:::     :::

"8 กึ่ง 6" James Garner และบทบาทของเขาต่อการคืนชีพของฟอเรสต์

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2565 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
7,824
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ส่วนหนึ่งของการเลื่อนชั้นครั้งประวัติศาสตร์ที่พาน็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ กลับมาสู่ Top Flight อีกครั้งในวงการฟุตบอลอังกฤษ และเจ้าหนุ่มลูกกรอกคะนอง James Garner คือตัวจักรสำคัญในความสำเร็จครั้งนี้ นี่คือบทความที่จะทำให้แฟนผีเห็นชัดเจนว่า เขามีอนาคตไกลเพียงใด และตำแหน่งการเล่นที่ยังสามารถ "ไปได้อีก" อย่างไม่หยุดยั้ง โดยตั้งอยู่บนความเป็นจริงของการวิเคราะห์

ฤดูกาล 2022/23 สามทีมที่เลื่อนชั้นขึ้นมาแทนที่ของ นอริช วัตฟอร์ด และ เบิร์นลีย์ ได้แก่ ฟูแล่ม บอร์นมัธ และน็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ ซึ่งสองทีมแรกเป็นแชมป์กับรองแชมป์ของลีกเดอะแชมเปี้ยนชิพอังกฤษ

และ "น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์" เลื่อนชั้นเป็นทีมสุดท้ายในซีซั่นนี้ด้วยประตูโทนจากลูกOG. ของคอลวิลล์ นักเตะฝั่งฮัดเดอร์สฟิลด์ทาวน์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการยิงไกลเข้าไปกดดันของการ์เนอร์ จนเกิดจังหวะได้ประตูในท้ายครึ่งแรกเกิดขึ้น

ประตูนั้นพาให้พวกเขากลับมาอีกครั้ง หลังจากตกชั้นไปในปีที่แมนยูคว้าทริปเปิลแชมป์ในฤดูกาล 1998/99 ด้วยอันดับ 20 ในพรีเมียร์ลีกจากการมีแค่ 30 คะแนน

ระยะเวลาที่เจ้าป่าหายไปจากลีกสูงสุด ยุติลงแล้วด้วยระยะเวลาทั้งสิ้น23ปีที่หายไป ยาวนานยิ่งกว่าลีดส์ ยูไนเต็ด ที่ว่าหายไปนานๆเป็น 16 ปี เจอฟอเรสต์เข้าไปดูเบาไปเลย

ความสำเร็จครั้งนี้เกิดจากการที่ฟอเรสต์มีทีมที่ลงตัวครบทุกองค์ประกอบ และที่สำคัญคือทีมสปิริตของนักเตะน็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ ชุดนี้ค่อนข้างดีมากๆ

สเปนซ์ จอห์นสัน และ การ์เนอร์ ตามลำดับ เด็กชุดนี้ของฟอเรสต์สุดตีนมาก รวมตัวหลักอย่างเยตส์อีกคน

นักเตะหลายๆคนในทีม มีความสามารถเฉพาะตัวและคุณภาพการเล่นที่ไม่ได้แพ้นักเตะรดับลีกสูงสุด ตัวเด่นๆที่น่าสนใจมีทั้งเจ้าหนู เจ้ด สเปนซ์ ในตำแหน่งวิงแบ็คขวาที่เคยมีข่าวโยงกับเรา

รวมถึงตัวรุกที่จี๊ดมากๆอย่างเบรนแนน จอห์นสัน ที่เล่นได้ทั้งForward กับ Right Winger และคู่หูแดนกลางอย่าง ไรอัน เยตส์ ที่โชว์ฟอร์มได้เยี่ยมในเกมนี้

แต่เหนือสิ่งอื่นสิ่งใดทั้งมวล นักเตะที่ฟอร์มยอดเยี่ยมและได้รับการเรตติ้งด้วยคะแนนสูงสุดจาก whoscored ก็เป็นน้องของเราอย่าง"เจมส์ การ์เนอร์" ที่เล่นด้วยความยอดเยี่ยมในการเป็นตัวคุมเกมและเติมเกมในฐานะมิดฟิลด์เบอร์8ของทีม (แต่เสื้อใส่เบอร์37 ฮา)

ด้วยRating 7.7 ที่สูงที่สุดในสนามของการ์เนอร์ บวกกับระบบการเล่นที่เหนียวแน่นของ 3-4-1-2 จาก สตีฟ คูเปอร์ ทำให้ทีมพวกเขาประสบความสำเร็จในการคัมแบ็คได้ แม้คะแนนในลีกจะจบด้วยอันดับ4 เป็นรองฮัดเดอร์สฟิลด์ 2 แต้ม

แต่เมื่อมาวัดกันที่การดวลด้วยจิตวิญญาณนักสู้เป็นครั้งสุดท้าย จากการเปรียบมวยกันโดยตรง ฟอเรสต์เอาชนะในเกมตัดสินชะตากรรมได้ในที่สุด

ในแง่ของความเป็นจริง เขียนมาถึงตรงนี้แฟนผีอาจจะมองน้องมันว่าเป็นคนแบกฟอเรสต์กลับมาพรีเมียร์ลีกได้ อันนี้ต้องขอเบรคความไฮพ์กันไว้ก่อนว่า การ์เนอร์ไม่ได้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของฟอเรสต์ขนาดนั้นนะครับ

พวกเขา "ทั้งทีม" พาตัวเองเลื่อนชั้นกลับมาอย่างสมศักดิ์ศรีที่สุดแล้ว ด้วยการทำงานร่วมกันจากทีมเวิร์คของทุกฝ่าย

การ์เนอร์เป็นเพียงแค่จิ๊กซอว์ที่เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในทีม ที่ทำให้ทุกอย่างลงล็อค และดีพอจะเลื่อนชั้นขึ้นมาได้เท่านั้นเอง

น้องไม่ได้แบกคนเดียว ทั้งทีมแบกกันขึ้นมาต่างหาก

หากจะพูดถึงการเล่นส่วนตัวของนักเตะ ถือว่าเป็นผู้เล่นปล่อยยืมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแล้วของเรา ในบรรดาเด็กๆทั้งหลายที่กระจายกันออกไปยืมตัว ไม่ว่าจะเป็นพวก ฟาคู เปลยิสตรี้, อามัด เดียโล่, ตาฮิธ ชอง รวมถึงดีแลน เลวิทท์ และ แบรนดอน วิลเลียมส์ด้วย

กับการพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นมาได้ คล้ายๆกับตอนที่แอ็กเซล ตวนเซเบ้ พาแอสตัน วิลล่าเลื่อนชั้นกลับมาพรีเมียร์ลีก และกลายเป็นทีมที่แข็งแกร่งในตอนนี้ด้วยความเสถียร ซึ่งคงจะตกชั้นลงไปอีกครั้งได้ยาก

การ์เนอร์ลงเล่นทั้งหมด 41 เกม จากการแข่งขันทั้งหมด 46 นัดทั้งซีซั่น ลงตัวจริงไปทั้งหมด 36 นัด ทำไปทั้งหมด 4 ประตู กับอีก 8 แอสซิสต์ในแชมเปี้ยนชิพ

เป็นรองผู้ทำแอสซิสต์สูงสุดของทีมแค่คนเดียว นั่นคือตัวรุกในพื้นที่สุดท้ายอย่าง เบรนแนน จอห์นสัน ที่ทำไป 9 แอสซิสต์เท่านั้นเอง ซึ่งรายนั้นไม่น่าแปลกใจเพราะเขาเป็นตัวรุกแดนหน้าอยู่แล้ว

ฝีเท้าตรงนี้ของการ์เนอร์ไม่ธรรมดา กับการเล่น CM กลางสนามในลักษณะของการเป็นเบอร์ 8 กึ่งเบอร์ 6

เรื่องของท่าไม้ตายในการยิงไกล ก็เป็นอีกอาวุธในการเล่นอีกหนึ่งอย่างของ เจมส์ การ์เนอร์ เรทความสำเร็จในการยิงแต่ละครั้งที่ทำให้เกิดประตู มีสถิติการเล่นที่เป็น Goal per Shot อยู่ที่ 0.09 จากสถิติทั้งหมดที่การ์เนอร์ได้โอกาสส่องยิงทั้งหมด 44 ครั้ง เข้ากรอบ 12 ครั้ง และทำสำเร็จ 4 ประตู

คิดแบบง่ายๆ ทุกๆ3ครั้งที่การ์เนอร์ยิงเข้ากรอบ จะมี 1 ประตู

แต่ถ้าเทียบจำนวนการยิงทั้งหมด ยิง 11 ครั้ง จะทำได้ 1 ประตูนั่นเอง

มีเรื่องต้องพิจารณาก่อนเลยก็คือ shot attemps ตรงนี้ของการ์เนอร์ แตกต่างจากนักเตะกองหน้า เพราะการยิงของเขาเป็นการลองยิงไกลทุกครั้งที่มีโอกาส ดังนั้นเรทของการเป็นประตูมันย่อมสู้พวกกองหน้าตัวจบสกอร์ไม่ได้อยู่แล้ว

ตัวเลข 44 เป็นประตู 4 มันจึงไม่ได้แย่อะไรขนาดนั้น

อีกอย่างก็คือ จุดแข็งของเขาอยู่ที่ภาพรวมในด้านอื่นๆ เพราะถ้าหยิบแค่เรื่อง conversion rate ตรงนี้ไปวิเคราะห์แค่มิติเดียว มันก็แปลว่าการ์เนอร์ยิงไม่ดีหรือไม่? มันก็ไม่ได้แย่ถึงขนาดนั้นเพราะเป็นการลองยิงเพื่อเพิ่มโอกาสทำประตูให้กับทีม ซึ่งเขาก็ทำสำเร็จมาถึง 4 ประตู เป็น 4 ประตูที่ช่วยทีมได้มาก และหลายๆครั้งเป็นประตูตัดสินผลแพ้ชนะของเกมนัดนั้นๆด้วย ถ้าติดตามข่าวของเขาเรื่อยๆจะเห็นในจุดนี้

เรื่องลูกยิงไกลของการ์เนอร์ไม่ได้ถึงกับโหดจัดอะไรขนาดนั้น เป็นสกิลติดตัวที่มีไว้ช่วยทีมได้เรื่อยๆ แต่ก็ช่วยทีมได้ตลอด โดยเฉพาะประตูตัดสินเกมที่ทำให้ฟอเรสต์ได้กลับมาพรีเมียร์ลีก นั่นก็เริ่มต้นจากการยิงไกลของเจมส์ การ์เนอร์ เข้าไปกดดันในกรอบ จนกลายเป็น Own Goal ของกองหลังฮัดเดอร์สฟิลด์ที่ทำพลาดอย่าง คอลวิลล์นั่นเอง

จุดแข็งของการ์เนอร์จริงๆไม่ได้อยู่ที่การทำประตู (ก็คนเป็นมิดฟิลด์นี่หว่า) แต่ที่น่าสนใจจริงๆคือ ปริมาณลูกแอสซิสต์ที่เขาทำได้นั้น เมื่อรวมกับ 4 ประตู มันคือ Goal Contribution ทั้งหมด 12 ประตู จากการลงเล่น 41 นัด และยิ่งถ้านับรวมทุกถ้วย น้องมันยังแอสซิสต์ได้ใน FA Cup อีก 2 ดอกส์ รวมแล้วแกทำไปทั้งหมด 4 ประตูกับ 10 แอสซิสต์ รวมทุกรายการ

เจมส์ การ์เนอร์ อาจจะยิงประตูได้แค่ประมาณหนึ่ง แต่ความสามารถของเขามีส่วนร่วมกับการทำประตูของทีมได้ค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะลูกจ่ายที่เป็น Key passes รวมถึง Assists ด้วยนั่นเอง

การเล่นที่สร้างประตู สร้างแอสซิสต์ได้ มันส่งผลต่อทีมในแง่ของการสร้างผลลัพธ์จากภาคการแข่งขันได้ค่อนข้างimpactมากๆ

Kep passes ต่อเกมของการ์เนอร์อยู่ที่ 2 ครั้งต่อเกม ซึ่งก็ถือว่าสูง กับจำนวนการจ่ายบอลเฉลี่ย 34 ครั้ง และนิสัยการเล่นที่มีความสด ความขยัน เล่นเกมกายภาพได้อย่างดี รวมถึงการลองยิงไกลบ่อยๆเท่าที่มีโอกาส

Pass Success Percentage ของการ์เนอร์อยู่ที่ 80.7% ส่องไกลต่อเกม 1.1 ครั้ง และเลี้ยงบอลเอาชนะคู่แข่ง เฉลี่ย 0.4 ครั้งต่อเกม

ดีทั้งสกิลการเล่นเกมรุกจากทักษะการจ่ายบอล และลองยิงไกล แต่เกมรับ น้องก็ไม่เคยทิ้ง

การ์เนอร์เป็นมิดฟิลด์ที่มีความขยันมากๆ ช่วยเกมรับของทีมได้ดี แม้จะไม่ใช่กลางรับตัดเกมธรรมชาติ แต่ช่วยทีมในพื้นที่ตรงกลางได้ตลอด ทั้งในภาคการครองบอลทำเกมบุก ทั้งในจังหวะเล่นเกมรับ การ์เนอร์จะมีส่วนทั้งเกมรุกเกมรับของทีม ไม่ใช่เล่นได้แค่รับอย่างเดียว หรือรุกอย่างเดียว

เพราะความขยันและความสามารถรอบตัวนี่แหละ ที่ทำให้การ์เนอร์น่าสนใจมากๆในตำแหน่งมิดฟิลด์ที่วิ่งพล่านช่วยทีมทั้งรุกและรับ

ภาคเกมรับ การ์เนอร์แทคเกิลชนะคู่แข่งทั้งหมด 44 ครั้ง และตัดเกม (interceptions) อีก 54 ครั้ง เปรียบเทียบง่ายๆกับผลงานของมิดฟิลด์ในตำแหน่งเดียวกันที่ทีม อย่างสก็อตต์ แม็คโทมิเนย์ น้องแม็ค tackle won 33 ครั้ง (จากการแทคทั้งหมด 69) และตัดบอลได้ 47 ครั้ง ตลอดทั้งซีซั่น การเปรียบเทียบน่าจะพอทำให้เห็นภาพ Defensive Contribution ของ เจมส์ การ์เนอร์ ได้ดีว่า แม้จะเป็นเกมรับ เขาก็มีส่วนร่วมนการเล่นกับทีมสูง

แทคเกิลเฉลี่ยต่อเกม 1.9 ครั้ง / interceptเฉลี่ย 1.4 ครั้ง / blockเฉลี่ย 0.1 ครั้ง / Clearance 0.9 ครั้งต่อเกม

ส่วนร่วมกับเกมรับเยอะมากจริงๆแบบค่อนข้างชัดเจน อาจจะไม่ได้เยอะถึงขนาดเป็น DM แท้ แต่ที่เห็นนี่คือช่วยเกมรับของทีมที่เขาลงเล่นได้เยอะพอสมควรเลย

ถ้าใครที่ได้ดูการ์เนอร์บ่อยๆ จะเห็นเลยว่าจังหวะที่น้องสปรินท์เข้าไปแทคเกิลใส่คู่แข่ง มีให้เห็นบ่อยมากๆ แปลว่าความขยัน และพลังงานในการวิ่ง ความสด มีสูงมากจริงๆ เหมาะกับฟุตบอลอังกฤษสุดๆ

ในประเด็นเรื่องสไตล์การเล่น และตำแหน่งถนัดของน้องมันจริงๆแล้ว ก็คือตำแหน่งที่เล่นกับฟอเรสต์นั่นแหละ นั่นก็คือมิดฟิลด์ตัวกลาง (CM) ในแผนการเล่นที่ใช้ระบบกลางคู่แบบ double pivot ที่คู่หูของเขาสามารถเป็นตัวตัดเกมแท้ที่ปักหลักด้านหลังก็สามารถทำได้ หรือจะเป็นตัวที่โรมมิ่งออกจากตำแหน่งก็ได้เหมือนกัน เขาก็พร้อมจะกลับลงมารักษาตำแหน่งได้

จากการพิจารณาการเล่นในสนามจริงๆของการ์เนอร์ เท่าที่ผมเขียนเห็นบ่อยๆ มันไม่สามารถระบุลงไปได้ชัดเจนว่าเป็นตำแหน่งไหนแค่ตำแหน่งเดียว

อย่างที่เกริ่นไปแล้ว เขาเล่นเหมือนเป็นมิดฟิลด์เบอร์ 8 ผสมกับเบอร์ 6 อยู่ในตัวคนเดียว สามารถปักหลัก เปิดเกม คอนโทรลจังหวะเกมเหมือนแม่ทัพสาย DLP (Deep-lying playmaker) ก็ได้ แต่ขณะเดียวกัน พี่แกก็เติมขึ้นหน้าไปช่วยทีมเล่นรุกแบบเต็มตัวเหมือนกัน ลักษณะมันค่อนข้างจะมีความเป็นมิดฟิลด์แบบ "Box-to-Box" ค่อนข้างสูง

เป็น Box-to-Box ที่เล่นได้ทั้งรับและรุก โดยที่เกมรุกจะไม่ได้เติมเข้ากรอบเป็นหลัก แต่จะรักษาพื้นที่การดันสูงอยู่แถวรอบๆกรอบเขตโทษ เพื่อที่ตัวเองจะได้คอยรับบอล คุมบอลแถวสองของทีมเวลาบุก รวมถึงหาโอกาสลองยิงไกลนอกกรอบเขตโทษ ซึ่งทำได้บ่อยๆด้วย

"Box-to-Box ผสม DLP แบบมิดฟิลด์เบอร์ '8 กึ่ง 6' ที่คุมเกมเชื่อมเกมได้ และเติมขึ้นมาเล่นรุกอยู่รอบๆกรอบเขตโทษให้กับทีม" อธิบายแบบนี้ก็พอทำให้เห็นภาพได้ครับ

มีบทสัมภาษณ์ของความหลากหลายในการเล่นของการ์เนอร์ตรงนี้ที่อธิบายเรื่องการที่เขาเล่นได้ทั้งรุก และรับ เอาไว้ ตั้งแต่ช่วงปีที่แล้วที่เขาลงเล่นในทีมของ Chris Hughton ที่คุมฟอเรสต์เมื่อปีก่อน ดาวเตะลูกกรอกคะนองของแมนยูไนเต็ดชาวอังกฤษวัยเพียงแค่ "21 ปี" เท่านั้นในเวลานี้

การ์เนอร์ได้กล่าวต่อประเด็นเรื่องการเล่นกลางรับภายใต้ยุคของคริส ฮิวจ์ตัน เอาไว้ดังนี้

"ใช่แล้วครับ นั่นคือสิ่งที่ผมทำอยู่และก็ชื่นชอบในการเล่นแบบนั้น ผมคิดว่าผมเล่นได้แบบสบายๆที่สุดในตำแหน่งดังกล่าว (กลางต่ำ) ผมคิดว่าทุกๆคนก็คงจะบอกว่านั่นคือตำแหน่งถนัดของผม ซึ่งตัวผมเองชอบเล่นในลักษณะที่สามารถยืนแล้วมองเห็นทุกๆตัวในสนามได้ เห็นการวิ่ง และการสอดเข้าไปยังพื้นที่ต่างๆ"

"ผมชอบที่จะเล่นกับบอลเองด้วยเท่าที่จะทำได้ ผมถนัดในการเป็นคนออกบอลเอง และก็ไปยิงเองด้วย ทุกอย่างเป็นอะไรที่ผมเอ็นจอยมากๆ ปักหลักและยืมคุมจังหวะการเล่น มันเยี่ยมมาก"

ในยามที่ตำแหน่งมิดฟิลด์ที่ทำหน้าที่คุมเกม ส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้เล่นที่ต้องเก๋าหน่อยในการรับหน้าที่นี้ได้ ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงระดับการพัฒนาและเติบโตของการเล่นฟุตบอลของการ์เนอร์ ที่เขาได้รับความไว้วางใจให้เป็นคนรับหน้าที่นี้ในทีมของฟอเรสต์ ซึ่งทุกเกมที่ฟอเรสต์ลงเล่นโดยมีการ์เนอร์ลงสนาม ก็มักจะทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจ

พูดถึงการรับหน้าที่คุมเกมตรงนี้ มิดฟิลด์จากถิ่น Birkenheadโดยกำเนิด รายนี้กล่าวว่า

"มันเป็นตำแหน่งที่เล่นยากนะครับ แต่ผมคิดว่าผมทำได้ ผมเรียนรู้มาอย่างมากในซีซั่นนี้ (2020/21 พูดเมื่อปีที่แล้ว) การได้เจอกับดาวเตะตัวเก๋าทั้งหลายที่มาสู้อย่างฉลาดบนแทคติกสูงๆในภาคการเล่น ทั้งทีมที่เข้าบอลรวมถึงพวกที่จะพุ่งเข้ามาเพรสซิ่งใส่ มันแตกต่างออกไปมากเมื่ออยู่ในระดับแชมเปี้ยนชิพและเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับผมในการลงเล่น"

"ผมเป็นเซ็นเตอร์แบ็คมาตลอดจนถึงรุ่นอายุ U-15s มีอยู่ทัวร์นาเมนต์นึงผมโดนจับให้เล่นมิดฟิลด์จากนั้นมาจนถึงตอนนี้ก็ไม่เคยกลับไปเล่นเซ็นเตอร์อีก ผมจะบอกว่า ผมมีทั้งสองส่วนอยู่ในการเล่นของตัวเอง ทั้งภาคเกมรับ และการเล่นเกมรุก นั่นคือตำแหน่งการเล่นที่ดีที่สุดของผม"

การเล่นของการ์เนอร์พยายามที่จะเติมเกมให้ทีมทั้งรุกและรับ แปลว่าเขาจะทำงานในหลายๆส่วนจากพื้นที่ตรงกลาง และสร้างอิทธิพลการเล่นให้กับทีมตลอดการเล่นในทุกส่วนของสนาม

"The Commander" Garner

"ผมอยากจะเห็นตัวเองเป็นมิดฟิลด์สายสมบูรณ์แบบให้ได้ในอนาคต (complete midfielder) ที่ผมทำได้ทั้งสองอย่างไม่ว่าจะรับหรือรุก ผมรู้สึกนะว่าผมเล่นมิดฟิลด์ตัวรับได้ด้วย แล้วก็สามารถเล่นแบบเบอร์8 ที่เป็น box-to-box ได้ แต่ในตอนนี้ผมไม่ซีเรียสกับเรื่องตำแหน่ง หากว่ายังได้โอกาสลงเล่นในสนามอยู่ เพราะผมอยากจะทำทุกอย่างเพื่อทีมให้ได้ ไม่ว่าจะเบอร์ 6 เบอร์ 8 ผมก็เล่นได้ ผมสนุกกับการเล่นฟุตบอลมาก"

"อาจจะเร็วไปสักหน่อยถ้าพูดเรื่องตำแหน่งการเล่นที่แน่นอนในระยะยาว ผมไม่ชอบบังคับกะเกณฑ์ว่ามันจะต้องเป็นแบบนั้นๆ แต่ผมน่าจะเป็นมิดฟิลด์ที่มีความสารพัดประโยชน์มากกว่า ซึ่งการเล่นที่แน่นอนต้องการเชฟที่ชัดเจนรวมถึงformationการยืนอีกด้วย ดังนั้นถ้าผมสามารถลงเล่นได้สองหรือสามตำแหน่งที่แตกต่างกัน มากกว่าเล่นได้แค่จุดเดียว มันจะเป็นประโยชน์กับผมอย่างมาก"

"บางอย่างที่ผมพูดไว้เมื่อซีซั่นนู้นว่าจะพัฒนามันขึ้นมานั้น ผมทำให้ทุกคนได้เห็นแล้วว่าทำอะไรได้บ้างในเกมรุกให้ทีม สำหรับผมแล้ว สิ่งสำคัญคือการพยายามเล่นทั้งเกมรุกและเกมรับประสานเข้าด้วยกันทั้งคู่ เพราะงั้นผมเลยสามารถเล่นได้ทั้งในฐานะเบอร์8 และ เบอร์6"

เนี่ยครับ ท่านผู้อ่านน่าจะเห็นแล้วว่า มุมมองของเจ้าตัวเป็นยังไง คิดว่าคงไม่ต้องอธิบายกันเพิ่มแล้ว คิดง่ายๆคือน้องเป็นมิดฟิลด์สารพัดประโยชน์ที่สามารถเล่นให้ทีมได้ทั้งเกมรับเกมรุก ซึ่ง "โคตรเหมาะ" จัดๆกับปรัชญาการเล่นของเอริค เทน ฮาก ซึ่งการเล่น CM ของการ์เนอร์นั้นพื้นที่การเล่นครอบคลุมระหว่าง หน้ากรอบเขตโทษตัวเอง ถึง หน้ากรอบเขตโทษของคู่แข่ง

พื้นที่คล้ายๆกับเฟร็ด ที่เป็น Carrilero แต่การ์เนอร์ไม่ใช่ Carrilero แบบเฟร็ดที่เป็นตัวผึ้งงานซัพพอร์ตทีม

การ์เนอร์คือมิดฟิลด์ที่เติมการเล่นของทีมให้สมบูรณ์จากการเป็น Box-to-Box ผสม DLP ที่ทำได้ทั้งการเติมเกมขึ้นลงในสนาม รวมถึงคอนโทรลเกมด้วยตัวเอง และเล่นเกมรุกจากแนวลึกด้วย ทั้งการวางบอลจ่ายบอล เชื่อมเกม และใช้อาวุธบินในการยิงไกลใส่คู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่สำคัญที่สุด เจ้าตัวดูเหมือนว่าจะยัง "ไม่รู้" ด้วยซ้ำว่าตัวเองจะไปได้ไกลมากกว่านี้อีก ในตำแหน่งที่กำลังจะเพิ่มเข้ามาในอนาคต กับยุคของ ETH ที่เป็นได้มากกว่าแค่ Box-to-Box กับ DLP

ใช่แล้วครับ "Half-Back" นั่นเอง

HB คือตำแหน่งที่เจ้าตัวยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าน่าจะเล่นได้ จากการที่เขาเองก็คงผ่านมานาน จนไม่ได้นึกถึงมันแล้วว่า สมัยเป็นดาวรุ่งก่อนขึ้นชุด U-15s ก็เล่นเซ็นเตอร์มาตลอด

ด้วยส่วนสูงปัจจุบัน 186 cm ค่อนข้างชัดเจนว่าทำไมเขาถึงเริ่มต้นมาจากตำแหน่ง CB แต่พอขึ้นมาเล่นมิดฟิลด์แล้วก็ยาว

จากมุมมองและทัศนคติของการ์เนอร์ ค่อนข้างชัดว่าเขาพร้อมทำเพื่อทีม และเล่นได้ทั้งรุกและรับ ในอนาคต นักเตะบริเวณมิดฟิลด์ของเอริค เทน ฮาก เมื่อถึงเวลาที่มีการทำเกมกันจริงๆ บางครั้งผู้เล่นมิดฟิลด์จะต้องถอยต่ำลงมายืนแทน CB ที่อาจจะถ่างออกข้าง หรือดันเกมขึ้นสูงได้ทันที

ลักษณะของ Half-Back ที่เห็นชัดๆก็คือ เนมันย่า มาติช นั่นแหละ เจมส์ การ์เนอร์แทบจะเป็นตัวที่ตามรอยมาติชในเรื่องของตำแหน่งการเล่นอย่างมาก

มาติชเล่นได้ทั้งการยืนต่ำแบบ 6 ที่ลงไปแทนกองหลังได้ / ยืนพื้นที่ CM ปั้นเกมแนวลึกจากตำแหน่ง 6 ได้ / เติมสูงขึ้นไปทำเกมรอบๆกรอบเขตโทษแบบเบอร์ 8 ที่อีกนิดนึงก็เป็นน้องๆเพลเมคเกอร์เบอร์ 10 อยู่แล้ว

พื้นที่การเล่นของการ์เนอร์ ทับไลน์กันกับมาติชแบบเต็มๆ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ดี

ด้วยรูปร่าง ส่วนสูง ที่ไม่ได้หนาแบบ CB แท้ๆ แต่มีสกิลทักษะที่เล่นกับฟุตบอลดีอยู่แล้ว และเล่นเกมรับได้ ในฟุตบอลสมัยใหม่เช่นนี้ ความยืดหยุ่นในการเล่นเป็นสิ่งสำคัญมากๆโดยเฉพาะกับ ETH

เพราะงั้นเมื่อเจมส์ การ์เนอร์ กลับมาอยู่กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ก็ต้องดูกันต่อไปว่าในซีซั่นหน้าเขาจะได้รับบทบาทอย่างไรบ้าง เทน ฮาก จะทำการประเมินการ์เนอร์ในช่วงปรีซีซั่นที่กำลังจะถึงนี้ ซึ่งตัวเลือกที่การ์เนอร์อาจจะได้รับการปล่อยยืมไปเล่นกับน็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ อีกหนึ่งฤดูกาล ในระดับใหม่ที่ระดับสูงขึ้นมากอย่าง "พรีเมียร์ลีก" ก็อาจจะเป็นไปได้

แต่ถ้าหากเขาได้รับโอกาสในการอยู่ในทีมของเทน ฮาก ไม่ว่าจะเป็นปีนี้หรือปีหน้าก็ตาม เราจะได้เห็นการ์เนอร์เป็นมิดฟิลด์สารพัดประโยชน์ ที่เล่นได้ตั้งแต่ ฮาล์ฟแบ็ค เพลย์เมคเกอร์แนวลึก บ็อกซ์ทูบ็อกซ์ ลามไปยันมิดฟิลด์ตัวรุกจริงๆ

การพัฒนายังรอนักเตะหนุ่มจากเมืองน่าน (กาเน่ออออ) คนนี้อีกเยอะมาก ในตำแหน่งที่แม้แต่เจ้าตัวเองก็หลงลืมไปแล้วว่า พลังแฝงในการเล่นและพัฒนาของแกยังอีกยาวไกลนัก กับอายุแค่ 21 ปี แต่ความสามารถดีพอถึงระดับที่เป็นตัวหลักของทีมๆหนึ่งที่เล่นได้อย่างสุดมันส์ ปราบทีมระดับพรีเมียร์ลีกเข้ารอบลึกๆใน FA Cup ให้เห็น และสุดท้ายเลื่อนชั้นกลับมาจนได้

อนาคตยาวไกลนัก ใครจะสมัครเป็นติ่งน้องก็ให้ไวเลย ตัวนี้น่าสนใจสุดๆจริงๆ

ว่าที่มิดฟิลด์ตัวทีมชาติอังกฤษแน่นอนครับรับประกัน

-ศาลาผี-

References

https://www.manutd.com/en/news/detail/has-james-garner-found-his-best-position-in-midfield

https://www.whoscored.com/Matches/1635935/Live/England-Championship-2021-2022-Huddersfield-Nottingham-Forest

https://www.whoscored.com/Players/367781/Show/James-Garner

https://fbref.com/en/players/4e015693/James-Garner

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด