:::     :::

จุดอ่อนเรื่องการดวล 1 on 1 ของแฮรี่ แมกไกวร์ เป็นปัญหาจริงหรือ?

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
3,141
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ต้นตอจากความคิดเห็นของริโอ เฟอร์ดินานด์ ต่อเรื่องจุดอ่อนเรื่องการดวลตัวต่อตัวกับคู่แข่งของแฮรี่ แมกไกวร์นั้น มันจริงแท้มากน้อยเพียงใด นี่คือบทวิเคราะห์ที่กัดกินจนถึงก้นบึ้งของปัญหา เพื่อตีแผ่และหาทางปรับปรุงให้กับนักเตะและทีมอย่างถึงที่สุด

ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจและก็ดีพอจะนำมาdiscussกันเป็นหัวข้อใหญ่ๆ นั่นก็คือปัญหาเรื่องจุดอ่อนการดวลตัวต่อตัวกับคู่แข่งของแฮรี่ แมกไกวร์ ว่ายังเป็นปัญหาของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอยู่

หัวข้อนี้ถูกจุดประเด็นขึ้นมาจาก "ริโอ เฟอร์ดินานด์" ที่พูดคุยผ่านแชนแนลยูทูปของเขาในช่วง Five Show โดยที่ริโอกล่าวเอาไว้ดังนี้

"ผมว่านั่นคือข้อที่โอเล่กังวลมากที่สุดเลย กับเรื่องที่ว่าจะปล่อยให้แมกไกวร์ดวล1-1กับคู่แข่งตั้งแต่กลางสนามได้มั้ย หรือจะลินเดอเลิฟก็ตาม ซึ่งมันก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เด็ดขาด เพราะมันไม่ใช่จุดเด่นหลักๆของเขา แฮรี่ แมกไกวร์อาจจะทำได้ดีมากๆในด้านอื่นๆหลายๆด้าน แต่เฉพาะกับเรื่องนั้น มันคือหนึ่งในจุดอ่อนของตัวเขา"

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว แผนการซื้อขายนักเตะของแมนยูไนเต็ดจึงได้ทำการลิสต์ตัวที่ต้องเสริมทีมเข้ามา และหนึ่งในจุดสำคัญก็คือการหาคู่หูให้แฮรี่ แมกไกวร์ เพื่อที่จะมาทดแทนในส่วนของวิคตอร์ ลินเดอเลิฟ และ เอริค ไบญี่ ที่สลับกันลงเป็นคู่หูให้กัปตันรายนี้อยู่ ซึ่งสิ่งที่เป็น"สเป็ค"ที่แมนยูต้องการ ก็ดูเหมือนจะเป็นกองหลังที่มีสปีดในการtracking back หรือภาษาง่ายๆก็คือ "วิ่งกลับมาเฝ้าหลังบ้าน" ให้ทันนั่นเอง เพื่อทดแทนสิ่งที่แมกไกวร์ไม่มีสปีดตรงนี้

แต่ในทางตรงกันข้ามกับจุดอ่อนนี้ของเขา เพื่อนในทีมอย่างอารอน วานบิสซาก้า กลับเป็นนักเตะที่ดวลตัวต่อตัวเก่งที่สุดในลีก ซึ่งแม้กระนั้นแล้ววานบิสซาก้าก็ยังมีเรื่องที่ต้องปรับปรุงพัฒนาเช่นกัน ซึ่งริโอพูดถึงAWBเอาไว้แบบนี้

"ผมคิดว่าวานบิสซาก้าสามารถติวเข้มให้ดีขึ้นได้ ผมว่าเขามีเรื่องที่ยังต้องไปซ้อมเพิ่มอีกมากเลย ทั้งการฝึกซ้อมการครองบอลและการไปกับบอล จุดที่แข็งที่สุดของเขา เราจะเห็นได้ชัดในเกมเจอกับแมนซินี้ ช็อตจำที่ว่าก็คือการปล่อยให้เขาดวลตัวต่อตัวกับคู่แข่งในแนวกว้างของสนาม ไม่มีใครเก่งกว่าเขาอีกแล้วในเรื่องนี้"

นี่คือคำพูดของริโอ เฟอร์ดินานด์ ที่เป็นข้อคิดเห็นหนึ่งจากอดีตนักฟุตบอล และอดีตตำนานของเรา ด้วยมุมมองที่เป็นห่วงทีมในฐานะซัพพอร์ตเตอร์อีกคนนึงของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเช่นกัน ต้องพิจารณาว่าคำพูดแต่ละอย่างของริโอนั้นจริงหรือไม่ แยกหัวข้อเป็นประเด็นๆดังนี้

-แฮรี่ แมกไกวร์ มีจุดอ่อนเรื่องการดวลตัวต่อตัว?

-แฮรี่ แมกไกวร์เก่งในด้านอื่นๆ?

-อารอน วานบิสซาก้า คือเทพ1-1?

-อารอน วานบิสซาก้า ต้องไปฝึกด้านอื่น

เบื้องต้นก่อน เชื่อว่าแฟนผีส่วนใหญ่ที่ติดตามดูทีมเป็นประจำ ก็น่าจะรู้อยู่แล้วว่าเรื่องที่ริโอ เฟอร์ดินานพูดมานั้นมันก็ "เรื่องจริง" ทั้งนั้นนั่นแหละ เราก็รู้กันดี

แต่เพื่อที่จะยืนยันเรื่องดังกล่าวว่า เป็นเพียงข้อคิดเห็นจากมุมมองที่ตรงกับความเป็นจริงมากเพียงใด สิ่งที่จะช่วยคือการนำ Fact มาประกอบว่า มันเป็นแบบนั้นจริงๆรึเปล่า

ซึ่งสถิติการเล่นตรงนี้บางส่วนในเบื้องต้นก็พอจะหาจากในอินเตอร์เน็ตได้หลายๆแหล่ง และสิ่งที่กำลังจะนำเสนอนี้ก็คืออีกหนึ่งครั้งที่มีคนรวบรวมเอาสถิติที่อยู่บนฐานข้อมูลเว็บใหญ่ๆเหล่านั้น มาประมวลเข้าด้วยกัน และออกมาเป็นกราฟที่แสดงสถิติเปรียบเทียบในเรื่องของ "ความสามารถในการดวลลูกกลางอากาศ" กับ "ความสามารถในการดวลกับคู่แข่งภาคพื้นดิน"

พูดง่ายๆคือ "การป้องกันลูกโด่ง" กับ "การป้องกันทางแนวราบ" ว่านักเตะกองหลังคนไหนของแต่ละทีมโดดเด่นกันด้านอะไรบ้าง บางคนอาจจะเด่นแค่ด้านเดียว อีกด้านหนึ่งแย่ หรือบางคนอาจจะดีทั้งสองด้านเลยก็ได้ และข้อมูลจากการรวบรวมสถิติดังกล่าวมาประมวลเข้าด้วยกัน ข้อมูลจากStatsBombผ่านทางFbref

[*อนึ่ง ต้องกล่าวว่าสถิติจากแต่ละแหล่งมีvarianceหรือค่าความแปรปรวนต่างกัน มีวิธีพิจารณาที่ต่างกัน อย่างบางทีคนไปเปิดสถิติจากเว็บpremierleague.com ก็อาจจะได้success rateแตกต่างกันออกไปอีกก็ได้ ต้องดูว่าข้อมูลมาจากแหล่งไหนและพิจารณาอย่างไร]


อธิบายกันแบบง่ายๆ แนวนอน(แกนx) คือ "ความเก่งในการดวลกับคู่แข่งภาคพื้นดิน"

นักเตะที่อยู่ทางขวาๆจากกึ่งกลางที่เป็นค่าaverageหมายความว่า นั่นคือนักเตะที่โดดเด่นในด้านการดวลกับคู่แข่งบนพื้นมากๆ ส่วนนักเตะที่อยู่เยื้องมาทางซ้ายคือพวกที่อ่อนการดวล1-1บนพื้น

แนวตั้ง(แกนy) คือ "ความเก่งในด้านการดวลกับคู่แข่งกลางอากาศ"

นักเตะที่อยู่บนๆของกราฟ หมายความว่า เป็นนักเตะที่เก่งลูกโหม่งและการดวลลูกโด่งนั่นเอง ส่วนพวกที่อยู่เยื้องจากค่าaverageมาทางด้านล่างๆของกราฟ แปลว่านักเตะคนนั้นอ่อนเรื่องลูกกลางอากาศนั่นเอง

ซึ่งแอเรียเดียวที่เป็น +,+ ทั้งคู่คือบริเวณ มุมบนขวา ดังนั้นนักเตะที่อยู่ในบริเวณเยื้องๆขวาบน นั่นแปลว่าเขาคือกองหลังที่เก่งแบบall around เก่งทั้งลูกกลางอากาศ และการดวลตัวต่อตัวนั่นเอง ซึ่งถือว่าสมดุลและครบเครื่องมากๆ

นอกจากนี้ ขนาดของวงสีฟ้าที่เป็นตัวแทนนักเตะแต่ละคนยังแทนถึงค่าที่บ่งบอกว่าปริมาณการดวลเฉลี่ยๆแต่ละนัด นักเตะคนนั้นงานหนักหรือต้องเจอสถานการณ์การดวลกับคู่แข่งบ่อยเพียงใด วงเล็กแปลว่าคนนั้นปริมาณการduelsน้อย วงยิ่งใหญ่ขึ้นแปลว่าปริมาณตัวเลขสูง

ดูจากตารางนี้ นักเตะที่เก่งทั้งลูกกลางอากาศ และการดวลตัวตัวบนพื้น ดูเหมือนว่าจากสถิติแล้วจะเป็น "Antonio Rudiger" ของเชลซีที่สถิติดีมากๆ เปอร์เซ็นต์ชนะลูกกลางอากาศอยู่ที่ราว80% และการดวลตัวต่อตัวชนะราว64% ถือว่าสมดุลทั้งลูกโด่งและการเจอคู่แข่งบนพื้นดิน ซึ่งแฟนเชลซีก็ยืนยันกันว่ารูดิเกอร์เล่นดีจริงๆ ตรงนี้ถือว่าเยี่ยมมากๆในการเป็นกองหลังสายบาลานซ์แบบนี้ ซึ่งพูดตามตรงว่า หากว่าปีนี้เวอร์กิล ฟานไดค์ไม่เจ็บ พี่แกก็น่าจะมาอยู่ในบริเวณมุมบนขวาของกราฟนี้นั่นแหละ ที่ลูกโด่งก็ดี ดวลตัวตัวก็เยี่ยม

นอกจากนี้กองหลังคนอื่นๆที่น่าสนใจว่าเก่งทั้งลูกโด่งและลูกบนพื้นนั้น มีเจ๋งๆอีกหลายตัวที่scoutของแมนยูควรจะชายตามองไอ้ตัวพวกนี้เอาไว้บ้าง เช่น Liam Coopers ของลีดส์ยูไนเต็ด / Willy Boly เซ็นเตอร์ของวูล์ฟแฮมพ์ตัน / James Tarkowski ของเบิร์นลีย์ รวมถึงตัวดังที่หลายคนเชียร์ให้ไปเซ็นมาอย่าง Ben Godfrey กองหลังวัย23ปีของเอฟเวอร์ตัน นี่คือตัวอย่างของกองหลังสายสมดุลที่เก่งทั้งสองแบบ

ส่วนนักเตะคนอื่นๆของเราอย่างเช่น ลุค ชอว์นั้น ก็ปรากฏตัวอยู่ในแถวๆตำแหน่งกลางล่างเหมือนกัน ก็ตามความจริงที่เคยนำเสนอในบทความก่อนนี้แล้วว่า ชอว์นั้นเก่งสมดุลทั้งรุกและรับสองมิติจริงๆ แต่ถ้าเฉพาะเกมรับ ชอว์เองก็ยังมีปัญหาเรื่องของลูกกลางอากาศอยู่ เขาดวลโหม่งคู่แข่งชนะแค่50%เท่านั้นเองซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่60%ลงมาค่อนข้างเยอะ ส่วนด้านการดวลบนพื้น ชอว์อยู่เกินค่าเฉลี่ยของลีกมานิดหน่อย ซึ่งก็ถือว่าโอเค ส่วนทางด้านวิคตอร์ ลินเดอเลิฟ ไม่มีชื่อขึ้นมาในนี้ แต่ก็น่าจะอยู่แถวกลางๆในกราฟนี่แหละ ลินเดอเลิฟดวลโหม่งมีอัตราชนะที่63.6% ถือว่าเกินมีนมานิดนึง ก็ยังดีที่ไม่แย่จนเกินไป

แต่ทีนี้ มาดูนักเตะในประเด็นของเราบ้าง แฮรี่ แมกไกวร์ในกราฟนี้อยู่ในบริเวณมุมบนซ้ายของกราฟ เป็นกลุ่มที่โดดเด่นเฉพาะเรื่องลูกกลางอากาศเป็นหลัก แต่การดวลบนพื้นไม่ค่อยดี

อย่างที่เคยนำเสนอไป ลูกโด่งของแฮรี่ แมกไกวร์นั้นอัตราชนะอยู่ที่ราว 76.7% (ช่วงก่อนหน้านี้มีแตะไปสูงกว่านี้ด้วยซ้ำ) ซึ่งถือว่าเยอะมากๆ อยู่ในกลุ่มกองหลังที่โหม่งดีมากๆของพรีเมียร์ลีก คนอื่นๆที่เด่นเรื่องลูกหัว นอกจากรูดิเกอร์กับพี่แมก ก็ยังมีพวก ไทโรน มิงส์ / ไมเคิล คีน(แหงล่ะ โดนมาแล้ว) / ยานนิค เวสเทอร์การ์ด / เคิร์ท ซูม่า / วิลลี่ โบลี่ / ติอาโก้ ซิลวา เป็นต้น พวกนี้โหม่งเทพๆกันทั้งนั้น (แม้กระทั่งแนท ฟิลลิปส์ ของลิเวอร์พูลเองก็ตามที)

แต่

ในด้านของการดวลภาคพื้นดิน แมกไกวร์อยู่เยื้องมาค่อนข้างซ้ายสุดๆในกราฟนี้เหมือนกัน True Tackleภาคพื้นดินชนะแค่ไม่ถึง34% ซึ่งต้องอธิบายก่อนว่า "True Tackle" คือการเข้าสกัดจริงว่า ตัวนักเตะ เสียฟาล์วไปเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับความพยายาม(attempts)ทั้งหมดในการจะชิงบอลกลับคืนมา ซึ่งก็แปลว่า 66%จากการเข้าแทคของแมกไกวร์จะเสียฟาล์วมากกว่า และสำเร็จอยู่ที่ราว34%นั่นเอง นี่คือTrue Tackle

ส่วนถ้าเป็นการเข้าแทคเกิลต่อตัวที่พยายามจะ"เลี้ยงผ่าน"แมกไกวร์ (Tackles VS Dribbles) อัตราเข้าแทคสำเร็จอยู่ที่ 47.6% ชนะ10ครั้ง โดนเลี้ยงผ่านไป11ครั้ง จากทั้งหมด21การดวลต่อตัวเลี้ยง ข้อมูลนี้ไม่ปรากฏอยู่ในแผนภาพดังกล่าว แต่เป็นสถิติจากต้นทางของFBrefเช่นกัน

จะเห็นว่าทั้งสองค่าของแมกไกวร์ จะไม่ถึงaverageทั้งคู่ ทั้งทรูแทคเกิล และ แทคเกิลผู้เล่นที่เลี้ยงกินตัวได้ นั่นแปลว่า ข้อนี้ที่ริโอ เฟอร์ดินานด์ พูดถึงจุดอ่อนของแมกไกวร์เรื่อง one-on-one เอาไว้นั้น ก็ถือว่า "จริง" อย่างที่เฟอร์ดี้พูดนั่นแหละ เพราะสถิติก็บ่งบอกชัดเจนว่าแมกไกวร์มีปัญหาเรื่องการดวล1-1กับคู่แข่ง(โดยเฉพาะตัวรุกสายสปีด) เข้าแทคเกิลจัดการคู่ต่อสู้บนพื้นได้ไม่แม่นยำเท่าไหร่ที่อัตราความสำเร็จต่ำมาก

ริโอ เฟอร์ดินานด์พูดถูกในประเด็นนี้

ส่วนทางด้านของอารอน วานบิสซาก้านั้น ในกราฟนี้จะเห็นว่า เขาอยู่สุดขอบทางด้านขวาแบบจริงๆจังๆ ขวาสุดโต่งแบบว่า ไม่มีตัวที่ขวาใกล้ๆเขาด้วยเพราะโดนฉีกทิ้งขาดลอย ตัวที่ขวารองลงมาจากAWB น่าจะเป็น Ben Godfrey ตัวที่เล็งๆกันไว้นี่แหละ คืออีกคนนึงที่มีการดวลบนพื้นดินเทพกว่ากองหลังตัวอื่นในลีก อัตราชนะของTrue Tackleอยู่ที่ราว66%กว่าๆ

แต่อารอนของเรา อัตราชนะอยู่ที่68%เน้นๆ ซึ่งสูงที่สุดแล้ว เรียกง่ายๆว่าเข้าแทคเกิลแต่ละที พลาดน้อยมากๆเพียงแค่ราว32% ซึ่งก็น้อยกว่า1ใน3ซะอีกที่บิสซาก้าจะเข้าแล้วพลาดเสียฟาล์ว อย่างที่เราเห็นกันว่านานๆที ท่าไม้ตายสเปียร์แทคเกิลของเขาจะเข้าแล้วว่าวลูกบอล และเสียฟาล์วไป อย่างที่เกมล่าสุดเจอเวสต์แฮมเป็นต้น นอกนั้นก็นึกไม่ค่อยจะออกเท่าไหร่

แต่วานบิสซาก้าของเราในเรื่องของการดวลลูกกลางอากาศ เขาต่ำกว่าmeanอย่างชัดเจน เมื่ออัตราของAerial Duels Won% ของ วบสก. อยู่ที่ 54.5%เท่านั้น ซึ่งตกมีนของ60%ที่เป็นค่าเฉลี่ยของกองหลังในพรีเมียร์ลีก ที่ส่วนใหญ่โหม่งชนะอยู่ราวๆนั้น ซึ่งในแกนตั้ง วานบิสซาก้าถือว่าอยู่เยื้องมาด้านล่างเช่นกัน ดังนั้นพื้นที่ที่เขาอยู่ในกราฟนี้จึงเป็นมุมขวาล่าง ซึ่งมันแปลว่า เขาเป็นนักเตะประเภทที่โดดเด่นกับ Ground Duels หรือการดวลบนภาคพื้นดินอย่างเดียวนั่นเอง แต่ลูกโหม่งไม่ดีเท่าที่ควร

ปัญหานี้ไปทบกับอีกคนนึงที่เขียนไว้ในพารากราฟบนๆว่าคือ ลุค ชอว์ ที่ตกมีนของเรทการโหม่งชนะเฉลี่ยๆในลีกเช่นกัน ดังนั้นสองฟูลแบ็คของเรามีปัญหากับเรื่องนี้กันทั้งคู่ จากลูกที่โดนไมเคิล คีนแย่งขึ้นโหม่งชนะกันแบบเห็นๆ ก็คือคำตอบที่ดี พอรวมกับนักเตะอย่างลินเดอเลิฟ และไบญี่ ซึ่งก็ไม่ได้เด่นเรื่องลูกโหม่ง ทั้งคู่อีกเช่นกัน (เชื่อหรือไม่ว่า ลุค ชอว์สูง 185cm วานบิสซาก้าเตี้ยกว่าชอว์ซะอีก ที่183cm ส่วนลินเดอเลิฟกับไบญี่สูง 187ทั้งคู่ สูงกว่าชอว์แค่2cm มีพี่แมก194อยู่คนเดียว)

ภาระเรื่องลูกกลางอากาศในทีมตอนนี้ จึงมีแฮรี่ แมกไกวร์ แบกทีมเอาไว้คนเดียวที่โหม่งจนหัวถลอก จึงต้องย้อนกลับไปพูดถึงบทความล่าสุดที่เพิ่งก่อนหน้านี้ในการแก้ไขปัญหาการโดนเซ็ตพีซ(=ประหาร)ของทีมเราว่า ต้องหาCBที่โหม่งเก่งๆเข้ามาเสริมทีมเพื่อลดความเสี่ยงจะโดนเซ็ตพีซเล่นงานเอา ซึ่งเป็นพอยท์ที่สำคัญกับเกมถึงราวๆ30-40%ในมุมมองของโอเล่นั้น จำเป็นมากๆในเรื่องนี้

สรุปแล้วนั้น ในสิ่งที่เป็นอยู่ก็คือ แฮรี่ แมกไกวร์ กับ อารอน วานบิสซาก้า เป็นนักเตะที่เก่งแบบโดดเด่นมากๆกันคนละด้านแบบสุดโต่งไปเลย คนนึงโหม่งเทพไปเลยแต่ลูกบนพื้นไม่ค่อยดี ส่วนอีกคน บนพื้นยังกะตัวอีดิต เทพจัดๆ แต่ลูกโหม่งก็ไม่ค่อยเด่นมากๆ

เพราะฉะนั้น สิ่งที่เฟอร์ดินานด์พูดถึงความสามารถในการดวลตัวต่อตัว แน่นอนทุกคนรู้กันมานาน และรู้ดีอยู่แล้วว่า หมอนี่ชอบดวลตัวต่อตัวขนาดไหน สถิติที่ออกมาดังกล่าวยิ่งทำให้เห็นชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า สแตทมันสุดโต่งเกินนักเตะคนอื่นๆจริงๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ริโอหล่นคำพูดเอาไว้ เรื่องการที่ต้องไปcoachingให้กับวานบิสซาก้าในเรื่องของการเล่นที่เป็น on the ball กับ with the ball นั้นก็ดูเหมือนกว่าจะจริงอีกเช่นกัน

ประเด็นนี้เคยนำเสนอไปแล้วในการพูดคุยถึงจุดอ่อนจุดแข็งของบิสซาก้าในเรื่องที่ว่าเป็นแอเรียที่แข็งแกร่งของเขา เราจะนำมันมาแสดงให้ดูกันอีกครั้งในภาพๆนี้

จะเห็นว่าจุดที่AWBทำได้ดีมากๆคือด้าน"ขวาหลัง" ซึ่งเป็นเหมือนเทะสึกะโซนของพี่แก ที่ไม่ว่าใครหน้าไหนเข้ามาก็ต้องเป็นศพกลับไปทุกราย (ราฮีม สเตอลิ่งน่าจะรู้ดีที่สุดกว่าใครๆแล้ว) บริเวณนั้นคือการได้โชว์เกมรับแบบจริงๆจังๆของอารอนในการ"ดวลกับปีก" ซึ่งก็เป็นจุดแข็งอย่างที่ริโอบอกนั่นแหละ แต่เมื่อสังเกตดูดีๆ ในพื้นที่ด้านหลังบริเวณที่หุบไปตรงกลาง การหุบเข้ากลางของบิสซาก้ามักจะเกิดปัญหาบ่อยๆเวลาเจอกับ "ลูกโด่ง" ที่มักจะโหม่งพลาดบ่อยๆ ยิ่งคอมโบกับ "ลินเดอเลิฟ" ในการขึ้นโหม่งตรงนั้น บอกเลยว่าม่องเท่งแน่นอน

จุดที่เราโฟกัสกันก็คือ อีกพื้นที่ที่วานบิสซาก้าทำได้ดีคือ ด้านขวาบน ซึ่งเป็นแอเรียสุดท้ายของfinal thirdที่อยู่ริมเส้นทางขวา ซึ่งก็คือเวลาที่เขาหลุดไปถึงพื้นที่ด้านหลังนั่นแหละ แล้วมีโอกาสเปิดบอลยัดเข้ากลาง (แม้กระทั่งยิงเองก็ตาม) ด้วยความเร็วของเขามันทำให้เกมฉาบฉวยบริเวณนี้อันตรายอย่างมาก และก็เป็นจุดที่ทำได้ดี เพราะเป็นพื้นที่ที่ต้องเล่นเร็วสำหรับการจู่โจมในจังหวะสุดท้ายของเพลย์

แต่พื้นที่ที่ดูจะเป็นจุดอ่อนของบิสซาก้ามาตลอด มันคือริมเส้นฝั่งขวาบริเวณ "กลางๆสนาม" อย่างที่ภาพนี้ไฮไลต์สีแดงๆเอาไว้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นจุดที่เขายังไม่ดีเท่าที่ควร ดูเหมือนว่าอารอนจะ"ขาดความคล่องตัว" ในการเล่นบริเวณนี้มาก เพราะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นกลางสนาม ซึ่งก็คือแอเรียของมิดฟิลด์นั่นเอง

มิดฟิลด์เป็นตำแหน่งที่ผู้เล่นจะต้องมีเบสิคพื้นฐานการเล่นกับลูกบอลดีประมาณนึงที่จะสามารถเอาตัวรอดจากคู่ต่อสู้ที่จะเข้ามาได้จากทุกๆมุมสนาม เพราะว่ามันอยู่ตรงกลาง

ดังนั้น เมื่อนี่คือแอเรียที่ต้องเล่นกับบอลเก่งๆ และเป็นแอเรียที่อารอน วานบิสซาก้าไม่ถนัด นั่นแปลว่า เขาจำเป็นต้องมีทักษะกับบอลที่ดีกว่านี้ เพื่อให้เล่นในบริเวณพื้นที่ริมเส้นฝั่งขวาแถบตรงกลางสนามให้ได้ ซึ่งที่ริโอ เฟอร์ดินานด์พูดนั้น ไม่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงเลย เมื่อเขาบอกให้บิสซาก้าไปพัฒนาเรื่องทักษะการเล่นกับบอลให้มากๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถปรับปรุงได้

หากว่าอารอนพัฒนาในจุดของ "การเล่นกับบอล" ได้ดีกว่านี้ รวมถึงหากไปพัฒนาการ"ขึ้นโหม่ง" ให้แม่นยำ แข็งแกร่ง และดีกว่านี้ได้ อันเป็นอีกหนึ่งจุดอ่อนของเขานั้น สองประเด็นนี้ถ้าแก้ได้ ภาพของพื้นที่ไฮไลต์สีเขียวที่เป็นแอเรียแข็งแกร่งของเขา มันจะกลายเป็นสีเขียวในทุกๆจุดรับผิดชอบของตำแหน่งเขาทันที

หากเป็นไปได้มันจะสมบูรณ์แบบและดียิ่งกว่านี้สำหรับAaron Wan-Bissaka

และสุดท้ายท้ายสุด ปัญหาเรื่องจุดอ่อนในด้านการดวลตัวต่อตัวกับคู่แข่ง ของแฮรี่ แมกไกวร์นั้น สรุปแล้วมันควรจะเป็นยังไงกันแน่ อันนี้ก็ต้องย้อนไปอีกครั้งว่า สิ่งที่ริโอ เฟอร์ดินานด์พูดนั้น ไม่ผิดจริงๆที่ว่า เขามีปัญหาที่เป็นจุดอ่อนในเรื่องนี้

แต่

ถามว่า มันเป็น"ปัญหาใหญ่" ในระดับของ"ทีม" ที่เราจำเป็นต้องconcernกันขนาดนั้นเลยหรือไม่ พูดได้เลยว่า "ไม่ขนาดนั้น" ด้วยเหตุผลสองประการก็คือ

1.การทดแทนจุดอ่อนให้กันและกันของ"เพื่อนร่วมทีม"

นั่นก็คือ นักเตะหนึ่งคนไม่จำเป็นต้องทำได้ทุกอย่าง ไม่งั้นจะมีสิ่งที่เรียกว่า "ทีม" เอาไว้ทำไม ซึ่งใครมันจะไปเก่งแบบall aroundได้ถึงขนาดเป็นIdeal Playerได้ขนาดนั้น ไม่มีหรอก เพราะการจะมีนักเตะประเภทนั้นได้ แปลว่าทีมจะต้องทุ่มเงินระดับร้อยๆล้านทีเดียวเพื่อที่จะไปดึงตัวเก่งๆของคู่แข่งมาให้ได้ถึงขนาดนั้น ซึ่งในโลกฟุตบอลที่แข่งขันกันสุดๆ เม็ดเงินที่จะต้องใช้ฉีดเข้าไปในระบบยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

การแก้ปัญหาด้วยเงิน อาจไม่ใช่สิ่งที่สโมสรอย่างเราที่ต้องพึ่งพาตัวเองนั้นจะสามารถทำได้

นักเตะที่เรามีอยู่ในมือนั้น หากว่าทำตามแทคติก หรือมีจุดแข็งในสิ่งที่ทีมต้องการจากตำแหน่งนั้นๆ ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว ส่วนอะไรที่เป็นข้อด้อยที่ "เพื่อนไม่ถนัด" เราก็สามารถที่จะให้คนอื่นๆช่วยกันทดแทนสิ่งที่ขาดไปได้ เพื่อให้เรื่องนั้นบาลานซ์ที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น เฟร็ด เป็นกองกลางที่ออกบอลกากมากๆ (ฮา ไอ้เฟร็ดบอก ทำไมไม่ยกตัวอย่างอื่นวะ) เราก็อาจจะไม่จำเป็นต้องcoachingให้เฟร็ดเป็นตัวออกบอลหลักให้กับทีม แต่ให้เขาทำหน้าที่ที่ถนัด นั่นก็คือเติมพลังงานการเล่นเชื่อมเกมให้กับแดนกลางก็พอ แต่ภาคการออกบอล เราก็ให้นักเตะคนอื่นๆที่ลงสนามตอนนั้นทำแทน ไม่ว่าจะเป็นปอล ป็อกบาถ้าหายกลับมา หรือรวมถึง เนมันย่า มาติช เป็นต้น

กลับกัน มาติชเองก็ไร้สปีดและพลังงานมากพอจะวิ่งเหวี่ยงไปทั่วสนามได้เหมือนเฟร็ด จุดนี้เฟร็ดเองก็ต้องทำแทนมาติชเช่นกัน และนี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่าการทดแทนจุดอ่อนให้กันและกันของเพื่อนร่วมทีม

ถามว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับแมกไกวร์ยังไง? ก็ด้วยวิธีคิดเดียวกัน ในเมื่อแฮรี่ แมกไกวร์ ไม่ได้เก่งเลยในการจะดวลกับคู่แข่ง1-1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นตัวสุดท้ายที่ยืนหลังสุดนั้น ยิ่งอันตราย เพราะฉะนั้นแล้วเราก็แก้ไขได้ง่ายๆด้วยการ มอบหน้าที่ดวล1-1ให้เพื่อนคนอื่นทำสิ

อย่าให้เกิดsituations one-on-one กับแฮรี่ แมกไกวร์บ่อยๆ นั่นคือสิ่งที่ทีมทำได้ และถ่ายโอนหน้าที่นี้ไปให้กับเพื่อนตัวอื่นที่แข็งแกร่งกว่าแทน

และนั่นคือคำตอบที่ว่าทำไมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ถึงต้องการกองหลังตัวใหม่ที่จะมายืนคู่กับแฮรี่ แมกไกวร์ ซึ่งมีสปีดความเร็วในการ Tracking Back เพื่อช่วยรับมือกับเกมสวนกลับและการดวลตัวต่อตัวกับคู่แข่งในจังหวะโอเพ่นเพลย์นั่นเอง หากว่าทีมซื้อตัวใหม่ที่เข้าแทคเกิลเก่งๆ ดวลกับคู่แข่งดีๆมาได้ ก็จะดีมากยิ่งขึ้นไปด้วย

(หากเก่งลูกกลางอากาศด้วยก็จำเป็นมากๆเพราะจะได้แก้ไขเรื่องปัญหาเซ็ตพีซได้เลยในทีเดียว ซึ่งตัวที่โหม่งดี แทคเกิลเยี่ยม นาทีนี้ก็มีแค่ Nikola Milenkovic เท่านั้นแหละที่สถิติมันoutstandingมากๆ หากซื้อFofana หรือ Kounde เข้ามา อาจจะแก้ปัญหาได้แต่ภาคพื้นอย่างเดียว ถ้าเป็นแบบนั้นคือ โอเคสำหรับการเป็นตัวแทนลินเดอเลิฟภาคพื้น แต่อาจจะแก้ไขเรื่องลูกโด่งไม่ได้)

2. แทคติกก็ช่วยได้

ข้อนี้เกี่ยวพันกับหัวข้อข้างบนเช่นกัน เพราะว่าเราสามารถที่จะวางแทคติกที่ช่วยให้แฮรี่ แมกไกวร์ ไม่ต้องไปดวล 1-1 กับคู่ต่อสู้ในบริเวณกลางสนามให้มันอันตรายเล่นๆเหมือนอย่างที่ริโอ เฟอร์ดินานด์กังวล

เพราะเราไม่จำเป็นให้แมกไกวร์ยืนห้อยหลังคนเดียวโดดๆ เหมือนเวลาอากาศร้อนแล้วไข่ซ้ายย้อยต่ำลงมาข้างเดียวที่ไหน!!

สิ่งนี้คือสิ่งที่โอเล่เองก็รู้อยู่แล้ว มันเป็นแทคติกความเข้าใจขั้นพื้นฐานมากๆที่จะต้องวางตัวผู้เล่นที่มีสปีด เอาไว้ป้องกันในจังหวะสวนกลับ

เช่นกัน แทคติกของโอเล่มักจะไม่ปล่อยให้แมกไกวร์ยืนค้ำด้านหลังห้อยท้ายอยู่คนเดียว เพราะมันอันตรายมากๆ หากว่าจะมีการดันสูงเปิดพื้นที่ขึ้นมา อย่างน้อยที่สุดตัวที่จะไม่หลุดตำแหน่งขึ้นไปด้วยถ้าแมกไกวร์อยู่หลัง ก็คือเซ็นเตอร์แบ็คคู่กับเขานั่นแหละ

พูดง่ายๆคือ ถ้าแมกไกวร์อยู่หลังสุด เขาจะไม่ยืนอยู่คนเดียว

ตัวอย่างง่ายๆก็อย่างเช่นในรูปนี้ ลักษณะของdefensive lineแมนยูไนเต็ดที่ดันสูง และกำลังจะโดนเวสต์แฮมในรูปวางบอลยาวข้ามแผงหลังมานั้น จะเห็นว่าจังหวะดันสูง มันก็ไม่ได้มีอะไรให้แมกไกวร์ต้องไปดวล1-1 เป็นตัวสุดท้ายของทีมเลยเนื่องจากเราก็ยังมีตัวอื่นๆอย่างลินเดอเลิฟ หรือ วานบิสซาก้า ที่ยืนคุมแนวหลังอยู่ในระนาบเดียวกัน และสองคนนั้นมีสปีดมากพอจะวิ่งตามลงไปmarkingตัววิ่งได้

ภาพนี้คือจังหวะผิดพลาดในเกมเจอสเปอร์ ในยามที่แมกไกวร์หลุดออกจากตำแหน่งตัวเองไป และกำลังจะโดนบอลสวนกลับเช่นกัน ก็จะเห็นว่าอย่างน้อยเรายังมีกองหลังสายสปีดสองคนอย่างไบญี่ กับ ชอว์ ที่ยืนคุมLineหลังสุดให้กับทีมอยู่

นอกจากจังหวะดันสูงของทีม ที่เราจะไม่ปล่อยให้แมกไกวร์ต้องเป็น "ตัวสุดท้ายคนเดียวโดดๆ" แล้วนั้น ยังมีช่วงที่เป็นแผนการบุกแบบ "overload" ของโอเล่ กุนนาร์ โซลชา ในหลายๆเกมที่ทีมกำลังจะแพ้หรือตกรอบ โซลชามักจะจัดแผนแบบทุ่มบุกสุดตัว เอากองหลังออกส่งกองหน้าลงแทน หรือแม้กระทั่งดันนักเตะเข้าไปในกรอบให้มากที่สุดนั้น

ซึ่งในแผนนี้ แฮรี่ แมกไกวร์ มักจะถูกดันขึ้นไปยืนเป็นกองหน้าตัวค้ำในกรอบมาแล้วหลายต่อหลายนัด

ถ้าใครตามดูแมนยูไนเต็ดบ่อยๆจะเห็นว่า ตัวที่ยืนหลังสุดในแผนoverloadหลายๆครั้งนั้นคือ "วิคตอร์ ลินเดอเลิฟ" ที่มีสปีดและความเร็วสูงพอจะไล่ตามคู่แข่งได้ หรือบางครั้งก็เป็น เนมันย่า มาติช เช่นกัน

นอกจากนั้นแล้ว อีกตัวช่วยนึงของลินเดอเลิฟ/มาติช ก็คือ "แบ็ค" ตัวใดตัวหนึ่งที่จะต้องยืนต่ำช่วยคุมสองคนนี้อยู่อีกที เพื่อป้องกันโดนสวนกลับแบบเละเทะ จะได้มีตัวช่วยได้

ประเด็นนี้เราเห็นได้ชัดในเกมที่โดนนกฮูกจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลอย่าง "อิสตันบูล บาซัคเซเฮียร์" กระซวกในจังหวะcounter-attackจนเละเทะ นั่นไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของแมกไกวร์ แต่เกิดจากหนึ่งในอุปกรณ์ป้องกันแผงหลังอย่าง "แบ็ค" ที่ว่านั้น หลุดตำแหน่งขึ้นไปด้วย

ผลกรรมจึงตกอยู่ที่ตัวห้อยอย่างมาติชคนเดียว ซึ่งจริงๆไม่ใช่ความผิดพี่แกอย่างเดียวที่ไหน เพราะแบ็คหลุดหมดสองข้างเลย

แฮรี่ แมกไกวร์ ดันสูงตามแทคติก ไม่ใช่ความผิดพลาดของกัปตัน

ในข้อนี้เราไม่ได้จะให้โฟกัสเรื่องความผิดพลาด แต่จะให้ดู "แทคติกขั้นพื้นฐาน" ของแมนยูไนเต็ด และจริงๆก็ของทุกทีมนั่นแหละว่า ไม่มีใครบ้าพอจะให้นักเตะสไตล์ช้านะครับแหม่อย่าง แฮรี่ แมกไกวร์ ต้องยืนห้อยเป็นตัวสุดท้ายของทีมเลยแม้แต่ครั้งเดียว จากสามรูปที่นำมาแปะนี่ผู้อ่านก็น่าจะพอเห็นภาพแล้วว่า ความช้าของแมกไกวร์และปัญหาการดวล1-1ของเขานั้น มันสามารถปิดและแก้ไขได้ด้วยแทคติกที่ง่ายที่สุดด้วยซ้ำ

แทบนับครั้งได้เลยที่ต้องเห็นแมกไกวร์ต้องดวล1-1กับคู่ต่อสู้ เพราะมันไม่ได้เจอบ่อยขนาดนั้น เนื่องจากมีแทคติกของทีมรองรับในส่วนนี้ไว้อยู่แล้ว

ดังนั้น อะไรที่เป็นจุดอ่อนของพี่แก เราอย่าให้เกิด และเราเลือกที่จะใช้จุดแข็งของเขาออกมาให้มากที่สุดในยามที่ถอยลงไปตั้งรับหน้าโกลนั่นเอง แล้วลูกโหม่งหัวถลอกสะท้านปฐพีของแกจะแผลงฤทธิ์ทันที

สรุปแล้วนั้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้เราทำบทความขึ้นมาเพื่อที่จะบอกว่า นักเตะของเรามีจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างที่ริโอ เฟอร์ดินานด์ว่าไว้จริงๆตามสถิติดังกล่าว และก็เป็นเรื่องที่เราทุกคนมองเห็นเช่นกัน

แต่ถ้าจะหยิบเอาประเด็นจุดอ่อนนี้ของแฮรี่ แมกไกวร์ มาโจมตีเพื่อที่จะเหยียบย่ำกันว่า นี่คือดีล80ล้านที่ล้มเหลว ผมก็ว่ามันมากเกินไปหน่อย

มันอาจจะเข้าทางกับhatersที่ไม่ชอบแมกไกวร์อยู่แล้ว แต่ในฐานะคนดูที่เป็นกลางๆอย่างเราที่อันไหนดีก็ชม อันไหนไม่ดีก็ตินั้น เรารู้สึกว่าเขาโดนโจมตีมากเกินไปหน่อย ในขณะที่จุดดีๆที่แกทำก็มีอยู่หลายอย่างเช่นเดียวกัน

เราไม่จำเป็นต้องมีกองหลังขนาดที่เก่งมันไปซะทุกเรื่องก็ได้ ถ้าหากว่าไม่มีเงินจะไปทุ่มซื้อมาขนาดนั้น มันสามารถใช้ภาคการบริหารทีมและจัดการกับแทคติกเพื่อที่จะกลบจุดด้อย และดึงจุดเด่นขึ้นมาใช้งานได้

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว จุดอ่อนที่มีอยู่จริงนี้ของแฮรี่ แมกไกวร์นั้น ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่ต้องถึงกับเป็นกังวลอะไรมากขนาดนั้น เมื่อเราสามารถใช้จุดแข็งของนักเตะตัวอื่นๆมาเพื่อทดแทนสิ่งที่กัปตันทีมขาดไปได้ ในการดวลกับคู่แข่งภาคพื้นดิน และนั่นแหละครับคือสิ่งที่บอกว่า ทำไม"ทีมเวิร์ค" ถึงจำเป็นกับโลกฟุตบอลนัก ในยามที่เกมมันแข่งขันกัน11คน

"ไม่ใช่แข่งบอลชายเดี่ยวกัน"

คือถ้ามีบอลชายเดี่ยว แน่นอนว่าแมกไกวร์อาจจะลงแข่งในรายการชายเดี่ยวไม่ได้เลยด้วยซ้ำ (ไม่งั้นส่งด็อกเตอร์ไปแข่งก่อนเลยคนแรก อะหยอกๆ) แต่บังเอิญว่ามันไม่มีไง เพราะงั้นเราไม่จำเป็นต้องจี้จุดอ่อนแล้วมาชี้หน้าด่าแมกไกวร์ว่า "มึงกาก" อะไรกันขนาดนั้น

สิ่งที่ดีที่สุดในการจะช่วย"ปรับปรุง" ให้ปัญหาจุดอ่อนนี้มันบรรเทาได้นั้น ก็คือการหานักเตะเซ็นเตอร์แบ็คตัวหลักคนใหม่ที่ดีพอจะมายืนเป็นหลักระยะยาวคู่กับแมกไกวร์ให้ได้เท่านั้นเอง โดยที่เป็นคนที่แข็งแกร่งในเกมบนพื้นมากๆในด้านของการสกัดบอลและแทคเกิลที่โดดเด่น และถ้ามีสกิลลูกโหม่งบ้างเพื่อที่จะแบ่งเบากัปตันทีมได้จะยิ่งดี เพราะฉะนั้นเราควรโฟกัสที่การเสริมทีมเพื่อหากองหลังที่มาจับคู่แล้วลงตัวกับแมกไกวร์ให้พอดีนั่นเอง

ริโอ เฟอร์ดินานด์ อาจจะลืมไปว่า ตอนที่เขาเป็นปราการหลังที่แข็งแกร่งที่สุดของเราในยุคนั้น เราก็ไม่ได้เอ่ยชื่อถึง ริโอ เฟอร์ดินานด์ คนเดียวโดดๆซะที่ไหนว่าเก่งที่สุดในจักรวาล แต่สิ่งที่แฟนผีจำได้ไม่เคยลืมคือ "คู่หูไร้เทียมทาน ริโอ-วิดิช" ในตำแหน่งคู่เซ็นเตอร์แบ็คที่แข็งแกร่งที่สุดในประวัติศาสตร์ของเราต่างหาก ที่เป็นสิ่งที่เราจำได้

เฟอร์ดินานด์เองเป็นกองหลังสายดักทาง+เล่นกับบอล ที่แม้เฮียเต่าแกจะเก่งมากก็จริงในช่วงพีคๆ แต่กับลูกปะทะ การเข้าแทคเกิลหนักๆใส่คู่แข่งนั้น เนมันย่า วิดิช ก็ทำได้ดีและโดดเด่นกว่าเช่นกัน

จุดที่ทำให้เราแข็งแกร่งได้มันคือ "combinationจากความอ่อนแอ" ที่ถูกทดแทนซึ่งกันและกัน กลับกลายเป็นกำแพงเหล็กยักษ์ที่ดุเดือดที่สุดขึ้นมาได้

หากว่าทีมเรา "เลือกคู่หู" ให้กับแฮรี่ แมกไกวร์ได้ "ถูกคน" เราก็จะเซ็ตกำแพงยักษที่ไร้เทียมทานแบบนั้นได้เช่นกัน หากว่าทีมเลือกมาถูก อย่างเช่นการที่ควรจะพยายามใช้ เอริค ไบญี่ เป็นคู่หูหลักของแมกไกวร์ไปก่อนในเกมสำคัญๆ เพราะเขาสอดรับกันพอดีในความเป็น Stopper ของไบญี่ มารวมกับการเป็นBall-Playingของแมกไกวร์ มันก็จะสอดรับกันพอดี เหมือนแมกไกวร์คือริโอ และ ไบญี่คือวิดิชนั่นแหละ

สองคนนี้ไม่จำเป็นต้องเก่งเท่าคู่ริโอ-วิดิช แต่แค่สอดประสานกันลงตัว แค่นั้นก็น่าจะพอแล้ว

ปัญหาคือ โอเล่มักจะไม่เลือกไบญี่เป็นตัวคู่หูหลักของแมกไกวร์ กลับเป็นลินเดอเลิฟที่เป็นกองหลังสายรอดักจังหวะสอง และเป็นตัวBall-Playingเหมือนแมกไกวร์มากกว่า

รวมถึงเอริค ไบญี่เองก็ไม่สามารถคาดหวังให้พี่แกฟิตและยืนระยะลงสนามได้ทุกนัดในซีซั่น ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะแกมีปัญหาอาการบาดเจ็บบ่อย

นอนยังกะหยำฉา -.,-''

นี่แหละครับ เมื่อคู่หูทั้งสองคนของแฮรี่ แมกไกวร์ ไม่มีความแน่นอนเลยสักคนเดียว มันจึงเป็นคำตอบสำคัญนั่นแหละว่าทำไม สโมสรเราจึงต้องกระโจนลงตลาดนักเตะในซัมเมอร์นี้ให้เน้นๆกับการหาตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็คมาคู่แมกไกวร์ ก็สำคัญไม่แพ้กับตำแหน่งอื่นๆที่ยังขาดเช่นกัน

ถ้ามีคู่หูดีๆเข้ามาให้แมกไกวร์ เฟอร์ดินานด์อาจจะจำได้อีกครั้งก็ได้ว่าวันคืนที่เขาเล่นคู่วิด้ามันยอดเยี่ยมขนาดไหน

-ศาลาผี-

References

https://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-9367203/Rio-Ferdinand-says-Harry-Maguires-lack-speed-Manchester-Uniteds-biggest-concern.html

https://fbref.com/en/players/d8931174/Harry-Maguire

https://i.redd.it/obhnx1c896n61.jpg

https://totalfootballanalysis.com

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด