:::     :::

เวิลด์คัพฉบับกาตาร์ที่นับ1แล้ว

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
เวิลด์ คัพ 2022 หน้าเสื่อจัดคือประเทศ กาตาร์ ไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะมีกระแสต้านสารพัด ทั้งเรื่องช่วงเวลาแข่งขันที่อาจขยับจากเดิมราว มิ.ย.ถึง ก.ค.เป็นปลายปี หรือประเด็นใต้โต๊ะบิดจัด แต่เมื่อเลือกแล้วก็เปลี่ยนยาก เพราะเจ้าภาพเขาลงเสาเข็มเรียบร้อย

การเผยแพร่ล่าสุดชาติในคาบสมุทรเปอร์เซีย ได้เริ่มก่อสร้างสนามใหม่ทั้ง 8 แห่งไปแล้ว คาดว่าแล้วเสร็จก่อนเตะนัดเปิดสนาม 21 พ.ย.2022 อย่างแน่นอน ส่วนรอบชิงชนะเลิศนับไปจากนั้นอีก 28 วัน เป็น 18 ธ.ค. 

ด้านสารณูปโภคสังเวียนแข่งทั้งหมดอยู่ในรัศมี 55 กิโลเมตร ( 34 ไมล์) มีการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนแบบรางระหมด เท่ากับว่าการชม 2 แมตช์ในหนึ่งวันเป็นไปได้แบบสบายๆ 


ฝรั่งเศสแชมป์โลก 2018 ฉลองสุดเหวี่ยง


ความห่างสนามเหนือสุดไปใต้สุดแค่ 55 กิโลเมตร


ระบบขนส่งชวลชนส่งถึงหน้าสนาม

นั่นคือความน่าจะเป็นคร่าวๆ จากนี้ไปดูภาพรวมแต่ละสนามว่าแล้วเสร็จไปกี่แห่ง อย่างไรบ้าง เผื่อว่าต้องไปเชียร์ เทรนท์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ เด็กในสังกัดเรา

...............................

อัล วาเกราะห์ สเตเดี้ยม 

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง/ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 14 ไมล์/ แรงบันดาลใจการออกแบบโดย: แดม ซาฮา ฮาดิด 

การออกแบบของ อัล วาเกราะห์ สเตเดี้ยม ได้แรงบันดาลใจมาจากใบเรือพายดั้งเดิมแห่งชาวกาตาร์ ใช้งานตามชายฝั่งเพื่อออกหาอาหารเลี้ยงชีพ รวมถึงออกไปค้าขาย 

เอกลักษณ์จากเรือลำนั้นถูกนำแปลงมาออกแบบหลังคาสนาม และนวัตกรรมถ่ายเทความเย็นทำให้อากาศถ่ายเท สามารถแข่งขันได้ทั้งปีแม้ในหน้าร้อนสุดโทษแห่งทะเลทราย 

ความคืบหน้าทางโครงสร้างเสร็จแล้ว เช่นเดียวกับระบบไฟฟ้า ลำดับต่อไปคือติดตั้งหลังคารวมถึงรายละเอียดต่างๆ  

......................................

อัล บายัต สเตเดี้ยม - อัล กอร์ ซิตี้ สเตเดี้ยม 

ความจุ: 60,000 ที่นั่ง/ ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 27 ไมล์/ออกแบบโดย: ดาร์ อัล-ฮันดาซาห์

สนามที่จุผู้ชมได้มากสุดลำดับต้นในการแข่งขันหนนี้ โดย อัล บายัต สเตเดี้ยม จะใช้ฟาดเกือกตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่มจนถึง รอบรองชนะเลิศ 

การออกแบบละม้ายกับเตนท์สไตล์อาหรับ ซึ่งเรียกหาว่า 'บายัต อับ ชาอาร์' 

อุณหภูมิซึ่งยังสูงราว 30 องศา เซลเซียส ของประเทศกาตาร์ช่วงเดือนพฤศจิกายน ก็เป็นอีกเหตุผลที่ต้องทำหลังคาสนามถ่ายเทความร้อน รวมถึงเก็บความเย็น 

เช่นกันโครงสร้างสนามเสร็จแล้ว เหลือเพียงประกอบชิ้นส่วนของหลังคาเท่านั้น ทุกอย่างเป็นไปตามกำหนด ส่วนตัวสนามก็อยู่ระหว่างปรับภูมิทัศน์ 

................................................................

อัล เรย์ยาน สเตเดี้ยม  

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง/ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 14 ไมล์/ ออกแบบโดย : แรมโบลล์

สนามแห่งนี้จะใช้แข่งตั้งแต่รอบแรก จนถึงก่อนรองชนะเลิศ ทั้งนี้มันถูกขนานนามว่าออกแบบโดยรวบรวมวัฒนธรรมของชาวกาตารี ได้อย่างลงตัว 

บริเวณด้านหน้าสนามตกแต่งอย่างประณีตเพื่อแสดงให้เห็นความรุ่มรวยอารยธรรมของ กาตาร์ ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนกลายเป็นชาติผู้มั่นคั่งจากการค้า 

อนึ่งแม้ตัวสนามจะสร้างอยู่กลางทะเลทราย แต่ก็มีกิจกรรมให้ทำครบถ้วน ทั้งร้านขายสินค้าที่ระลึก, ฟู้ด ฮอลล์ และจุดสันทนาการ ทั้งหมดออกแบบให้คล้ายเนินทราย 

ความคืบหน้าด้านโครงสร้างแล้วเสร็จเกิน 90% ลำดับต่อไปคือประดับหลังคาด้วยแก้วสะท้อนแสงน้ำหนักเบา ต่อด้วยทดสอบระบบไฟ

.....................................................

เอดูเคชั่น ซิตี้ สเตเดี้ยม  

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง/ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 7 ไมล์/ ออกแบบโดย : เอฟไอเอ เฟนวิค อิริบาร์เรน สถาปนิก  

เป็นสังเวียนแข้งที่อยู่ใกล้เมืองมากๆ ก่อสร้างบริเวณพื้นที่ขององค์กรเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาชุมชน แห่งกาตาร์ 

หน้าเสื่อรับจัดเกมตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่มจนถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ซึ่งพอจบทัวร์นาเมนต์ สนามแห่งนี้จะกลายเป็นรังเหย้าของทีมฟุตบอลหญิง กาตาร์ 

รูปลักษณ์ภายนอกเป็นเหลี่ยมมุมคล้ายเพชรจนมีชื่อเล่นว่า 'เพชรแห่งทะเลทราย' ซึ่งจะสะท้อนแสงแดดตอนกลางวัน และต้องแสงไฟยามค่่ำคืน 

ณ  ตอนนี้นี้โครงสร้างภายนอกใกล้แล้วเสร็จ ลำดับต่อไปคือติดตั้งหลังคา  

......................................

อัล ตูมามา สเตเดี้ยม 

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง / ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 8 ไมล์/ออกแบบโดย : วิศวกรรมสถานอาหรับ บูโร 

อีกสนามแข่งที่มากเอกลักษณ์เพราะมีการนำแรงบันดาลใจจาก 'กาห์ฟิย่า' หรือ หมวกที่ชาวอาหรับชายสวมใส่ มาออกแบบ

สังเวียนแข้งแห่งนี้นับเป็นความภูมิใจของคนท้องถิ่นอย่างแท้จริงเพราะมี อิบราฮิม อัล เจดาห์ ชาวชาวกาตารี เป็นสถาปนิก  

ภาพรวมงานด้านโครงสร้างแล้วเสร็จกว่า 80% ลำดับต่อไปคือการเสริมอัฒจันทร์ชั้น 2 โดยหากเสร็จสิ้นภายในสนามจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งปรับได้ต่ำสุดถึง 18 องศา เซลเซียส ส่วนบริเวณด้านนอกก็มีสนามซ้อมให้ใช้งาน  

.........................................................

ราส อาบู อาบู้ด สเตเดี้ยม  

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง/ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 6 ไมล์/ ออกแบบโดย : เอฟไอเอ เฟนวิค อิริบาร์เรน สถาปนิก 

นี่จะเป็นสนามแข่งขันฟีฟ่า เวิลด์ คัพ แห่งแรกที่นำชิ้นส่วนตู้คอนเทนเนอร์ขนสินค้าจำนวน 998 ชิ้น มาร่วมก่อสร้างเป็นสเตเดี้ยม แล้วพอจบการแข่งก็สามารถถอดประกอบออกคืนสภาพภูมิทัศน์เดิม 

จุดสร้างสนามอยู่ชานกรุงโดฮา บริเวณอ่าวตะวันตก ติดกับท่าเรือ ยามค่ำคืนเห็นตึกรามของกรุงโดฮาระยิบระยับ 

เวลานี้พื้นที่ก่อสร้างถูกปรับเตรียมพร้อมคอยท่าตู้คอนเทนเนอร์ 998 ชิ้นที่จะถูกส่งมาถึงราวเดือนกุมภาพันธ์ 2019 โดยสนามแห่งนี้ใช้แข่งตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่มถึงก่อนรองชนะเลิศ

................................................

ลูเซล สเตเดี้ยม 

ความจุ: 80,000 ที่นั่ง/ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 10 ไมล์/ แรงบันดาลใจการออกแบบโดย: ฟอสเตอร์+พันธมิตร 

สังเวียนแข้งที่ถูกวางไว้ใช้แข่ง 2 เกมสำคัญอย่างนัดเปิดสนามและรอบชิงชนะเลิศ รวมถึงแมตช์สำคัญอื่นๆ 

สำหรับภาพจำลองของ ลูเซล สเตเดี้ยม ยังไม่ถูกโชว์ออกมา คาดว่าจะเผยแพร่ราวกลางเดือนธันวาคม 2018 

แม้ยังไม่เห็นรูปลักษณ์แต่งานโครงสร้างพื้นฐานดำเนินการไปแล้ว โดยมี 24 ชิ้นที่ถูกนำมาประกอบเข้ากับคอนกรีตความแข็งแรงพิเศษ 

ว่ากันว่าสนามแห่งนี้จะมีความสูงสุดที่ 80 เมตร ให้สมกับนิยามว่า 'หรูหรา-ใหญ่โต' 

...........................................

สนามกีฬาแห่งชาติคาลิฟา 

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง/ ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 8 ไมล์

สังเวียนแข้งที่สร้างเสร็จแล้วเปิดใช้งานแข่ง เอมีร์ คัพ รอบชิงชนะเลิศเมื่อปีก่อนต่อหน้าสักขีพยาน40,000 ชีวิต

ที่นี่ยังรับหน้าเสื่อฐานะรังเหย้าของฟุตบอลทีมชาติ กาตาร์ เปิดใช้มาตั้งแต่ปี 1976 แต่ได้ปรับปรุงให้ทันสมัยรองรับฟีฟ่า เวิลด์ คัพ 

งานสำคัญก่อนนี้ใช้แข่ง เอเชี่ยน เกมส์, กัล์ฟ คัพ กำลังจะเป็นสนามแข่งฟุตบอล ชิงแชมป์แห่งชาติ เอเชีย ต้นปี 2019 ต่อเนื่องถึง กรีฑาชิงแชมป์โลก ในความดูแลของ ไอเอเอเอฟ  


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด