:::     :::

ฟรีคิกในแบบฉบับ "เจมส์ วอร์ด-พราวส์"

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2565 คอลัมน์ Zero to Hero โดย บังคุง
2,384
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
หากเอ่ยถึงชื่อจอมยิงฟรีคิก ในพรีเมียร์ลีก

ชื่อของเจมส์ วอร์ด-พราวส์ดาวเตะเซาธ์แฮมป์ตัน ย่อมถูกบรรจุรสมอยู่ในนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย จากสถิติการยิงฟรีคิก ที่ดีสุดเป็นอันดับ 2 ของประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก ที่จำนวน 13 ประตู ตามหลัง เดวิด เบ็คแฮม เจ้าของสถิติเพียงแค่ 5 ลูกเท่านั้น


ช่วงนี้ เราลองย้อนไปดูปูมหลัง การเล่นลูกฟรีคิกของ เจมส์ วอร์ด-พราวส์ กันหน่อยดีกว่า เจาะลึกไปถึงเคล็ดลับ และแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาหันมามุ่งมั่นกับการเล่นลูกนิ่ง แน่นอนว่า หลายคนเชื่อว่าสถิติการยิงฟรีคิกในพรีเมียร์ลีก ของเบ็คแฮม น่าจะถูกเขาทำลายลงในไม่ช้า 


ผมชอบการยิงฟรีคิกมาตั้งแต่เด็กเจมส์ วอร์ด-พราวส์ ออกมาย้อนความทรงจำ การยิงลูกฟรีคิกของเขา ถือเป็นสิ่งที่ชอบเป็นชีวิตจิตใจ กระนั้น กว่าที่เขาจะมีความช่ำชองเหมือนทุกวันนี้ เขาต้องผ่านการฝึกฝน และการศึกษาเทคนิคการยิงอย่างหนักหน่วง


ฟรีคิกคือสิ่งที่ดีที่สุดของผม เพราะมันหมายความว่า ผมมีโอกาสยิงประตูสวยๆ เมื่อคุณมีโอกาสยิงฟรีคิก คุณจะคิดว่า -นี่เป็นโอกาสที่ดี สำหรับการยิงประตูที่ยอดเยี่ยม- ผมยังรู้สึกประหม่าอยู่บ้าง เพราะไม่มีโอกาสแบบนี้มากนัก หากคุณฝึกซ้อมเรื่องฟรีคิกอย่างหนักมาตลอดสัปดาห์ และพอถึงเวลาจริง คุณทำออกมาไม่ดี คุณจะรู้สึกเสียใจ 


โดยดาวเตะวัย 27 กล่าวต่อถึงเทคนิคส่วนตัวเอาไว้อย่างน่าสนใจว่าผมพยายามเน้นการยิงฟรีคิก โดยจะเล็งไปที่ตรงกลางประตู ก่อนจะใส่การปั่นโค้งลงไป เพื่อให้ลูกบอลพุ่งหนีมือของผู้รักษาประตู นั่นเป็นเทคนิคของผม ผมมองว่า ควรตัดโอกาสการเซฟของนายทวารออกไป


ทุกวันพฤหัสบดี คือช่วงเวลาที่ผมฝึกซ้อมการยิงฟรีคิก ผมชอบถือถุงบรรจุลูกบอล และอยู่ห่างจากผู้คน ผมพยายามฝึกซ้อมอยู่คนเดียว และอยู่ในมุมส่วนตัว ผมพยายามสร้างเทคนิคการยิงฟรีคิกของตัวเอง ผมชอบที่จะถอยหลังห่างจากลูกบอลประมาณ 4 ก้าว จากนั้น ก็วิ่งเข้ามายิงเลย


ส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อในเรื่องความจำของกล้ามเนื้อ ยิ่งคุณฝึกซ้อมากเท่าไหร่ ร่างกายคุณจะเชื่อมต่อกับการยิงมากเท่านั้น ร่างกายจะสอดประสาน และรับรู้เทคนิค แถมยังช่วยเรื่องการปรับปรุงคุณภาพ หากผมซ้อมยิงฟรีคิกแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ประสิทธิภาพจะไม่เพียงพอ มันไม่ส่งผลดีต่อร่างกายด้วย

การเล่นลูกฟรีคิก นอกจากเป็นการค้นหาตัวเองในรูปแบบหนึ่งแล้ว เรื่องของแรงบันดาลใจ ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน โดยที่เจมส์ วอร์ด-พราวส์ ออกมายอมรับว่า แรงขับเคลื่อนสำคัญ ในการยิงฟรีคิกของเขา คือไอดอลนามว่าเดวิด เบ็คแฮมนั่นเอง 


โดยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่าสำหรับผม เดวิด เบ็คแฮม คือที่สุด ไม่ใช่แค่การยิงฟรีคิกเท่านั้น แต่รวมถึงภาพลักษณ์โดยรวมของเขาอีกด้วย ย้อนกลับไปตอนเด็ก ผมพยายามเลียนแบบทรงผมของเขาด้วย ผมอยากได้รองเท้าสตั๊ดเหมือนเขา และอยากสวมเสื้อเบอร์เดียวกัน


เบ็คแฮม ถือเป็นคนที่ผมเฝ้ามองมาตลอด ผมมีความคิดภายในใจว่า -ว้าว เขาสร้างแรงกระเพื่อม และเป็นแรงบันดาลใจให้ผม โดยเฉพาะการลองยิงฟรีคิก กระนั้น ระหว่างผมกับเบ็คแฮม เทคนิคการยิงฟรีคิกของเรามีความแตกต่างกัน


เบ็คแฮม เป็นคนที่วางองศาแขนในวงกว้าง และใช้การเอนหลัง ขณะที่แนวทางการยิงฟรีคิกของผม มักอาศัยการกระโดดเล็กน้อย เพื่อเป็นการบังคับการเคลื่อนไหว ยิ่งผมพยายามพัฒนาเทคนิคมากเท่าไหร่ ผมก็จะพบวิธีการของตัวเอง

ด้านเดฟ ฮิลล์ ประธานสโมสรอีสต์ ลอดจ์ ยูธ เอฟซี ย้อนความทรงจำ เกี่ยวกับเจมส์ วอร์ด-พราวส์ อดีตเด็กปั้นของทีมว่าเด็กคนนี้ชอบเลียนแบบท่ายิงฟรีคิกของเดวิด เบ็คแฮม อยู่เสมอ เขามาเล่นกับอะคาเดมี่ของเรา ตอนอายุ 5 หรือ 6 ขวบ ถือเป็นช่วงที่เขาเริ่มเล่นฟุตบอล


ไอดอลของเขาคือเดวิด เบ็คแฮม เขาเลียนแบบเจ้าพ่อลูกนิ่งคนนี้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อถึงการฝึนฝนยิงลูกฟรีคิก ผมเคยบอกกับเขาว่า เขาจำเป็นต้องมีอะไรมากกว่าการเตะบอล และการเปิดบอล การแข่งขันมีอะไรมากกว่าการส่งบอล เขาต้องมีร่างกายที่แข็งแกร่งมากขึ้น


ขณะที่คุณพ่อของ เจมส์ วอร์ด-พราวส์ ออกมาปิดท้าย ถึงความชื่นชอบของลูกชาย โดยบอกว่า "ย้อนกลับไปตอนเป็นเด็ก ทั้งสองเท้าของเขาจะมีลูกบอลอยู่ด้วยเสมอ หากเราแกล้งแย่งลูกบอลไป เขาก็จะหันไปเตะตุ๊กตาหมีแทน !!!"


ย้อนกลับไป ตอนที่เขาอายุประมาณ 9 ขวบ เรา และครอบครัวต้องตัดสินใจเลือกทีมแล้ว ผลสุดท้ายเราเลือกเซาธ์แฮมป์ตัน ด้วยเหตุผลด้านความยอดเยี่ยมของระบบพัฒนาเยาวชน และคุณภาพของการฝึกฝน"

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})