:::     :::

วิน-วิน ทุกฝ่าย?

วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 คอลัมน์ ผีตัวที่ 13 โดย โกสุ่ย
1,006
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ตลาดนักเตะเดือนนี้ของ แมนฯ ยูไนเต็ด มีแต่ขาออก โดยเฉพาะแข้งเยาวชนที่ถูกผ่องถ่ายออกจากสโมสรทั้งรูปแบบปล่อยขาดหรือยืมตัว

มีกระแสตีกลับมาจากแฟนบอลปิศาจแดงที่ไม่ค่อยพอใจ เพราะผู้เล่นหลายๆ คนดูเหมือนมีของและอนาคตในรั้ว โอลด์ แทรฟฟอร์ด ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ตามมา

ยกตัวอย่าง อัลบาโร่ เฟร์นานเดซ กับ ฮันนิบาล เมจบรี โดยรายแรกแสดงฝีเท้าตั้งแต่พรีซีซั่นแต่ดันไม่มีโอกาสขึ้นทีมชุดใหญ่เพราะสโมสรปล่อยให้กรานาดายืมใช้งานช่วงครึ่งแรกของฤดูกาล ซึ่งตอนนี้ถูกเรียกตัวกลับมาก่อนส่งต่อให้เบนฟิก้าเป็นที่เรียบร้อย

หรือแม้แต่ ฮันนิบาล ซึ่งลงเล่นให้ทีมชุดแรกยูไนเต็ดแต่ท้ายที่สุดต้องไปเสาะหาโอกาสกับ เซบีย่า

กรณีดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่สาวก แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด งุนงงมาตั้งแต่ช่วงหน้าร้อนปีที่แล้ว เพราะนักเตะที่ (ดูเหมือน) มีอนาคตอย่าง อีธาน แลร์ด, มาร์ก ฆูราโด้, ซีดาน อิกบัล และ ชาร์ลี ซาเวจ ถูกปล่อยพ้นทีม จึงกลายเป็นถูกตั้งคำถามถึงการให้ความสำคัญต่อผลผลิตจากทีมเยาวชน

ไหนจะมีนักเตะที่กำลังสร้างผลงานกับทีมอื่นๆ อาทิ เทเดน เมนกี, เจมส์ การ์เนอร์ และ แอนโธนี่ เอลังก้า ทำให้การปล่อยผู้เล่นจากทีมเยาวชนในเดือนนี้สร้างความสงสัยต่อกลุ่มแฟนบอลอีกครั้ง

เรื่องเหล่านี้ถูกอธิบายโดย แมนเชสเตอร์ อีฟนิง นิวส์ ว่าทุกอย่างเป็นไปเพราะเรื่องของ 'กฎการเงิน' ที่กำลังเล่นงาน ปิศาจแดง สิ่งนั้นกำลังบีบรัดให้สโมสรต้องเร่งคลายความตึงเครีนดทางการเงินเพื่อให้สามารถขยับขยายได้ในอนาคต

ชัดเจนว่าแฟนบอลไม่พอใจกับฟอร์มการเล่นในซีซั่นนี้เพราะแข้งชุดใหญ่ทำผลงานไม่เป็นชิ้นเป็นอันเอาแน่เอานอนไม่ได้ จึงมีหลายคนที่กล่าวปนประชดประชันว่าเมื่อนักเตะเหล่านั้นเล่นได้ 'ห่วย' ก็ให้โอกาสดาวรุ่งลงสนามไปเลยดีกว่า

แต่สำหรับ เอริก เทน ฮาก และบอร์ดบริหารต่างคิดในมุมมองที่แตกต่างออกไป แม้ในใจอยากให้โอกาสเด็กๆ เหล่านั้น ทว่าปัจจุบันสโมสรทั่วยุโรปกำลังเผชิญอุปสรรคเรื่อง 'กฎการเงิน' ซึ่งกำลังไล่งับไล่เล่นงานทีมที่บริหารผิดพลาด

ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ เอฟเวอร์ตัน ที่ถูก พรีเมียร์ลีก เล่นงานถึงขั้นตัดแต้ม แม้หลายฝ่ายมองว่าเป็นการ 'เชือดไก่ให้ลิงดู' แต่ผลออกมาเช่นนั้นกลับสร้างความหวาดหวั่นให้ทุกๆ สโมสรไม่อยากกลายสภาพเป็นแบบเดียวกัน

ฝั่ง ยูไนเต็ด ซึ่งเสริมทีมอย่างหนักในช่วงหน้าร้อน แต่ผลงานกลับออกทะเลโดยเฉพาะเวที แชมเปี้ยนส์ ลีก ที่กระเด็นตกรอบแรกได้สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างการเงินของสโมสรแบบไม่ต้องสงสัย

ไหนจะโอกาสกลับไปเล่น ยูซีแอล ซีซั่นหน้าที่สถานการณ์ตอนนี้ไม่สู้ดี MEN เลยสรุปว่าการดำเนินงานปล่อยผู้เล่นเยาวชนของ ปิศาจแดง คือทางออกที่จะทำให้การเงินสโมสรไม่เดินหน้าไปสู่เส้นทางอันตราย

ด้วยปัจจัยที่ พรีเมียร์ลีก และ ยูเอฟ่า เพิ่มข้อกำหนดเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ ปิศาจแดง ต้องรักษาสมดุลบัญชีของสโมสรไม่ให้สุ่มเสี่ยงหรือเกิดอันตรายในอนาคต และการปล่อยนักเตะจากทีมเยาวชนออกไปนับเป็นทางออกที่ดีที่สุดในตอนนี้

เหตุผลที่ MEN อธิบายคือผู้เล่นซึ่งก้าวมาจากทีมเยาวชนถูกตีความและจัดหมวดหมู่ให้อยู่ในผลกำไรซื้อขายเพราะทุกคนไม่มีต้นทุนที่ต้องดึงมา (แม้ความเป็นจริงบางรายต้องเสียเงินตอนนำตัวเข้าทีม) ทำให้การปล่อยนักเตะออกไป (ไม่ว่าจะกรณียืมตัวพ่วงเงื่อนไข, การขายขาด หรือปล่อยตัวมีส่วนแบ่งในอนาคต) จะถูกนับเป็นกำไรของสโมสร เพราะทุกคนเข้าเกณฑ์ผลผลิตที่มาจากระบบ 'อคาเดมี' 

นั่นคือปัจจัยที่บอร์ดบริหารมองเป็นตัวแปรสำคัญในเดือนนี้ 'เพื่อให้' บัญชีทางการเงินมีความสมดุลและสามารถขยับขยายได้อย่างสะดวกหากมีความจำเป็นในอนาคต

จึงเป็นที่มาของข่าวที่ออกมาต่อเนื่องว่าทำไม เชลซี ถึงต้องการปล่อยตัว คอเนอร์ กัลลาเกอร์ ออกจากทีมแม้ทางนyกเตะทำผลงานได้ดี หรือแม้แต่การยอมขาย เมสัน เมาท์ มาให้ ผีแดง เมื่อหน้าร้อนปีที่แล้ว ไม่ต่างจาก นิวคาสเซิ่ล ที่กำลังจะหาทางออกในวิธีเดียวกับ แมนฯ ยูไนเต็ด เพราะสองทีมดังกล่าวกำลังถูก 'กฎการเงิน' ไล่จี้เช่นเดียวกัน

ตัวอย่างที่ยกมาอาจไม่สามารถทำให้แฟนบอลทุกคนคล้อยตามได้ทั้งหมด กระนั้น MEN เชื่อว่าสำหรับ 'อีทีเอช' ยังคงให้ความสำคัญกับผลผลิตจากทีมเยาวชน แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือการยกระดับหรือเพิ่ม 'มาตรฐาน' ให้สูงขึ้น

บวกกับปัจจุบันนักเตะหนุ่มหลายคนเริ่มคิดถึงอนาคตตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ เช่นเดียวกับ ปิศาจแดง ที่พร้อมให้โอกาส (หากดีพอ) หรือ 'เปิด' โอกาสหากผู้เล่นมองว่าการย้ายทีมดีต่อตนเองมากกว่า

แต่สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ ยูไนเต็ด จะใส่เงื่อนไขต่างๆ เข้าไป อาทิ การซื้อคืน หรือส่วนแบ่งในอนาคต ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ถูกใส่เข้ามาสำหรับผลประโยชน์ (ที่อาจจะเกิดขึ้นใน) วันข้างหน้า

นั่นคือคำอธิบายจากสื่อท้องถิ่นที่พยายามแสดงให้เห็นถึงมุมมองฝ่ายบริหารซึ่งต้องต่อสู้กับหลายทิศทาง บวกกับปัจจัยเรื่อง 'กฎการเงิน' ได้ส่งผลให้การขยับตัวในตลาดนักเตะต้องมีความ 'ฉลาดหลักแหลม' และมองการณ์ไกลมากกว่าเดิม

สถานการณ์ปล่อยนักเตะเยาวชนในช่วงที่ผ่านมาได้สร้างความไม่พอใจให้กับแฟนบอลพอสมควร แต่หากสโมสรไม่ทำอะไรเลย ปล่อยปัญหาทางการเงินบานปลายจนแก้ไขไม่ทันอาจจะลงเอยในแบบที่เลวร้ายเหมือนตัวอย่างก่อนหน้านี้

สำหรับแฟนบอลอาจเป็นก้าวเดินที่แย่ แต่ฝั่ง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด คือสถานการณ์ที่ วิน-วิน ทุกฝ่าย สโมสรได้แก้ปัญหาเรื่องสมดุลทางบัญชี นักเตะได้ย้ายทีมเพื่อโอกาสลงสนามอย่างที่ต้องการ นอกจากนั้นเงื่อนไขที่ใส่เข้าไปอาจกลับมาเป็นประโยชน์ในอนาคตข้างหน้าก็เป็นได้



ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด