:::     :::

เรามาถึงยุคที่แข้ง "ปินส์" ครอง "ไทยลีก" ได้ไง

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 คอลัมน์ ONE MAN SHOW โดย แมน โกสินทร์
2,635
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
นับตั้งแต่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เปิดไฟเขียวให้แต่ละสโมสรในลีกสูงสุด เซ็นแข้งอาเซียนได้ไม่จำกัด และส่งลงเล่นต่อเกมได้ไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา ดูเหมือนว่าจะสร้างความคึกคักในภูมิภาคนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว

เพราะกระแสการหลั่งไหลเข้ามาของกลุ่มแข้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีมาต่อเนื่อง เห็นจะมีเพียงแข้ง เวียดนาม เท่านั้นที่ยังไม่เปิดใจกับไทยลีกมากนัก ถ้าไม่นับการมาเฝ้าเสาของ ดัง วาน ลัม นายด่านลูกครึ่งรัฐเซีย

อันที่จริง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เคยคว้า ลุง ซวน เจือง กองกลางทีมชาติเวียดนาม จาก ฮอง อันห์ ยาลาย มาร่วมทัพสู้ศึกฤดูกาล 2019 มาแล้ว ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ จนต้องเก็บข้าวของกลับไปยังบ้านเกิด ทั้งๆที่หลายคนมองว่า นี่คือแข้งโควตาอาเซียนระดับท็อปด้วยซ้ำ

แน่นอนว่าปัญหาของแข้งเวียดนามน่าจะอยู่ที่การใช้ภาษาเป็นหลัก เพราะว่าผู้เล่นต่างชาติส่วนใหญ่เวลาสื่อสารกับคนไทยก็มักจะใช้ “อังกฤษ” ยิ่งเมื่อไม่มีล่ามข้างกายมาคอยแปลให้แล้ว มันจึงยิ่งยากกันเข้าไปใหญ่

หลายสโมสรจึงนำมาซึ่งการใช้ผู้เล่นจากทีมชาติฟิลิปปินส์ ซึ่งยุคเริ่มต้นก็คือ ฆาเบียร์ ปาตินโญ เมื่อฤดูกาล 2013-2014 แม้ว่าเวลานั้นจะยังไม่ได้มีเรื่องของโควตาอาเซียน ทำให้เขามาในฐานะแข้งเอเชียในถิ่น “ปราสาทสายฟ้า”


นอกจากยิงไปถึง 34 ประตู เขายังคว้าแชมป์ลีกได้ 2 สมัย , เอฟเอ คัพ และลีก คัพ รวมถึง ถ้วยพระราชทาน ก. อย่างละ 1 สมัย เรียกได้ว่าคุ้มค่าทุกดอลล่าห์ที่ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จ่ายเงินเดือนให้กับเขา 

ก่อนที่ฤดูกาล 2015 จะย้าย ไปอยู่กับ เหอหนาน เจียนยี่ ด้วยค่าตัวเป็นสถิติของไทยลีกในขณะนั้นที่ 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือราว 40 ล้านบาท โดยลงเล่นให้กับทีมจากเเดนมังกร 60 เกม ยิงในลีกไปทั้งหมด 21 ประตู และกลับมาร่วมทีม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ปี 2018 ก่อนมาอยู่ที่ ราชบุรี มิตรผล เอฟซี ในปี2019

สาเหตุหลักที่หัวหอกรายนี้สามารถเป็นสะพานให้กับเพื่อนร่วมชาติ เดินทางมาเล่นในไทยลีกได้ คือ เรื่องของภาษาไม่เป็นปัญหาของพวกเขา เรื่องจาก ฟิลิปปินส์ นั้น เป็นประเทศที่สามารถพูดอังกฤษได้อยู่แล้ว ตามมาด้วยเรื่องของอาหาร ที่แม้ส่วนใหญ่จะเป็นลูกครึ่ง ก็มักจะกินง่ายอยู่ง่าย การใช้ชีวิตในวัฒนธรรมที่แตกต่างก็ไม่ได้ยากเข็นเกินไป


พูดง่ายๆว่าแข้งตากาล็อกคือ คนต่างชาติที่มีการเรียนรู้วัฒนธรรมของอาเซียนได้อย่างกลมกลืน ทำให้เราจึงได้เห็นแข้งฝีเท้าดีจากฟิลิปปินส์ หลั่งไหลเข้ามาอยู่ตลอดไม่ว่าจะเป็น เอียน แรมซีย์ เริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพกับสโมสร ซิดนีย์ เอฟซี เมื่อปีค.ศ.  2010 และผ่านการลงเล่นกับหลายสโมสรในเอลีก ออสเตรเลีย รวมถึงยังเคย เล่นกับ แทรคเตอร์ ซาซี่ ทีมชั้นนำในลีกสูงสุดของประเทศอิหร่าน จนเข้ามาอยู่กับ สุโขทัย เอฟซี และ พีที ประจวบ เอฟซี


รวมถึง ไดซึเกะ ซาโตะ แบ็คซ้ายจอมบุกของ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่เคยเป็นเยาวชนของ อูราวะ เร้ด ไดมอนด์ส ทีมดังแห่งแดนปลาดิบ ก่อนถูกบันทึกว่า เป็นนักเตะฟิลิปปินส์คนแรกในประวัติศาสตร์ที่เล่นในลีกโรมาเนีย ในนัดที่ต้นสังกัดพ่ายต่อยักษ์ใหญ่ ดินาโม บูคาเรสต์ 1-3 ซึ่งติดทีมชาติฟิลิปปินส์ชุดคว้ารองแชมป์ศึก เอเอฟซี ชาลเล้นจ์ คัพ

ไมเคิล ฟาลเคสการ์ด ก็ยืนยงคงกระพันกับ ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด หลังเข้ามาอยู่กับทีมตั้งแต่ปี 2018 รวมแล้วถึง 3 ปีเต็มๆ ซึ่งพกดีกรีอดีตเยาวชนทีมชาติเดนมาร์กของสโมสร มิดทิลลันด์ 


ยังมี มาร์ติน สตูเบิ้ล ดาวเตะสารพัดประโยชน์ทั้งมิดฟิลด์ตัวกลาง และวิงแบ็คซ้าย-ขวา ของการท่าเรือ เอฟซี ที่ผ่านการค้าแข้งในลีกสวิตเซอร์แลนด์มาอย่างโชกโชน กับทีม กล๊าสฮ็อปเปอร์ ซูริค, โลซาน สปอร์ต, โวห์เลน, วิลล์

ไปจนถึงคนที่ทำให้สาวก "ปราสาทสายฟ้า"ได้เฮ นั่นคือ เควิน อิงเกรโซ ลูกครึ่งฟิลิปปินส์-เยอรมัน ที่ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม แม้ว่าจะลงมาเป็นตัวสำรอง ก็ทุ่มเทอย่างเต็มที่จนได้รับสัญญาใหม่ ที่สำคัญยังเล่นได้ทั้ง กองกลาง และ แบ็คซ้าย นอกจากนี้ยังเคยเป็นอดีตเพื่อนร่วมทีมของ ซน เฮือง มิน ดาวซัลโวพรีเมียร์ลีกของ ท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ส สมัยค้าแข้งด้วยกันในเยอรมัน กับ ฮัมบูร์ก เอสเฟา


แน่นอนว่าการตบเท้ามาเล่นในไทยลีกของบรรดาทีมชาติฟิลิปปินส์ ส่งผลดีของพวกเขา คือ การได้เรียนรู้สไตล์การเล่นของนักเตะไทยทุกคน ซึ่งไม่แน่ว่าอาจจะเป็นตัวแปรสำคัญ ในการขึ้นครองเบอร์ 1 ของอาเซียน หากว่าพวกเราไม่สปีดตัวเองขึ้นมา

กวาดสายตาดูอีกครั้งทุกชื่อที่กล่าวมา ล้วนแต่มีดีกรีทีมชาติฟิลิปปินส์ ชุดใหญ่ ทุกคน ในอีกมุมก็คงจะคิดได้ที่ว่า พวกเขาคงจะมองไทยลีกเป็นเบอร์ 1 ของอาเซียน 

แต่ลึกๆแล้วฟิลิปปินส์เอง ก็อยากจะก้าวมาครองจ้าวอาเซียนเหมือนกัน เพราะด้วยทัศนคติที่ถูกสั่งสมมาแบบเมืองนอก บวกกับสรีระที่เป็นคนยุโรป ความแข็งแกร่งในด้านร่างกาย พวกเขาคงเชื่อว่าวันหนึ่งจะต้องเป็นเบอร์ 1 ได้อย่างแน่นอน

ในทางกลับกัน ตอนนี้เวทีไทยลีกก็เสมือนกลายเป็นโรงงานค้นคว้าและคัดกรองแข้งลูกครึ่งให้กับทีมชาติฟิลิปปินส์ ไปแล้ว เพราะมีหลายคนที่ตลอดชีวิตแทบไม่เคยเดินทางไปฟิลิปปินส์มาก่อน และมาติดทีมชาติครั้งแรกก็เพราะย้ายมาเล่นในไทยลีก ตัวอย่างที่้เห็นได้ชัดก็คือ ไมเคิ่ล ฟาลเคสการ์ด ที่ได้เหยียบแผ่นดินตากาล็อก รวมถึงติดทีมชาติครั้งแรกก็ตอนย้ายมาเล่นให้กับ แบงค็อก ยูไนเต็ด เนี่ยแหละ


ตรงนี้อาจกลายเป็นผลพลอยได้ของวงการลูกหนังฟิลิปปินส์ แต่นั่นมันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า หากต้องการนักเตะที่ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพในสนามในฐานะโควตาอาเซียน พวกเขาคือตัวเลือกอันดับหนึ่งแน่นอน แต่หากต้องการผลลัพธ์ทางเรื่องการตลาดล่ะก็ บอกตามตรงว่าแทบไม่มีอิมแพ็คใดๆ เพราะชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ มิได้มีอารมณ์ร่วมกับเกมลูกหนังมากนัก เนื่องจากอิทธิพลสมัยที่เป็นประเภทใต้อาณานิคม ที่พวกเขานิยมชมชอบกีฬาอเมริกันเกมส์มากกว่า 

ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่าหากมองที่คุณภาพ จงเลือกลูกครึ่งฟิลิปปินส์ แต่ถ้าจะเลือกการตีตลาดเพื่อนบ้านด้วย เชิญมองหาตัวเลือกอื่นได้เลยครับท่าน...


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด