:::     :::

ราชันคันโยก

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
The Telegraph สื่อดังอังกฤษเล่นข่าว เรอัล มาดริด หมกเม็ดรายจ่าย ตั้งข้อสงสัยว่าอาจเป็นการหลบเลี่ยงกฏ FFP ของ ยูฟ่า และกฏเพดานค่าเหนื่อยของ ลา ลีกา โดยอ้างจากการตรวจสอบเองแล้วพบว่าจากปีงบประมาณล่าสุดที่สโมสรเผยแพร่ในเดือนตุลาคม 2022 มาดริด มีรายจ่ายที่ถูกจัดวางไว้ในหมวดหมู่ "ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน" ทั้งหมด 135 ล้านยูโร และมีถึง 122 ล้านยูโรที่ "ไม่มีคำอธิบาย"

“ไม่มีคำอธิบาย” อธิบายได้ว่าไม่บอกว่ามันคือรายจ่ายอะไร แค่ใส่ไว้หมวดหมู่ว่าเป็น “ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน” 

The Telegraph รายงานต่อว่าเมื่อพวกเขาสอบถามไปยังสโมสร  มาดริด ได้ปฏิเสธที่จะตอบคำถามแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งพวกเขาคาดเองว่าน่าจะเป็นรายจ่ายที่จ่ายคืนให้กับกองทุน Providence 


นอกจากนั้นแล้ว The Telegraph ยังรายงานต่อว่า เรอัล มาดริด นั้นได้ขายรายได้จากสนามซานติอาโก้ เบร์นาเบว จำนวน 30% ในช่วงระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า เพื่อแลกกับเงินสดจำนวน 360 ล้านยูโร บริษัท Sixth Street และ บริษัท Legends ซึ่งทั้ง 2 บริษัทนี้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจกีฬาก็จะเข้ามามีบทบาทกับธุรกิจใหม่ๆที่จะกำเนิดขึ้นภายหลังการรีโนเวท ซานตีอาโก้ เบร์นาเบว เสร็จสิ้นนับไปอีก 20 ปี 


สรุปง่ายๆ มาดริด ขายรายได้ที่พึงได้ในอนาคต 20 ปีแลกกับเงิน 360 ล้านยูโร

ทันทีที่ The Telegraph มีการพูดคำว่า ‘คันโยก’ ขึ้นมาเป็นลำดับแรกๆ ว่าแท้จริงแล้ว มาดริด เองก็ใช่ว่าจะดี ก็ต้องโยกคันโยกทางเศรษฐกิจเหมือนเช่น บาร์เซโลน่า ซึ่งถูกวิจารณ์ในแง่ลบมาตลอดหลังจากโยกคันโยกทางเศรษฐกิจเมื่อซัมเมอร์ 2022


เรียกว่าคันโยกได้มั๊ยสำหรับการกระทำของ มาดริด ? 


ได้ครับ วิธีการ ลักษณะ เหมือนกันเลย อาจผิดไปบ้างที่ มาดริด ไม่ได้ขายหุ้นบางส่วนจากธุรกิจบางตัว แต่ขายรายได้ในอนาคตเพื่อแลกกับเงินสด หากแต่เรื่องนี้มันก็ไม่ใช่ความลับ เพราะ มาดริด แถลงข่าวการบรรลุข้อตกลงกับ Sixth Street และ Legends ผ่านทางเว็บไซต์ของสโมสร อย่างชัดเจน

ประเด็นนี้ผมไม่ได้สนใจเท่าไหร่ ที่น่าสงสัยมากกว่าก็คือดีลแรกที่ร่วมงานกับกองทุน Providence ซึ่ง เรอัล มาดริด ไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณชน

มาดริด ดีลกับ Providence โดยขายรายได้ค่าลิขสิทธิ์สปอนเซอร์ 4 ฤดูกาลข้างหน้า (2018-2021)ให้พร้อมรับเงินล่วงหน้า 200 ล้านยูโร โดย Providence แบ่งจ่ายฤดูกาลละ 50 ล้านยูโร 


ส่วนผลประโยชน์ที่กองทุนอเมริกันจะได้รับนั้นคือจะเป็นผู้ควบคุมทิศทางการเป็นสปอนเซอร์ในอนาคตของสโมสรอย่างเต็มที่ ยกเว้นสิทธิ์การขายชื่อซานตีอาโก้ เบร์นาเบว, สิทธิ์การขายชื่อสนามฝึกซ้อมบัลเดเบบาส รวมถึงไม่มีสิทธิ์ในการดีลกับสปอนเซอร์บนเสื้อแข่งของมาดริด


ร่ายมาถึงตรงนี้ ก็คงจะเข้าใจเหตุผลแล้วนะครับว่าทำไม มาดริด ถึงไม่เอา CVC ก็เพราะพวกเขาดีล Providence ไปแล้ว แต่ที่สื่อสเปนเขาสงสัยก็คือดีล Providence นี้ไม่มีการเปิดเผยสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ และดูมีลับลมคมนัยมากกว่า 


จากข้อมูลของ Football Leaks มาดริดไม่ได้ลงนามในข้อตกลงที่เสนอกับ Providence แต่เข้าร่วมกับบริษัทในเครือ PQ VII Sarl ซึ่งตั้งอยู่ใน ลักเซมเบิร์ก มีทุนทะเบียนเพียง 20,000 ยูโรเท่านั้น แถมเบื้องหลัง PQ VII Sarl ยังจดทะเบียนที่เมืองจอร์จทาวน์ หมู่เกาะเคย์แมนอีกด้วย 


หมู่เกาะเคย์แมน หมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ทางใต้ของสหรัฐฯ ที่แห่งนี้ใครก็รู้ว่าเป็นดินแดนแห่งการฟอกเงิน เป็นสวรรค์ของคนหนีภาษี

ที่ผ่านมา นักข่าวสเปนพยายามเล่นข่าวนี้ เรียกร้องให้กรมสรรพกรเข้ามาตรวจสอบ แต่เรื่องก็เงียบหายไป ซึ่งทำให้เข้าใจได้ 2 แบบว่า ไม่มีการเข้ามาตรวจสอบอย่างจริงจัง กับ ตรวจสอบแล้วไม่เจออะไร 


มาดริด กับคันโยกที่โยกกับ Sixth Street ไม่ได้อะไรให้ตามต่อ แต่ส่วนรายจ่าย 122 ล้านยูโรที่ มาดริด ไม่ตอบ The Telegraph มันก็พอเข้าใจได้ว่า ทำไมมาดริดจะต้องเผยความข้อมูลที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัวกับสื่ออังกฤษด้วย 


แต่ยังไงก็ลองตามๆกันดูครับว่า ยูฟ่า หรือ ลา ลีกา จะเข้ามาตรวจสอบประเด็น 122 ล้านยูโรหรือไม่ แล้วรวมถึงข่าวพัวพันกับบริษัทไร้ตัวตนที่เหาะเคย์แมนด้วย 

แต่เชื่อเถอะว่า เดี๋ยวพอข่าว เอ็มบั๊บเป้ มา ก็ไม่มีใครสนใจแล้ว ถือว่าข่าวนี้เอาไว่แก้เลี่ยนก็แล้วกัน 


เจมส์ ลา ลีกา 



ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด