:::     :::

ฟุตบอลประเพณี สำคัญไฉน ?

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ราวเดือนก่อน เฟซบุ๊กของ รศ.ดร.กำพล รุจิวิชชญ์ คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โผล่มาหน้าจอฉัน จากการไปกระแทกไลก์ของเพื่อน มธ. คนหนึ่ง

เฟซบุ๊กเผยให้เห็นภาพ ดร.กำพล ชักภาพร่วมกับ ชนาธิป สรงกระสินธ์ พร้อมระบุข้อความประมาณว่า เจ มาเข้าพบก่อนกลับฮอกไกโด และจะกลับมาร่วมแข่งฟุตบอลประเพณี “จุฬา-ธรรมศาสตร์” ครั้งที่ 73

ตอนนั้นก็ได้แต่ตั้งคำถามในใจว่า เจ จะแวบมาได้เหรอ เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นโค้งสุดท้ายพรีซีซั่นเจลีก ที่เข้มงวดเรื่องเก็บตัว ก่อนเปิดฤดูกาล 2019

จนล่าสุดมาเห็นข่าวบทสัมภาษณ์ของ โชคทวี พรหมรัตน์ ที่บอกว่าทาง “ลูกแม่โดม” เตรียมทำหนังสือถึง คอนซาโดเล ซัปโปโร เพื่อขอตัว เจ มาเล่นบอลประเพณี

เอาจริงดิ ?

คำถามคือฟุตบอลประเพณีนั้น สำคัญไฉน เหตุใดถึงไม่ใช้นักศึกษาที่เรียนกันตามปกติ มาแข่งขันกัน

ในเมื่อจุดมุ่งหมายของงานฟุตบอลประเพณีคือการใช้ลูกหนัง “เชื่อมสัมพันธ์” กันระหว่างสองสถาบันไม่ใช่เหรอ ?

เช่นนั้นเพราะอะไรถึงต้องใช้ตัวผู้เล่นระดับทีมชาติ หรือแข้งอาชีพมาหวดกันสะบั้นหั่นแหลก ประหนึ่งเป็น “ศักดิ์ศรี” ที่ต่างฝ่ายต่างยอมไม่ได้

ยังจำเคสของ อดิศักดิ์ ไกรษร ได้อยู่ไหม ?

“เจ้ากอล์ฟ” ลงรับใช้ให้ลูกแม่โดมเมื่อปีกลาย ก่อนโชคร้ายจากจังหวะปะทะกับ ณัฐพงษ์ สายริยา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลลัพธ์คือ อดิศักดิ์ เอ็นไขว้หน้าขาด พักรักษาตัวยาว 8 เดือน โดยที่ต้นสังกัดนักเตะอย่าง เอสซีจี เมืองทองฯ ต้องพลาดใช้งานกองหน้าคนสำคัญ อีกทั้งยังต้องดูแลค่าใช้จ่าย และต้องหายไปจากสารบบทีมชาติไทยพักใหญ่

นี่คือความ “เสียหาย” ที่จับต้องได้ชัดเจน


แม้ปีนี้สองสถาบันจะชู “สปิริต” เป็นสโลแกนหลักก่อนคิกออฟ แต่ใครจะรู้ว่า อุบัติเหตุลูกหนังจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ (นี่ไม่ได้แช่ง)

นี่พูดในภาพกว้าง ไม่ได้หมายถึง เจ ชนาธิป คนเดียว

แต่หากเป็นสภาวะจำยอมอย่างเลี่ยงไม่ได้ ว่านักฟุตบอลที่เข้ามาศึกษาในสถาบัน ต้องลงแข่งขันในนามมหาวิทยาลัยตามสัญญา ก็อยากให้ต้นสังกัดนักฟุตบอลที่มาเล่น ได้รับการยินยอมจากสโมสรนักเตะคนนั้นก่อนเช่นกัน

หรือร่างสัญญาให้ชัดเจนเลยว่าอนุญาตให้ลงเล่นได้กี่นาที ในกรณีที่ผู้เล่นบาดเจ็บจากการแข่งขัน ทางมหาวิทยาลัยจะมีการชดเชยอย่างไรบ้าง ?

มองในฐานะ “คนนอก” ที่ไม่ได้เดินเหน็บใบปริญญาออกมาจากสองสถาบันนี้ ยังคิดว่าควรการให้นักศึกษาแข่งขันกันยังดีมากกว่า ไปมัดรวมแข้งทีมชาติ หรือ นักฟุตบอลอาชีพมาเล่น

ใช่…ฉันเองไปทำข่าว ฟุตบอลประเพณี มาหลายปีหลังสุด และยอมรับว่าการมีนักเตะทีมชาติมาลงเล่น ช่วยสร้างสีสรรค์ในสนามได้ ทั้งจากคนดู หรือผู้ใหญ่สถาบัน

แต่นี่ไม่ใช่ฟุตบอลการกุศล กอปรกับในปีที่ผ่านๆมา การแข่งขันระหว่างสองสถาบัน มันเกินเลยไปมากกว่าเป็นศึกลูกหนังที่ “สร้างไมตรี” กันและกัน  คงไม่คุ้ม หากนักเตะจะมาบาดเจ็บ ก่อนเปิดฤดูกาล

ได้แต่หวังว่าปีนี้ จะไม่มีผู้เล่นคนไหนเจอ “ตลกร้าย” เล่นงานบนผืนหญ้าอีก

เพราะภาพ อดิศักดิ์ ไกรษร ที่เดินกระเผลกออกจากสนามปีก่อน ยังติดตาฉันอยู่


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด