:::     :::

[จิตวิทยาฟุตบอล] ชัยชนะแห่ง "ท่ากางขา" และภาษากายเชิงPositive

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2565 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
1,849
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ฟุตบอลเป็นกีฬาที่วัดกันที่จิตใจอย่างหนักหน่วงมาก ทั้งความมุ่งมั่น ทุ่มเท การไม่ถอดใจยอมแพ้ง่ายๆ จิตใจคือตัวแปรสำคัญของชัยชนะ ดังนั้นศาสตร์ทางด้าน "จิตวิทยาฟุตบอล" สำคัญมากกว่าที่คิด และนี่คือตัวอย่างเบื้องต้นของจิตวิทยาที่ช่วยให้นักฟุตบอลเก่งขึ้นเพราะ "ความมั่นใจ" อย่างแท้จริง

คำถามที่หลายๆคนคงจะอยากรู้ว่า ทำไมคนอย่าง คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ถึงยิงประตูได้เป็นกอบเป็นกำ และทำไมโค้ชต่างๆถึงดูหงุดหงิด โมโหอยู่ตลอดเวลา

สิ่งที่เห็นเหล่านี้คือบทบาทของ "จิตวิทยา" ที่เป็นสิ่งสำคัญถึงขนาดส่งผลต่อสภาวะจิตใจนักเตะ และอาจเป็นตัวตัดสินเกมได้เลยทีเดียว


"สิ่งสำคัญที่สุดคือการเล่นของคุณในสนาม" Alfred Preissler โค้ชผู้ยิ่งใหญ่ในตำนานของโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ได้กล่าวประโยคทองนี้เอาไว้

ซึ่งมันก็จริง แต่อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด

เพราะถ้าเป็นแบบนั้น ทำไมทีมๆหนึ่งที่แพ้ต่อเนื่องเยอะๆถึงได้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนบรรยากาศต่างๆในทีมบ้าง เช่นสภาพห้องแต่งตัว เปลี่ยนที่ซ้อม สลับผู้เล่นลงสนาม หรือเปลี่ยนชุดแข่งให้แตกต่างออกไป

โค้ชบางคนมักจะสวมชุดเดิม เสื้อคลุมสีเดิมๆทุกสัปดาห์ตราบเท่าที่พวกเขายังชนะกันอย่างต่อเนื่อง

ค่อนข้างชัดเจนว่ารายละเอียดทางด้านจิตใจ หรือความเชื่อต่างๆ มีผลต่อเกมฟุตบอลจริงๆ

ทีมชาติเวลส์ ขึ้นชื่อลือชาเรื่องการถ่ายรูปรวมก่อนลงแข่งแบบแปลกประหลาด (ทั้งนี้เพื่อเอาฮาล้วนๆไม่เกี่ยวกับโชคแต่อย่างใด)

Prof. Dr. Daniel Memmert จากมหาวิทยาลัยกีฬาโคโลญจน์ ออกมายืนยันว่าเรื่องราวดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์เรียบร้อยแล้ว

"เราเชื่อว่าการแข่งขันกีฬาในระดับสูงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฟุตบอลนั้น ประเด็นเรื่องสภาพจิตใจมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ"

เมื่อพิจารณาเรื่องของความแข็งแกร่ง สภาพร่างกาย ระบบทีมเวิร์ค Memmert กล่าวว่า

"ทีมชั้นนำต่างๆมีสิ่งเหล่านี้อยู่ในระดับที่พอๆกัน แต่หลายๆครั้งการฝึกฝนทางด้านจิตใจมักจะถูกมองข้ามไป"

Daniel Memmert

ไม่ได้มีแต่เพียงแค่เรื่องการของตัดสินใจในการเล่นอย่างถูกต้องเท่านั้น นักฟุตบอลที่ดีจะต้องมีวิธีคิดที่แตกต่างออกไปด้วย เรื่องนี้นักจิตวิทยาการกีฬาได้กล่าวเอาไว้ ซึ่งมันหมายความว่า นักกีฬาผู้นั้นไม่ว่าเขาหรือเธอ หากมีวิธีการเล่นมากมายทั้งการเล่นในวิถีดั้งเดิม และรูปแบบที่สร้างสรรค์ ก็จะทำให้คู่แข่งจับทางได้ยากนั่นเอง

การฟื้นฟูจิตใจก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน (Mental Regeneration) ประเด็นนี้ถูกมองข้ามไปบ้าง ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น  "ถ้าโค้ชรู้ว่านักเตะคนนี้มักจะผ่อนคลายมากขึ้นหากว่าได้อยู่ที่บ้าน ดังนั้นการนำนักเตะไปพักรวมกันที่โรงแรมในคืนก่อนแข่ง ก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้เล่นก็เป็นได้"

มีหลักฐานมากมายที่พิสูจน์และตั้งข้อสังเกตว่า ภาษากายในสนามนั้นจะส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมทีม และคู่แข่งฝั่งตรงข้ามอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นชัดในสถานการณ์ที่บอลกำลังตายอยู่ (dead ball situations) จะเห็นประเด็นนี้ชัดเจน

"เวลาคุณกำลังจะยิงจุดโทษ ถ้าเดินไปที่จุดตั้งบอลด้วยความมั่นใจ มันจะทำให้ผู้รักษาประตูจะรู้สึกเล็กๆในใจว่า 'ตัวนี้มาดีว่ะ อาจจะเซฟไม่ไหวก็ได้' นี่เป็นผลเชิงจิตวิทยาที่เกิดขึ้น"

"แต่ในทางกลับกันถ้าเดินเหี่ยวๆ ไหล่ตกมาแต่ไกลเลย ผู้รักษาประตูจะมองเห็นความอ่อนแอตรงนั้น และเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า พวกเขามีสิทธิ์เซฟคนนี้ได้"

Daniel Memmert ให้สัมภาษณ์กับ dw.com เอาไว้

เรื่องยิงจุดโทษที่ว่านี้ก็ไม่ต่างกับเวลายิงฟรีคิกเช่นกัน คริสเตียโน่ โรนัลโด้เป็นที่รู้จักกันดีในการตั้งท่าก่อนยิงฟรีคิกด้วยการแยกขาออกและยืดอกขึ้นมา นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่านี่คือการแสดงท่าทางในวิธีที่ถูกต้อง ด้วยภาษากายที่เป็น Positive จากท่านี้ กับการเตรียมตัวและการขยับเขยื้อนด้วยท่าทางที่ทำออกมาซ้ำๆกันของโรนัลโด้ (Repeated preparation methods)  

มันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรีดเร้นประสิทธิภาพสูงสุดของการยิงออกมา

เรื่องของ "ความเชื่อ" ต่อการลงสนามแข่งขัน

วิธีีที่เป็นการเตรียมตัวในรูปแบบเดิมๆซ้ำไปซ้ำมานั้น นอกจากในสนามอย่างที่กล่าวไปแล้ว นอกสนามก็มีเช่นกันในรูปของการทำตาม "ความเชื่อ" อะไรบางอย่างของผู้เล่นแต่ละคน กองหน้าบางคนจะลงไปแข่งได้ต้องสวมถุงเท้าข้างขวาเป็นข้างแรกก่อน หรือผู้รักษาประตูบางคนพกเครื่องรางของขลังเข้าไปในโกลด้วย

ที่เหลือเชื่อคือมีงานวิจัยสนับสนุนประเด็นเหล่านี้ว่าการทำตามความเชื่อต่างๆเหล่านี้ของนักฟุตบอลก็ส่งผลช่วยในการเล่นได้จริงๆซะด้วย


Dr.Memmert ที่เป็นผู้เขียนหนังสือแง่มุมเชิงจิตวิทยาในการเล่นฟุตบอลนั้น รายงานการศึกษาเปรียบเทียบในนักกอล์ฟ โดยให้มีกลุ่มทดลองสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้เล่นด้วยลูกกอล์ฟที่พวกเขาใช้มาเองแล้วประสบความสำเร็จในการเล่น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเอาลูกกอล์ฟที่พวกเขาเล่นแล้วดวงไม่ดีกับมันมาก่อน นำมาให้นักกอล์ฟกลุ่มนี้ใช้

ผลออกมาชัดเจนว่า นักกอล์ฟกลุ่มที่เล่นลูกที่พวกเขามั่นใจ ทำผลงานกันออกมาดีมากกว่าหยิบลูกอื่นมาเล่น ผลลัพธ์ตรงนี้คล้ายคลึงกับการบันทึกสถิตินักกีฬาที่ได้รับอนุญาตให้นำพวกเครื่องรางโชคดีต่างๆติดตัวเข้าไปขณะแข่งขัน กับอีกกลุ่มที่ถูกริบเครื่องรางก่อนแข่ง ผลจะต่างกันชัดเจน


"ในทางจิตวิทยาเราสันนิษฐานประเด็นนี้ในเรื่องที่ว่า กระบวนการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง (self-efficacy processes) มีส่วนสำคัญอยู่เบื้องหลังสำหรับเรื่องนี้ ถ้าใจคุณรู้สึกดีกับมัน คุณก็จะยิ่งมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นในการทำสิ่งที่จะทำให้สำเร็จ เพราะคุณรับรู้ว่ามีสิ่งสนับสนุนที่ต้องการอยู่ซึ่งเป็นแรงส่งเสริมที่ดีๆ"

แต่การต่อสู้กันในเชิงจิตวิทยาฟุตบอลไม่ได้มีแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสนามเท่านั้น บางทีแฟนบอลก็สามารถส่งอิทธิพลต่อระบบกระบวนการตัดสินใจของผู้ตัดสินได้เหมือนกัน การทดลองแสดงให้เห็นถึงผลของวิธีการแสดงออกจากแฟนบอลเจ้าถิ่น จะส่งผลถึงจำนวนใบเหลืองที่กรรมการจะแจกให้ผู้เล่นได้ในเกม และบางทีถึงขนาดส่งผลไปยังการตัดสินในเกมนั้นๆได้เลย

"ถึงแม้ว่าผู้ตัดสินจะไม่ได้ใส่ใจกับเสียงเหล่านั้นก็ตาม แต่ทีมเยือนมักจะได้รับใบเหลืองโดยเฉลี่ยมากกว่าทีมเจ้าบ้านเสมอๆ"

Memmert คอนเฟิร์มซ้ำอีกครั้ง

เรื่องของการใช้จิตวิทยาเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับนักเตะในทีม บางครั้งก็สามารถใช้เพื่อกระตุ้นจิตใจผู้เล่นขณะที่สถานการณ์เป็นรองได้ ผู้จัดการทีมที่ขึ้นชื่อในเรื่องนี้อีกคนหนึ่งก็คือ "เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน" ของเหล่าแฟนผีนี่เอง ที่ป๋าแกเก่งในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชิงแทคติกที่สามารถปรับตัวและยืดหยุ่นได้ตามยุคสมัย, การซื้อใจนักเตะ และเรื่องของความเป็นผู้บริหารที่มีวิธีการจัดการคนอย่างเป็นเลิศ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีความสามารถในการใช้เรื่อง "จิตวิทยา" มาช่วยในหลายๆด้าน

ทั้งในสนามกับนักเตะที่กำลังลงเล่น

นอกสนามในการซื้อใจเด็กหนุ่ม

และกับคู่แข่งที่สามารถโดนป๋าไซโคจนเสียทรงได้ง่ายๆถ้าจิตไม่แข็งพอ

จิตวิทยาคืออาวุธของเซอร์อเล็กซ์มาอย่างยาวนาน และนั่นคือปัจจัยหลักของการประสบความสำเร็จ และเรียกคาแรคเตอร์นักสู้จากนักเตะของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้

เรื่องนอกสนามเราคงรู้กันอยู่แล้วว่า ผู้จัดการทีมคู่แข่ง จะต้องเจอกับ "Mind Games" ของ SAF กันไปอย่างถ้วนหน้า

ข้างสนาม ในสนาม สิงห์เชิ้ตดำก็โดนบารมีป๋ากดดันได้อยู่หลายๆครั้ง ยังไม่รวมพวกนักเตะที่มีบุคลิกแข็งแกร่งในสนามอีกมากมายที่เล่นงานในเชิงจิตใจต่อกรรมการได้

นึกภาพ "รอย คีน" และพรรคพวกสุดหฤห่ามของแมนยูยุค90s กันเอาเอง

แต่ในเรื่องของกระบวนการสร้างความมั่นใจให้กับตัวนักเตะเอง ป๋าไม่เคยขาด เขารู้ดีว่านักเตะคนไหนควรจะดูแล หรือจัดการยังไง ทั้งไม้อ่อนไม้แข็ง ป๋ามีครบทุกกระบวนท่า

หลายๆครั้งอ่านแล้วเราสัมผัสได้เลยว่า ป๋าให้ความสำคัญนักเตะทุกคนในระดับที่แทบจะไปกินนอนอยู่ที่บ้านผู้ปกครองนักเตะคนนั้นๆได้เลย

ในบางครั้ง ป๋าก็เหมือนปีศาจผมขาวตนหนึ่งที่พร้อมจะขย้ำคอให้นักเตะขี้หดตดหายในห้องแต่งตัวจนฝ่อไปเลยก็สามารถทำได้ (แต่แกไม่ทำลายนักเตะตัวเองอยู่แล้ว เพราะนั่นคือความเสียหายของทีม)

สกิลป๋าในด้าน "Management Psychology" (จิตวิทยาการจัดการ) เข้าขั้นยอดคนจนเป็นระดับตำนานของโลกใบนี้ ไม่ใช่แค่ในฐานะผู้จัดการทีมฟุตบอล แต่ในฐานะสุดยอดผู้บริหารของโลก

"คอปกตั้ง" คือ Repeated preparation methods ที่ทำซ้ำๆกันทุกนัดที่ลงสนาม ทำให้ก็องโต้มีความมั่นใจสูงมากๆทุกครั้งที่ลงแข่ง

นักเตะอย่างเอริค คันโตน่า หรือคริสเตียโน่ โรนัลโด้ ได้รับวิธีการปฏิบัติที่เป็นพิเศษ แต่ก็ไม่ได้ทำให้สองคนนี้เสียคน หรือหลงระเริงในความพิเศษของตนเอง กลับทำให้สองคนนี้แบกทีมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

มันน่าคิดว่าเพราะอะไร วิธีเดียวกันนี้ถึงไม่ควรปฏิบัติกับนักเตะที่อาจจะเสียคน หรือ "หลงระเริงกับสิ่งที่ไม่ควรได้รับ" สิ่งนี้แฟนผีคงจะสัมผัสได้จากการมองดูนักเตะรุ่นปัจจุบันที่โซเชียลมาอันดับหนึ่ง ฟุตบอลมาอันดับสอง

กลับกัน นักเตะบางคนป๋าก็รู้ดีว่าใช้ไม้อ่อน เอาอกเอาใจ หรือใส่พลังบวกไปอาจจะกระตุ้นได้ไม่มากพอ อาจจะต้องเล่นไม้แข็งเพียงเพราะต้องการจะขุดเข้าไปให้ถึง "จุดสะกิดภายในจิตใจ" ของนักเตะคนนั้นให้ฮึกเหิมขึ้นมาได้

แน่นอน การด่าคืออีกวิธีหนึ่งในการบริหารจิตวิทยาสู่คนตรงนี้ และเป้าหมายของการถูกด่าแล้วไม่สะทกสะท้าน แต่จะเอาคำด่าไประบายในสนามก็คือ "ไอ้หมู" ของเรา

"สุกรโลกันตร์" เวย์น รูนีย์ คือตัวอย่างที่ดีของจิตวิทยาแบบ Negative แต่สร้างผล Positive ในเชิงการเล่น

กลับกัน นักเตะที่จิตใจเปราะบางมากๆและไม่ควรให้อะไรมากระทบกระเทือนเลยอย่างเช่น นานี่ ที่พร้อมจะปี่แตกตลอดเวลาหากว่าโดนด่า หรือตำหนิ

หลุยส์ นานี่ จึงเป็นผู้เล่นที่ไม่ค่อยถูกตำหนิ หรือ "กระตุ้น" แบบรุนแรงอย่างที่ไอ้หมูโดน และสุดท้าย คนที่ต้องรับคำด่าแบบ "ตีวัวกระทบคราด" คือรูนีย์เสมอ

แต่เชื่อว่า คนที่รับฟังสารเข้าไปในหู คงจะสัมผัสได้ว่าป๋าอยากจะตีกระทบชิ่งใส่เขา นี่คืออีกวิธีในการปฏิบัติกับนักเตะที่สภาพจิตใจอ่อนไหวง่ายอย่างนานี่นั่นเอง

วิธีการกระตุ้นก็ไม่ได้ผลเสมอไป เช่นเดียวกันกับวิธีโอ๋ บางคนก็กระตุ้นไม่ขึ้น ต้องเล่นของแรงๆถึงจะเรียกพลังได้นั่นเอง

นี่เป็นเพียงแค่ "จิตวิทยาเบื้องต้น" ของฟุตบอลเท่านั้น ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายในเรื่องเชิงจิตวิทยาฟุตบอล ถ้าศึกษาต่อไปจะยิ่งทึ่งกว่านี้อีกว่า ทำไมนักจิตวิทยาฟุตบอลถึงได้จำเป็นสำหรับการมีอยู่ของศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อการเอาชนะกันบนสนามสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ผู้จัดการทีมที่ใช้จิตวิทยาจัดการกับลูกทีมเก่งๆ ก็มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จสูงจริงๆ

-ศาลาผี-

Reference

The psychology of football: what works and what doesn't

https://www.dw.com/en/the-psychology-of-football-what-works-and-what-doesnt/a-18121244??

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด