:::     :::

ย้อนรอย ลา มาเซีย

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม 2565 คอลัมน์ Zero to Hero โดย บังคุง
931
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
หากเอ่ยถึงชื่อ "ลา มาเซีย"

ถือเป็นอะคาเดมี่ที่เป็นความภาคภูมิใจของสโมสรบาร์เซโลน่า แฟนบอลหลายคนมอบคำนิยามเอาไว้ว่า นี่คือแหล่งบ่มเพาะดาวรุ่งระดับแถวหน้าของวงการฟุตบอล ที่สามารถผลิต และป้อนนักเตะฝีเท้าดีมากมาย ออกสู่อุตสาหกรรมลูกหนัง นักเตะระดับโลกหลายคน ผ่านการเรียนรู้วิชาลูกหนังจากที่นี่


หากจะไล่เรียงรายชื่อ ลา มาเซีย ผลิตนักเตะที่เราคุ้นหูกันเป็นอย่างดี อาทิเช่น เป็ป กวาร์ดิโอล่า, การ์เลส ปูโยล, ชาบี เอร์นานเดซ, อันเดรส อิเนียสต้า, เซร์คิโอ บุสเกตส์, เกราร์ด ปิเก้ หรือแม้กระทั่งนักเตะอย่าง ลิโอเนล เมสซี่ ล้วนเป็นลูกศิษย์ขงสถาบันแห่งนี้ แน่นอนว่า นี่คือความพยายามที่พวกเขายึดมั่นมาตลอด แม้ในช่วงหลัง ดาวรุ่งจากอะคาเดมี่จะขาดช่วงขาดตอนไปบ้าง


ช่วงนี้ เราลองไปย้อนความทรงจำ และเรียนรู้ความเป็นมาเป็นไปของศูนย์ฝึกฟุตบอลอย่างลา มาเซียกันหน่อย ทั้งในแง่ของจุดเริ่มต้น, ผู้ก่อตั้ง, ปรัชญา, การเรียนการสอน ทั้งด้านฟุตบอล และการศึกษา รวมทั้งสถานการณ์ปัจจุบันของสถานฝึกฟุตบอลแห่งนี้ พร้อมกับเป็นการไขความลับว่า ทำไมพวกเขาถึงประสบความสำเร็จในการปั้นเด็กมาอย่างยาวนาน ? 

จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นในปี 1973 คือช่วงเวลาที่โยฮัน ครัฟฟ์ตำนานลูกหนังทีมชาติฮอลแลนด์ ย้ายมาร่วมทีมบาร์เซโลน่า หลังจากที่เขาประสบความสำเร็จมากมายกับอาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม ทั้งการคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของดัตช์ 6 สมัย รวมถึงแชมป์ยูโรเปี้ยน ค้พ 3 สมัยติดต่อกัน ซี่งครัฟฟ์ เอากลิ่นอายด้านอะคาเดมี่ของอาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม มาฝากที่บาร์เซโลน่า ด้วย 


กระทั่งช่วงปี 1979 ครัฟฟ์ ทำการแนะนำ ผ่านการนำโครงการไปยังโจเซป นูนเญซซึ่งดำรงตำแหน่งประธานบาร์เซโลน่า ในสมัยนั้น ให้ทำการรื้อระบบเยาวชนใหม่ทั้งหมด และได้ยึดแม่แบบจากอาแจ็กซ์ มาบังคับใช้ โดยประธานสโมสร ชื่นชอบแนวความคิดของครัฟฟ์ ก่อนขะอนุมัติโครงการที่สุด นั่นถือเป็นจุดกำเนิดอีกหนึ่งสถาบันลูกหนัง ที่โด่งดังมากสุดในโลกอย่างลา มาเซีย


สิ่งที่หลายคนสงสัยคือ มันหมายความว่ายังไงกันแน่ ? โดยที่ลา มาเซียมีรากศัพท์มาจากภาษาสเปน มีความหมายเป็นไทยว่าโรงนาเนื่องจากตึกที่ใช้เคยเป็นที่ทำการเคยเป็นโรงนามาก่อน ซึ่งเวลาต่อมา มีการตีความหมายอีกนัยหนึ่งว่า เพื่อให้เยาวชนขอสโมสร รู้สึกถึงความถ่อมตัว และการมีระเบียบวินัย เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นนักเตะระดับโลกในอนาคต


โรงนาลูกหนังแห่งนี้ สถาปนาอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 30 ตุลาคม 1979 โดยที่มีตึกโบราณของแคว้นกาตาลัน ที่สร้างมาตั้งแต่ช่วงปี 1702 และมีอายุเกินหลัก 300 ปี เป็นพื้นที่ใช้สอย โดยก่อนหน้าที่จะเป็นศูนย์ฝึก ตึกเคยใช้เป็นออฟฟิศของสโมสร แต่ด้วยขนาดที่เล็กจนเกินไป ทำให้เยาวชนต้องมาอยู่ที่นี่แทน


ภายในตัวตึกมีสองชั้น ภายในพื้นที่ 610 ตารางเมตร สามารถรองรับเด็กได้จำนวน 60 คน สำหรับโครงสร้างภายใน ให้ความรู้สึกถึงมนต์ขลัง ทุกอย่างดูโบราณมาก ไม่ว่าจะเป็นห้องครัว, ห้องนั่งเล่น, ห้องนอน, ห้องแต่งตัว หรือห้องอาบน้ำ ส่วนที่สำคัญ และเหมือนเป็นไฮไลท์ นั่นคือห้องสมุดโบราณ เสมือนมุมส่วนตัว ให้เด็กรับความสงบ และฝึกระบบความคิด  แถมห้องประดับด้วยถ้วยแชมป์มากมาย


บาร์เซโลน่า มีปรัชญาของสโมสรว่า ฟุตบอลต้องควบคู่ไปกับความรู้ หากเเยาวชนคนไหน ไม่สามารถก้าวไปเป็นนักฟุตบอลได้ อย่างน้อยพวกเขาก็ยังมีความรู้ติดตัว ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคม พร้อมกันนี้ หลักสูตรที่ทุกคนต้องเรียนจากโรงเรียนคือภาษากาตาลันเพื่อก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ในดินแดนแห่งนี้

ส่วนด้านหน้าของตึกลา มาเซียปรากฏรูปปั้นคุณปู่ เสมือนตัวมาสคอตของสโมสร ตัวละครนี้มาจากมันสมองของวาเลนติ คาไซนส์นักวาดการ์ตูนปี 1924 ขณะที่ กฎระเบียบของลา มาเซีย เป็นไปอย่างเคร่งครัด นักเตะต้องตื่น 7 โมงเช้า ก่อนจะตามมาด้วยรับประทานอาหาร, เรียนหนังสือ, ทำการบ้าน,  ซ้อมฟุตบอล, ฟิตเนสเสริมสร้างกล้ามเนื้อ,  รับประทานอาหารค่ำ และเข้านอน ทำแบบนี้เป็นกิจวัตร


เราขยับมาดูที่การฝึกซ้อมกันบ้างลา มาเซียให้ความสำคัญกับการฝึกฝน 3 ส่วนสำคัญ โดยประกอบไปด้วย 1.การควบคุมบอล 2. การจ่ายบอล และ 3. การยิงบอล จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นบาร์เซโลน่า ต่อบอลกันอย่างสวยงาม แถมยิงประตูคู่แข่งได้อย่างถล่มทลาย แน่นอนว่า บาร์ซ่า ทุกระดับชั้น จะเล่นด้วยแผนการเล่นเดียวกันหมด เพื่อเป็นการสร้างความสอดคล้องในเชิงปรัชญา


อย่างไรก็ตาม งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา กระทั่งช่วงปี 2011 “ลา มาเซียแบบฉบับดั้งเดิม จำเป็นต้องปิดตัวลง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกลูกหนังยุคใหม่ โดยตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษ สถานที่แห่งนี้ผลิตเยาวชนสู่ระดับโลกกว่า 500 ราย และจำนวน 10% สามารถก้าวมาเล่นทีมชุดใหญ่ของบาร์เซโลน่า 


ลา มาเซียย้ายที่ตั้งใหม่ ภายใต้ชื่อเรียกว่าลา มาเซีย เซนเตอร์” Ffpเปิดใช้งานไปตั้งแต่ปี 2011 ด้วยงบประมาณการสร้าง ประมาณ 10 ล้านยูโร บนพื้นที่ 6,000 ตารางเมตร ภายนอกประกอบไปด้วยสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน, ตัวตึกที่ออกแบบได้ทันสมัย โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 5 ชั้น และสามารถรองรับนักกีฬาได้เกือบร้อยคน 


ส่วนภายในประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ทั้งห้องนอน, ห้องนั่งเล่น, ห้องศึกษาแท็คติก, ห้องอาหาร และห้องสำหรับการเรียนรู้ แม้ว่าความขลังจะลดน้อยลงไปบ้าง ทว่าสโทสรก็ยังคงถ่ายทอดขนบธรรมเนียมดั้งเดิม ให้กับเด็กเยาวชนได้ศึกษา และหาความรู้กันต่อไป 


และนี่คือเรื่องราวบางส่วนของลา มาเซีย  ที่ยังคงเดินหน้าผลิตเยาวชนอย่างไม่หยุดยั้ง แม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้จะซบเซาลงไป เนื่องจากการดันนักเตะสู่ทีมชุดใหญ่มีจำนวนที่น้อยลง ประกอบกับบาร์เซโลน่า เลือกที่จะเน้นการซื้อนักเตะค่าตัวแพงเข้าสู่สโมสรมากกว่า แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าลา มาเซียคือสถานที่ที่เต็มไปด้วยมนต์ขลังอยู่ดี 

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด