:::     :::

Tactical Analysis : "ไดมอนด์ไม่ได้เหมาะกับทุกเกม การจับคู่แม็คเฟร็ดก็เช่นกัน"

วันอังคารที่ 03 พฤศจิกายน 2563 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
3,173
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
นี่คือเรื่องราวหนึ่งในเหตุผลของความพ่ายแพ้ที่ถูกแกะออกมาอธิบายเป็นแทคติก และการเปรียบเทียบให้เห็นเชิงประจักษ์ด้วยสถิติตัวเลขที่ชัดเจน จะได้รู้กันไปว่า พลาดเพราะอะไร และพวกเราควรแก้จุดไหน

ในขณะที่เรากำลังดีใจอยู่กับความสำเร็จในการใช้มิดฟิลด์ไดมอนด์ในเกมชนะไลป์ซิก 5-0 นั้นมันก็มีข้อสังเกตอะไรบางอย่างเกิดขึ้นด้วยซึ่งเราอาจจะหลงลืมไป และกลับมานึกขึ้นได้อีกครั้งในเกมแพ้อาร์เซนอล 0-1 นัดที่เพิ่งผ่านมา

สิ่งที่ว่านี้คือ ในยามที่เล่นแผนไดมอนด์ แมนยูไนเต็ดไม่ได้สร้างสรรค์เกมรุกได้มากเท่าที่ควรจากการใช้แผนนี้

เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับเกมไลป์ซิกที่ถอดกรีนวู้ด ที่ยิงได้และเกมนำอยู่แค่ 1-0 มาร์คัสแรชฟอร์ดลงไปพร้อมกับสวิตช์แผนจากไดมอนด์เป็น ทรง 4-3-3 ถึงได้ขยี้ไลป์ซิกได้เพิ่มอีกหลายลูก

ซึ่งสิ่งที่กล่าวนี้ไม่ได้หมายความว่าแผนไดมอนด์มันไม่ประสบความสำเร็จ เพราะจริงๆแล้วมันสำเร็จที่ความเหนียวแน่นในตัวมันมากๆ ชนิดที่เรียกว่าต่อให้เล่นในสนามสักสามชั่วโมงก็เชื่อว่าไลป์ซิกน่าจะไม่ใกล้เคียงกับการทำประตูแมนยูได้เลย

มีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้โซลชาตัดสินใจนำเอา diamond กลับมาใช้ในเกมกับอาร์เซนอลเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาซึ่งตรงนี้มันกึ่งๆจะเป็นการแปลความหมายจากแผนว่า โซลชาไม่ได้มองว่าอาร์เซนอลไม่ได้มีเกมรุกขึ้นหน้าที่น่ากลัวมากนัก ซึ่งในความเป็นจริงก็ตรงตามนั้นแหละ เกมรุกอาร์เซนอลเองก็ไม่ได้ถึงกับดีมาก(เพราะก็ยิงเราไม่ได้ในจังหวะโอเพ่นเพลย์)

แต่กลับกัน อาร์เซนอลเป็นทีมที่มีเกมรับดีเยี่ยมคล้ายๆกับเอฟเวอร์ตันในยุคเก่าของเดวิด มอยส์ซะมากกว่าอีก มากกว่าที่จะเป็นทรงบอลที่ได้รับมาจากเป๊ป กวาร์ดิโอลาร์ ซึ่งทีมของอาร์เตต้าไม่ได้สร้างขึ้นมาในสไตล์แมนซิตี้ของเป๊ปเลย

รูปแบบการเล่นของแมนยูถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆโดยฝีมือของโซลชา โดยที่ดูเหมือนว่าแกจะใช้การ "เลือกแผน" โดยbased on ชุดความคิดที่ว่า

"โอเค แผนนี้ที่เราใช้เล่นกับเขาเมื่อปีที่แล้วมันเวิร์คว่ะ"

และ(หรือ)

"จริงๆ แผนนี้เมื่ออาทิตย์ก่อนก็ดีนะ"

นั่นแหละ พี่ท่านก็เลยใช้ต่อ


อันนี้เก็ทภาพไหมครับ ผมว่าแฟนผีทุกคนเก็ท โซลชาเป็นแบบนี้แหละ มีชุดความคิดเลือกแผนแบบนี้คือ แผนไหนดีก็จะใช้ต่อซ้ำๆ จนกระทั่งทีมต่างๆเริ่มจัดการมากขึ้นเรื่อยๆ มันก็จะเป็นลูป "ชนะช่วงแรกๆ แล้วโดนจับทางได้ช่วงหลังๆ"

ลักษณะกึ่งๆลูปแบบนี้ เกิดมาจากชุดความคิดในการเลือกแผนของโซลชาแน่นอน เขามักจะเลือกใช้แผนแบบนี้โดยไม่ค่อยให้น้ำหนักกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้องเจอสักเท่าไหร่

กรณีกับเกมเชลซีอาจจะอ้างได้ว่า โอเคเชลซีมาแบบเกลือจิ้มเกลือใส่เราซะยังงั้น (3-4-2-1 หลังสาม ตัวปั้นสองตัว แวร์เนอร์หน้าเป้า ถ้ายังจำกันได้) และเล่นเกมเหนียวใส่เรา ดังนั้นผลเสมอ0-0เลยอาจจะบ่นโซลชาไม่ได้ เพราะขนาดว่างงแผนก็ยังบุกดีกว่าเชลซีด้วยซ้ำ

แต่กับอาร์เซนอลไม่มีสิทธิ์เอ่ยข้ออ้างที่ว่านี้ เพราะพวกเรารู้ดีว่าอาร์เซนอลจะเล่นยังไง

ตัวผู้เขียนเองขนาดเป็นแค่แฟนบอลธรรมดาๆคนนึง ตอนเขียนพรีวิวเกมยังรู้เลยว่า ปืนใหญ่จะต้องมาแผนแพ็คกลางแน่ๆ ดังนั้นหากคิดด้วยตรรกะแบบคนทั่วๆไป ผมเองก็คิดว่า ไดมอนด์ไม่ได้เหมาะกับการใช้เจออาร์เซนอลเลยแม้แต่น้อย ผมตัดแผนนี้ทิ้งแผนเดียวเลยซะด้วยซ้ำ แล้วคิดว่า ถ้าไม่ 3-4-1-2 ก็ควรเป็น 4-2-3-1 ที่แฟนผียี้ๆไปเลยจะดีกว่า เพื่อที่จะใช้นักเตะริมเส้นในปริมาณที่มากหน่อย (4ตัว ปีก2แบ็ค2) ไม่ใช่มาอัดตัวตรงกลางสนามเยอะๆ

ดังนั้นใครที่คิดจะใช้แผนนี้หรือทายแผนนี้มาเจอกับอาร์เซนอลแปลว่าเขาไม่ได้ศึกษาคู่แข่งเลย ซึ่งโซลชาในเกมนี้ช่วงครึ่งแรกที่เตรียมแผนมา ก็ดูเหมือนจะเป็นแบบนั้น

และเมื่อการเลือกformationมาผิดในครึ่งแรก ด้วยการเอา 4-3-1-2 ที่เน้นการเล่นตรงกลาง มาเจอกับอาร์เซนอลที่แพ็คกลางด้วย 3-4-3 ผลก็จึงเป็นอย่างที่เห็น แมนยูไนเต็ดไม่สามารถ create chances ได้เลยจากแผนนั้น จากที่เราเห็นกันครึ่งแรกว่า มีช็อตกรีนวู้ดได้ยิงช็อตเดียว นอกนั้นแทบไม่มีอะไรเลย แต่กลับกันน่อลโยนมาฉวัดเฉวียนและยิงถากคานไปได้ด้วยรวมทั้งหมดสามจังหวะเสียว

อ้างอิงตามการวิเคราะห์ของ Rob Blanchette ผู้บรรยายในการการ The Elite Football Show’s Masterclass บอกว่าอาจเป็นเพราะโค้ชและนักเตะแมนยูนั้นมีความเห็นตรงกันก็ได้ว่า จะใช้ไดมอนด์เล่น เนื่องจากเกมเจอไลป์ซิกที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งสิ่งนั้นมันฟ้องอยู่ในตัวของโอเล่ กุนนาร์ โซลชา ซึ่งจริงๆแล้วมันเข้าใจได้นะว่าถ้าจะมีการพูดคุยกันระหว่างโค้ชกับนักเตะเกิดขึ้น และ ผจก. ก็ถามความเห็นจากนักเตะผู้นำ หรือซีเนียร์ในทีมแสดงความคิดเห็น

แต่ไม่ว่าคุณจะคุยกับลูกทีม และรับฟังอะไรมายังไง สุดท้ายแล้วคนเป็นโค้ชก็สำคัญสุดที่จำเป็นต้องตัดสินใจเอง และต้องรู้ว่า"อาร์เซนอลไม่ใช่ไลป์ซิก" พวกเขาเป็นคนละทีมกัน จุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกัน บางแผนเวิร์คกับอีกทีม แต่อาจจะอ่อนแอกับอีกทีมก็เป็นได้

เกมนี้เป็นอีกครั้งที่เราคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ นับตั้งแต่แพ้สเปอร์คาบ้านมา 1-6 ก็อีกสักพักใหญ่ๆเลยก่อนที่โซลชาเพิ่งจะมาทำพลาดอีกครั้ง อันทำให้อาร์เซนอลทำให้แมตช์นี้กลายเป็นงานยาก และสร้างความบรรลัยให้กับยูไนเต็ดได้

"การประเมินประสิทธิภาพในการพังประตู"(เรียกว่า xG ตามการวิเคราะห์ทั่วๆไป ย่อมาจาก expected goal)ของยูไนเต็ดในเกมนี้ ในลูกที่ไม่ใช่จุดโทษนั้น แมนยูไนเต็ดมีประสิทธิภาพการยิงเข้าอยู่ที่ 0.39 ซึ่งก็น้อย แต่ของอาร์เซนอลกลับน้อยกว่าที่ 0.24 มันแปลว่า ยูไนเต็ดนั้นไม่ได้สมควรจะเป็นผู้(ทำประตู)ชนะได้ แต่อาร์เซนอลเองก็ไม่มีประสิทธิภาพในการทำประตูได้เช่นกัน น้อยกว่าแมนยูซะอีก

อันนี้ทุกคนน่าจะเข้าใจดี หากรำลึกกันได้ว่า ที่น่อลชนะเรา 0-1 พวกเขาได้จากจุดโทษนะไม่ใช่โอเพ่นเพลย์

ในเกมที่แมนยูแพ้ 1-6 ต่อท็อตแน่ม มันมีคำถามบางอย่างเกิดขึ้นเกี่ยวกับการคุมเกมของโซลชา นั่นก็คือภาคของ "เกมรับ" ที่ย่ำแย่และโดนซัดไปครึ่งโหลเต็มๆ และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วหลังจากนั้นโซลชาได้แก้ปัญหาเกมรับได้สำเร็จ เพราะสามเกมนับตั้งแต่หลังเบรคเกมทีมชาติไป โอกาสที่ทีมจะเสียประตูต่อเกมนั้นต่ำมาก อยู่แค่ 1.32 เท่านั้น

ซึ่งดีทีสุดในลีก

เราเสียประตูจากลูกแฉลบฟลุคๆ และเสียจากจุดโทษเพียงเท่านั้นเมื่อนับย้อนไปดูจริงๆ ก็OGกับPen.ทั้งสิ้น ซึ่งความยอดเยี่ยมในเกมรับนี้ก็รวมถึงผลงานสถิติในแชมเปี้ยนส์ลีกด้วย

ข้อนี้ผมหวังว่าแฟนผีจะเห็นข้อดีของโซลชาบ้างที่แก้ไขปัญหานี้ได้

แต่พอขันเกมรับปุ๊บ ยูไนเต็ดไม่สามารถสร้างสรรค์เกมดีๆได้เลย เพราะค่า expected goals หรือประสิทธิภาพในการทำประตูได้นั้น มีค่าเพียง 6.81 ซึ่งมันถือว่าต่ำมาก และอยู่ในลำดับที่17ของลีก แถมค่านี้ยังรวมจุดโทษแล้วซะอีก

สิ่งที่เกิดขึ้นเราก็เห็นๆกัน โซลชาแก้ปัญหาเกมรับด้วยการส่งคู่หูแม็คโทมิเนย์-เฟร็ด ลงเล่นเป็นกลางรับเดือยคู่ในระบบ double pivot กลางต่ำตัวกวาดสองคนที่วิ่งเป็นแกนทำลายล้างตรงกลาง ซึ่งพวกเขาทำได้ดีมากๆในเกมเจอPSGจริงๆที่ได้มีโอกาสทำหน้าที่ในเกมรับของตัวเองเช่นนั้น

แต่ในเกมกับเชลซีพวกเขาก็ดรอปลงไปอีกครั้งเพราะว่า เชลซีปล่อยให้เราเป็นฝ่ายครอบครองบอล และก็ไม่แปลกใจอะไรที่มันจะเกิดขึ้นอีกครั้งกับเกมเจออาร์เซนอล และแม็คเฟร็ดก็เล่นห่วยกัน "ทั้งคู่" อีกครั้งในภาคของการครองบอล ตั้งเกม การจ่ายบอล

หากเป็นเกมรับ แม็คเฟร็ดคือคู่สุดโหด แต่ในการตั้งเกมรุก การbuild-up play และการสร้างสรรค์เกม สองคนนี้ทำได้ไม่ดีอย่างแรง เราต้องยอมรับสภาพตรงนี้ และนี่คือ "จุดอ่อนแมนยูล่าสุด" ที่เผยอออกมาให้เห็นประหนึ่งปากหอยที่มันอ้าเวลาหย่อนลงไปต้มในหม้อชาบูน้ำดำนี่ล่ะ

ตามปกติ แมนยูไนเต็ดมีประสิทธิภาพในการทำประตูได้(xG)เพียงแค่ 1.14 (ต่อ90นาที)เท่านั้น (นัดละลูกนิดๆเอง) แต่เมื่อแม็ค กับ เฟร็ด ลงสนามพร้อมกันทั้งคู่ ตัวเลขนี้ดรอปลงเหลือแค่ 0.60 เท่านั้น ซึ่งตัวเลขนี้พอๆกับค่าสถิตินี้เมื่อซีซั่นที่แล้ว ในยามที่แม็คเฟร็ดลงสนามคู่กันปีก่อน ก็มีค่าประสิทธิภาพการทำประตูได้(xG)ต่ำที่สุด และจำนวนประตูที่ทำได้ต่อเกม (goals per game) ก็ต่ำสุดเป็นอันดับสองจากท้ายเช่นกัน ต่ำสุดเมื่อเทียบกับ การจับคู่มิดฟิลด์ด้วยคอมโบต่างๆภายในสโมสรเรา ตามรูปภาพข้างล่างนี้จะบ่งบอกชัดเจนว่า การจับคู่แม็คเฟร็ด ทำลายเกมรุกของทีมขนาดไหน

ดูจากตารางนี้ของstatsbombก็ชัดเจน การจับคู่เฟร็ดแม็ค ทำให้เกมรุกและพลังทำลายในการทำประตูของทีมอยู่ค่อนข้างต่ำ จำนวนการได้ยิงต่อ90นาทีเยอะกว่าคู่อื่นก็จริง แต่ประสิทธิผลน้อยมากๆ ก็อย่างที่ทราบกันว่า เฟร็ดแม็ค เติมเกมรุกกันเป็นยังไงบ้าง เพราะค่าสำคัญที่สุดในตารางก็คือ xG/90 ซึ่งต่ำสุดจริงๆที่ 1.19 เมื่อซีซั่นก่อน

xG Differential คือความต่างของ ประสิทธิภาพที่ทีมจะยิงได้ กับ โอกาสที่ทีมจะเสียประตู ค่าผลต่างตรงนี้ยิ่งสูงน่าจะยิ่งดี และคู่ที่ดีที่สุดหากวิเคราะห์จากสถิตินี้ ค่า+1.65 มันก็ชัดเจนคือคู่ "Matic Pogba" น่าจะเป็นการจับที่ดีที่สุด ที่ทีมจะทำประตูได้เยอะ และ เสียประตูน้อย

หากเป็นเช่นนี้ เราพอจะ"แกะ" คำตอบอะไรบางอย่างจากการวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ว่า หากจะให้ทีมเล่นดีมากขึ้นด้วยแผนทั่วๆไป การใช้งานกองกลาง ควรจะเป็นเซ็ตพื้นฐานของ Matic-Pogba-Bruno คงจะดีที่สุดในการใช้ยืนพื้นหลัก

ไม่ว่าจะจากแผน Diamond เอง(หาอีกตัวมาเล่นเหลี่ยมขวา ใช้เฟร็ด หรือ แม็ค แค่คนใดคนนึงพอ หรือใช้VDBเล่นB2Bยังได้เลย)  ส่วนแผน 4-2-3-1 ก็เป็นแผนยืนพื้นของ มาติช ป็อกบา บรูโน่ อยู่แล้ว พอจะนึกออกไหมครับ

ซึ่งดูลักษณะแล้วการใช้แม็คเฟร็ด น่าจะค่อนข้างมีปัญหากับเกมพรีเมียร์ลีกพอสมควร การใช้คู่กันอาจจะเหมาะกับแค่บางเกมเท่านั้น ซึ่งมีแค่4เกมในซีซั่น นั่นก็คือใช้สองคนนี้เพื่อเจอเกมเหย้าเยือนกับคู่อริอย่าง "แมนซิตี้ กับ ลิเวอร์พูล" ใช้แค่เจอสองทีมนี้เท่านั้น น่าจะเวิร์คกว่า

มีสถิติบางอย่างที่น่าสนใจด้วยดังนี้ ในเกมที่แม็คเฟร็ดจับคู่กัน

แม็คเฟร็ดลงเกมอื่นๆที่ไม่ใช่เกมลีก : เล่น 10 เกม ชนะไป9 เสมอ1 คะแนนต่อแมตช์ : 2.8

แม็คเฟร็ดลงเกม Premier League : เล่น 15 เกม (ชนะ6 เสมอ6 แพ้3) win rate 40%  คะแนนต่อนัด : 1.6 แต้ม

..ไม่ควรเอาลงแรงค์อย่างแรง

ก็น่าจะตอกย้ำอีกครั้งว่า แม็คเฟร็ดเหมาะในการใช้เล่นเกมใหญ่ เจอทีมใหญ่ระดับท็อปทู-ทรีบนเกาะอังกฤษ หรือทีมนอกเกาะเท่านั้น แต่กับเกมอื่นๆก็ไม่ควรจะใช้คู่กันเลย เราก็ไม่รู้ว่าโซลชา "รู้" สถิติที่ว่านี้ที่เรากำลังพูดหรือไม่ เขาจะทันคิดได้รึเปล่า หรือจะยึดติดเพราะไดมอนด์เป็นแผนใหม่ จึงต้องใส่ๆแม็คเฟร็ดลงมาเล่นให้ได้ ซึ่งสิ่งนี้ค่อนข้างน่ากังวลและอาจจะเป็นปัญหาในแผงมิดฟิลด์ของเราจริงๆ ในการส่งกองกลางตัวที่ตั้งเกมไม่เป็น ลงไปคู่กันเช่นนี้

ประเด็นนี้มันคือ "ขั้นต้น" ของกระบวนการคิดแบบcritical thinking ในการหาคำตอบถึง "วิธีแก้ปัญหาสำหรับแมนยู เวลาเจอเพรสซิ่งสูงฉบับเบื้องต้น"

วิธีปรับขั้นต้นเลยก็แค่ส่ง "ตัวที่เล่นบอลเก่งๆ" ลงไปเล่น ลงไปโฮลด์บอลแทนสักตัวเท่านั้น ซึ่งก็คือมาติชเนี่ยล่ะ

หรือไม่อีกทางนึงก็คือ อย่าใช้สองคนนี้พร้อมกัน ในเกมที่ไม่จำเป็นต้องเล่นรับอะไรขนาดนั้น ใช้ตัวใดตัวหนึ่งลงก็พอ

จะป็อก-เฟร็ด ป็อก-แม็ค เฟร็ด-มาติช หรือคู่อะไรก็ตามแต่ เราแค่ต้องหาใครสักคนที่จะลงไปแล้วทำให้คู่แข่งกลัว และไม่กล้าดันสูงมาไล่บอลเรา มาเล่นงานเราแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

หรือถ้าไม่งั้นสูตรการใช้กลางตัวรับแค่คนเดียวในแผน 4-3-3 ที่ไม่ค่อยได้ใช้ ก็อาจจะเป็นอีกหนทางแก้ปัญหาเรื่องขึ้นเกมรุกให้เราก็ได้

ในเกมกับอาร์เซนอลพวกเขารู้ดีว่าตัวอันตรายคือใคร เมสัน กรีนวู้ดที่เล่นในหน้ากว้างอย่างที่เขียนรีวิวแมตช์เอาไว้ว่ามันเป็นสูตรแฝงอย่าง คริสต์มาสทรี 4-3-2-1 สิ่งที่แมนยูต้องทำก็คือส่งบอลขึ้นไปถึงยอดต้นไม้อย่างแรชฟอร์ด หรือกรีนวู้ดให้ได้เท่านั้น ดังในรูปนี้ ที่จะเห็นว่าคู่แข่งดันมาบีบสูงเป็นแผง และทำให้เรามีช่องจะวางบอลยาวไปให้ตัวว่างที่ยืนสูงอยู่ได้


ในเกมลีกคัพกับไบรจ์ตัน เฟร็ดนั้นพยายามเปิดบอลหลายครั้งไปให้แดเนียล เจมส์ และส่วนใหญ่ก็จ่ายไม่สำเร็จ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเกมแพ้อาร์เซนอลก็คือ เฟร็ดไม่แม้แต่จะพยายามเปิดบอลยาวแบบนั้นขึ้นหน้าไปด้วยซ้ำ(ดังรูป)

ปีก่อนจึงมีคำตอบว่าทำไมการมีปอล ป็อกบาในสนาม จึงทำให้เราทำผลงานดีกว่าเกมที่ไม่มี เพราะมันมีคนเปิดบอลนั่นแหละ ป็อกบาคือคำตอบที่ว่านั้น แต่เพราะเกมเจอปืนใหญ่นี้ อาร์เซนอลทำลายการตั้งเกมจากแนวลึกของเราหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดเกมเค้าท์เตอร์ และพุ่งเข้าอัดทันทีใส่ หอบัญชาการแนวลึกที่เป็น DLP  อย่างป็อกบา ทั้งจังหวะวิ่งสวนกลับ และจังหวะจะหันหน้าเปิดบอล

โดนหนักขนาดนี้ ปัญหาเชิงแทคติกล้วนๆ ไม่ใช่ตัวนักเตะ

อาร์เซนอลใช้แทคติกมาเล่นงานป็อกบาจนเสียกระบวน แฟนบอลก็พากันด่าเขาว่าเล่นพลาด แต่จริงๆมันเกิดขึ้นจากแทคติกของอาร์เตต้าที่ตั้งใจเอามาเล่นงานปิดผนึกป็อกบาต่างหาก ก็เหมือนการโดนคู่แข่งรอล้วงแต่ตัวแครี่จนไม่มีโอกาสยืนยิง ยืนเปิดเกมรุกจากด้านหลังนั่นแล

แครี่โดนล้วงรัวๆ

ในปีนี้ป็อกบาลงมาเล่นเกมรับมากขึ้นอย่างที่เห็น บรูโน่ แฟร์นันด์ส ที่เข้ามาใหม่กลางปีก่อนจึงถูกโซลชาใช้งานในส่วนของป็อกบา(เปิดเกมรุก)แทน ซึ่งก็ตามเนื้อผ้าที่เห็น จากทั้งเกมรุกและเกมรับของบรูโน่ด้วย นอกจากนี้ยังชัดเจนว่าโอเล่นั้นมองการเล่นของ VDB ในฐานะอาวุธตำแหน่ง "หมายเลข10"

แต่จริงๆแล้ว Donny van de Beek สามารถลงต่ำมาเล่นแนวลึกได้ด้วย ซึ่งโอเล่ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ แต่คนรีวิววิเคราะห์เห็นกันหมดมานานแล้ว หากใครได้อ่านบทความก่อนหน้านี้คงเข้าใจประเด็นนี้ดี

โอเล่ควรจะลองใช้ VDB ลงต่ำมาเล่นมิติด้านล่างนอกจากจอมทัพเบอร์10แนวสูงบ้างเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ จับมายืนBox to Box คู่ป็อกบายังน่าลองเลย แล้วใช้เฟร็ด หรือ แม็ค มาติช ยืนต่ำ

แต่อย่าจับคู่แม็คเฟร็ดถ้าเกมรับยังไม่จำเป็นขนาดนั้น

4เกมที่่ผ่านมาโซลชาใช้แผนที่เรียบง่ายในการเล่นรัดกุมตลอดหนึ่งชั่วโมงแรก เพื่อดูเชิง และกึ่งๆ "นวด" ก่อนที่จะเริ่มปรับแทคติกแก้เกมอย่างอลังการด้วยการปรับแผนformation และเปลี่ยนตัวสำรองด้วยรายละเอียดเชิงลึกที่ซับซ้อนมาก และมากเกินกว่าที่แฟนบอลบางส่วนจะเข้าใจ กลุ่มที่ยังคงเดินหน้าด่าโอเล่ว่าเป็นพวกปอดแหกหรือเล่นบอลหน้าเดียว นั่นแปลว่าพวกเขาไม่ได้สนใจจะมองเห็น และวิเคราะห์รายละเอียดที่แท้จริงในเกมซะด้วยซ้ำ

ป็อกบาลงมาเป็นสำรองในเกมกับนิวคาสเซิล แมนยูไนเต็ดปรับshapeการเล่น และจัดการอัดพวกเขาเละเทะ 1-4, เกมถัดมา ป็อกบาลงสำรองในเกมเจอเปเอสเช แมนยูขยับเปลี่ยนแผนและเปลี่ยนรูปทรงการเล่น และสุดท้ายก็เอาชนะได้อีก

เกมเจอเชลซีป็อกบาก็ยังคงเป็นสำรองลงมาเหมือนเดิม แต่สุดท้ายแล้วเมื่อเขาถอดเอาแม็คโทมิเนย์ กับกรีนวู้ดออก แมนยูไนเต็ดก็ดาหน้าบุกอัดเชลซีด้วยฟอร์มเกมรุกที่ดีที่สุดตลอด8นาทีสุดท้าย จนทำให้แฟนบอลก็งงๆเล็กน้อยว่า ทำไมไม่บุกกดแบบนี้ให้มันเร็วกว่านี้

คือถ้ามีเวลามากกว่านี้อีกหน่อย หรือแก้เกมมาได้แบบนี้เร็วอีกนิด แมนยูชนะไปแล้ว นั่นก็เกือบแล้วด้วยซ้ำ

ล่าสุดเกม5-0กับไลป์ซิก ก็แพทเทิร์นเดิมๆนั่นแหละซ้ำรอย หนึ่งชั่วโมงแรกผ่านไปได้มาหนึ่งศพจากกรีนวู้ด ก่อนที่ศพสอง ศพสามค่อยๆตามมาจากเหล่าตัวสำรอง

แต่เกมที่เจออาร์เซนอลล่ะ? แผนเป็นยังไง รัดกุมพอจะปิดไม่ให้อาร์เซนอลบุกได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่รัดกุมพอเพราะว่าโดนบุกเข้าเนื้อหลายครั้ง โดยเฉพาะการโดนเจาะจากริมเส้นฝั่งซ้าย เปิดผ่านแบ็คอย่างลุค ชอว์มาได้ตลอด โดนครอสยาวๆชนิดที่สมควรโดนตำหนิไม่แพ้จากคนทำเสียจุดโทษเลยด้วยซ้ำ แต่คนเลือกที่จะด่าคนทำเสียจุดโทษคนเดียว ทั้งๆที่ลูกนั้นก็แบ็คซ้ายนี่แหละที่ยืนนิ่ง ปล่อยให้วิลเลียนแทงบอลเข้าพื้นที่อันตรายได้ จนป็อกบาพลาดทำเสียจุดโทษในที่สุด

คือแม้อาร์เซนอลจะไม่สามารถเจาะเราได้จาก open play ส่วนยูไนเต็ดก็ยังไม่ได้ใกล้เคียงกับการจะอัดตูดไอ้ปืนใหญ่ได้ ดังนั้นการจะเปลี่ยนตัวของโซลชาจึงควรต้องเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง จากการเรียนรู้ผ่านเกมนัดก่อนๆทีี่พวกเขาชนะบิ๊กแมตช์มาในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มันส่งสัญญาณอะไรให้เห็นแล้วว่าเรามีปัญหายังบ้าง ทั้งภาคการเล่นริมเส้น และการเปิดบอลขึ้นไปแดนหน้า

สิ่งต่างๆเหล่านี้มีสัญญาณให้เห็นมาหลายนัดแล้วตั้งแต่เกมเจอเปเอสเช เชลซี และไลป์ซิก

มีคำถามต่อโซลชาในขณะนี้ว่า คุณมีแผนสอง(plan B) ยังไงถ้า

-อ็องโตนี่ มาร์กซิยาล กองหน้าตัวเลือกแรกของแมนยูไนเต็ดไม่สามารถลงสนามได้ เราจะเล่นยังไง แล้วถ้าจะใช้คาวานี่ จะใช้เขาให้เล่นตรงไหน

-ทำไมไม่ใช้มาติชลงสนามเลยในเกมวันพุธที่ผ่านมากับไลป์ซิก ถ้าเกมวันอาทิตย์ที่ผ่านมากับอาร์เซนอล ก็ยังไม่ส่งเขาลงสนามก่อน

-ปีกขวาของทีมจะเอายังไง หรือต้องรอให้กรีนวู้ดค่อยๆพัฒนาตัวเองไปทีละนัดๆ

-ทำไมถึงต้องพยายามใช้แผนที่ไม่เข้ากับสไตล์การคุมทีมของตัวเอง ไม่เหมาะกับคู่แข่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะใช้ทำไมในเมื่อมันขาดสิ่งสำคัญที่จะทำให้แผนมันเวิร์คได้(การสร้างเกมรุกที่หายไป เกมริมเส้น)

ในฐานะแฟนบอลที่พยายามดูให้เข้าใจวิธีคิดและการกระทำของเขามาตลอดนั้น

ผม"เชื่อ"ว่าเขาสามารถแก้ปัญหาได้แน่ๆ ..เชื่อว่าโซลชาไม่ได้โง่เหมือนอย่างที่ใครๆเข้าใจ

แต่เขาจำเป็นต้องทำมันให้เร็วที่สุดแข่งกับเวลา เพราะการแข่งขันดำเนินไปเรื่อยๆ

ไม่มีเวลารอให้เราค่อยๆจูนทีมอย่างสบายใจนักดอก

#BELIEVE

-ศาลาผี-

Reference

https://thebusbybabe.sbnation.com/2020/11/3/21546510/manchester-united-arsenal-premier-league-tactical-analysis-ole-gunnar-solskjaer-got-it-wrong-again


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด