:::     :::

ความสำคัญของ "เควิน เดอ บรอยน์"

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566 คอลัมน์ Zero to Hero โดย บังคุง
619
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย

สำหรับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่พวกเขาต้องเสียเควิน เดอ บรอยน์ จากอาการบาดเจ็บ ส่งผลให้อดใช้บริการนานหลายเดือน นอกจากนี้ จอมทัพทีมชาติเบลเยี่ยม จะต้องพักรักษาตัว และเฝ้ารอโอกาส ในการกลับมาลงสนามอีกครั้ง 


ช่วงนี้ เราลองย้อนกลับไปดูความสำคัญของเขากันหน่อย ลองไปดูกันว่า เทคนิค และปรัชญาการเล่นฟุตบอลของเขา นำอะไรมาสู่พลพรรค “เรือใบสีฟ้า” กันบ้าง 


ย้อนกลับไป ในฤดูกาล 2015-16 เดอ บรอยน์ ย้ายออกจากโวล์ฟบวร์ก ทีมดังในศึกบุนเดสลีกา เพื่อมาร่วมทีม “เรือใบสีฟ้า”


จากนั้น - เดอ บรอยน์ ใช้เวลา 8 ฤดูกาล ภายในถิ่น “เอติฮัด สเตเดี้ยม” ก้าวมาติด TOP 5 นักเตะที่แอสซิสต์มากสุดตลอดกาลของพรีเมียร์ลีก 


เดอ บรอยน์ ยอมรับว่า สำหรับเขาแล้ว เรื่องการแอสซิสต์ ถือเป็นอะไรที่เขาหลงใหล มากกว่าการจบสกอร์ด้วยตัวเองเสียอีก การแอสซิสต์ ทำให้อะดรีนาลีนในตัวของเขาพุ่งพล่าน ราวกับว่า มันเป็นแรงผลักดันในสนามแข่งขัน


กระนั้น เขากล่าวอีกว่า การเพิ่มสถิติการแอสซิสต์ ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เขาต้องอาศัยปัจจัยภายใน และภายนอกอย่างมากมาย  


เดอ บรอยน์ คือนักเตะที่เล่นได้ทั้งสองเท้าอย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากในการแอสซิสต์ เขายังใช้สองเท้าในการยิงประตู และครอสบอลด้วย การเล่นได้ทั้งสองเท้า


ทำให้ลูกบอลที่ออกจากเท้าของเขา เกิดการคาดเดา และวางแผนป้องกันยากมากขึ้น ผลสุดท้าย เดอ บรอยน์ กลายเป็นคนที่ออกมาไขข้อสงสัยด้วยตัวเองว่าความจริงแล้ว เขาเป็นนักฟุตบอลที่ถนัดเท้าขวา 


อย่างไรก็ตาม จุดเปลี่ยนสำคัญ เกิดขึ้นตอนที่เขายังเป็นเด็ก ที่ชอบออกไปเล่นฟุตบอลแถวบ้านเพื่อน เดอ บรอยน์ ถูกเพื่อนสั่งห้ามเตะลูกบอลด้วยเท้าขวา


เพราะความรุนแรงนั้น ส่งผลให้กระถางต้นไม้ย่านนั้น รับความเสียหายไปตามกัน ทางออกเดียวคือ การถูกบังคับให้เตะลูกบอลด้วยเท้าซ้าย ที่เป็นข้างไม่ถนัด จนเกิดความเชี่ยวชาญ จากการเล่นด้วยเท้าซ้ายมากขึ้นเรื่อยๆ 


เดอ บรอยน์ บอกต่อไปอีกว่า การถูกกฎข้อบังคับในวันนั้น ช่วยหล่อหลอมให้เขาฝึกฝนอย่างหนัก จนกลายเป็นนักเตะที่เล่นได้ทั้งสองเท้าเหมือนในทุกวันนี้


ผลพลอยได้ที่ตามมาคือ เขาสามารถเลือกช่องในการแอสซิสต์ได้มากขึ้น เพราะไม่ต้องมัวพะวงกับการเอาลูกบอลมาเข้าเหลี่ยมเท้าข้างที่ถนัด 


หากเขาถูกปิดมุมเท้าขวา เขาจะใช้เท้าซ้ายในการผ่านบอล ขณะเดียวกัน หากเขาถูกปิดมุมเท้าซ้าย เขาจะใช้เท้าขวาในการผ่านบอล การถนัดสองเท้า


ช่วยให้การแอสซิสต์ของเขามีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผ่านบอลจากมุมไหนของสนามแข่งขัน 


การแอสซิสต์อย่างเป็นกอบเป็นกำของเดอ บรอยน์ หนึ่งปัจจัยที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก นั่นคือการมี “สายตาที่ยอดเยี่ยม” ขณะที่นักวิจัยในด้านจิตวิทยาเชิงฟุตบอล ถึงกับออกมาศึกษาแนวทางการเล่นของเดอ บรอยน์ เลยทีเดียว


ผลวิจัยออกมาว่า ก่อนได้รับบอลมาครอง เดอ บรอยน์ ใช้สายตาตัวเอง สแกนสถานการณ์รอบตัว 4-5 ครั้ง ภายในระยะเวลา 10 วินาที 


เพื่อเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลรอบข้าง โดยดูว่าเพื่อนร่วมทีมอยู่ตำแหน่งไหน หรือคู่แข่งมาพร้อมภัยคุกคามหรือเปล่า นักวิจัยเผยว่า นักเตะจอมแอสซิสต์ในศึกพรีเมียร์ลีก ไม่ว่าจะเป็นแฟร้งค์ แลมพาร์ด รวมถึง เชส ฟาเบรกาส ต่างก็สแกนสิ่งรอบตัว ในค่าเฉลี่ยนี้เช่นเดียวกัน 


ถือเป็นความแตกต่างจากนักเตะทั่วไป ที่มักลดการสแกนสถานการณ์รอบตัวลงไป เมื่อพวกเขาถูกบีบให้เล่นในพื้นที่ที่จำกัด ขณะที่นักเตะอีกจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะไม่ยอมสแกนสถานการณ์รอบตัว


โดยเลือกเล่นไปตามความรู้สึกเพียงอย่างเดียว สำหรับการสแกนของเดอ บรอยน์ ถือว่ามีความยืดหยุ่น และปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ในสนามแข่งขัน 


หากเขาถอยลงมาต่ำ เขามักละสายตาจากลูกบอลราว 1 วินาที เพื่อมองสถานการณ์ในพื้นที่ที่ห่างออกไป ทำให้รับรู้ข้อมูลในสนามที่มีความซับซ้อน


ส่วนจังหวะเกมที่ไม่กดดันมาก เขาจะใช้สายตาสแกนไปทั่วสนาม ก่อให้เกิดมุมมองแบบ “พาโนราม่า” นำมาซึ่งการจ่ายบอลในจังหวะอันตราย


เดอ บรอยน์ ย้ำเสมอว่า การแอสซิสต์ให้เป็นผล สิ่งสำคัญอีกหนึ่งเรื่องคือ ห้ามกลัวที่จะจ่ายบอลพลาด โดยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “จงอย่ากลัว  ที่จะเล่นผิดพลาด เพราะมีนักเตะจำนวนไม่น้อย ที่กลัวในการจ่ายบอลพลาด พวกเขากลับเลือกไปสนใจปฏิกริยา และความคิดของบรรดาคนภายนอก ที่คอยชี้นิ้วตัดสิน โดยเฉพาะเวลาที่จ่ายบอลเสีย”


“สิ่งที่ควรทำนั่นคือ การแย่งบอลกลับมาครอง และพยายามผ่านบอลอีกครั้ง หากไม่สำเร็จ ก็ลองผ่านบอลในรูปแบบอื่นก็ได้ อย่าไปปิดกั้นตัวเอง” เดอ บรอยน์ บอกว่า แม้เขาจะเป็นนักเตะที่ผ่านบอลสำเร็จในเปอร์เซ็นต์ที่สูง รวมถึงมีการแอสซิสต์ที่ยอดเยี่ยม แต่สุดท้ายแล้ว เขาไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องของสถิตการผ่านบอลสำเร็จ เขาเพียงทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดที่สุด


เดอ บรอยน์ ทิ้งท้ายว่า เขาสามารถลงเล่นร่วมกับใครก็ได้ นั่นคือคำพูดที่ไม่เกินเลยไปนัก โดยตลอดช่วงเวลาที่เขาเล่นกับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ทีมมีการปรับเปลี่ยนกองหน้า และกลุ่มผู้เล่นแนวรุกไปแล้วหลายคน แต่เขายังคงแอสซิสต์ได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเพื่อนร่วมทีมจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนก็ตาม 


เซร์คิโอ กุน อเกวโร่, กาเบรียล เชซุซ, ราฮีม สเตอร์ริ่ง, ฟิล โฟเด้น, เออร์ลิ่ง ฮาลันด์ นี่คือ TOP5 เพื่อนร่วมทีมที่เดอ บรอยน์ แอสซิสต์ให้มากสุดในพรีเมียร์ลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2015-16 เป็นต้นมา เราจะสังเกตได้ว่า รายชื่อที่กล่าวมา ล้วนเป็นแนวรุกที่มีสไตล์การเล่น และความสามารถเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป


เดอ บรอยน์ บอกความลับว่า หากการผ่านบอลเป็นเรื่องยาก การผ่านบอล และเพื่อนร่วมทีมสามารถจบสกอร์ได้ ก็ถือเป็นเรื่องที่ยากกว่า ดังนั้น เขาจึงต้องศึกษาว่า เพื่อนร่วมทีมแต่ละคนชอบรับบอลในรูปแบบไหน นั่นคือการบ้านที่เขาต้องทำ เพื่อนร่วมทีมบางคนชอบให้จ่ายไปที่เท้า, บางคนชอบให้จ่ายไปที่พื้นที่วาง และบางคนชอบส่งที่เท้าคนละข้างกัน 


เดอ บรอยน์ ทิ้งท้ายถึงเรื่องนี้ว่า “บางครั้ง คุณจำเป็นต้องรู้ว่า เพื่อนร่วมทีมคนอื่นกำลังทำอะไร สิ่งที่ผมพยายามเปลี่ยนเป็นความเชี่ยวชาญ นั่นคือการรู้ว่าเพื่อนร่วมทีมของผมชอบอะไร และรู้ว่าพวกเขาต้องการรับบอลในรูปแบบไหน”


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด