:::     :::

เรื่องชวนปวดหัวของ'เวิลด์คัพ2022'

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 คอลัมน์ Football Therapy โดย บี้ เดอะสปา
1,128
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ที่แปลกตา เต็มไปด้วยความวุ่นวาย และปัญหาที่เกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน แม้มีการจับสลากแบ่งกลุ่มรอบแรกกันไปแล้วก็ตาม

ครั้งแรกของชาติในดินแดนอาหรับที่จะได้เป็นเจ้าภาพมหกรรมฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และครั้งที่สองที่จะได้จัดขึ้นในทวีปเอเชีย ต่อจากเวิลด์คัพ 2022 ที่ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นเจ้าภาพร่วม

ทัวร์นาเมนต์ที่ต้องเลื่อนเวลามาแข่งขันในช่วงปลายปี แทรกกลางระหว่างฟุตบอลลีกทั่วไปของทวีปยุโรป จึงจำเป็นต้องลดเวลาการแข่งขันทั้งหมดให้สั้นลงเหลือ 28 วัน
เหตุผลที่ไม่สามารถจัดแข่งขันในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฏาคมได้ เนื่องด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัดในประเทศกาตาร์ คาดการณ์อยู่ระหว่าง 30-42 องศาเซลเซียส
ขณะที่เดือนพฤศจิกายน อุณหภูมิคาดการณ์อยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส และเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนแรกของฤดูวินเทอร์ที่นั่น อุณหภูมิจะลดลงเหลือ 15-24 องศาเซลเซียส
นี่จึงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก ที่จะไม่ได้จัดแข่งขันในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน หรือ กรกฏาคม
ความวุ่นวายต่างๆ นาๆ ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งเรื่องการทุจริตในการเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก หรือพูดง่ายๆ คือ กาตาร์ ติดสินบนเพื่อซื้อสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพเวิลด์คัพ 2022
ประเด็นสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ที่มีการกล่าวหาว่า กาตาร์ ไม่จ่ายค่าแรง อาหาร และน้ำ ปฏิบัติกับแรงงานเยี่ยงทาส และมีแรงงานเสียชีวิตมากถึง 4,000 คน จากสาเหตุต่างๆ
อย่างไรก็ตาม การจัดทัวร์นาเมนต์ เวิลด์คัพ 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ยังคงดำเนินต่อไป
ปัญหาจากรอบคัดเลือกของทีมชาติต่างๆ ก็ยังคงมีให้เห็น แม้ตอนนี้ทราบรายชื่อแล้ว 29 ชาติ และทำการจับสลากแบ่งกลุ่มในรอบแรกไปแล้วก็ตาม
ล่าสุดเกิดขึ้นกับ เอกวาดอร์ ประเด็นเก่าของกองหลัง ไบรอน กัสตีโย่ เรื่องสัญชาติของนักเตะ
5 ปีก่อน กัสตีโย่ ถูกกล่าวหาว่า แท้จริงแล้วเกิดที่เมืองตูมาโก้ ประเทศโคลอมเบีย ที่อยู่ใกล้กับชายแดนประเทศเอกวาดอร์ ไม่ใช่ตามที่แจ้งเอาไว้ว่าเกิดที่เมืองปลายาส ประเทศเอกวาดอร์
ตอนนั้น กัสตีโย่ ถูกสั่งให้ระงับการเล่นให้ทีมชาติเอกวาดอร์ ชุดอายุไม่เกิน 20 ปี จนกว่าจะมีการสอบสวนเสร็จสิ้น
ต่อมาในปี 2019 มีการกล่าวหาว่า กัสตีโย่ ทำเรื่องปลอมแปลงเอกสารการเกิด เพื่อให้ได้เล่นให้ทีมชาติเอกวาดอร์ จนกระทั่งเดือนเมษายน ปี 2021 มีการยืนยันสัญชาติเอกวาดอร์
หลังจากนั้น 4 เดือน กุสตาโว่ อัลฟาโร่ เทรนเนอร์ทีมชาติเอกวาดอร์ ก็เรียกตัวมาเล่นเกมฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนอเมริกาใต้ ทันที
เรื่องนี้ดูเหมือนจะจบลง และไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้นอีกแล้ว แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น
สหพันธ์ฟุตบอลชิลี ยื่นเรื่องร้องเรียนไปถึงคณะกรรมการด้านระเบียบวินัยของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ให้ทำการตรวจสอบสัญชาติของ กัสตีโย่ ใหม่อีกครั้ง
องค์กรลูกหนังของประเทศชิลี มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันว่านักเตะเกิดที่เมืองตูมาโก้ ประเทศโคลอมเบีย และยังเกิดในเดือนกรกฏาคม ปี 1995 ไม่ใช่วันที่ 10 พฤศจิกายน 1998 ตามที่แจ้งเอาไว้ เป็นการปลอมแปลงเอกสารของนักเตะทั้งสูติบัตรและสัญชาติ เพื่อลงทะเบียนเป็นชาวเอกวาดอร์
ประเด็นนี้จะเข้าข่าย เอกวาดอร์ ส่งนักเตะที่ไม่มีสิทธิ์ลงเล่นเกมฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก และหากคณะกรรมการด้านระเบียบวินัยของฟีฟ่า พิจารณาแล้วว่ามีความผิดจริง โทษอาจรุนแรงถึงขั้นตัดสิทธิ์จากรอบสุดท้าย
หากเป็นเช่นนั้น เปรู ที่อยู่อันดับ 5 กำลังรอเล่นรอบเพลย์ออฟ จะขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 4 ได้ตั๋วไปเล่นรอบสุดท้ายเลย และอันดับ 6 จะขึ้นมาเพลย์ออฟแทน แต่อันดับ 6 คือ โคลอมเบีย
แล้ว ชิลี ที่จบอันดับ 7 จะวางแผนร้องเรียนประเด็นนี้เพื่ออะไร?
ชิลี เรียกร้องว่า เอกวาดอร์ ควรถูกปรับแพ้ทุกเกมที่มี กัสตีโย่ ลงสนาม และให้คู่แข่งในเกมนั้นๆ รับสามคะแนนเต็มกันไปถ้วนหน้า
เหตุผลนี้เองที่จะทำให้ ชิลี กระโดดแซง โคลอมเบีย และ เปรู ขึ้นไปอยู่อันดับ 4 คว้าตั๋วอัตโนมัติเลย
ชีลี ยืนยันว่ามีหลักฐานมากมายที่สามารถยืนยันว่า กัสตีโย่ เกิดที่โคลอมเบีย ในปี 1995 และยังอ้างว่าสหพันธ์ฟุตบอลเอกวาดอร์ก็ทราบดีอยู่แล้วในเรื่องนี้ แต่พยายามปิดบังมาโดยตลอด
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวเพิ่งเริ่มต้นอยู่ในขั้นส่งหนังสือร้องเรียนเท่านั้น และ ฟีฟ่า ก็ยังไม่เคยตัดสิทธิ์ทีมชาติใดๆ จากการแข่งขันรอบสุดท้าย ไม่ว่าจะกรณีใดทั้งนั้น ยกเว้น รัสเซีย ที่ถูกริบสิทธิ์เล่นรอบเพลย์ออฟ อันเนื่องมาจากการก่อสงคราม
แม้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นในอเมริกาใต้ และ ชิลี ต้องการให้จบในอเมริกาใต้ แต่ อิตาลี ชาติใหญ่ยุโรป ที่ตกรอบสุดท้าย ฟุตบอลโลก สองครั้งติดต่อกัน ดันแอบมีความหวังเล็กๆ ขึ้นมา โดยอ้างประเด็นเดิมคือให้ ฟีฟ่า พิจารณาทีมที่มีอันดับโลกสูงสุดรับสิทธิ์เล่นรอบสุดท้ายแทน
ก่อนหน้านี้ เคยเกิดกรณีขึ้นกับ อิหร่าน ที่ห้ามผู้หญิงจำนวนกว่า 2,000 คน เข้าชมเกมในสนาม ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก เจอกับ เลบานอน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม เป็นการฝ่าฝืนกฏของฟีฟ่า
เหตุการณ์นี้ถือเป็นครั้งที่สองที่ อิหร่าน กระทำความผิดในลักษณะนี้ เพราะเคยถูก ฟีฟ่า ส่งหนังสือเตือนครั้งแรกมาแล้วเมื่อปี 2019
การคาดการณ์บทลงโทษสูงสุดคือตัด อิหร่าน ออกจากฟุตบอลโลก 2022 และ ฟีฟ่า อาจเลือกตัวแทนคือทีมที่มีอันดับโลกสูงสุด นั่นก็คือ อิตาลี แต่ไม่ว่าจะมองมุมไหนก็ไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะลงโทษรุนแรงถึงขั้นนั้น
เรื่องราวที่ชวนปวดหัวของฟุตบอลโลก 2022 ทำนองนี้อาจจะมีต่อไปเรื่อยๆ เพราะยังเหลือเวลาอีกถึง 6 เดือนกว่าทัวร์นาเมนต์จะเริ่มต้น

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด