลงข่าวความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Harvard Graduate School of Design สหรัฐอเมริกา เปิดแผนงานสำรวจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนคลองเตย กับโครงการ "คลองเตยดีดี"

ณ โกดัง สเตเดี้ยม คลองเตย “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะ ประธานสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟ.ซี. จัดงานแถลงข่าวความร่วมมือครั้ง กับ Harvard Graduate School of Design ประเทศสหรัฐอเมริกา และศิษย์เก่า Harvard GSD ในประเทศไทย เปิดโครงการ “คลองเตยดีดี” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพื้นที่ชุมชนคลองเตย ซึ่งเป็นที่ตั้งของแพท สเตเดี้ยม รังเหย้าของสโมสรฯ และเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหลักของกลุ่มแฟนฟุตบอลของสโมสรฯ โดยมุ่งปูทางเพื่อการพัฒนาให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม เป็นต้นแบบเพื่อขยายสู่ชุมชนอื่นทั่วประเทศ
การแถลงข่าวครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาตราจารย์ Sarah Whiting คณบดีแห่ง Harvard Graduate School of Design, หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเขตคลองเตย, การท่าเรือแห่งประเทศไทย, ผู้นำชุมชนคลองเตย, นักฟุตบอลสโมสรการท่าเรือ เอฟ.ซี. อาทิ ศิวกร จักขุประสาท, นิติพงษ์ เสลานนท์, เฮแบร์ตี้ แฟร์นานเดส, เควิน ดีรมรัมย์ ฯลฯ รวมทั้งนักเตะชุดเยาวชนของสโมสรทุกรุ่นอายุ ตลอดจนแฟนคลับของสโมสรฯ ที่มาอย่างคับคั่ง
สำหรับจุดเริ่มต้นของโครงการดังกล่าว เกิดขึ้นจากแนวคิดของ “มาดามแป้ง” และนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมของ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ผู้สนับสนุนหลักทีมฟุตบอลการท่าเรือ เอฟ.ซี. โดย “มาดามแป้ง” ได้กล่าวว่า “การทำหน้าที่ประธานสโมสรระดับตำนานของไทยอย่างการท่าเรือ เอฟ.ซี. ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ได้เรียนรู้ว่า ฟุตบอลสำหรับคนคลองเตยเป็นมากกว่ากีฬา การเชียร์ฟุตบอลที่แพท สเตเดี้ยม คือ กิจกรรมหลักที่เชื่อมโยง และเป็นศูนย์รวมหัวใจของคนทุกรุ่นอายุเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง คนเมืองไทยประกันภัยอย่างแป้งและทีมงาน กับคนชุมชนคลองเตย จึงเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน นโยบายการทำฟุตบอลของสโมสรฯ เราจึงไม่ได้มุ่งหวังเป้าหมายเพียงผลการแข่งขัน หรือผลกำไรทางธุรกิจเท่านั้น แต่เรามองเป้าไปที่ความยั่งยืนของความสำเร็จ นั่นหมายถึง การเติบโตและพัฒนาควบคู่กันของชุมชนคลองเตย"
“วันนี้ นับเป็นโอกาสดีที่ เมืองไทยประกันภัย ได้ร่วมงานกับสถาบันการออกแบบระดับโลก Harvard Graduate School of Design และ ศาสตราจารย์ Anita Berrizbeitia MLA’ 87 หัวหน้าและแผนกภูมิสถาปัตยกรรม รวมถึงเป็นอาจารย์ของสาขาการวางแผนเมือง การออกแบบแผนเมือง และสถาปัตยกรรม เพื่อที่จะเข้ามาสำรวจ และวิจัยความต้องการในชุมชน ภายใต้แนวคิด The New Landscapes of Equity and Prosperity การพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยแห่งอนาคตเพื่อความเท่าเทียมและความมั่นคง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนได้มีการยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกระดับ และเป็นชุมชนที่ทุกคนสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน คลองเตยดีดี จึงเป็นการรวมพลังในแบบ East Meets West โดยใช้ความรู้และนวัตกรรมของ Harvard Graduate School of Design ผสมผสานกับความรู้และประสบการณ์ในพื้นที่ของคนคลองเตย รวมถึงความตั้งใจจริงของบริษัทเมืองไทยประกันภัย เพื่อวางแผนพัฒนาชุมชนคลองเตย ซึ่งเปรียบได้กับบ้านของชาวเมืองไทยประกันภัย และแฟนฟุตบอลสโมสรการท่าเรือด้วย” มาดามแป้ง กล่าวปิดท้าย


ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวมีระยะเวลา 3 ปี โดย Harvard GSD จะส่งคณาจารย์และนักศึกษามาจัดตั้งสตูดิโอออกแบบในกรุงเทพฯ หัวข้อในการวิจัยมีตั้งแต่เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างเชิงธุรกิจ โครงสร้างเชิงระบบนิเวศน์ ภูมิทัศน์ รวมถึงพื้นที่สาธารณะรูปแบบอื่น ๆ ในเขตคลองเตย
สำหรับรูปแบบการทำวิจัยจะอ้างอิงจากโมเดลสตูดิโอการทำวิจัยในโครงการอื่นๆ ที่ Harvard GSD เคยทำมาแล้ว โดยเมืองไทยประกันภัยจะให้การสนับสนุนการดำเนินงาน รวมถึงลงพื้นที่เพื่อทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับชุมชนต่างๆ ในพื้นที่คลองเตย เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ให้ได้แผนแม่บท และองค์ความรู้ นวัตกรรมสำหรับนำไปต่อยอดในการเพิ่มมาตรฐานความเป็นอยู่ และคาดหวังว่า โมเดลคลองเตย จะเป็นต้นแบบชุมชนที่ส่งต่อโอกาส และความมั่นคงให้ผู้อาศัยและสังคม โดยหลังจากการวิจัยเสร็จสมบูรณ์จะมีการแบ่งปันองค์ความรู้สู่สาธารณะ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ผ่านการจัดนิทรรศการ และงานวิจัย เพื่อขยายผลการศึกษาด้านการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})