:::     :::

ฟุตบอลโลก 1962 : แซมบ้าป้องกันแชมป์

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 7 วนกลับมาจัดที่อเมริกาใต้อีกครั้ง ขณะที่ตำแหน่งแชมป์ตกเป็นของ "บราซิล" ที่ป้องกันแชมป์เอาไว้ได้ตามคาด

ชิลี เจ้าภาพประสบปัญหาในการเตรียมตัวอย่างมากเมื่อต้องพบภัยธรรมชาติแผ่นดินไหว 2 ปีก่อนทัวร์นาเมนต์จะเปิดฉากและทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,000 คน หลายสนามที่ใช้แข่งขันได้เสียความเสียหายจนเกือบถูกตัดสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพอยู่แล้ว ยังดีที่สามารถซ่อมแซมได้ทันเวลา

สนามในเมือง ซินา เดล มา และเมือง อาริก้า ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว และถูกใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ถึง 4 นัด

รอบคัดเลือกครั้งนี้มี 52 ทีมเข้ารอบ และคัดเลือก 16 ทีมเข้าสู่รอบสุดท้าย ทว่าอันดับ 2 และ 3 จากฟุตบอลโลกครั้งก่อนทั้ง สวีเดน และ ฝรั่งเศส ต่างพลาดเข้าร่วมศึก

บราซิล แชมป์เก่า ยังเป็นเต็งหามเหมือนเดิม แม้จะเปลี่ยนกุนซือ จาก บิเซนเต ฟีโอลา มาเป็น "ไอโมเร โมเรรา" แต่ขุนพลตัวหลักอยู่กันครบไม่ว่าจะเป็น ดีดี้, วาว่า, มาริโอ ซากัลโล่, การ์รินช่า และ เปเล่ 

แฟนบอลทั่วโลกตื่นตัวกับการลงสนามของ เปเล่ ที่หนุ่มแน่นมากขึ้นในวัย 21 ปี ทว่าเจ้าตัวได้รับบาดเจ็บตั้งแต่นัดสองกับ เชโกสโลวาเกีย และพลาดในช่วงที่เหลือของทัวร์นาเมนต์


ทัพแซมบ้าคว้าแชมป์โลก 2 สมัยติดต่อกัน

ทีมจากยุโรปหลายทีมอยู่ในช่วงการเปลี่ยนทีมจึงไม่ได้แข็งแกร่งมากนัก เช่นเดียวกับอาร์เจนตินา และเจ้าภาพชิลีที่ราศีแชมป์ยังเป็นรองบราซิล  

มีการเปลี่ยนแปลงกฎการเข้ารอบในกรณีมี 2 ทีมคะแนนเท่ากันโดยจะดูประตูได้-เสีย ไม่ต้องเพลย์ออฟเหมือน 4 ปีก่อน และครั้งนี้ก็เป็น อาร์เจนตินา ที่ชอกช้ำกับกฎใหม่หลังมีคะแนนเท่ากับอังกฤษ ทว่าประตูได้-เสียเป็นรองทัพสิงโตคำรามทำให้ตกรอบแบ่งกลุ่ม 

ในรอบแรกมีหลายนัดได้รับความสนใจโดยเฉพาะอดีตแชมป์ 2 ทีมทั้ง อิตาลี และ เยอรมันตะวันตก ทว่าจบที่ผลเสมอ 0-0 และนัดต่อมาทำให้ อิตาลี ใส่เกินร้อยในการเจอกับชิลีจนแทบจะกลายเป็นสงครามดีๆ นี่เอง

เกมนี้ถูกขนานนามว่า “Battle of Santiago” เพราะต่างฝ่ายต่างใส่กันไม่ยั้งจนอิตาลีเหลือผู้เล่น 9 คนและพ่ายไป 0-2 จนตกรอบแม้นัดสุดท้ายจะเอาชนะสวิตเซอร์แลนด์ได้ 3-0 ก็ตาม 

สหภาพโซเวียต, เยอรมันตะวันตก, บราซิล และ ฮังการี คือทีมอันดับหนึ่งของทั้งสี่กลุ่มในรอบแรก ขณะที่ ยูโกสลาเวีย, ชิลี, เชโกสโลวาเกีย และ อังกฤษ ผ่านเข้ารอบมาได้ด้วยการเป็นอันดับสองของกลุ่ม

เจ้าภาพยังคงเป็นทีมสร้างเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่องหลังผ่านอิตาลีและสวีเดนในรอบแรกมาได้ พวกเขาจัดการสยบหหภาพโซเวียตในรอบก่อนรองชนะเลิศก่อนเข้าไปพบกับบราซิลที่ได้ การ์รินช่า เค้นฟอร์มเก่งหวดเหมาคนเดียว 2 ประตูพาทีมเขี่ยอังกฤษตกรอบและดับความหวังของอิงลิชชนที่หมายเห็นทีมชาติชูถ้วยแชมป์โลกครั้งแรก 


“Battle of Santiago” ระหว่าง ชิลี กับ อิตาลี หวดกันไฟแลบก่อนจบเกมด้วยการเหลือผู้เล่นฝั่งละ 9 คน 

แมตช์ระหว่างชิลี VS บราซิล ในรอบเซมิไฟนัล ทำสถิติผู้ชมในสนามมากที่สุดประจำทัวร์นาเมนต์ และแฟนบอลชิลีทั้งประเทศหวังเห็นชาติบ้านเกิดประกาศศักดาพลิกล็อกเอาชนะทีมแชมป์เก่าอย่างบราซิล

ชิลี ไปไม่ถึงดวงดาวเมื่อพ่ายแพ้ความแข็งแกร่งและช่ำชองเกมระดับชาติของขุนพลเซเลเซาที่เข่นชนะไป 4-2 แม้ว่าก่อนเกมการแข่งขัน แข้งชิลีได้ดื่มกาแฟดำเอาฤกษ์เอาชัยกันมาแล้วและ การ์รินช่า สตาร์เบอร์หนึ่งของบราซิลโดนไล่ออกจากสนามก็ตามที

เจ้าภาพชิลีสามารถคว้าอันดับ 3 เป็นรางวัลปลอบใจหลังย้ำแค้นเอาชนะยูโกสลาเวียจากประตูโทนของ เอลาดิโอ โรฮาส คนเดิมที่เคยตะบันประตูชัยมาแล้วในรอบ 8 ทีมสุดท้าย

ในรอบชิงชนะเลิศที่สนามเอสตาดิโอ ซานติอาโก้ อัดแน่นไปด้วยแฟนบอลมากหน้าหลายตา  เชโกสลาเวีย ทำเซอร์ไพรส์ด้วยการได้ประตูนำไปก่อนในนาทีที่ 15 จาก โจเซฟ มาโซปุสต์ แต่บราซิลก็มาตีเสมอได้อย่างรวดเร็วในอีกสองนาทีถัดมาจาก อมาริลโด้ ก่อนที่ ชีโก้ และ วาว่า จะบวกเพิ่มอีกคนละประตูช่วยให้ บราซิลเอาชนะไปได้ในที่สุด 3-1  

บราซิลผงาดครองแชมป์โลกสมัยที่ 2 ติดต่อกันได้สำเร็จแม้ต้องไร้เงา เปเล่ ที่บาดเจ็บตั้งแต่นัดที่ 2 ของรอบแบ่งกลุ่ม 


เมาโร รามอส (ซ้าย) กัปตันทีมชาติบราซิล กับ จอห์นนี่ เฮย์นส์ กัปตันทีมชาติอังกฤษ ลุ้นเสี่ยงทายเหรียญก่อนเริ่มเกมรอบก่อนรองชนะเลิศ 

แฟกต์ไฟล์ฟุตบอลโลก 

ชาติเจ้าภาพ : ชิลี 

สนาม : 4 สนาม

จำนวนทีม : 16 ทีม

จำนวนนัด : 32 นัด

วันแข่งขัน : 30 พฤษภาคม - 17 มิถุนายน 1962

จำนวนประตู : 89 ประตู (2.78 ประตูต่อนัด) 

ผู้ชมทั้งหมด : 893,172 คน (27,912 คนต่อนัด) 

ทีมแชมป์ :  บราซิล (สมัย 2) 

รองแชมป์ : เชโกสโลวาเกีย

อันดับ 3 : ชิลี

อันดับ 4 : ยูโกสลาเวีย

รางวัลรองเท้าทองคำ :  การ์รินช่า (บราซิล), วาว่า (บราซิล), เลโอเนล ซานเชซ (ชิลี), ดราซาน เยอร์โควิช (ยูโกสลาเวีย), ฟลอเรียน อัลเบิร์ต (ฮังการี) และ วาเลนติน อีวานอฟ (สหภาพโซเวียต) ทั้งหมด 4 ประตู

สรุปดาวซัลโว  

4 ประตู : การ์รินช่า (บราซิล), วาว่า (บราซิล), เลโอเนล ซานเชซ (ชิลี), ดราซาน เยอร์โควิช (ยูโกสลาเวีย), ฟลอเรียน อัลเบิร์ต (ฮังการี) และ วาเลนติน อีวานอฟ (สหภาพโซเวียต)

3 ประตู : อมาริลโด้ (บราซิล), อดอล์ฟ เชอร์เรอร์ (เชโกสโลวาเกีย), ลายอส ติชี่ (ฮังการี), มิลาน กาลิช (ยูโกสโลวาเกีย)

 


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด