:::     :::

บทบาทในสนามของ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์

วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม 2566 คอลัมน์ Zero to Hero โดย บังคุง
549
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
บทบาทในสนามของ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์

หากเอ่ยถึง เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ 

 


เขาถือเป็นลูกหม้อของลิเวอร์พูล แบบขนานแท้ นอกจากนี้ เขาก้าวมาเล่นทีมชุดใหญ่ ตั้งแต่อายุยังน้อย แถมประสบความสำเร็จอย่างมากมาย


หากเราลองมาไล่เรียงแชมป์แล้ว เทรนต์ สามารถพาพลพรรค “หงส์แดง” คว้ามาครองทุกแชมป์รายการหลัก จากเด็กหนุ่มร่างกายผอมบาง เทรนต์ พัฒนาตัวเอง จนก้าวเป็นตัวหลักของทีมได้อย่างเต็มภาคภูมิ


นอกจากการเล่นตำแหน่งแบ็คขวาแล้ว บ่อยครั้งที่เทรนต์ ถูกจับโยกมาเป็นกองกลาง โดยเจอร์เก้น คล็อปป์ นายใหญ่ของ “หงส์แดง” หวังให้เขาสร้างสรรค์โอกาส จากความสามารถด้านการผ่านบอล


ช่วงนี้ เราลองไปดูมุมมองของเขากันหน่อย เกี่ยวกับการถูกขยับมาเล่นตำแหน่งกองกลาง 


“การเล่นฟูลแบ็ค แตกต่างจากการเล่นกองกลาง”


เทรนต์ ออกมาเปิดเผยความรู้สึก จากการเล่นตำแหน่งประจำอย่างแบ็คขวา กระนั้น ความสามารถในการผ่านบอล และส่งบอลเข้าไปในพื้นที่อันตราย ทำให้เขาถูกขยับมาทำเกมในแดนกลางอยู่บ่อยครั้ง นั่นคือความท้าทายที่เขาพร้อมน้อบรับ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนทีมให้ก้าวไปข้างหน้า 


“การขยับมาเล่นกองกลาง ช่วยสร้างโอกาส และตัวเลือกให้ผม เวลาที่มีบอลอยู่กับเท้า” เขากล่าวต่อ


“การเล่นกองกลาง มีความแตกต่างเป็นอย่างมากกับการเล่นแบ็คขวา แน่นอนว่า การเล่นแบ็คขวา ทำให้พื้นที่การเล่นของคุณมีจำกัด เพราะส่วนมากแล้ว คุณจะอยู่แทบชิดเส้นสนามเลย อย่างไรก็ตาม หากคุณอยู่ตรงกลาง คุณสามารถจ่ายบอลออกไปทางซ้าย และทางขวาได้”


“ตอนที่เล่นเป็นฟูลแบ็ค คุณไม่จำเป็นต้องมองผ่านไหล่ เพื่อตรวจสอบสถานการณ์รอบตัวมากนัก เพราะไม่ค่อยมีใครแอบเข้ามาหาคุณจากด้านหลัง แต่พอคุณขยับมาเล่นกองกลาง คุณจะพบแล้วว่า คู่แข่งอยู่รอบตัวคุณเต็มไปหมด พวกเขาพุ่งเข้ามากดดันคุณ จากทุกมุมของสนาม ความรู้สึกดังกล่าว คุณแทบไม่เคยพบมาก่อน”


“การที่ผมขยับไปเล่นกองกลาง ไม่เกี่ยวแค่ตัวผม และรูปแบบการจ่ายบอลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการครองบอล, การตรวจสิ่งที่อยู่รอบตัว, การเข้าใจเกม รวมถึงการตั้งคำถาม และการหาคำตอบด้วย โดยเป็นการซึมซับข้อมูล และพยายามอย่างหนัก ในการให้ระบบของทีมทำงาน”


แม้ว่าจะได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างมาก ในการสร้างสรรค์โอกาส, การแอสซิสต์ รวมถึงการจบสกอร์ แต่เขาออกมายอมรับว่า หน้าที่แรกของเขา นั่นคือการป้องกัน และช่วยให้ทีมไม่เสียประตูให้คู่แข่ง แม้ว่าต้องแลกมากับคำวิจารณ์ ที่ถาโถมเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะในเรื่องของการประกับตัว ซึ่งเขาน้อมรับ และนำกลับไปพัฒนาตัวเอง

“สมาธิของผม อยู่ที่การเล่นเกมรับอยู่เสมอ” เขากล่าวต่อไป “”ส่วนตัวแล้ว ผมต้องการให้คู่แข่งเจองานยากที่สุดสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งตอนมี และไม่มีบอล ผู้คนมักมองไปที่เรื่องของผลงาน เวลาที่ผมเจอกับสถานการณ์แบบดวลตัวต่อตัว ทั้งดี และร้าย”


“ผลสุดท้ายแล้ว ผมสนุกกับการรับผิดชอบ ในการทำ 2 งานพร้อมกัน (เล่นแบ็คขวา และกองกลาง) ผมชอบความรู้สึกที่ตัวเอง ในการเป็นคนสร้างสรรค์โอกาส, แอสซิสต์ และสร้างบางอย่างให้เกิดขึ้น แต่ก็ยังคอยเล่นเกมรับ เพื่อยับยั้งคู่แข่งด้วย”


“สิ่งแรก และสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับงานในสนาม ในฐานะกองหลัง นั้นคือการรักษาคลีนชีต รวมถึงการตั้งรับ นั่นคือสิ่งที่ผมจะให้ความสำคัญเสมอ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม” เทรนต์ กล่าวทิ้งท้าย 

อาจกล่าวได้ว่า การขยับมาเล่นตำแหน่งกองกลางของเทรนต์ ทำให้เขารับรู้ถึงความอิสระ ไม่ต้องถูกจำกัดแนวทางการเล่น เหมือนที่เขาเคยออกมาบอกว่า ไม่อยากเล่นในความรู้สึกเหมือนถูกสวมกุญแจมือ


เขายังไม่ต้องเอาตัวเองไปตกอยู่ในความเสี่ยง สำหรับการโดนริมเส้นคู่แข่งใช้ความเร็วโจมตี จนหัวหมุนเหมือนที่เคยเป็นมา เทรนต์ มีหน้าที่เข้าไปอยู่ในตำแหน่งแดนกลาง เพื่อรับบอลจากกองหลัง หลังจากนั้น เขาจะใช้สายตากวาดสแกนหาเพื่อนร่วมทีม และผ่านบอลต่อไปให้


การมีพื้นที่เล่นมากขึ้น ทำให้เทรนต์ สามารถนำจุดเด่นของตัวเองอย่าง “การผ่านบอล” ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายบอลแบบ ลูกสั้น, ลูกยาว, ลูกทะลุช่อง หรือว่าลูกเข้าพื้นที่สุดท้าย ถูกกระจายไปหลายทิศทาง


เทรนต์ สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค​์ และเลือกเปิดบอลได้ราวกับเป็น “ควอเตอร์แบ็ค” ในอเมริกันฟุตบอล “เอ็นเอฟแอล” แนวทางการเล่นแบบนี้ ถือเป็นการเปิดมุมมอง “วิสัยทัศน์” การผ่านบอลของเขา เมื่อเปรียบเทียบกับมุมมุมเดียวแถบริมเส้น เหมือนที่เล่นเป็นประจำ


แม้ว่าการขยับเทรนต์ ขึ้นไปมีส่วนร่วมกับแดนกลางมากขึ้น ผลลัพธ์ถือว่าออกมาค่อนข้างดี กระนั้น คล็อปป์ กล่าวว่า ระบบการเล่นดังกล่าว ยังต้องถูกพัฒนาอีกเยอะเหมือนกัน พร้อมกับต้องดูด้วยว่า คู่แข่งที่ต้องเจอด้วยมีสไตล์แบบไหน และลงสนามด้วยปรัชญาแบบใด


คล็อปป์ รู้ดีว่า แผนการเล่นแบบนี้ อาจไม่ได้ผลตลอดไป ทุกอย่างจึงต้องขึ้นอยู่กับการยกระดับเกมของตัวเอง แต่สุดท้ายแล้ว นี่ถือเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของคล็อปป์ ที่สมควรได้รับคำชื่นชม

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด